The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

e-book การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
งานมัธยมศึกษาปีที่6

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sby_34927, 2022-09-04 02:16:51

e-book การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

e-book การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
งานมัธยมศึกษาปีที่6

E-book



E-book(หนังสืออิเล็กทรอนิกส์)

รายวิชาการงานอาชีพ

การดำรงชีวิตและครอบครัว3 (ง33102)

จัดทำโดย

นาย รัฐภูมิ มะโนฬี

ชั้น

มัธยมศึกษาปีที่6 ห้อง6

นำเสนอ

คุณครูกายทิพย์ แจ่มจันทร์



ปัจจุบันมีการนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมาใช้ประโยชน์เพื่อผลิต
ขยายพันธุ์พืชในเชิงการค้าและอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มไม้ดอก
ไม้ประดับเช่นกุลวยไม้เบญจมาศ หนาวัว เป็นต้น แต่ก็ยังอยู่ในวงจำกัดด้วยปัจจัย

เช่น ต้นทุนสูงต้องใช้ความรู้ และทักษะเฉพาะด้านการปฏิบัติค่อนข้างยุ่งยาก
ซับซ้อนและเป็นวิทยาศาสตร์ มากเกินไปเเป็นต้น เพื่อแก้ปัญหาที่เป็น
ข้อจำกัดดังกล่าวกรมส่งเสริม การเกษตรจึงได้นำร่องขยายผลเทคโนโลยี
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรกรสู่เกษตรอุตสาหกรรม
และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึง
องค์ความรู้ได้ง่ายขึ้น
เอกสารเล่มนี้่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ วิชาการดำรง

ชีวิตและครอบครัว3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 เพื่อให้ได้ศึกษา

หาความรู้ ในเรื่องการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและได้ศึกษาอย่าง
เข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน ผู้จัดทำหวังว่า เอกสาร
เล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา
ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาด
ประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

สารบัญ ข

คำนำ หน้า
สารบัญ ก
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ข
ที่มาของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 1
การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 2
พืชที่นิยมขยายพันธุ์ 3
ข้อดีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 5
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญที่ติดมากับต้นพืช 6
7
ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
ห้องเตรียมอาหารและส่วนของการเก็บสารเคมี 8
ห้องถ่ายเนื้อเยื่อหรือห้องย้ายเนื้อเยื่อ 9
ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 10
11
การปลูกพืชแบบเกษตร อุตสาหกรรม

โดยใช้พืชพันธุ์ดี จากการเพาะเลี้ยง
18
เนื้อเยื่อ
19
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในเชิงพาณิชย์ ค
บรรณานุกรม

1

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีขยายพันธุ์พืชแบบไม่ใช้เพศวิธีหนึ่งที่มี

ประสิทธิภาพสูงสามารถผลิตพืชได้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็วต้นพืชมี

ความสม่ำเสมอสมบูรณ์แข็งแรงตรงตามพันธุ์และสะอาดปราศจากโรคแมลง

ศัตรูพืช ปัจจุบันมีการนำมาใช้เพื่อขยายพันธุ์พืชในเชิงการค้าอย่างกว้าง

ขวางและส่งเสริมเป็นอาชีพ เริ่มจากนำมาใช้กับกล้วยไม้จนกลายเป็นพืช

อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ ต่อมาจึงได้มีการนำมาใช้ขยายพันธุ์พืชื่

อื่นๆ ในเชิงการค้า

ที่มาของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 2

ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีดานการเกษตรไดก า วหนา ไปอยา งมาก

เปน ที่รูจักกันมากในขณะนี้คือ การตัด ตอ ยีนสเ พื่อใหสาย

พันธุพืชสายใหมที่ทนตอ โรคแมลงและใหผลผลิตสูง หรือ

รูจ ักกันในนามพืช GMO ที่ กําลังเปน ปญหาถกเถียงกัน

ในขณะนี้วา พืชบางอยา งไดตัดตอ ยีนสแลว บางตัวมี

ผลทําใหแมลงตาง ๆ ตาย ซึ่ง แมลงบางตัวเปน แมลงทีมี

ประโยชน อาจสงผลใหส ภาพความสมดุลทางธรรมชาติ

สูญเสียไปดวย การเพาะพันธุต นไมในสภาพที่ปลอดเชื้อ

หรือ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Tissue Culture)

การขยายพันธุ์โดยการ
3
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

เป็นการขยายพันธุ์พืชแบบไม่ใช้เพศวิธีหนึ่ง ทำโดยการนำชิ้น

ส่วนต่าง ๆ ของพืชเช่นตาข้างตายอด หน่ออ่อน ใบ เมล็ด มาเพาะ

เลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ประกอบด้วยเกลือแร่น้ำตาลวิตามิน และสาร

ควบคุมการเจริญเติบโตภายใต้สภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้ปลอดจาก

เชื่อจุลินทรีย์ ให้พัฒนา เป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ เป็นวิธีการขยาย

พันธุ์พืชที่มีประสิทธิภาพสามารถผลิตพืชได้จำนวนมากในเวลาที่

กำหนดต้นพืชสมบูรณ์แข็งแรง ปลอดโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส

เชื่อราและเชื้อแบคทีเรียที่อาจิตดมากับต้นพันธุ์ตุลอดจนการอนุรักษ์

4

ภาพ การขยายพันธ์ุกโดยวิธิีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

พืชที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ 5

ไม้ยืนต้น เช่น ยูคาลิปตัส ไผ่สัก เป็นต้น
พืชผัก เช่น ขิง หน่อไม้ฝรั่ง และปูเล่ เป็นต้น
ไม้ผล เช่น กล้วย สับปะรด สตรอว์เบอร์รี่และส้ม เป็นต้น
ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น หน้าวัว เบญจมาศกล้วยไม้ว่านสี่ทิศ

เยอบีร่า เฮลิโคเนียและ ฟิโลเดนดรอน เป็นต้น
พืชกินแมลง เช่น หยาดน้ำค้าง กาบหอยแครง และหม้อข้าว

หม้อแกงลิง เป็นต้น

ข้อดีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 6

1. เพิ่มปริมาณได้จำนวนมากในระยะเวลาสั้น ต้นที่ได้มีลักษณะ

ทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่พันธุ์ ขยายพันธุ์พืชจำนวนมากใน

เวลาที่กำหนด ได้ต้นพืชที่ สม่ำเสมอเหมือนต้นเดิม ต้นที่ได้จะ

สะอาดปราศจาก ศัตรูพืชโดยเฉพาะโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส

ไฟโตพลาสม่า และแบคทีเรีย
2. ต้นพืชที่ได้ความสม่ำเสมอ เก็บเกี่ยวผลผลิต ได้พร้อมกัน

เหมาะกับการผลิตพืชเชิงการค้า
3. เพื่อผลิตพันธุ์พืชปลอดโรค ได้ต้นพืช ปลอดเชื้อไวรัส และ

ปลอดเชื้อแบคทีเรีย
4. เพื่ออนุรักษ์และเก็บรักษาพันธุ์พืช ปรับปรุง พันธุ์พืช และ

เป็นการสร้างพันธุ์พืชใหม่ๆ เพื่อการผลิต ยาหรือผลิตสาร

ทุติยภูมิสกัดตัวยาหรือส่วนผสมของ ยารักษาโรคจากพืชและ

เพื่อศึกษาทางชีวเคมีสรีรวิทยา และพันธุศาสตร์

7

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญที่ติดมากับต้นพืช

พืช โรคและแมลงศัตรูพืช

มันสำปะหลัง โรคใบด่าง โรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง รากเน่าหัวเน่า เพลี้ยแป้ง

อ้อย โรคใบขาวและกอตะไคร้อ้อย หนอนกออ้อย

กล้วย โรคตายพราย โรคเหี่ยว ด้วงงวง หนอนกอ

คริสต์มาส รากเน่าโคนเน่า แมลงหวี่ขาว

สับปะรด โรคยอดเน่าหรือต้นเน่า โรคผลแกน ไส้เดือนฝอย เพลี้ยแป้ง

หน่อไม้ฝรั่ง หนอนบุ้ง เพลี้ยไฟ โรคลำต้นไหม้ โรคแอนแทรคโนส

สตรอว์เบอรรี่ โรคแอนแทรคโนส (โรคกอเน่า) โรคใบจุด โรคเหี่ยว

ส้ม โรคแคงเกอร์ โรคเมลาโนส โรครากเน่าและโคนเน่า

ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 8

ภาพ ตัวอย่างผังห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

สิ่งสำคัญนอกเหนือจากการแบ่งพื้นที่การทำงานออกเป็นสัดส่วน คือ

อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆในห้องปฏิบัติการแต่ละส่วนที่มีส่วนสำคัญในการช่วยให้

เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้อย่างสะดวก รวดเร็วและทำให้สภาพแวดล้อมปราศจากเชื้อ

จุลินทรีย์ต่างๆ ลักษณะสภาวะและเครื่องมือที่สำคัญในห้อปฏิบัติการแต่ละส่วน มี

ดังนี้

9

1. ห้องเตรียมอาหารและส่วนของการเก็บสารเคมี

ควรเป็นห้องที่มีเนื้อที่กว้างขวางเพียงพอสำหรับการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ

เช่น โต๊ะเตรียมอาหาร, ชั้นวางสารเคมี, อ่างล้างมือ, ขวดเพาะเชื้อแลเครื่องแก้ว

อุปกรณ์ที่สำคัญในส่วนนี้ได้แก่

หม้อนึ่งความดันไอ (Autoclave) ใช้สำหรับนึ่งฆ่าเชื้ออาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

และอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆที่ต้องการฆ่าเชื้อและไม่สามารถทนต่อความร้อนของ

เตาอบลมร้อนได้
เครื่องชั่ง (Balance) สำหรับชั่งสารเคมีและสารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต

ของพืชเพื่อเตรียมอาหารเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เครื่องวัดความเป็นกรด-เบส (pH Meter)
เตาอบลมร้อน (Hot Air Oven) ใช้ในการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ที่เป็นโลหะและเครื่อง

มือต่างๆที่สามารถทนความร้อนสูงๆได้
เตาอุ่นความร้อน (Hot Plate) และเครื่องคนสารละลาย สำหรับหลอมละลาย

และผสมสาร
ตู้เย็น ใช้ในการเก็บสารเคมีและ Stock อาหารที่ต้องเก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่ำ
ตู้เก็บสารเคมี
ช้อนตักสาร
สารเคมี, ฮอร์โมน, Agarและแร่ธาตุที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช
เครื่องแก้วต่างๆ เช่น ขวดเพาะเชื้อ, บีกเกอร์, ขวดรูปชมพู่, กระบอกตวง,

กรวยแก้ว, แท่งแก้วคนสาร เป็นต้น

10

2.ห้องถ่ายเนื้อเยื่อหรือห้องย้ายเนื้อเยื่อ

ต้องเป็นห้องที่สะอาด ปลอดเชื้อ มีการผ่านเข้าออกเฉพาะเจ้าหน้าที่เท่านั้น

อุปกรณ์ที่สำคัญมีดังนี้

ตู้ย้ายเนื้อเยื่อ (Laminar Flow Cabinet) ใช้กรองอากาศให้ปราศจาก

เชื้อและมีหลอด UV ช่วยในการฆ่าเชื้อ
ตะเกียงแอลกอฮอร์หรือตะเกียงแก๊ส ใช้ในการเผาฆ่าเชื้ออุปกรณ์ก่อนที่จะ

ทำการเขี่ยเชื้อ
จานเพาะเชื้อ (Petri Dish) สำหรับวางชิ้นเนื้อเยื่อ
กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) ใช้สำหรับตรวจสอบชิ้นเนื้อเยื่อ
อุปกรณ์อื่นๆ เช่น มีดผ่าตัด, ปากคีบ, เข็มเขี่ยเชื้อ, Loop เป็นต้น

11

3.ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ต้องเป็นห้องที่สะอาด ปลอดเชื้อและปิดสนิท เข้าไปได้เฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ต้องเข้าไป

ติดตามผลการทดลองเท่านั้น อุปกรณ์ที่สำคัญประกอบด้วย

ชั้นวางขวดเพาะเลี้ยง มีหลอดไฟให้แสงสว่างที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

ของพืช
เครื่องควบคุมอุณหภูมิ เพื่อให้ภายในห้องมีอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญ

เติบโตของพืช คือ ประมาณ 25 องศาเซลเซียส
เครื่องเขย่าสาร (Shaker) สำหรับเขย่าเพื่อเติมออกซิเจนให้กับเนื้อเยื่อที่ถูก

เลี้ยงในอาหารเหลว

12

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเลี้ยงเนื้อเยื่อจะแตกต่างสำหรับพืชแต่ละชนิด โดย

ทั่วไปมักจะปรับสภาพแวดล้อมภายในห้องให้มีอุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส ระยะ

เวลาที่ให้แสงประมาณ 12-16 ชั่วโมงต่อวัน ความเข้มของแสง 1,000-3,000 ลักซ์

แต่ถ้าสามารถใช้แสงธรรมชาติได้บ้างจะประหยัดได้มากและได้ผลดี ความชื้นสัมพัทธ์

ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์

การดูแลห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช จะต้องให้สะอาดอยู่เสมอ หมั่นตรวจดูขวดหรือภาชนะที่

เลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ถ้าพบว่ามีเชื้อจุลินทรีย์เจริญขึ้นมาปะปนจะต้องรีบนำออกไปต้มฆ่าเชื้อและ

ล้างทันทีเพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งอาจจะแพร่และฟุ้งกระจายอยู่ภายในห้องได้

เนื้อเยื่อพืชที่เลี้ยงควรมีการเปลี่ยนอาหารใหม่ (subculture) ประมาณ 2 สัปดาห์ต่อ

ครั้ง

13

การเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ผสมสารเคมี ปรับ pH ของอาหารเป็น

5.67 - 5.70

ตักใส่ขวด คนวึ่งามฆ่ดาัเนชื้อท1ี่1อุ5ณ5-ปห2ภอู0นมิด์น1/าต2ทาี1รางเซน็ิล้วเซีนยาสน



อาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

14

การฟอกทำความสะอาดชิ้นพืช

เลือกชิ้นพืชที่ต้องการ ล้างในน้ำไหล

เตรียมสารสำหรับฟอก เช่น
เขย่าสารฟอกเนื้อเยื่อ เพื่อ

คลอร็อกซ์ ทำให้ปราศจากจุลินทรีย์ โดย


ทำในตู้ปลอดเชื้อ

ตัดส่วนที่ไม่ต้องการหรือ
เพาะเลี้ยงชนิดส่วนพืชที่ได้บน

ส่วนที่ซ้ำออก อาหารที่เตียมไว้

15

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

เพาะเลี้ยงเพื่อกระตุ้นให้ชิ้นพืชเกิดยอดใหม่

เพาะเลี้ยงเพื่อกระตุ้นให้ชิ้นพืชจำนวนมาก

เพาะเลี้ยงเพื่อกระตุ้นให้เกิดราก

เก็บรักษาเนื้อเยื่อไว้ที่ห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ

24 องศาเซลเซียล มีความเข้มแสง

2,000 ลักซ์ และให้แสงนาน 14 ชม./วัน

16

การย้ายปลูก

ย้ายปลูกและปรับสภาพต้นในวัสดุ
ย้ายปลูกลงถุงดำที่มีวัสดุเพาะ
ปลูกที่เป็นขี้เถ้าแกลบและเก็บ

รักษาไว้ในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ

24 องศาเซลเซียล

17

การเตรียมตัวก่อนปฏิบัติงาน

ทำความสะอาดมือและแขน
เช็ดทำความสะอาดตู้ปลอดเชื้อก่อนใช้งาน
ด้วยสบู่ และควรเปิดสวิตช์ตู้ให้ระบบต่างๆ ภายใน
ตู้ทำงานก่อนปฏิบัติงาน 15 – 30 นาท

วางอุปกรณ์ที่ใช้ตัดเนื้อเยื่อในตำแหน่ง
ที่เหมาะสมและสะดวกต่อการปฏิบัติงาน

สวมชุดปฏิบัติการ ผ้าคลุมผม

ผ้าปิดปาก - จมูก
และเปลี่ยนรองเท้าก่อนเข้าห้อง

ปฏิบัติการทุกครั้ง

การลนไฟเครื่องมือที่ใช้ปฏิบัติงาน
เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ก่อนเริ่มตัดเนื้อเยื่อ

18

กโเดกากรษยเาใตพรช้รปาพะืลอเชูุลกตีพ้ยัพสนืงาชธหเุแ์นดืกี้บอรจบเรายื
ม่กอ



การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชที่มีประสิทธิภาพ โดย

การนำชิ้นส่วนของพืชที่มีชีวิต เช่น ตายอด ตาข้าง ใบ ก้านใบ อับละอองเกสร

ลำต้น ฯลฯ มาเพาะเลี้ยงในสูตรอาหารสังเคราะห์ ที่มีสสารและวิตามินต่าง ๆ ที่
เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิดซึ่งข้อดีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

ที่โดดเด่น คือสามารถผลิตขยายต้นพืชได้ในปริมาณมาก พืชที่ได้จะมีพันธุกรรม

เหมือนต้นแม่พันธุ์ ทุกประการเพราะฉะนั้น หากต้องการได้ต้นพันธุ์ดีตรงตามพันธุ์

มีคุณภาพ ให้ผลผลิตสูงการคัดเลือกพันธุ์จึงเป็นขั้นตอนเริ่มต้นสำคัญอย่างยิ่งใน

การผลิตพืชโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และที่สำคัญยังสามารถผลิตพืชปลอด

โรคที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส ไฟโตพลาสม่ำ เชื่อรา แบคทีเรียได้อีกด้วย นอกจากนี้

ยังมีข้อดีในด้านการค้าเนื่องจากสามารถ ได้ต้นที่สม่ำเสมอ ซึ่งการผลิตพืช

เศรษฐกิจเชิงอุตสาหกรรมจะเป็นประโยชน์มากในการวางแผนการผลิตให้สามารถ

เก็บผลผลิตได้พร้อมกัน ซึ่งพืชเศรษฐกิจสำคัญที่กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนิน

การผลิตเพื่อส่งเสริมเกษตรกรและเห็นผลเป็นรูปธรรม ได้แก่กล้วย หน่อไม้ฝรั่ง

และอ้อย เป็นต้น

19

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในเชิงพาณิชย์

เกิดจากการนำความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาประยุกต์เข้ากับธุรกิจเชิงพาณิชย์และเป็น

อาชีพทางเลือก ที่สามารถสร้างความมั่นคงและรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างดี
ธุรกิจด้านเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกได้ดังนี้
1. ผู้ที่ทำงานกับผู้ประกอบการธุรกิจด้านเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
2. ผู้ประกอบการธุรกิจด้านเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
3. ผู้ประกอบการตลาดสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม เช่น CP DOLE
4. ผู้ประกอบการธุรกิจโรงเรือนเพาะชำ
5. เกษตรกรผู้ปลูกพืชเชิงการค้า เช่น กล้วย หน่อไม้ฝรั่ง อ้อย

พืชที่ควรดำเนินการในเชิงการค้า

1.พืชเศรษฐกิจ
เช่น หน่อไม้ฝรั่ง

กล้วย สับปะรด ฯลฯ

2.พืชกินแมลง เช่น
หม้อข้าวหม้อแกงลิง
กาบหอยแครง ฯลฯ

3.ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น

กล้วยไม้ หน้าวัว เบญจมาศ

บอนสีอะโกรนีมา ฟิโลเดน


ดรอน ฯลฯ

20

4.ไม้น้ำเช่น
อนูเบียส ชบาน้ำ
อเมซอน ฯลฯ

บรรณานุกรม ค

เอกสารคำแนะนำที่ 4. 2559. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. สืบค้นเมื่อวันที่29 สิงหาคม

2565,/จาก/https://esc.doae.go.thฝwp-content/uploads/2018/12/การ

เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ.pdf

Microsoft Word. 2553. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. สืบค้นเมื่อวันที่29 สิงหาคม

2565,/จาก/http://www.aopdt05.doae.go.th/Index/index%2011.pdf

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. 2559. โรคและแมลงศัตรูสำคัญของส้ม. สืบค้นเมื่อวันที่29

สิงหาคม 2565,/จาก/

https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?

book=26&chap=7&page=t26-7-infodetail08.html#:~:text=โรคสำคัญของส้ม

ที่,ความเสียหายแก่การปลูก

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ. 2558. หน่วยปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. สืบค้นเมื่อวัน

ที่29 สิงหาคม 2565,/จาก/

http://www.rspg.or.th/information/information_11-1.htm

EIS. 2562. ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและเครื่องมือที่สำคัญ. สืบค้นเมื่อวัน

ที่29 สิงหาคม 2565,/จาก/
http://intereducation.co.th/th/2019/02/06/ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้/

บ้านจอมยุทธ. 2543. โรค แมลง และศัตรูพืช. สืบค้นเมื่อวันที่29 สิงหาคม 2565,/จาก/
https://www.baanjomyut.com/index.html




Click to View FlipBook Version