The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แมลงศัตรูผัก เห็ด และไม้ดอก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

แมลงศัตรูผัก เห็ด และไม้ดอก

แมลงศัตรูผัก เห็ด และไม้ดอก

n ก 1 i UklKl พก เหด Iram ร น. 3 i ร m#* * ’1 4ร I m- . - Sr, V-ซี* ตรํร; ร^เ tv ftj % - - ' -- A - ;(»i vv~ SPSS r ~ * ส VJ . . «RS i


พ พก«รุ้แ๙ท เอกสารวิยาการสำแมลอศัถรผักเห็ISBN : 978-97


จีแเ ^ เอกส!รวิขาการ ISBN 970-974-436-768-6 พ.ศ.2554 นมลaศัตรูพัก เมด นละ!ฆ้ดอก Insect Pests of Vegetable Mushroom and Cut Flower สบศักดิสิริพลตั้งมั่น อุราพร หนูนารถ สมรวย รวมขัยอภิกุล ศรีจำนรรจ์ศรวันทรา เรียบเรียง กสุ่มบริหารศัตรูพึข และ กสุ่บกีฏและสิตววิทยา สำนกวิจัยพัฒนาการอาริกขาพืข กรนวิขาการเกษตร


บทนำ เอกสารวิชาการ “แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก” ฉบับนี้ได้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นคู่มือนัก วิชาการ เกษตรกร และผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยภาพและคำบรรยายเกี่ยวกับแมลงศัตรูผัก เห็ด และไม้ดอกที่สำคัญ รวมทั้งลักษณะการทำลาย แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอกที่ปรากฏในเอกสาร ฉบับนี้ไม่ได้ครอบคลุมแมลงศัตรูทุกชนิด แต่จะเน้นแมลงศัตรูที่สำคัญที่พบการระบาด ก่อให้เกิด ความเสียหายเป็นประจำและมีปัญหาในการป้องกันกำจัด คำแนะนำที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ได้ รวบรวมจากผลงานวิจัยของนักวิชาการกลุ่มบริหารศัตรูพืชและกลุ่มกีฏและสัตววิทยา ที่ได้มีการ ศึกษาค้นคว้าปรับปรุงในเชิงวิชาการและเทคโนโลยีในปัจจุบัน ในนามของสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ขอแสดงความชื่นชมต่อกลุ่มบริหารศัตรูพืช และกลุ่มกีฏสัตววิทยาที่ได้ร่วมมือในการจัดทำหนังสือ “แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก” ที่มีคุณค่า และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักวิชาการ เกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องโดยตรงต่อไป (นางพิศวาท บัวรา) ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช M./ l


คำนำของคณะผู้จัดทำ เอกสารวิชาการ “แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก” ฉบับนี้เป็นผลงานที่ได้รวบรวมจากงาน วิจัยของนักวิชาการกลุ่มบริหารศัตรูพืชและกลุ่มกีฏและสัตววิทยา โดยมีการรวบรวมและเรียบเรียง ขึ้นใหม่ให้กระทัดรัดและอ่านง่ายแบบกึ่งวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบชนิดและรูปร่าง ลักษณะของแมลงศัตรูผัก เห็ด และไม้ดอกที่สำคัญ ความเสียหายของพืชเนื่องจากการถูกทำลาย วิธีการป้องกันกำจัด ตลอดจนแมลงศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ทั้งนี้เพื่อเน้นให้นักวิชาการ เกษตรกร ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้ได้ส่วนสารฆ่าแมลงที่ แนะนำไว้ในหนังสือเป็นผลงานที่ผ่านการทดลองวิจัยมาแล้วและมีประสิทธิภาพที่ดีในการป้องกัน กำจัด สำหรับรูปภาพที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นของคณะผู้จัดทำ บางส่วนได้รับความอนุเคราะห์จาก นายไพโรจน์ศรีจันทรา คณะผู้จัดทำขอขอบคุณในความเอื้อเฟื้อมา ณ ที่นี้ สุดท้ายนี้คณะผู้จัดทำขอขอบคุณ นางสาววนาพร วงษ์นิคง ที่ได้รวบรวมและจัดทำภาพ ประกอบในเล่ม ดร.เกรียงไกร จำเริญมา หัวหน้ากลุ่มบริหารศัตรูพืช นางพนมกร วีรวุฒิหัวหน้า ฝ่ายบริหารทั่วไป ที่ทำให้เกิดเอกสารวิชาการฉบับนี้ สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น สมรวย รวมชัยอภิกุล อุราพร หนูนารถ ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา


สารบัญ หน้า บทนำ คำนำของคณะผู้จัดทำ แมลงศัตรูผักและการป้องกันกำจัด 1 ชนิดของพืชผักและแมลงศัตรูที่ทำลาย 2 แมลงศัตรูผักที่สำคัญบางชนิดและการป้องกันกำจัด 15 • หนอนใยผัก 15 • หนอนกระทู้หอม 20 • หนอนกระทู้ผัก 23 • หนอนเจาะยอดกะหล่ำ 24 • หนอนเจาะสมอฝ้าย 25 • หนอนคืบกะหล่ำ 27 • หนอนเจาะฝักลายจุด 29 • หนอนผีเสื้อสีน้ำเงิน 30 • หนอนเจาะผลมะเขือ 31 • หนอนเจาะเถามันเทศ 32 • หนอนผีเสื้อเจาะหัวมันฝรั่ง 33 • ด้วงหมัดผักแถบลาย 34 • ด้วงเต่าแตงแดง 36 • ด้วงงวงมันเทศ 37 • แมลงวันผลไม้ 39 • แมลงวันหนอนชอนใบ 40 • หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว 41 >


หน้า • เพลี้ยไฟพริก 42 • เพลี้ยไฟฝ้าย 44 • เพลี้ยไฟหอม 45 • เพลี้ยจักจั่นฝ้าย 47 • แมลงหวี่ขาวยาสูบ 48 บรรณานุกรม 50 แมลงศัตรูเห็ดและการป้องกันกำจัด 51 บรรณานุกรม 56 แมลงศัตรูไม้ดอกและการป้องกันกำจัด 57 ชนิดของไม้ดอกและแมลงศัตรูที่ทำลาย 57 แมลงศัตรูไม้ดอกที่สำคัญบางชนิดและการป้องกันกำจัด 61 • เพลี้ยไฟฝ้าย 61 • เพลี้ยไฟพริก 63 • เพลี้ยไฟขอบปล้องหยัก 64 • เพลี้ยอ่อน 65 • หนอนกระทู้หอม 67 • หนอนเจาะสมอฝ้าย 67 • หนอนกระทู้ผัก 68 • หนอนเจาะดอกมะลิ 69 • ด้วงกุหลาบ 70 • บั่วกล้วยไม้ 71 • แมลงวันหนอนชอนใบ 72 บรรณานุกรม 74


1 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก แมลงศัตรูผักและ การป้องกันกำจัด สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น การผลิตพืชผักเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีตามความต้องการของตลาดในแหล่งปลูกผักเป็นการ ค้า มักประสบปัญหาศัตรูพืช ได้แก่ โรคพืช แมลงศัตรูพืช และวัชพืช โดยเฉพาะ “แมลงศัตรูพืช” จัดเป็นปัญหาที่สำคัญ เนื่องจากมีการระบาดทำลายอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้ผลผลิตเสียหาย อีกทั้งแมลงศัตรูพืชบางชนิด สามารถพัฒนาความต้านทานสารฆ่าแมลงได้อย่างรวดเร็วและหลาย ชนิด ดังนั้นความรู้เกี่ยวกับแมลงศัตรูผักหากได้อาศัยหลักการแบ่งแยกเป็นกลุ่มหรือประเภทต่างๆ จะสามารถเข้าใจถึงความสำคัญของแมลงชนิดนั้นๆ ได้ง่าย ซึ่งทำให้ได้แนวทางแก้ไขและป้องกัน กำจัดได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ การจำแนกแมลงอย่างง่ายๆ ตามลักษณะการเจริญ เติบโต และการทำลาย สามารถแยกประเภทออกได้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 พวกหนอนผีเสื้อ แมลงศัตรูผักในกลุ่มนี้ที่สำคัญได้แก่ หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะยอดกะหล่ำ หนอนคืบกะหล่ำ หนอนเจาะฝักลายจุด หนอนเจาะผลมะเขือ เป็นต้น พบว่ามีหลายชนิดที่มีปัญหาในการป้องกันกำจัด เนื่องจากแมลงศัตรูใน กลุ่มนี้ได้พัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และมีรายงานการสร้างความ ต้านทานต่อสารเคมีได้แก่ หนอนใยผัก และหนอนกระทู้หอม เป็นต้น กลุ่มที่ 2 พวกแมลงปากดูด แมลงศัตรูผักในกลุ่มนี้ที่สำคัญได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน และแมลงหวี่ขาว เป็นต้น ซึ่งนอกจากทำลายพืชทำให้เกิดความเสียหายแล้ว ยังพบว่าบางชนิดเป็นพาหะนำโรคไวรัสได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังพบติดไปกับผลผลิตทำให้มี ผลกระทบต่อการส่งออก ที่มักพบเสมอๆได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง และตัวอ่อนแมลงหวี่ขาว กลุ่มที่ 3 พวกด้วงปีกแข็ง แมลงศัตรูผักในกลุ่มนี้เมื่อระบาดแล้วก่อให้เกิดความเสียหาย เป็นประจำ ที่สำคัญได้แก่ ด้วงหมัดผัก ด้วงเต่าแตง และด้วงงวงมันเทศ กลุ่มที่4 พวกหนอนแมลงวัน แมลงศัตรูผักในกลุ่มนี้ได้แก่ หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว และ หนอนแมลงวันชอนใบ เป็นต้น แมลงศัตรูผักดังกล่าวข้างต้น บางชนิดทำลายเฉพาะเจาะจงพืช เช่น หนอนใยผัก หนอน เจาะยอดกะหล่ำ และ ด้วงหมัดผัก คือ พบทำลายเฉพาะพืชผักตระกูลกะหล่ำเท่านั้น แต่มีแมลง ศัตรูผักอีกหลายชนิดที่ทำลายพืชได้หลายพืช เช่น หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะ สมอฝ้าย เพลี้ยไฟและแมลงหวี่ขาว เป็นต้น โดยพบทำลายพืชเศรษฐกิจ ทั้งพืชผัก พืชไร่ และไม้ ดอกต่างๆ และในช่วงบางฤดูปลูกหากสภาพเหมาะสมอาจพบแมลงศัตรูหลายชนิดระบาดพร้อมๆ กันในพืชชนิดเดียวกัน ดังนั้นจะต้องทราบชนิดของศัตรูพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัดที่เหมาะ สม ทั้งนี้เพื่อลดการระบาดของแมลงศัตรูผักให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลิตผล ร


2 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก ชนิดของพืชผักและ แมลงศัตรูที่ทำลาย พืชผัก ตระกูลกะหล่ำ พืชผักตระกูลกระหล่ำ (Crucifers, Brassica spp.) จัดเป็นพืชผักที่สำคัญที่สุดตระกูลหนึ่งใน ประเทศไทย เนื่องจากเป็นผักที่ใช้บริโภคในชีวิตประจำวันจึงมีการปลูกทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะ ในเขตจังหวัดรอบๆ กรุงเทพฯ มีแหล่งปลูกใหญ่หลายแห่ง พืชผักตระกูลนี้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น กะหล่ำปลีคะน้า ผักกาดขาวปลีผักกาดเขียวปลีกะหล่ำดอก บร็อคโคลี่ และผักกาดหัวเป็นต้น การผลิตพืชตระกูลกะหล่ำเพื่อการค้า เป็นสวนผักที่มีพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่และปลูกต่อเนื่อง ตลอดปีมักประสบปัญหาศัตรูพืชเข้าทำลายโดยเฉพาะแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ ได้แก่ พวกหนอนผี เสื้อ เช่น หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะยอดกะหล่ำ ซึ่งหนอนจะเข้า ทำลายโดยการกัดกินใบหรือเจาะเข้าส่วนยอด และพวกด้วงปีกแข็ง เช่น ด้วงหมัดผัก ซึ่งมีลักษณะ การทำลายโดยตัวอ่อนที่เจริญเติบโตในดิน กัดทำลายราก ส่วนตัวแก่กัดกินใบพืชตระกูลกะหล่ำ แนวทางการป้องกันกำจัดมีความยุ่งยากและซับซ้อน เนื่องจากแมลงศัตรูมีความต้านทานต่อสาร ฆ่าแมลงหลายชนิด และมักพบระบาดรุนแรงเสมอในแหล่งปลูก จึงต้องใช้หลายวิธีการจึงจะ ประสบผลสำเร็จในการควบคุมแมลงศัตรูดังกล่าว เช่น วิธีเขตกรรม วิธีกล การใช้ระดับเศรษฐกิจ ร่วมกับการใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการลดจำนวนแมลงศัตรูให้อยู่ในระดับต่ำกว่าระดับ เศรษฐกิจ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งวิธีการที่นำมาใช้ต้องปลอดภัย ต่อผู้ใช้และผู้บริโภค ไม่มีสารพิษตกค้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ชนิดของแมลงศัตรูพืชผักตระกูลกะหล่ำและส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชนิดแมลงศัตรูพืช ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ 1. หนอนใยผัก (diamondback moth) Plutella xylostella (Linnaeus) กินใบ กาบใบ ยอด ดอก หัว 2. ด้วงหมัดผัก (leafeating beetle) Phyllotreta chontanica Duvivier Phyllotreta sinuata Steph. กัดกินใบ ตัวอ่อนกัดกิน ราก 3. หนอนเจาะยอดกะหล่ำ (cabbage webworm) Hellula undalis(Fabricius) เจาะกัดกินยอด ดอก หัว 4. หนอนกระทู้ผัก (commoncutworm) Spodoptera litura (Fabricius) กัดกินใบ ดอก หัว i J ร.


3 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก ชนิดแมลงศัตรูพืช ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ 5. หนอนกระทู้หอม (beetarmyworm) Spodoptera exigua (Hubner) กัดกินใบ ดอก หัว 6. หนอนคืบกะหล่ำ (cabbagelooper) Trichoplusia ni Hubner กัดกินใบ 7. หนอนแมลงวันชอนใบ กะหล่ำ(cabbageleaf miner) Liriomyza brassicae(Riley) ชอนใบ กัดกินใบ 8. หนอนกระทู้ดำ (blackcutworm) Agrotis ipsilon(Hufnagel) กัดกินต้นกล้า 9. เพลี้ยอ่อนฝ้าย (cottonaphid) Aphis gossypii Glover ดูดน้ำเลี้ยงใบอ่อน 10. แมลงหวี่ขาวยาสูบ (tobacco whitefly) Bemisia tabaci (Gennadius) ดูดน้ำเลี้ยงใบ 11. หนอนกะหล่ำ (cabbage moth) Crocidolomia binoltalis Zeller กัดกินใบ ดอก 12. มวนผัก (leaf sucking bug) Eurydema pulchra Westwood ดูดกินน้ำเลี้ยงใบ 13. เพลี้ยอ่อนกะหล่ำ (cabbageaphid) Lipaphis erysimi (Kaltenbach) ดูดกินน้ำเลี้ยงใบ ยอดอ่อน ดอก 14. เพลี้ยอ่อน (aphid) Myzus persicae (Sulzer) ดูดกินน้ำเลี้ยงใบ ยอดอ่อนดอก 15. หนอนผีเสื้อขาว (cabbage white butterfly) Pieris rapae (Linnaeus) กัดกินใบ ดอก 16. เพลี้ยอ่อนข้าวโพด (cornleafaphid) Rhopalosiphum maidis (Fitch) ดูดน้ำเลี้ยงใบ ถั่วฝักยาวและ ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาวและถั่วลันเตา เป็นพืชผักเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย การส่งออกมีตลาดต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ฮ่องกง สิงคโปร์ประเทศในตะวันออกกลางและยุโรป ปัจจุบันการส่งออกถั่วฝักยาวมีการขยายตัวมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในแหล่งที่มีคนเอเชียเข้าไป ประกอบอาชีพหรืออาศัยอยู่ การผลิตถั่วฝักยาวและถั่วลันเตาเพื่อการค้านั้น พบแมลงและไรศัตรู I พ


4 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก พืชเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตถั่วฝักยาวลดลง 20 – 25% ศัตรูที่สำคัญและเป็นสาเหตุทำให้ ผลผลิตของถั่วฝักยาวลดลงอย่างเด่นชัด ได้แก่ หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว หนอนเจาะฝักลายจุด หนอนผีเสื้อสีน้ำเงิน หนอนกระทู้หอม เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ และไรขาว เป็นต้น การเข้าทำลายของ ศัตรูดังกล่าวพบทุกระยะการเจริญเติบโต แต่ความรุนแรงในการระบาดและทำลายแตกต่างกันไป ที่สามารถจัดเป็นชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เพราะเคยระบาดทำลายถั่วฝักยาวจนเกิดความ เสียหายมี3ชนิด คือ หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว หนอนเจาะฝักลายจุด และหนอนผีเสื้อสีน้ำเงิน ชนิดของแมลงศัตรูถั่วฝักยาว ถั่วลันเตาและส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชนิดศัตรูพืช ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ 1. หนอนแมลงวันเจาะ ต้นถั่ว (beanfly) Melanagromyza sojae(Zehntner) Ophiomyia phaseoliTryon เจาะต้น เถา 2. หนอนเจาะฝักลายจุด (bean pod borer) Maruca testulalis (Hubner) เจาะดอก ฝักถั่ว 3. หนอนผีเสื้อสีน้ำเงิน (bean butterfly) Lampides boeticus (Linnaeus) เจาะดอก ฝักถั่ว 4. หนอนกระทู้หอม (beetarmyworm) Spodoptera exigua (Hubner) กัดกินใบ ดอก ฝักถั่ว 5. เพลี้ยอ่อนถั่วฝักยาว (beanaphid) Aphis craccivora Koch ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอก ฝักถั่ว 6. ไรขาว (broad mite) Polyphagotarsonemus latus (Banks) ดูดกินน้ำเลี้ยงใบอ่อน ยอดอ่อน 7. เพลี้ยไฟดอกถั่ว (beanflower thrips) Megalurothrips usitatus (Bagnall) ดูดกินน้ำเลี้ยงใบอ่อน ยอด ดอก ฝักถั่ว 8. ไรแดง (red mite) Tetranychus macfarlanei Bakerand Pritchard ดูดกินน้ำเลี้ยงใบ


5 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก พริก พริกจัดเป็นพืชผักซึ่งปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันทั้งนี้เพราะว่า ขณะ นี้พริกเป็นพืชผักเศรษฐกิจที่สำคัญ สำหรับใช้ทั้งบริโภคภายในประเทศ และส่งเป็นสินค้าออกไป ต่างประเทศ ในยุคก่อนๆ การปลูกพริกอาจจะไม่มีปัญหามากเช่นในปัจจุบันเพราะไม่ได้ปลูกกัน เป็นบริเวณกว้างหรือปลูกเป็นประจำ เป็นธรรมดาของการปลูกพืชในที่ใหม่มักจะไม่ค่อยมีปัญหา มากนัก แต่ถ้ามีการปลูกพืชซ้ำที่เดิมและขยายเนื้อที่การปลูกเป็นบริเวณกว้าง ติดต่อกันปัญหา ต่างๆ ก็มักจะสะสมมากขึ้นเป็นลำดับ การแก้ไขโดยวิธีการแผนใหม่ที่ได้จากงานวิจัย เกษตรกรจะ สามารถเพิ่มผลผลิตได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ ศัตรูพริกที่เป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบันมี3 ชนิด ด้วยกัน ได้แก่ เพลี้ยไฟ ไรขาวพริกและหนอนเจาะผลพริก เมื่อระบาดแล้วจะเกิดความเสียหาย ทำให้เกษตรกรต้องพ่นสารฆ่าแมลงเป็นประจำและบ่อยครั้ง ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องแก้ไขปัญหา โดยควรศึกษาถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันกำจัดที่ได้ผลดีเหมาะสม โดยมุ่งเน้นการลดการใช้สาร เคมีและหาแนวทางเลือกอื่นทดแทน ชนิดของแมลงศัตรูพริกและส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชนิดศัตรูพืช ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ 1. เพลี้ยไฟพริก (chili thrips) Scirtothrips dorsalis Hood ดูดกินน้ำเลี้ยงใบอ่อน ยอด ตาดอก ผลพริก 2. เพลี้ยไฟมะละกอ (papayathrips) Thrips parvispinus Karny ดูดกินน้ำเลี้ยงใบอ่อน ยอด ตาดอก ผลพริก 3. หนอนเจาะสมอฝ้าย (cotton bollworm) Helicoverpa armigera (Hubner) กัดกินใบ ดอก ผลพริก 4. เพลี้ยอ่อนฝ้าย (cottonaphid) Aphis gossypii Glover ดูดน้ำเลี้ยงใบ ผลพริก 5. แมลงหวี่ขาวยาสูบ (tobacco whitefly) Bemisia tabaci (Gennadius) ดูดน้ำเลี้ยงใบ 6. แมลงวันผลไม้ (solanum fruit fly) Bactrocera latifrons (Hendel) เจาะกัดกินในผลพริก 7. เพลี้ยไฟดอกไม้ (cotton bud thrips) Frankliniella schultzei Trybone ดูดน้ำเลี้ยงที่ดอก 8. หนอนกระทู้ผัก (commoncutworm) Spodoptera litura (Fabricuis) กัดกินใบ ดอก ผลพริก 9. หนอนกระทู้หอม (beetarmyworm) Spodoptera exigua Hubner กัดกินใบ ดอก ผลพริก ร.


6 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก พืชผัก ตระกูลแตง พืชผักตระกูลแตง (Cucurbitaceae) จัดเป็นพืชผักที่สำคัญทางเศรษฐกิจของไทย พืชที่ สำคัญในตระกูลนี้ได้แก่ แตงโม แตงกวา มะระ ฟักทอง ฟักเขียว บวบและแคนตาลูป เป็นต้น โดย ผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศและการส่งออก ทั้งในรูปบริโภคสดและแปรรูป เช่น แตงกวามีการส่ง เสริมให้ปลูกเพื่อแปรรูปเป็นผักดองส่งตลาดต่างประเทศเช่น ญี่ปุ่น เป็นต้น ส่วนมะระก็มีการผลิตเพื่อ การส่งออกและบริโภคสด แต่ปัญหาการผลิตที่สำคัญในขณะนี้ได้แก่ แมลงศัตรูที่สำคัญและสร้าง ความเสียหายคือ เพลี้ยไฟฝ้าย นอกจากทำลายพืชให้เสียคุณภาพแล้ว บางครั้งติดไปกับผลผลิต ทำให้มีปัญหาด้านการส่งออก จากรายงานของกองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร เมื่อประมาณต้นปี 2542 พบว่ามีเพลี้ยไฟฝ้ายติดไปกับมะระทำให้มีผลกระทบต่อการส่งออกดังนั้นการจัดการแมลงศัตรู ดังกล่าว ควรมีการป้องกันและควบคุมตั้งแต่การปลูกในสภาพไร่จนถึงหลังการเก็บเกี่ยว ชนิดของแมลงศัตรูพืชตระกูลแตงและส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชนิดแมลงศัตรูพืช ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ 1. เพลี้ยไฟฝ้าย (cottonthrips) Thrips palmi Karny ดูดกินน้ำเลี้ยงยอดอ่อน ใบอ่อน ผลอ่อน 2. ด้วงเต่าแตงดำ (blackcucurbit leaf beetle) Aulacophora frontalis Baly กัดกินใบ ตัวอ่อนกินราก 3. ด้วงเต่าแตงแดง (red cucurbit leaf beetle) Aulacophora indica (Gmelin) กัดกินใบ ตัวอ่อนกินราก 4. เพลี้ยอ่อนฝ้าย (cottonaphid) Aphis gossypii Glover ใบอ่อน ยอดอ่อน ผลอ่อน 5. แมลงวันแตง (melonfruit fly) Bactrocera cucurbitae (Coquillett) เจาะกัดกินในผล 6. เสี้ยนดิน (subterraneanant) Dorylus orientalis Westwood กินผลอ่อนแตงโม 7. หนอนแตง (leafeating caterpillar) Margaeonia indica Saunders กัดกินใบ 8. หนอนกระทู้หอม (beetarmyworm) Spodoptera exigua (Hubner) กัดกินใบ แทะผิวผล เจาะผล 9. หนอนกระทู้ผัก (commoncutworm) Spodoptera litura (Fabricius) กัดกินใบ แทะผิวผล เจาะผล


7 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก มะเขือเทศ มะเขือเทศจัดเป็นพืชผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกพืชหนึ่ง การผลิตมะเขือเทศมีทั้ง บริโภคสดและแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรม เพื่อบริโภคภายในประเทศและส่งออก แต่การผลิต มะเขือเทศเพื่อให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพนั้นมีปัญหาเรื่องแมลงศัตรูเป็นสิ่งสำคัญ แมลงศัตรูที่ สำคัญดังกล่าวได้แก่ หนอนเจาะสมอฝ้าย ทำลายโดยการเจาะผล แมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะนำ เชื้อไวรัสทำให้เกิดโรคใบหงิกเหลืองและหนอนแมลงวันชอนใบกัดกินใต้ผิวใบ เป็นต้น เกษตรกร ส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ก่อให้เกิดการสร้างความ ต้านทานต่อสารเคมีในเวลาต่อมา ดังนั้นการจัดการแมลงศัตรูของมะเขือเทศจึงมุ่งการลดการใช้ สารเคมีเป็นประเด็นสำคัญและให้มีการใช้เท่าที่จำเป็น เลือกใช้สารฆ่าแมลงที่มีความปลอดภัย หา วิธีการอื่นทดแทนการใช้สารเคมีเช่น การใช้เชื้อแบคทีเรีย และวิธีการอื่น เช่น ใช้กับดักกาวเหนียว สีเหลืองมาผสมผสานกันเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูดังกล่าวต่อไป ชนิดของแมลงศัตรูมะเขือเทศและส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชนิดแมลงศัตรูพืช ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ 1. หนอนเจาะสมอฝ้าย (cotton ballworm) Helicoverpa armigera (Hubner) กัดกินดอก เจาะผลมะเขือ เทศ 2. แมลงหวี่ขาวยาสูบ (tobacco whitefly) Bemisia tabaci (Gennadius) ดูดน้ำเลี้ยงจากใต้ใบ 3. หนอนแมลงวันชอนใบ (leaf miner flies) Liriomyza sativae Blanchard กัดกินใต้ผิวใบ 4. หนอนกระทู้ผัก (commoncutworm) Spodoptera litura(Fabricius) กัดกินใบ ดอก ผล 5. หนอนกระทู้หอม (beetarmyworm) Spodopteraexigua(Hubner) กัดกินใบ ดอก ผล มะเขือเปราะและ มะเขือยาว มะเขือเปราะ และมะเขือยาว เป็นพืชผักที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งซึ่งสามารถทำรายได้ดีไม่ แพ้พืชผักตระกูลอื่นๆ สามารถเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปีช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่


8 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก เกษตรกรผู้ปลูกอย่างสม่ำเสมอ แต่ต้องมีการปฏิบัติดูแลรักษาและป้องกันแมลงศัตรูที่คอยมา ทำลายแมลงที่สำคัญในขณะนี้ได้แก่ หนอนเจาะผลมะเขือเปราะ ซึ่งถ้าหากระบาดอย่างรุนแรงก็ ทำให้ผลผลิตเกิดความเสียหาย คุณภาพต่ำ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด เกษตรกรต้องลงทุนเสีย ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสารฆ่าแมลงที่นำไปใช้พ่นป้องกันกำจัดเป็นมูลค่าสูง ส่วนการพิจารณานำสาร ฆ่าแมลงชนิดใดหรือวิธีป้องกันอย่างไร ผู้ใช้จำเป็นจะต้องทำการศึกษาและเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นให้ เข้าใจชัดเจนให้ดีเสียก่อนจึงสามารถนำเอาวิธีการต่างๆ ไปปฏิบัติเพื่อให้การป้องกันกำจัดแมลง ศัตรูมะเขือได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ ชนิดของแมลงศัตรูมะเขือเปราะ มะเขือยาวและส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชนิดแมลงศัตรูพืช ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ 1. หนอนเจาะผลมะเขือ (egg-plant fruitborer) Leucinodes orbonalis Guenee เจาะยอดและผลมะเขือ 2. เพลี้ยจักจั่นฝ้าย (cottonleafhopper) Amrasca biguttula biguttula (Ishida) ดูดกินน้ำเลี้ยงใบ 3. แมลงหวี่ขาวยาสูบ (tobacco whitefly) Bemisia tabaci (Gennadius) ดูดกินน้ำเลี้ยงใบ 4. เพลี้ยไฟฝ้าย (cottonthrips) Thrips palmi Karny ดูดกินน้ำเลี้ยงตาดอก ดอก ยอดอ่อน ขั้วและผล มะเขือ หอมแดง หอมแบ่ง และ หอมหัวใหญ่ หอมแดง หอมแบ่ง และหอมหัวใหญ่ แต่เดิมพื้นที่ปลูกหอมแหล่งใหญ่และปลูกเป็นการค้า อยู่ที่จังหวัดราชบุรีแต่เนื่องจากขณะนั้นมีปัญหาด้านการระบาดของแมลงศัตรูซึ่งได้แก่ หนอนกระทู้ หอม เกษตรกรผู้ปลูกมีปัญหาด้านการป้องกันกำจัด ทำให้มีการพ่นสารฆ่าแมลงเกือบทุกชนิด แต่ยัง พบการลงทำลายและไม่สามารถเก็บผลผลิตได้จึงมีการขยายแหล่งปลูกไปยังแหล่งใหม่ซึ่งเป็นแหล่ง ใหญ่ในปัจจุบัน คือ จังหวัดศรีสะเกษ และ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ในการป้องกันกำจัดศัตรู หอมในปัจจุบันมุ่งเน้นการลดการใช้สารเคมีและหาทางเลือกอื่นทดแทนการใช้สารเคมี


9 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก ชนิดของแมลงศัตรูหอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่และส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชนิดแมลงศัตรูพืช ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ 1. หนอนกระทู้หอม (beetarmyworm) Spodoptera exigua (Hubner) กัดกินหลอดหอม หัว 2. หนอนแมลงวันชอนใบหอม (onionleaf miner flies) Liriomyza chinensis Kato ชอนใบ กัดกินใต้ผิวใบ 3. เพลี้ยไฟหอม (onionthrips) Thrips tabaci Lindeman ดูดน้ำเลี้ยงใบ หัว 4. หนอนกระทู้ผัก (commoncutworm) Spodoptera litura (Fabricius) กัดกินหลอดหอม หัว หน่อไม้ฝรั่ง หน่อไม้ฝรั่ง เป็นพืชผักส่งออกที่มีตลาดรองรับแน่นอน ราคาประกันคงที่และที่สำคัญคือ ได้ ผลตอบแทนต่อไร่สูง และทำรายได้เข้าประเทศสูงมากพืชหนึ่ง หน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชที่ปลูกมานาน แล้วในประเทศไทย ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศและอยู่ในแผนเร่งรัดเพื่อบริโภค สดและส่งเสริมเป็นสินค้าออก เป็นพืชที่จัดอยู่ในแผนหลักของกรมวิชาการเกษตร แต่เดิมพื้นที่ปลูก หน่อไม้ฝรั่งมีน้อยมาก ในปี2530 มีเพียง 3,000 ไร่ ปลูกเพียง 7 – 8 จังหวัด แต่ในปัจจุบันมีการ ขยายพื้นที่ปลูกนับหมื่นไร่ และเพิ่มขึ้นอีกหลายจังหวัด ความต้องการหน่อไม้ฝรั่งมีเพิ่มมากขึ้นทั้ง ตลาดในและต่างประเทศ สำหรับในประเทศนั้นหน่อไม้ฝรั่งที่นำมาบริโภคกันทั่วไปส่วนหนึ่งมาจาก หน่อไม้ฝรั่งที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่วนผลผลิตที่ได้มาตรฐานจะทำการส่งออกไปยังต่างประเทศ จาก ข้อมูลของสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ระบุว่า ตลาดส่งออกของหน่อ ไม้ฝรั่งในปัจจุบันมีมากกว่า 20 ประเทศ และที่เป็นตลาดสำคัญรายใหญ่คือ ญี่ปุ่น การผลิตหน่อไม้ ฝรั่งในประเทศไทยมีทั้งหน่อขาวและหน่อเขียว คือหน่อขาวผลิตเพื่อแปรรูปทางอุตสาหกรรมบรรจุ กระป๋อง ส่วนหน่อเขียวผลิตเพื่อบริโภคสด เพื่อให้ได้ตรงตามมาตรฐานการส่งออกซึ่งมีข้อกำหนด ดังนี้ลักษณะของหน่อต้องตรงไม่คดงอ ไม่แคระแกรน ความยาวของหน่อ 25 ซม. มีส่วนเขียวมาก กว่า 18ซม. ต้องปราศจากโรคแมลงซึ่งจากข้อกำหนดดังกล่าวจึงนำมาจัดเป็นเกรด เอซึ่งมีเส้นผ่า ศูนย์กลางขนาด 1ซม.ขึ้นไป เกรด บีมีขนาด 0.8–1.0ซม. ปัญหาสำคัญที่สุดอันเป็นอุปสรรคต่อการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งทำให้ผลผลิตไม่ได้มาตรฐาน การส่งออกก็คือ แมลงศัตรูซึ่งพบมีมากมายหลายชนิด การผลิตหน่อไม้ฝรั่งในประเทศไทยนั้น พ


10 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก เกษตรกรทำการพ่นสารฆ่าแมลงเป็นประจำเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชนั้น พบเกษตรกรใช้สาร ฆ่าแมลงต่างๆ กันถึง 8 กลุ่มสาร โดยมีช่วงพ่น 7 – 10 วัน แมลงศัตรูสำคัญที่เป็นปัญหาควรแก้ไข ในขณะนี้ได้แก่ หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทู้ผัก และเพลี้ยไฟหอม แมลง ศัตรูดังกล่าวข้างต้นนี้ในปัจจุบันได้มีการค้นคว้าหาวิธีการป้องกันกำจัด และพัฒนาไปถึงขั้นการ ป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน พบว่าวิธีดังกล่าวสามารถลดการใช้สารลงได้40% และได้มีการ ถ่ายทอดวิธีการและเทคโนโลยีไปยังเกษตรกรผู้ปลูก รวมทั้งเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งวิธีการ ดังกล่าวสามารถยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อความสำเร็จในการปลูกหน่อไม้ฝรั่งในอนาคตต่อไป ชนิดของแมลงศัตรูหน่อไม้ฝรั่งและส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชนิดแมลงศัตรูพืช ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ 1. หนอนกระทู้หอม (beetarmyworm) Spodoptera exigua (Hubner) กัดกินหน่อ กิ่ง ก้าน ใบ ต้น 2. หนอนเจาะสมอฝ้าย (cotton bollworm) Helicoverpa armigera (Hubner) กัดกินหน่อ กิ่ง ก้าน ใบ ต้น เมล็ด 3. หนอนกระทู้ผัก (commoncutworm) Spodoptera litura (Fabricius) กัดกินหน่อ กิ่ง ก้าน ใบ ต้น 4. เพลี้ยไฟหอม (onionthrips) Thrips tabaci Lindeman ดูดกินน้ำลี้ยงจากหน่อใบ 5. หนอนกระทู้ดำ (blackcutworm) Agrotis ipsilon(Hufnagel) กัดกินหน่อ 6. บุ้งเหลือง (leafeating caterpillar) Dasychira mendosa(Hubner) กัดกินกิ่ง ก้าน ใบ 7. หนอนคืบ (leafeating caterpillar) Hyposidra talaca Walker กัดกินกิ่ง ก้าน ใบ 8. บุ้งปกเหลือง (leafeating caterpillar) Orgyia postica(Walker) กัดกินกิ่ง ก้าน ใบ 9. บุ้งปกขาว (leafeating caterpillar) Orgyia turbata Butler กัดกินกิ่ง ก้าน ใบ 10. แมลงค่อมทอง (green weevil) Hypomeces squamosus Fabricius กัดกินใบ 11. ด้วงงวง (weevil) Astycus lateralisFabricius กัดกินใบ


11 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชผักที่มีความสำคัญในด้านการส่งออก มีการปลูกกันอย่างจริงจังต่อ เนื่องกันมานานประมาณ 10 ปีมีแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในภาคกลางและภาคตะวันตก ตลาดที่ สำคัญของกระเจี๊ยบเขียวในขณะนี้คือ ประเทศญี่ปุ่น สำหรับเมล็ดพันธุ์ที่ปลูกเพื่อการส่งออกนั้นยังต้องใช้พันธุ์จากต่างประเทศ โดยมีการนำเข้า มาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งลักษณะประจำพันธุ์คือ ฝักต้องเป็นรูปห้าเหลี่ยม สีเขียว ฝักตรงไม่โค้งงอ ไม่มีรอยตำหนิและปราศจากการทำลายของโรคและแมลง ขนาดความยาวฝักต้องอยู่ระหว่าง 7 – 11 ซม. และเส้นผ่าศูนย์กลางต้องไม่เกิน 1.5 ซม. การปลูกกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออกนั้น มีตลาดรองรับแน่นอน ราคาประกันคงที่ และที่สำคัญได้ผลตอบแทนต่อไร่สูง และจัดเป็นพืชผัก ส่งออกที่ทำรายได้สูงพืชหนึ่ง ปัญหาสำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการปลูกกระเจี๊ยบเขียวที่ทำให้ผลผลิตไม่ได้ มาตรฐานส่งออกคือ แมลงศัตรูซึ่งพบมีมากมายหลายชนิด เกษตรกรทำการพ่นสารฆ่าแมลงเป็น ประจำเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชดังกล่าว ในการพ่นแต่ละครั้งจะผสมสารฆ่าแมลงหลายชนิด มักพบ สารฆ่าแมลง 3 ชนิดผสมกันมากที่สุด แมลงศัตรูสำคัญ ได้แก่ หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย เพลี้ยไฟฝ้าย และเพลี้ยจักจั่นฝ้าย ปัจจุบันได้มีการค้นคว้าหาวิธีการป้องกันกำจัดและพัฒนาไปถึง ขั้นการป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน พบว่าวิธีการดังกล่าวสามารถลดการใช้สารเคมีลงได้40% สามารถยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อความสำเร็จในการปลูกกระเจี๊ยบเขียวในอนาคตต่อไป ชนิดของแมลงศัตรูกระเจี๊ยบเขียวและส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชนิดศัตรูพืช ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ 1. หนอนกระทู้หอม (beetarmyworm) Spodoptera exigua (Hubner) กัดกินใบ ดอก ฝัก 2. หนอนเจาะสมอฝ้าย (cotton bollworm) Helicoverpa armigera (Hubner) กัดกินใบ ดอก ฝัก 3. หนอนกระทู้ผัก (commoncutworm) Spodoptera litura (Hubner) กัดกินใบ ดอก ฝัก 4. แมลงหวี่ขาวยาสูบ (whitefly) Bemisia tabaci (Gennadius) ดูดกินน้ำเลี้ยงใบ 5. เพลี้ยจักจั่นฝ้าย (cottonleafhopper) Amrasca biguttula biguttula (Ishida) ดูดกินน้ำเลี้ยงใบ


12 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก ชนิดศัตรูพืช ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ 6. เพลี้ยแป้ง (mealybug) Phenacoccus sp. ดูดกินน้ำเลี้ยงใบ ยอด ฝัก 7. เพลี้ยไฟฝ้าย (cottonthrips) Thrips palmi Karny ดูดกินน้ำเลี้ยงใบ ยอด ฝัก 8. หนอนหนามเจาะสมอฝ้าย (spiny bollworm) Earias fabia Stoll เจาะดอก ฝัก 9. เพลี้ยอ่อนฝ้าย (cottonaphid) Aphis gossypii Glover ดูดกินน้ำเลี้ยงใบ ยอด ฝัก 10. หนอนม้วนใบ (leaf roller) Archips micaceana(Wallker) กัดกินใบ 11. แมลงวันหนอนม้วนใบ (leaf roller) Syllepte derogateFabricius กัดกินใบ 12. หนอนแมลงวันชอนใบ (leaf miner flies) Agromyza sp. ชอนใบกัดกินใต้ผิวใบ 13. ไรแดง (red mite) Tetranychus macfarlanei Baker And Pritchard ดูดกินน้ำเลี้ยงใบ มันเทศ มันเทศ (Sweet potato, Ipomoea batatas Lamk.) เป็นพืชที่ปลูกง่ายและขึ้นได้ในดินทุก ชนิด ในประเทศไทยพบปลูกทั่วทุกภาคและตลอดปีพันธุ์มันเทศที่นิยมปลูกมีอายุระหว่าง 3-6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งปลูกและฤดูกาล เช่น ในแหล่งที่ปลูกมันเทศโดยอาศัยน้ำฝนจะมีการ ปลูกปีละครั้งหลังนา พันธุ์มันเทศที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์อายุสั้น 3 เดือน ส่วนในแหล่งที่มีการ ชลประทานและปลูกเป็นการค้า พันธุ์มันเทศที่นิยมปลูกจะมีอายุเก็บเกี่ยวนานถึง 4-6 เดือน โดย อาจปลูก 2 ฤดูหรือปลูกต่อเนื่องกันตลอดปี แมลงศัตรูมันเทศมีมากถึง 10 ชนิด แต่ที่เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญ ได้แก่ ด้วงงวงมันเทศ หนอน เจาะเถามันเทศ หนอนชอนใบมันเทศ หนอนกระทู้หอม แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ ด้วงงวงมันเทศ แมลง ศัตรูชนิดนี้พบระบาดทำความเสียหายมากที่สุดในแหล่งปลูกมันเทศทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่ง ปลูกเพื่อเป็นการค้าซึ่งมักพบปลูกมันเทศต่อเนื่องกันตลอดปีจะมีปัญหาด้วงงวงมันเทศระบาดมาก


13 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก ชนิดของศัตรูมันเทศและส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชนิดศัตรูพืช ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ 1. ด้วงงวงมันเทศ (sweet potato weevil) Cylas formicariusFabricius กัดกินเถา ลำต้น และหัว 2. หนอนเจาะเถามันเทศ (sweet potatostem borer) Omphisa anastomosalis (Guenee) เจาะลำต้น และเถา 3. หนอนชอนใบมันเทศ (leaf mining caterpillar) Bedellia somnulentella (Zeller) กัดกินใต้ผิวใบ 4. หนอนกระทู้หอม (beetarmyworm) Spodoptera exigua(Hubner) กัดกินใบ 5. หนอนผีเสื้อเหยี่ยว (hawk moth) Agrius convolvuliLinnaeus กัดกินใบ 6. หนอนกระทู้ผัก (commoncutworm) Spodoptera litura(Fabricius) กัดกินใบ 7. แมลงหวี่ขาวยาสูบ (tobacco whitefly) Bemisia tabaci (Gennadius) ดูดน้ำเลี้ยงใบ 8. เพลี้ยไฟ (thrips) Taeniothrips sp. ดูดน้ำเลี้ยงใบ 9. ด้วงเต่า (leafeating beetle) Metriona circuemdata Hbst. กัดกินใบ 10. ไรแดง (red mite) Tetranychus hydrangeae Pritchard and Baker ดูดกินน้ำเลี้ยงใบ มันฝรั่ง มันฝรั่ง (Irish potato, Solanum tuberosum Linnaeus) เป็นพืชที่มีความสำคัญทาง เศรษฐกิจพืชหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดทางแถบที่ราบสูงของเทือกเขาแอนดิสในอเมริกาใต้ปลูกกันมานาน แล้ว แถบที่มีพื้นที่ปลูกมาก ได้แก่ ยุโรปตะวันตก เอเชีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้และประเทศ แถบอัฟริกา สำหรับในประเทศไทยการปลูกมันฝรั่งจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในภาคเหนือ เนื่องจากทำรายได้ให้แก่เกษตรกรสูง ซึ่งร้อยละ 90 ของผลผลิตที่ได้นำไปเป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิต มันฝรั่งทอดกรอบ (potato chips) จากการที่มีการขยายพื้นที่ปลูกและปลูกอย่างต่อเนื่อง ในบาง พื้นที่ เช่น เขตอำเภอพบพระ จังหวัดตาก อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้มีแมลงศัตรูที่สำคัญ


14 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก บางชนิดลงทำลายเสมอๆ แต่ที่สำคัญและก่อให้เกิดความเสียหาย ได้แก่ หนอนผีเสื้อเจาะหัวมัน ฝรั่ง หากเกษตรกรไม่ทำการป้องกันกำจัด หรือใช้วิธีป้องกันกำจัดไม่ถูกต้อง และเหมาะสมแล้วก็ จะทำให้หัวมันฝรั่งที่เก็บไว้ได้รับความเสียหาย ชนิดของแมลงศัตรูมันฝรั่งและส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชนิดแมลงศัตรูพืช ส่วนของพืชที่ถูก ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ทำลาย 1. หนอนผีเสื้อเจาะหัวมันฝรั่ง (potatotuber moth) Phthorimaea operculella (Zeller) กัดกินใบ หัว 2. เพลี้ยไฟฝ้าย,เพลี้ยไฟพริก (cottonthrips,chili thrips) Thrips palmi Karny Scirtothrips dorsalis Hood ดูดกินน้ำเลี้ยงใบ ดอก 3. หนอนกระทู้หอม (beetarmyworm) Spodoptera exigua (Hubner) กัดกินใบ ดอก 4. หนอนกระทู้ผัก (commoncutworm) Spodoptera litura (Fabricius) กัดกินใบ ดอก หัว 5. หนอนกระทู้กัดต้น (blackcutworm) Agrotis ipsilon (Hufnagel) กัดกินต้น หัว 6. หนอนแมลงวันชอนใบ (leaf miner) Liriomyza brassicae (Riley) ชอนใบกัดกินใต้ผิวใบ 7. เพลี้ยอ่อน (aphid) Myzus persicae Sulzer Aphis gossypii Glover ดูดกินน้ำเลี้ยงใบ 8. หนอนเจาะสมอฝ้าย (cut bollworm) Helicoverpa armigera (Hubner) กัดกินใบ ดอก


15 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก แมลงศัตรูผักที่สำคัญบางชนิดและ การป้องกันกำจัด หนอนใยผัก (diamondback moth) ชื่อวิทยาศาสตร์ Plutella xylostella (Linnaeus) วงศ์ Yponomeutidae อันดับ Lepidoptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย หนอนใยผักเป็นแมลงศัตรูสำคัญและก่อให้เกิดความเสียหายกับผักตระกูลกะหล่ำทั่ว ประเทศไทย โดยเฉพาะในแหล่งปลูกผักเพื่อการค้าจะพบหนอนใยผักระบาดเป็นประจำและ รวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากหนอนใยผักมีวงจรชีวิตสั้น และมีการแพร่ขยายพันธุ์รวดเร็ว กล่าวคือ ตัวเต็ม วัยเพศเมียสามารถวางไข่ได้หลังออกจากดักแด้และผสมพันธุ์ภายใน 24 ชั่วโมง และวางไข่ได้ ตลอดชีวิต นอกจากนี้ในแหล่งปลูกส่วนใหญ่มีการปลูกผักตระกูลกะหล่ำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้มีพืชอาหารตลอด จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พบการระบาดของหนอนใยผักเสมอ ส่งผลให้ เกษตรกรมีการใช้สารฆ่าแมลงพ่นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้หนอนใยผักมีการพัฒนาสร้างความ ต้านทานต่อสารฆ่าแมลงได้รวดเร็วและมากชนิด ยากแก่การป้องกันกำจัด ดังนั้นจึงต้องมีแนวทาง การป้องกันกำจัดหลากหลายวิธีผสมผสานกัน จึงจะสามารถลดการระบาดของหนอนใยผักลงได้ รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ ระยะเวลาการเจริญเติบโตของหนอนใยผักขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในเขตที่สภาพภูมิอากาศ อบอุ่น วงจรชีวิตจะสั้นกว่าเขตที่มีอากาศเย็นกว่า ตัวอย่างเช่นเขตเกษตรที่ราบสูงอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ในช่วงฤดูร้อนเดือนเมษายน-พฤษภาคม วงจรชีวิตหนอนใยผักเฉลี่ย 17-18 วัน และในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม วงจรชีวิตหนอนใยเฉลี่ย 28-29 วัน หรือโดยเฉลี่ยมี 17 ชั่วอายุขัยต่อปีส่วนในเขตเกษตรที่ราบอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม วงจรชีวิตหนอนใย ผักเฉลี่ย 14-18 วัน หรือโดยเฉลี่ยมี25 ชั่วอายุขัยต่อปีตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ หรือกลุ่มเล็กๆ ทั้งบนใบและใต้ใบพืช แต่จะพบใต้ใบพืชเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉลี่ยตัวเต็มวัยเพศเมีย สามารถวางไข่ได้ประมาณ 50-400 ฟอง ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของอาหารที่กินในวัยหนอนระยะ ต่างๆ ไข่มีขนาด 0.8 มม. สีเหลืองอ่อน ค่อนข้างกลมแบน ระยะไข่2-4 วัน และจะเปลี่ยนเป็นสีดำ J


16 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก เมื่อใกล้จะฟักเป็นตัวหนอน หนอนเมื่อฟักจากไข่ใหม่ๆ จะมีขนาดเล็กประมาณ 1.5 มม. มีลักษณะ เรียวยาว หัวแหลมท้ายแหลม ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกเป็น 2 แฉก และมีสีเขียวอ่อนหรือเทาอ่อน หรือเขียวปนเหลือง เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรงและสร้างใยพาตัวขึ้นลงระหว่างพื้นดินกับใบพืชได้ หนอนจะกัดกินผิวใบทำให้ผักเป็นรูพรุนคล้ายร่างแห ระยะหนอนมีการเจริญเติบโต 4 ระยะ ใช้ เวลาเฉลี่ย 7-10 วัน และระยะสุดท้ายมีขนาดประมาณ 0.8-1 ซม. ก็จะเข้าดักแด้บริเวณใบพืช โดยมีใยบางๆ ปกคลุมติดใบพืช และมีขนาดประมาณ 1 ซม. ดักแด้ระยะแรกจะมีสีเขียว แล้ว เปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนน้ำตาลเมื่อใกล้ฟักออกเป็นตัวเต็มวัยเฉลี่ยอายุระยะดักแด้3-4 วัน ตัวเต็ม วัยเมื่อออกจากดักแด้จะอาศัยอยู่ตามบริเวณต้นผัก ใต้ใบ ทั้งนี้เพราะตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 6-7 มม. ไม่ชอบบินไปไกลพืชอาหาร มีสีเทา ส่วนหลังมีแถบเหลืองส้ม ลักษณะหลายเหลี่ยมเหมือนเพชรที่เจียรนัยแล้ว หนวดเป็นแบบเส้นด้าย แต่ละปล้องมีสีดำสลับ ขาว ตัวเต็มวัยมีอายุขัยเฉลี่ย 5-7 วัน และจากการใช้กับดักแสงไฟ พบว่าตัวเต็มวัยทั้งเพศผู้และ เพศเมียบินมาเล่นแสงไฟจากกับดักมากที่สุดเวลา 18.00-20.00 น. และมีอัตราส่วนเพศผู้: เพศ เมียเท่ากับ 1 : 0.9 เช่นเดียวกับการใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง พบว่าตัวเต็มวัยมีช่วงเวลาที่บิน มากที่สุดเวลา18.00-21.00 น. และมีอัตราส่วนเพศผู้: เพศเมียเท่ากับ 1:0.79 พืชอาหาร พืชผักตระกูลกะหล่ำ เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลีกะหล่ำดอก กะหล่ำดอกอิตาเลียน กะหล่ำปม ผักกาดเขียวปลีผักกาดขาวปลีผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกาดหัว ผักกาดดอก ผักกาดฮ่องเต้เป็นต้น ศัตรูธรรมชาติ หนอนใยผักมีศัตรูธรรมชาติคอยควบคุมหลายชนิด ได้แก่ แมลงเบียนชนิดต่างๆ เช่น แตน เบียนไข่ (Trichogramma confusum Viggiani และ Trichogrammatoidea bactrae Nagaraja) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการควบคุมไข่หนอนใยผัก 16.2-45.2 เปอร์เซนต์แตนเบียนหนอน (Cotesia plutellae Kurdjumov และ Oomyzus sokolowskii Kurdjumov) มีประสิทธิภาพในการเข้าทำลาย หนอนใยผัก 60-90 เปอร์เซ็นต์และแตนเบียนดักแด้(Thyrarella collaris (Gravenhorst)) มี ประสิทธิภาพทำลายดักแด้23.28เปอร์เซ็นต์ การป้องกันกำจัด 1. การใช้กับดักชนิดต่างๆได้แก่ - กับดักกาวเหนียวสีเหลืองเป็นกับดักทรงกระบอก หรือกระป๋องน้ำมันเครื่องทาด้วยกาว เหนียว ทุก 7-10 วันครั้ง สามารถจับผีเสื้อหนอนใยผักได้เฉลี่ย 16 ตัวต่อวันต่อกับดัก โดยจับผีเสื้อ เพศเมีย : เพศผู้ได้0.79 : 1 และเมื่อติดตั้งกับดักกาวเหนียวสีเหลืองจำนวน 80 กับดักต่อไร่ สามารถลดการใช้สารฆ่าแมลงมากกว่า50เปอร์เซ็นต์


17 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก - กับดักแสงไฟ หลอดสีน้ำเงิน 20 วัตต์เป็นหลอดเรืองแสงที่เหมาะสมในการใช้จับผีเสื้อ หนอนใยผักมากที่สุด มีราคาถูกกว่าหลอด blacklight-blue 20 วัตต์และปลอดภัยไม่มีอันตราย จากแสงอุลตร้าไวโอเล็ต ในการติดตั้งกับดักแสงไฟควรติดตั้งรอบนอกแปลงผัก และควรดำเนิน การติดตั้งพร้อมกันในพื้นที่ - กับดักสารเพศ กับดักสารเพศของ Takeda ซึ่งมีส่วนผสมของ cis-II-hexadecenal : cisII-hexadecenyl acetate : cis-II-hexadecenol ในอัตรา 5:5:0.1 จำนวน 0.1 มก. มีประสิทธิภาพ สูงสุดในการดักจับผีเสื้อหนอนใยผักเพศผู้และพบว่าจำนวนหนอนใยผักบนต้นผักมีความสัมพันธ์ กับผีเสื้อที่จับได้ในกับดักสารเพศ ซึ่งปัจจุบันสารเพศล่อชนิดนี้ค่อนข้างหายาก 2. การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง โดยการปลูกผักในโรงเรือนที่คลุม ด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 mesh (256 ช่องต่อตารางนิ้ว) สามารถป้องกันการเข้าทำลายของ หนอนใยผักและหนอนผีเสื้ออื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โรงเรือนตาข่ายไนล่อนต้องปิดอย่าง มิดชิดตลอดเวลาเพื่อป้องกันผีเสื้อเพศเมียเล็ดลอดเข้าไปวางไข่ 3. การใช้ศัตรูธรรมชาติได้แก่ - การใช้แตนเบียนไข่ จากการทดลองปล่อยแตนเบียนไข่ อัตรา 60,000 ตัว/ไร่ สามารถ ควบคุมการระบาดของหนอนใยผักให้อยู่ต่ำกว่าระดับการทำลาย - การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) ปกติในธรรมชาติจะพบเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนใยผัก แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อ ปริมาณเชื้อแบคทีเรียที่จะทำให้หนอนใยผักตาย ปัจจุบันจึงมีการผลิตเชื้อแบคทีเรียในรูปการค้า ออกจำหน่ายที่สำคัญมี2 สายพันธุ์คือ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai และ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki 4. การใช้วิธีทางเขตกรรม สามารถช่วยลดการระบาดของหนอนใยผักได้เช่น การไถพรวน ดินตากแดด หรือการทำลายซากพืชอาหาร หรือการปลูกพืชหมุนเวียน ทั้งนี้เพื่อขัดขวางการขยาย พันธุ์อย่างต่อเนื่องของหนอนใยผัก 5. การใช้ระดับเศรษฐกิจและการสุ่มตัวอย่าง ในการพิจารณาพ่นสารฆ่าแมลงป้องกัน กำจัดหนอนใยผัก ควรสำรวจตรวจนับจำนวนหนอนใยผักก่อนตัดสินใจ โดยทำการสำรวจแบบ ซีเควนเชียล ซึ่งเป็นวิธีการที่รวดเร็ว สะดวก และมีความแม่นยำสูง ผลการใช้ตารางสำรวจสามารถ ลดการใช้สารฆ่าแมลงได้มากกว่า50เปอร์เซ็นต์


18 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก ตารางสำรวจปริมาณหนอนใยผักแบบซีเควนเชียลในกะหล่ำปลีต่อพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการพ่นสารฆ่าแมลง ระยะก่อนเข้าปลี จำนวนต้นที่ตรวจนับ จำนวนหนอนใยผัก ระดับต่ำ ระดับสูง 1-10 1-15 1-20 1-25 1-30 10 20 31 42 54 27 41 55 70 84 1-5 1-10 1-15 1-20 2 20 42 64 25 53 82 111 ระยะเข้าปลี จำนวนต้นที่ตรวจนับ จำนวนหนอนใยผัก ระดับต่ำ ระดับสูง 1-5 1-10 1-15 1-20 2 20 42 64 25 53 82 111 หมายเหตุ 1. หากพบจำนวนหนอนใยผักต่ำกว่าจำนวนในระดับต่ำของแต่ละช่วงจำนวนต้นที่ตรวจนับไม่ต้องพ่นสารฆ่าแมลง 2. หากพบจำนวนหนอนใยผักสูงกว่าจำนวนในระดับสูงของแต่ละช่วงจำนวนต้นที่ตรวจนับให้พ่นสารฆ่าแมลง 3. หากพบจำนวนหนอนใยผักอยู่ระหว่างระดับต่ำให้เพิ่มจำนวนต้นที่ตรวจนับเพื่อเพิ่มความถูกต้องในการตัดสินใจยิ่งขึ้น 4. หากพบจำนวนหนอนคืบกะหล่ำ ให้คิดเป็นจำนวนหนอนใยผัก ดังนี้หนอนคืบกะหล่ำ1 ตัว = หนอนใยผัก 20 ตัว ที่มา : ปิยรัตน์และคณะ (2544) 6. การใช้สารฆ่าแมลง เนื่องจากหนอนใยผักเป็นแมลงที่สามารถสร้างความต้านทานต่อ สารฆ่าแมลงได้รวดเร็วและหลายชนิด โดยเฉพาะในแหล่งปลูกการค้า เช่น บางแค ไทรน้อย บางบัวทอง เป็นต้น การพิจารณาเลือกใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ สามารถป้องกันกำจัดหนอนใยผักไม่ให้เข้าทำลายผลผลิตกะหล่ำปลีให้เกิดความเสียหายได้สาร ฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ดังแสดงในตารางที่1


19 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก ตารางที่ 1 การใช้สารฆ่าแมลงให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก กลุ่มสารชื่อสามัญชื่อการค้า %สาร ออกฤทธิ์อัตราการใช้หมายเหตุ สปิโนซินส์ (spinosyns)สปิโนแซด (spinosad)ซัคเซส120เอสซี(Success120 SC) 12% SC 30-50มล./น้ำ20ลิตรควรใช้สลับกลุ่มสารและใช้ไม่เกิน 2-3ครั้งต่อฤดูและใช้สลับกับ การใช้เชื้อแบคทีเรียเมื่อการ ระบาดลดลงเพื่อหลีกเลี่ยงการ สร้างความต้านทาน ไม่ควรใช่ในแหล่งปลูกผัก ภาคกลาง ในช่วงที่มีการระบาดมาก พิจารณาการใช้อัตราสูงและช่วงเวลาพ่นถี่ขึ้นหรือพ่นสลับ สารฆ่าแมลง ไพโรล (pyroles)คลอร์ฟินาเพอร์ (chlorfenapyr)แรมเพจ (Rampage) 10% SC 30-50มล./น้ำ20ลิตร ออกซาไดอะซีน (oxadiazine)อินด๊อกซาคาร์บ (indoxacarb)แอมเมท (Ammate) 15% SC 30-50มล./น้ำ20ลิตร ฟิพโพลล์ (fiproles)ฟิโปรนิล (fipronil)แอสเซนด์ (Ascend) 5% SC 40-60มล./น้ำ20ลิตร สารจุลินทรีย์ ฆ่าแมลง (microbial insecticides)บาซิลลัสทูริงเยนซิส Bacillus thuringiensis subsp. aizawai Bacillus thuringiensis subsp. kurstakii เซนทารี (Xentari) ฟลอร์แบคดับบลิวดีจี (Florbac WDG) เดลฟิน (Delfin) แบคโทสปินเอ็ชพี (Bactospeine HP) WDG WGWGWP 60-80กรัม/น้ำ20ลิตร60-80กรัม/น้ำ20ลิตร60-80กรัม/น้ำ20ลิตร60-80กรัม/น้ำ20ลิตร ที่มา:สมศักดิ์และคณะ(2554)


20 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก หนอนกระทู้หอม (beet armyworm) ชื่อวิทยาศาสตร์ Spodoptera exigua(Hubner) วงศ์ Noctuidae อันดับ Lepidoptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย หนอนกระทู้หอมเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายกับผักตระกูล กะหล่ำทุกชนิดทั่วประเทศไทยโดยเฉพาะตามแหล่งปลูกการค้า ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ปลูก ผักอย่างมาก ทั้งนี้เกษตรกรไม่สามารถป้องกันกำจัดหนอนชนิดนี้ได้เนื่องจากหนอนสร้างความ ต้านทานต่อสารฆ่าแมลงหลายชนิด และมีพฤติกรรมชอบหลบซ่อนตัว การระบาดจะรุนแรงมากใน ช่วงฤดูร้อน โดยหนอนเมื่อฟักออกจากไข่จะกัดกินผิวใบบริเวณส่วนต่างๆ ของพืชเป็นกลุ่ม และ ความเสียหายรุนแรงในระยะหนอนวัย 3 ซึ่งจะแยกย้ายกัดกินทุกส่วนของพืช หากปริมาณหนอน มากความเสียหายจะรุนแรง ผลผลิตจะเสียหายและคุณภาพไม่เป็นที่ต้องการของตลาด รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่ในตอนหัวค่ำ (ช่วงเวลา 18.00-20.00 น.) ใต้ใบพืชเป็นกลุ่ม เล็กๆ มีจำนวนไข่ 20-80 ฟองขึ้นไป แต่โดยเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง 20 กว่าฟอง กลุ่มไข่ปกคลุมด้วยขน สีขาว ระยะไข่ประมาณ 2-3 วัน หากอุณหภูมิความชื้นสูงไข่จะฟักตัวเร็วขึ้น ตัวเต็มวัยเพศเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้มากกว่า 200 ฟอง ไข่เมื่อฟักเป็นหนอนระยะแรกจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แทะกินผิว ใบด้านล่าง และจะอยู่รวมกันจนกระทั่งระยะหนอนวัย 3 เป็นระยะที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางสีสัน เช่น สีเขียวอ่อน เทา เทาปนดำ น้ำตาลอ่อน น้ำตาลดำ เป็นต้น หากสังเกตด้านข้างจะมีแถบสีขาว ข้างละแถบพาดยาวจากส่วนอกถึงปลายสุดของลำตัว หนอนวัย 3 เป็นระยะที่แยกกันอยู่เพราะตัว โตขึ้น ระยะหนอนมีการเจริญเติบโต 6 ระยะ ใช้เวลาตลอดการเจริญเติบโต 14-17 วัน และหนอน ระยะสุดท้ายมีขนาด 2.5 ซม. ก็จะเริ่มหาทางเข้าใต้ผิวดินหรือบริเวณโคนต้นพืชเพื่อเข้าดักแด้ ดักแด้มีสีน้ำตาลเข้มยาวประมาณ 1.5 ซม. ระยะดักแด้5-7 วัน ก็จะเป็นตัวเต็มวัย อาศัยอยู่ตามใต้ ใบผัก ทั้งนี้ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดกลางสีน้ำตาลแก่ปนเทา กางปีกกว้าง 2-2.5 ซม. ลักษณะเด่นคือ มีจุดสีน้ำตาลอ่อน 2 จุดตรงกลางปีกคู่หน้า ตัวเต็มวัยมีอายุเฉลี่ย 4-10 วัน วงจร ชีวิตหนอนกระทู้หอมเฉลี่ย 30-35วัน หรือโดยเฉลี่ยมี10-12ชั่วอายุขัยต่อปี พืชอาหาร ผักตระกูลกะหล่ำทุกชนิด เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลีกะหล่ำดอก ผักกาดขาวปลีผักกาด เขียวปลีผักกาดหัว เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำลายพืชผักชนิดอื่นๆ ไม้ผล พืชไร่ และไม้ดอก ได้แก่ >1 J


21 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก หอมแดง หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว พริก องุ่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง กุหลาบ ดาวเรือง และกล้วยไม้เป็นต้น ศัตรูธรรมชาติ แมลงศัตรูธรรมชาติที่พบเข้าทำลายหนอนกระทู้หอมได้แก่ แมลงเบียน เช่น แตนเบียน หนอน Microplitis manilae Ashmead แตนเบียนหนอน Charops sp. แตนเบียนหนอน Trathala sp. แตนเบียนหนอน Chelonus sp. แตนเบียนหนอน Apanteles sp. และแมลงวัน Peribaea orbata(Wiedemann) แมลงห้ำ เช่น มวนพิฆาต Eocanthecona furcellata(Woff) การป้องกันกำจัด 1. การใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถพรวนดินตากแดด เพื่อฆ่าดักแด้หนอนกระทู้หอมที่อยู่ใน ดิน การทำลายซากพืชอาหาร เพื่อลดแหล่งอาหารในการขยายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ช่วยลด การระบาดของหนอนกระทู้หอมในการปลูกผักครั้งต่อไป 2. การใช้วิธีกล เช่น เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลายจะช่วยลดการระบาดลงได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 3. การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง โดยการปลูกผักในโรงเรือนที่คลุม ด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 mesh สามารถป้องกันการเข้าทำลายของหนอนกระทู้หอมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 100เปอร์เซ็นต์ 4. การใช้สารจุลินทรีย์ฆ่าแมลง (microbial insecticides) ได้แก่ - การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) ที่มีจำหน่ายเป็นการค้า ได้แก่ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai เช่น เซนทารีและ ฟลอร์แบค ดับบลิวดีจีเป็นต้น Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki เช่น เดลฟิน และ แบคโทสปิน เอ็ชพีเป็นต้น (ตารางที่2) - การใช้เชื้อไวรัส (นิวเคลียร์โพลีฮีโครซิสไวรัส) หนอนกระทู้หอม เช่น DOA BIO V1 (กรม วิชาการเกษตร) เป็นต้น (ตารางที่2) 5. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอม ดังแสดงใน ตารางที่2


22 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก ตารางที่ 2 การใช้สารฆ่าแมลงให้มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอมและหนอนกระทู้ผักกลุ่มสารชื่อสามัญชื่อการค้า%สาร ออกฤทธิ์อัตราการใช้หมายเหตุไพโรล (pyroles)คลอร์ฟินาเพอร์ (chlorfenapyr)แรมเพจ (Rampage) 10% SC 30-40มล./น้ำ20ลิตรควรใช้เมื่อหนอนมีขนาด เล็กถ้ามีการระบาดมาก ให้ใช้อัตราสูงและช่วงเวลาพ่นถี่ขึ้นและควรใช้ สลับกลุ่มสารและใช้ไม่ เกิน2-3ครั้งต่อฤดูเมื่อ การระบาดลดลงให้ใช้สาร จุลินทรีย์สลับเพื่อหลีก เลี่ยงการสร้างความ ต้านทาน ใช้ในระยะหนอนระบาด น้อยและมีขนาดเล็กถ้า หากมีการระบาดมากให้ ใช้สารฆ่าแมลงออกซาไดอะซีน (oxadiazine)อินด๊อกซาคาร์บ (indoxacarb)แอมเมท (Ammate) 15% SC 15-30มล./น้ำ20ลิตรสปิโนซินส์ (spinosyns)สปิโนแซด (spinosad)ซัคเซส120เอสซี(Success120 SC) 12% SC 20-30มล./น้ำ20ลิตรอะเวอเมคติน (avermectins)อีมาเมคตินเบนโซเอท (emamectin benzoate)โปรเคลม (Proclaim 019 EC) 1.92% EC 15-20มล./น้ำ20ลิตรเบนโซอีลยูเรีย (benzoylureas)ลูเฟนนูรอน (lufennuron) คลอฟลูอาซูรอน (chlorfluazuron)แมทช์ (Math050 EC)อาทาบรอน (Atabron) 5% EC 5% EC 20-30มล./น้ำ20ลิตร20-40มล./น้ำ20ลิตรสารจุลินทรีย์ฆ่าแมลง (microbial insecticides)บาซิลลัสทูริงเยนซิส Bacillus thuringiensis subsp. aizawai Bacillus thuringiensis subsp. kurstakii นิวเคลียร์โพลีฮีโครซิส ไวรัส (Nuclear Polyhedrosis Virus) เซนทารี (Xentari) ฟลอแบคดับบลิวดีจี (Florbac WDG) เดลฟิน (Delfin) แบคโทสปินเอ็ชพี (Bactospeine HP) DOA BIO- V1 (หนอนกระทู้หอม) DOA BIO- V3 (หนอนกระทู้ผัก) WDG WGWGWP 60-80ก./น้ำ20ลิตร60-80ก./น้ำ20ลิตร60-80ก./น้ำ20ลิตร60-80ก./น้ำ20ลิตร 30มล./น้ำ20ลิตร 50มล./น้ำ20ลิตร


23 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก หนอนกระทู้ผัก (common cutworm) ชื่อวิทยาศาสตร์ Spodoptera litura(Fabricius) วงศ์ Noctuidae อันดับ Lepidoptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย หนอนกระทู้ผักเป็นแมลงที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ที่พบเข้าทำลายพืชผักตระกูลกะหล่ำ โดย หนอนระยะแรกเข้าทำลายเป็นกลุ่มในระยะต่อมาจะทำลายรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเป็นหนอนที่มี ขนาดใหญ่ สามารถกัดกินใบ ก้าน หรือเข้าทำลายในหัวกะหล่ำ ทำความเสียหายและยากแก่การ ป้องกันกำจัด ซึ่งการเข้าทำลายมักเกิดเป็นหย่อมๆ ตามจุดที่ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ และมักแพร่ ระบาดได้รวดเร็วตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นกลุ่มใหญ่จำนวนนับร้อยฟอง ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลอ่อน หรือสีฟางข้าวใต้ใบพืช ระยะไข่3-4 วัน ก็จะฟักเป็นตัวหนอน ระยะแรกจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แทะ กินผิวใบจนบางใส เมื่อลอกคราบได้2 ครั้ง จะสังเกตแถบสีดำที่ปล้องอกที่ 3 ได้ชัดเจน ลำตัวจะ เปลี่ยนจากสีเขียวอ่อนเกิดลายเส้น หรือจุดสีดำ และผิวลำตัวมีขีดดำพาดตามยาว หนอนจะเริ่ม แยกย้ายทำลายพืชกัดกินใบ ยอดอ่อน หรือเข้ากัดกินซอกกลีบใบในหัวกะหล่ำที่ยังเข้าไม่แน่น ทำให้เสียหาย ระยะหนอนมีการเจริญเติบโต 5 ระยะ ใช้เวลา 10-15 วัน หนอนระยะสุดท้าย เคลื่อนไหวช้ามีขนาด 1.5 ซม. ระยะดักแด้7-10 วัน ก็จะฟักเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดกลางสีน้ำตาล กางปีกกว้าง 3-3.5 ซม. ปีกคู่หน้ามีเส้นสีเหลืองพาดหลายเส้น ตัวเต็มวัย มีอายุเฉลี่ย 5-10วัน วงจรชีวิตหนอนกระทู้ผักเฉลี่ย 25-35วัน หรือ12-14ชั่วอายุขัยต่อปี พืชอาหาร ผักตระกูลกะหล่ำทุกชนิด เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลีกะหล่ำดอก ผักกาดขาวปลีผักกาด เขียวปลีผักกาดหัว เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำลายพืชผักชนิดอื่นๆ ไม้ผล พืชไร่ และไม้ดอก ได้แก่ หอมแดง หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว พริก องุ่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง กุหลาบ ดาวเรือง และกล้วยไม้เป็นต้น ศัตรูธรรมชาติ แมลงศัตรูธรรมชาติที่พบเข้าทำลายหนอนกระทู้ผักได้แก่แมลงเบียน เช่น แตนเบียนหนอน Microplitis manilae Ashmead แมลงวัน Peribaea orbata (Wiedemann) และ แมลงห้ำ เช่น มวนพิฆาต (Eocanthecona furcellata(Woff)) เป็นต้น


24 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก การป้องกันกำจัด 1. การใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถตากดิน และการเก็บเศษซากพืชอาหาร เพื่อฆ่าดักแด้ และลดแหล่งอาหารในการขยายพันธุ์ของหนอนกระทู้ผัก เป็นต้น 2. การใช้วิธีกล โดยการเก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลายจะช่วยลดการระบาดลงได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และปลอดภัย 3. การใช้โรงเรือนคลุมด้วยตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง ซึ่งมีประสิทธิภาพ ป้องกันการเข้าทำลายของหนอนกระทู้ผักได้ดี 4. การใช้สารจุลินทรีย์ฆ่าแมลง (microbial insecticides)ได้แก่ การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) และการใช้เชื้อไวรัส (นิวเคลียร์โพลีฮีโดรซิสไวรัส) หนอนกระทู้ผัก (ตารางที่2) 5. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ (ตารางที่2) หนอนเจาะยอดกะหล่ำ (cabbage webworm) ชื่อวิทยาศาสตร์ Hellulaundalis (Fabricius) วงศ์ Pyralidae อันดับ Lepidoptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย หนอนเจาะยอดกะหล่ำพบระบาดทำความเสียหายกับผักตระกูลกะหล่ำโดยเฉพาะกับ กะหล่ำปลีโดยหนอนเจาะเข้าไปกัดกินในส่วนยอดที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ยอดขาด ไม่เข้าปลี หรือกัดกินเข้าไปในส่วนของก้าน และลำต้นเป็นทาง ตัวหนอนมักสร้างใยคลุม และมีขุยมูลที่ถ่าย ออกมาบริเวณที่เจาะทำให้กะหล่ำปลีแตกแขนง โดยทั่วไปมักพบการระบาดตลอดทั้งปีแต่พบ ระบาดมากในฤดูแล้ง รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เล็กๆ สีขาวนวลตามยอด หรือยอดตาไข่จะวางเดี่ยว หรือเป็นกลุ่ม เล็กๆ และตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ได้14-255 ฟอง ระยะไข่ 3-5 วัน ไข่จะเป็นสีชมพูและฟักออกเป็น ตัวหนอน เมื่อโตขึ้นเจาะเข้าไปกัดกินภายในส่วนยอด โดยสร้างใยปกคลุม ระยะหนอนมีการเจริญ เติบโต 5 ระยะ ใช้เวลา 15-23 วัน หนอนระยะสุดท้ายมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 1.2 ซม. ลำตัวมี แถบสีน้ำตาลแดงพาดตามยาว และจะเข้าดักแด้ซึ่งมีใยหุ้มตามเศษพืชผิวดินหรือใต้ดิน ดักแด้มี ขนาด 0.6-0.8 ซม. ระยะดักแด้7-11 วัน ก็จะฟักเป็นตัวเต็มวัย เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก กางปีก . J


25 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก กว้าง 1.7-1.9 ซม. ปีกคู่หน้ามีแถบสีน้ำตาลปนเทาพาดตามขวางโค้งไปมา ตัวเต็มวัยมีอายุเฉลี่ย 6- 10วัน วงจรชีวิตหนอนเจาะยอดกะหล่ำเฉลี่ย 30-42วัน หรือ8-12ชั่วอายุขัยต่อปี พืชอาหาร พืชผักตระกูลกะหล่ำ เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลีกะหล่ำดอก ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวปลีผักกาดหัว เป็นต้น ศัตรูธรรมชาติ แมลงศัตรูธรรมชาติที่พบเข้าทำลายหนอนเจาะยอดกะหล่ำเช่น แตนเบียนหนอน Apanteles sp. การป้องกันกำจัด 1. การใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถดินตากแดด หรือเก็บซากพืชที่ผิวดินทำลาย เพื่อฆ่า ดักแด้หนอนเจาะยอดกะหล่ำ 2. การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง 3. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัด เช่น โพรฟีโนฟอส (ซูเปอร์ครอน 500 อีซี50% อีซี) หรือ โพรไทโอฟอส (โตกุไธออน 50% อีซี) หรือ แลมบ์ดาไซฮาโลทริน (คาราเต้2.5 อีซี2.5% อีซี)อัตรา 40, 40 และ 40 มล./น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ โดยพ่นเมื่อพบไข่หรือหนอนระยะ แรกเริ่มเข้าทำลายทุก 4-7วัน และพ่นติดต่อกัน 2-3 ครั้ง หนอนเจาะสมอฝ้าย (cotton ballworm) ชื่อวิทยาศาสตร์ Helicoverpa armigera (Hubner) วงศ์ Noctuidae อันดับ Lepidoptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย หนอนชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่เกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย โดยหนอนเจาะสมอฝ้ายเริ่มเข้า ระบาดทำความเสียหายในประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2508 และพบระบาดติดต่อกันทุกปีเกษตรกร มีปัญหาในการป้องกันกำจัดเนื่องจากหนอนเจาะสมอฝ้ายได้พัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารฆ่า แมลงได้รวดเร็วและหลายชนิด หนอนชนิดนี้ทำลายพืชผักโดยการกัดกินส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ดอก ใบ เจาะกัดกินภายในลำต้น ฝัก และหน่อ สำหรับในพืชผักบางชนิดที่ผลิตเพื่อการส่งออก เช่น หน่อไม้ฝรั่งและกระเจี๊ยบเขียว แม้ถูกทำลายเพียงเล็กน้อยจะทำให้ผลผลิตเสียคุณภาพในการส่ง ออก เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพดังกล่าว เกษตรกรจึงมีการพ่นสารฆ่าแมลงเป็นประจำและบ่อย ร J


26 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก ครั้ง บางครั้งไม่ถูกวิธีทำให้ผลผลิตนอกจากไม่เป็นที่ต้องการของตลาดแล้วยังเพิ่มต้นทุนการผลิต และพบพิษตกค้างในผลผลิตอีกด้วย รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ตามส่วนอ่อนของพืช เช่น ใบ ก้านใบ ไข่มีลักษณะ กลมคล้ายฝาชีไข่ที่วางใหม่ๆ จะมีสีขาวนวลเป็นมัน ระยะไข่ 2-3 วัน จึงฟักออกเป็นตัวหนอน หนอนมีด้วยกันทั้งหมด 5 วัย โดยวัยแรกจะมีสีขาวนวล เมื่อเข้าสู่วัยสองสีของลำตัวเข้มขึ้นเป็นดำ ปนเขียว หนอนวัยที่สามลำตัวมีสีน้ำตาลปนเขียว เมื่อเข้าสู่วัยที่สี่ลำตัวจะมีสีเข้มขึ้นเป็นดำปนเขียว หนอนวัยที่ห้าลำตัวจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแก่ หนอนโตเต็มที่มีขนาด 3.5 ซม. ระยะหนอนประมาณ 16-22 วัน ดักแด้มีสีน้ำตาลไหม้ขนาด 1.8 ซม. อายุดักแด้ประมาณ 10-12 วัน จึงออกเป็น ตัวเต็มวัย ซึ่งเป็นผีเสื้อกลางคืน วัดเมื่อกางปีกยาว 3-4 ซม. ตัวเมียปีกคู่หน้าสีน้ำตาลปนแดง ส่วนตัวผู้สีน้ำตาลอมเขียว เลยกึ่งกลางปีกคู่หน้าไปทางหน้าเล็กน้อยมีจุดสีน้ำตาลเข้มขนาดโตกว่า หัวเข็มหมุดปีกละจุดถัดจากจุดนี้ไปทางปลายปีกเล็กน้อยมีแถบสีน้ำตาลเข้มพาดตามขวาง และมี จุดสีดำเรียงรายตามแถบนี้ปีกคู่หลังมีแถบสีน้ำตาลที่ปลายปีกพาดต่อกับปีกคู่หน้า สีของปีกคู่ หน้าเข้มกว่าปีกคู่หลัง อายุตัวเต็มวัยประมาณ 7-18 วัน รวมวงจรชีวิตประมาณ 29-38 วัน ศัตรู ธรรมชาติที่สำคัญที่พบทำลายหนอนเจาะสมอฝ้ายได้แก่ โรคทำลายแมลง เช่น ไวรัส NPV ของ หนอนเจาะสมอฝ้าย ซึ่งเป็นไวรัสที่พบระบาดอยู่ตามธรรมชาติในแหล่งที่มีหนอนเจาะสมอฝ้าย ระบาดไวรัสชนิดนี้พบว่ามีประสิทธิภาพสูงมากในการทำลายหนอนเจาะสมอฝ้าย ลักษณะอาการ ของโรค มีลักษณะอาการทั่วๆ ไป คล้ายกับหนอนกระทู้หอม อาการโรคจะเห็นชัดในวันที่ 3 ภาย หลังจากหนอนได้รับเชื้อ พืชอาหาร หนอนเจาะสมอฝ้าย เป็นแมลงศัตรูสำคัญของมะเขือเทศ และยังเป็นศัตรูสำคัญของพืชผัก ไม้ผล ไม้ดอก และพืชไร่หลายชนิด ได้แก่ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา พริก มะเขือ กระเจี๊ยบเขียว หน่อไม้ ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน มะม่วงหิมพานต์สตรอเบอรี่ กุหลาบ เบญจมาศ คาเนชั่น เยอบีร่า ถั่วเหลือง ถั่ว เขียวข้าวโพด ยาสูบ ฝ้าย และปอกระเจา เป็นต้น ศัตรูธรรมชาติ แมลงศัตรูธรรมชาติที่พบเข้าทำลายหนอนเจาะสมอฝ้าย ได้แก่ แมลงวันเบียน Tachina sp. และ มวนพิฆาต (Eocanthecona furcellata(Woff)) เป็นต้น การป้องกันกำจัด 1. การใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถพรวนดินตากแดด เพื่อฆ่าดักแด้หนอนเจาะสมอฝ้ายที่อยู่


27 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก ในดิน การทำลายซากพืชอาหาร เพื่อลดแหล่งอาหารในการขยายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ช่วยลด การระบาดของหนอนกระทู้หอมในการปลูกผักครั้งต่อไป 2. การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง โดยการปลูกผักในโรงเรือนที่คลุม ด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 mesh สามารถป้องกันการเข้าทำลายของหนอนเจาะสมอฝ้ายได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 100เปอร์เซ็นต์ 3. การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) ที่มีจำหน่ายเป็นการค้า ได้แก่ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai เช่น เซนทารีและ ฟลอร์แบค ดับบลิวดีจีเป็นต้น Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki เช่น เดลฟิน และ แบคโทสปิน เอสพีอัตรา60-80 กรัม/น้ำ20 ลิตร เป็นต้น 4. การใช้เชื้อไวรัส NPV (Nuclear Polyhedrosis Virus) หนอนเจาะสมอฝ้าย เช่น DOA BIO V2 (กรมวิชาการเกษตร)อัตรา20-30 มล./น้ำ20 ลิตร เป็นต้น 5. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัด เช่น อินด๊อกซาคาร์บ (แอมเมท 15% เอสซี) หรือสปิโนแซด (ซัคเซส 120 เอสซี12% เอสซี) หรือ อีมาเมคติน เบนโซเอท (โปรเคลม 019 อีซี1.92% อีซี)อัตรา15,20 และ20 มล./น้ำ20 ลิตร ตามลำดับ หนอนคืบกะหล่ำ (cabbage looper) ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichoplusia ni (Hubner) วงศ์ Noctuidae อันดับ Lepidoptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย หนอนคืบกะหล่ำเป็นหนอนขนาดกลางกินจุ ในระยะแรกตัวหนอนจะกัดกินที่ผิวใบ เมื่อตัว หนอนโตขึ้นจะกัดกินใบทำให้เป็นรอยแหว่งเหลือแต่ก้านใบ แมลงชนิดนี้จะทำลายโดยการกัดกิน ใบเป็นส่วนใหญ่ และการทำลายเป็นไปอย่างรวดเร็ว พบตามแหล่งปลูกทั่วๆ ไปในประเทศไทย ในภาคกลางที่จังหวัดราชบุรีนครปฐม กรุงเทพมหานคร ปทุมธานีเพชรบุรีกาญจนบุรีสุพรรณบุรี นครนายก ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ฉะเชิงเทรา ส่วนใหญ่จะระบาดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ แม่ผีเสื้อวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ สีขาวนวล หรือเหลืองอ่อนตามใต้ใบ มีลักษณะคล้ายฝาชี ตรงกลางมีรอยบุ๋ม มีผิวเป็นมัน ขนาดของไข่ประมาณ 0.5-0.6 มม. ระยะไข่3-4 วัน ตัวหนอนโตเต็ม ที่มีสีเขียวอ่อน ความยาว 2.5-3.5 ซม. หัวเล็ก ลำตัวแบ่งออกเป็นปล้องชัดเจน และมีขนปกคลุม กระจายทั่วไปใกล้ๆ กับสันหลัง ลำตัวมีแถบสีขาว 2 แถบขนานกัน เคลื่อนตัวโดยการงอตัวและคืบ V j


28 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก ไป ระยะหนอน 14-21 วัน เข้าดักแด้ภายในรังสีขาวตามใต้ใบพืช ดักแด้จะมีสีเขียวในระยะแรกและ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดดักแด้ประมาณ 2 ซม. อายุดักแด้ประมาณ 5-7 วัน ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อ ขนาดกลาง เมื่อกางปีกกว้างประมาณ 2.7-3 ซม. ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลแก่ปนเทา รอบๆ ปลายปีกมีสี น้ำตาลแก่ และปลายสุดของปีกจะมีสีขาว ส่วนท้องปกคลุมด้วยขนสีขาวปนเทา อายุตัวเต็มวัย 8-10 วัน เพศเมียสามารถวางไข่ได้ประมาณ 400-1,150 ฟอง เพศผู้สามารถ ผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง ส่วน เพศเมียผสมพันธุ์ได้เพียงครั้งเดียว พืชอาหาร พืชผักตระกูลกะหล่ำ เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลีกะหล่ำดอก ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวปลีผักกาดหัว เป็นต้น ศัตรูธรรมชาติ หนอนคืบกะหล่ำมีแตนเบียนทำลายหนอนอยู่ 2 ชนิด คือ Apanteles sp. และ Brachymeria sp. นอกจากนี้ยังมีเชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis Berliner ซึ่งสามารถ ทำลายหนอนคืบกะหล่ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ การป้องกันกำจัด 1. การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง 2. การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) ที่มีจำหน่ายเป็นการค้า ได้แก่ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai เช่น เซนทารีและ ฟลอร์แบค ดับบลิวดีจีเป็นต้น Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki เช่น เดลฟิน และ แบคโทสปิน เอ็ชพีอัตรา 60-80 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เป็นต้น 3. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัด เช่น แลมบ์ดาไซฮาโลทริน (คาราเต้ 2.5 อีซี5% อีซี) หรือ เดลทาเมทริน (เดซีส 3 3% อีซี) หรือ คลอฟลูอาซูรอน (อาทาบรอน 5% อีซี) อัตรา30,20 และ40 มล./น้ำ20 ลิตร ตามลำดับ


29 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก หนอนเจาะฝักลายจุด (bean pod borer) ชื่อวิทยาศาสตร์ Maruca testulalis (Hubner) วงศ์ Pyralidae อันดับ Lepidoptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย หนอนเจาะฝักลายจุด เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของถั่วฝักยาวทำความเสียหายและมีผล กระทบต่อผลผลิต หนอนชนิดนี้เมื่อฟักออกจากไข่จะเจาะเข้าไปกัดกินภายในดอกอ่อน ต่อมาจะ กัดส่วนของดอกและเกสรทำให้ดอกร่วง เมื่อหนอนโตขึ้นจะเจาะเข้าไปกัดกินภายในฝัก ส่วนที่เป็น เมล็ดอ่อน ทำให้ฝักและเมล็ดลีบผลผลิตลดลงหนอนเจาะฝักชนิดนี้พบระบาดในพืชตระกูลถั่ว ทั่วไปในแหล่งปลูกผักที่สำคัญของประเทศ เช่น จังหวัดนครปฐม ราชบุรีกาญจนบุรีจะพบหนอน ชนิดนี้ระบาดอย่างรุนแรงในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมของทุกปี รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ ตัวเต็มวัยของหนอนเจาะฝักลายจุดเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก กางปีกเต็มที่วัดได้2.5 ซม. ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลดำ ตรงกลางปีกคู่หลังเป็นแผ่นใสมากกว่าปีกคู่หน้า วางไข่เป็นฟองเดี่ยว หรือซ้อนกัน 2-3 ฟอง ตามกลีบดอก ลักษณะของไข่เป็นเกล็ดขาว ขนาดเล็กประมาณ 0.5-0.8 มม. มองด้วยตาเปล่าเห็นได้ค่อนข้างยาก ระยะไข่ประมาณ 3 วัน หนอนเมื่อฟักออกจากไข่แล้วจะ แทรกตัวเข้าไประหว่างรอยต่อของกลีบดอก และเข้าไปอาศัยกินเกสร หนอนระยะแรกมีขนาด ประมาณ 1.3 มม. ลำตัวมีสีขาวนวล คอด้านบนมีแผ่นแข็งสีน้ำตาลดำสังเกตง่าย หนอนเจริญ เติบโตโดยกัดกินเกสรภายในดอก ในระยะที่หนอนทำลายอย่างรุนแรงจะมีขนาดประมาณ 5 มม. ขึ้นไป ลักษณะการทำลายจะกัดก้านเกสรและเคลื่อนย้ายจากดอกหนึ่งไปยังอีกดอกหนึ่ง หนอน เจริญเต็มที่มีขนาด 1.5-1.7 ซม. จะพบการทำลายโดยกัดกินและเจาะรูเข้าไปในฝักถั่ว ก่อนเข้า ดักแด้หนอนจะเคลื่อนย้ายจากฝักหนึ่งไปยังอีกฝักหนึ่ง พบหนอนมากกว่าหนึ่งตัวในฝักเดียวกัน ดักแด้จะพบตามใบแห้ง หรือซอกกลีบดอกแห้งที่ติดตามต้นและฝัก ระยะดักแด้7 วัน ตัวเต็มวัยมี ลักษณะของลำตัวเป็นลายประสีน้ำตาลเข้ม ลักษณะเช่นนี้จึงเรียกว่าหนอนเจาะฝักลายจุด พืชอาหาร ระบาดในพืชตระกูลถั่ว ศัตรูธรรมชาติ แมลงศัตรูธรรมชาติที่พบเข้าทำลายหนอนเจาะฝักลายจุด ได้แก่ แมลงห้ำ เช่น ต่อ (Vespasp.) มวนพิฆาต (Eocanthecona furcellata(Woff)) เป็นต้น


30 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก การป้องกันกำจัด 1. วิธีกล ก่อนปลูกพืชประมาณ 2 สัปดาห์ควรทำการไถพรวน และตากดินเพื่อกำจัด ดักแด้ของแมลงศัตรูที่อาจหลงเหลืออยู่ในแปลงปลูก 2.การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) ที่มีจำหน่ายเป็นการค้า ได้แก่ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai เช่น เซนทารีและ ฟลอร์แบค ดับบลิวดีจีเป็นต้น Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki เช่น เดลฟิน และ แบคโทสปิน เอ็ชพีอัตรา60-80 กรัม/น้ำ20 ลิตร เป็นต้น 3. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัด เช่น เบต้าไซฟลูทริน (โฟลิเทค 025 อีซี2.5% อีซี) หรือเดลทาเมทริน (เดซิส 33% อีซี)อัตรา30 และ20 มล./น้ำ20 ลิตร ตามลำดับ หนอนผีเสื้อสีน้ำเงิน (bean butterfly) ชื่อวิทยาศาสตร์ Lampides boeticus Linnaeus วงศ์ Lycaenidae อันดับ Lepidoptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย หนอนผีเสื้อสีน้ำเงิน เป็นหนอนเจาะฝักที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งการทำลายใกล้เคียงกับหนอน เจาะฝักลายจุด แต่มักจะพบทำลายถั่วลันเตามากกว่าถั่วชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะส่วนของเมล็ด ภายในฝัก การระบาดทำลายของหนอนผีเสื้อสีน้ำเงิน จะพบทั่วไปในแหล่งที่มีการปลูกพืชตระกูล ถั่ว ในถั่วฝักยาวจะพบระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน แต่สำหรับการปลูกถั่วลันเตาในภาคเหนือนั้นจะ พบระบาดในช่วงฤดูหนาว คือ ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางวันขนาดปีกกว้าง 2 ซม. ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลอ่อนปนน้ำเงิน ด้าน หลังปีกสีเทา ปีกคู่หลังมีติ่งแหลมด้านล่างทั้งสองข้าง ในสภาพแปลงปลูกทั่วไปจะพบตัวเต็มวัยใน เวลากลางวันระหว่าง 10.00-14.00 น. และจะพบมากกว่าปกติในระยะที่ถั่วเริ่มมีดอก ตัวเต็มวัย ผสมพันธ์และวางไข่ในเวลากลางวัน ลักษณะของไข่เป็นเม็ดเดี่ยวๆ กลม สีฟ้า วางไข่ตามกลีบ เลี้ยงของดอกอ่อน ไข่มีขนาดประมาณเท่าหัวเข็มหมุด (0.5 มม.) ระยะไข่ 2-3 วัน หนอนที่ฟักออก จากไข่จะมีสีเทาอ่อน หรือเขียวอ่อนปนเทา ลักษณะอ้วน สั้น ส่วนท้องแบนคล้ายหอยทากหรือปลิง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 1 ซม. เหมือนกับหนอนเจาะฝักลายจุด เมื่อหนอนมีขนาดใหญ่ขึ้นจะ เข้าไปกัดกินภายในฝักและจะออกจากฝักถั่วเพื่อเข้าดักแด้ภายนอกในบริเวณซอกดอก และใบ ลักษณะดักแด้อ้วน กลม สีเทา ระยะดักแด้5-7วัน <


31 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก พืชอาหาร ระบาดในพืชตระกูลถั่ว ศัตรูธรรมชาติ - การป้องกันกำจัด 1. วิธีกล ก่อนปลูกพืชประมาณ 2 สัปดาห์ควรทำการไถพรวน และตากดินเพื่อกำจัด ดักแด้ของแมลงศัตรูที่อาจหลงเหลืออยู่ในแปลงปลูก 2. การใช้เชื้อแบคทีเรีย (Bt) ที่มีจำหน่ายเป็นการค้า ได้แก่ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai เช่น เซนทารีและ ฟลอร์แบค ดับบลิวดีจีเป็นต้น Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki เช่น เดลฟิน และ แบคโทสปิน เอ็ชพีอัตรา60-80 กรัม/น้ำ20 ลิตร เป็นต้น 3. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัด เช่น เบต้าไซฟลูทริน (โฟลิเทค 025 อีซี2.5% อีซี) หรือเดลทาเมทริน (เดซีส 33% อีซี)อัตรา30-40 และ20-30 มล./น้ำ20 ลิตร หนอนเจาะผลมะเขือ (egg-plant fruitborer) ชื่อวิทยาศาสตร์ Leucinodes orbonalis Guenee วงศ์ Pyralidae อันดับ Lepidoptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย หนอนเจาะผลมะเขือ หนอนเจาะชนิดนี้ทำความเสียหายให้แก่ยอดมะเขือเป็นประจำ ในบริเวณพื้นที่ปลูกมะเขือทั่วๆ ไปในระยะต้นมะเขือกำลังเจริญเติบโต จะพบว่ายอดเหี่ยว เห็นชัดเวลาแดดจัด เพราะท่อน้ำท่ออาหารของพืชถูกทำลาย และเมื่อตรวจดูจะพบรูเจาะประมาณ ไม่เกิน 10 ซม. จากปลายยอด หนอนจะกัดกินภายใน การทำลายต่อยอดบางครั้งสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ผลเสียคือ ทำให้ยอดที่แข็งแรงถูกทำลาย ยอดใหม่ที่แตกมามีขนาดเล็กกว่า และผล มะเขือที่เกิดมายังได้รับความเสียหาย โดยหนอนเจาะผลทำให้เสียคุณภาพส่งขายไม่ได้ในช่วง ระบาดรุนแรงอาจถูกทำลายถึง50เปอร์เซ็นต์ รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ ผีเสื้อหนอนเจาะผลมะเขือขณะกางปีกกว้าง 1.5-2 ซม. สีขาวมีแต้มสีน้ำตาลปนเทา ที่ปีกคู่หน้าข้างละสองแห่ง ผีเสื้อหนอนเจาะยอดมักมีขนาดเล็กกว่าหนอนเจาะผล หนอนขนาดเล็ก J


32 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก ลำตัวยาวประมาณ 1ซม. หัวสีน้ำตาล ลำตัวใสสีเนื้อ พืชอาหาร พบในมะเขือชนิดต่างๆ ยกเว้น มะเขือเทศ และชอบทำลายมะเขือเปราะมากกว่ามะเขือยาว ศัตรูธรรมชาติ ศัตรูธรรมชาติได้สำรวจพบแตนเบียนหนอนเจาะผลมะเขือเมื่อปีพ.ศ. 2537 ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีมีแตนเบียน 2ชนิด คือThratata sp. และ Eriborus sp. การป้องกันกำจัด 1. วิธีกล เก็บยอดและผลที่ถูกทำลายทั้งที่มีหนอนและไม่มีหนอน จะช่วยลดการระบาด 2. ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ เช่น ซีตาไซเพอร์เมทริน (ฟิวเรีย 18% อีซี) หรือ คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์20% อีซี)อัตรา30 และ50 มล./น้ำ20 ลิตร ตามลำดับ หนอนเจาะเถามันเทศ (sweet potato stem borer) ชื่อวิทยาศาสตร์ Omphisa anastomosalis (Guenee) วงศ์ Pyralidae อันดับ Lepidoptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย หนอนเจาะเถามันเทศ เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันเทศ เข้าทำลายโดยการ เจาะเข้าไปในลำต้นและเถา จะพบมูลสีน้ำตาลเป็นกระจุกตรงบริเวณรอยเจาะทำลาย ผลจากการ ทำลาย ทำให้ต้นมันเทศเหี่ยวเฉา บริเวณโคนต้นกลวง และทำให้ผลผลิตของมันเทศลดลง รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อขนาดกลางกางปีกวัดได้ประมาณ 1.5-2.5 ซม. ปีกมีลักษณะโปร่งใส และมีทางสีน้ำตาลเข้มขวางปีก ปีกคู่ที่สองโปร่งกว่าปีกคู่แรก ตัวเต็มวัยวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ บน ลำต้นและเถามันเทศ ไข่มีลักษณะกลมรีและมีสีเหลืองนวล ระยะไข่ประมาณ 5-8 วัน หลังจากนั้น จะฟักเป็นตัวหนอน หนอนที่ฟักออกจากไข่จะเจาะเข้าไปในลำต้น และกัดกินเนื้อเยื่อภายในลำต้น และเถา ระยะหนอนประมาณ 28-40 วัน หนอนผีเสื้อเมื่อโตเต็มที่มีขนาด 2ซม. มีสีน้ำตาลปนชมพู และมีหัวสีน้ำตาล เข้าดักแด้ภายในลำต้นและเถา โดยดักแด้จะมีปลอกหุ้มเป็นใยบางๆ มีขนาด 2 ซม. ระยะดักแด้ประมาณ 14 วัน หลังจากนั้นผีเสื้อจะออกจากดักแด้ระยะตัวเต็มวัยประมาณ 7วัน ขนาด 1ซม. หัวสีน้ำตาล ลำตัวใสสีเนื้อ J


33 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก พืชอาหาร มันเทศ และทำลายพืชในวงศ์Convovulaceae ศัตรูธรรมชาติ - การป้องกันกำจัด เช่นเดียวกับด้วงงวงมันเทศ หนอนผีเสื้อเจาะหัวมันฝรั่ง (potato tuber moth) ชื่อวิทยาศาสตร์ Phthorimaea operculella Zeller วงศ์ Gelechiidae อันดับ Lepidoptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย หนอนผีเสื้อเจาะหัวมันฝรั่ง เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญต่อการปลูกมันฝรั่งโดยการที่ตัวเต็มวัย ของหนอนผีเสื้อเจาะหัวมันฝรั่งจะวางไข่บนใบมันฝรั่ง หลังจากนั้นไข่ก็จะฟักเป็นตัวหนอน หนอน เหล่านั้นจะเริ่มทำลายมันฝรั่งโดยการชอนไชใบเจาะเข้าไปในกิ่งก้าน ลำตัว จนถึงหัวที่อยู่ใต้ดิน ปัญหาที่สำคัญจะเกิดจากหนอนผีเสื้อเจาะหัวมันฝรั่งระบาดอย่างรุนแรงในระยะการเก็บรักษา หัวมันฝรั่ง ทำให้หัวมันฝรั่งที่เก็บไว้เน่าเละได้ รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นกลุ่มประมาณ 44-100 ฟอง สีขาวขนาดเล็กบนหัวมันฝรั่ง ไข่มี ลักษณะกลมระยะไข่ประมาณ 4-5 วัน จึงฟักออกเป็นตัวหนอน เมื่อฟักออกจากไข่ในระยะแรกจะ เริ่มทำลายมันฝรั่ง โดยการเจาะเข้าไปกัดกินในลำต้น หรือหัวมันฝรั่ง ก่อให้เกิดความเสียหายเป็น อย่างมาก ลักษณะของตัวหนอนลำตัวมีสีขาว หัวมีสีน้ำตาล หนอนมีการเจริญเติบโต 4 ระยะ โต เต็มที่มีขนาดประมาณ 1 ซม. ระยะหนอนประมาณ 9-10 วัน หลังจากนั้นจะเข้าสู่ระยะก่อนเข้า ดักแด้ประมาณ 5-6 วัน หนอนเมื่อโตเต็มที่จะเข้าดักแด้บริเวณที่หนอนเจาะหรือเข้าทำลาย ซึ่งระยะ ดักแด้จะใช้เวลาประมาณ 5-13 วัน จึงจะออกมาเป็นกลางคืน มีลักษณะปีกคู่หลังมีสีขาวขุ่น เมื่อ กางปีกกว้างประมาณ 1 ซม. ตัวเต็มวัยจะมีเส้นขนสีขาวบนลำตัว ตัวเต็มวัยเพศผู้มีอายุประมาณ 30-35วัน ส่วนตัวเต็มวัยเพศเมียมีอายุ9-25วัน J


34 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก พืชอาหาร หนอนผีเสื้อเจาะหัวมันฝรั่งทำลายพืชในตระกูล Solanaceae ซึ่งได้แก่ มันฝรั่ง พริก มะเขือ ยาสูบ นอกจากนั้นยังพบในแปลงมะเขือเทศ และยังพบว่า สามารถทำลายในพืชชนิดต่างๆ รวม ประมาณ 60ชนิด ศัตรูธรรมชาติ - การป้องกันกำจัด 1. วิธีเขตกรรม ไม่ควรปลูกมันฝรั่งหรือพืชอาหารของแมลงชนิดนี้ต่อเนื่องตลอดทั้งปีควร ปลูกสลับกับการปลูกพืชชนิดอื่น คัดเลือกหัวมันฝรั่งที่ไม่มีการทำลายหรือเน่าเสียนำเข้าเก็บรักษา และในกรณีที่เก็บทำหัวพันธุ์ควรเก็บในกล่องกระดาษที่ปิดมิดชิด ความจุไม่เกิน 10 กิโลกรัม วางใน ที่ร่ม 1-2เดือน แล้วนำมาวางในโรงเก็บแบบพรางแสงคลุมด้วยแกลบให้มิดชิด 2. ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ เช่น คาร์บาริล (เซฟวิน 85% ดับบลิวพี) หรือ คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์20% อีซี)อัตรา30 กรัม และ20 มล./น้ำ20 ลิตร ตามลำดับ ด้วงหมัดผักแถบลาย (leaf eating beetle) ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllotreta sinuata Stephen วงศ์ Chrysomelidae อันดับ Coleoptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย ด้วงหมัดผักพบแพร่ระบาดอยู่โดยทั่วๆ ไปในธรรมชาติพบ 2 ชนิด คือ ด้วงหมัดผักแถบ ลาย P. sinuata และด้วงหมัดผักสีน้ำเงิน P. chontanica ชนิดที่สำคัญคือ ด้วงหมัดผักแถบลาย ตัวอ่อนกัดกินหรือชอนไชเข้าไปกินอยู่บริเวณโคนต้นหรือรากของผัก ทำให้พืชผักเหี่ยวเฉาและไม่ เจริญเติบโต ถ้ารากถูกทำลายมากๆ ก็อาจจะทำให้พืชผักตายได้ตัวเต็มวัยชอบกัดผิวด้านล่างของ ใบทำให้ใบเป็นรูพรุน และอาจกัดกินผิวลำต้น และกลีบดอกด้วย ด้วงหมัดผักชอบอยู่รวมกันเป็น กลุ่มๆ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกกระทบกระเทือนจะกระโดด และสามารถบินได้ไกลๆ


35 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ หรือกลุ่มบริเวณโคนต้นพืช เส้นกลางใบพืช และตามพื้นดิน ไข่รูปร่างคล้ายไข่ไก่มีขนาด 0.13x0.27 มม. สีขาวอมเขียว ผิวเรียบเป็นมัน และจะ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองก่อนฟักเป็นตัว ระยะไข่ 3-4 วัน ตัวหนอนมีสีขาว ส่วนหัวและส่วนหลังปล้อง แรกสีน้ำตาล มีจุดสีน้ำตาลตามลำตัวและแผ่นสีน้ำตาลอยู่ทางด้านบนของปล้องสุดท้ายลำตัว หนอนอาศัยอยู่ในดิน ระยะหนอน 10-14 วัน และเข้าดักแด้ในดิน ส่วนปีกและขาของดักแด้แยก จากลำตัวเป็นอิสระเคลื่อนไหวได้ระยะดักแด้4-5 วัน ตัวเต็มวัยเป็นด้วงขนาดเล็ก ความยาว ประมาณ 2-2.5 มม. ปีกคู่หน้าสีดำ มีแถบเหลืองสองแถบพาดตามความยาว ด้านล่างของลำตัวสี ดำ ขาคู่หลังตรงส่วนของฟีเมอร์ขยายใหญ่และโตกว่าขาคู่อื่นๆ หนวดแบบเส้นด้าย อายุตัวเต็มวัย 30-60วัน ผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง เพศเมียแต่ละตัววางไข่ได้80-200 ฟอง พืชอาหาร ด้วงหมัดผักชอบทำลายผักตระกูลกะหล่ำ เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลีกะหล่ำดอก กะหล่ำ ปม ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกาดเขียวปลีผักกาดหัว เป็นต้น ศัตรูธรรมชาติ - การป้องกันกำจัด 1. วิธีเขตกรรม การลดการระบาดของด้วงหมัดผัก สามารถทำได้โดยการไถตากดินไว้เป็น เวลานานพอสมควร เพื่อทำลายตัวอ่อนและดักแด้ที่อาศัยอยู่ในดิน นอกจากนี้ควรเปลี่ยนมาปลูก พืชที่ด้วงหมัดผักไม่ชอบจะเป็นการช่วยลดการระบาดได้อีกทางหนึ่ง 2. การใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) เช่น ยูเนมา อัตรา 4 ล้านตัวต่อพื้นที่ 20 ตารางเมตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส เช่น โนโวดอร์เอฟซีอัตรา 100 มล./น้ำ20 ลิตร โดยพ่นหรือราดทุก 7วัน เพื่อฆ่าตัวอ่อนด้วงหมัดผักในดิน 3. การใช้สารฆ่าแมลงกลุ่ม คาร์บาเมท เช่น คาร์บาริล (เซฟวิน 85% ดับบลิวพี) หรือ คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์20% อีซี)อัตรา 40 กรัม และ 50 มล./น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ กลุ่มออร์กาโน ฟอสเฟต เช่น โพรฟิโนฟอส (ซูเปอร์ครอน 50% อีซี) หรือ โพรไทโอฟอส (โตกุไธออน 50% อีซี) อัตรา 40 และ 40 มล./น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ ยังคงใช้ได้ผลดีในแหล่งปลูกผักใหม่ๆ ที่มีการ ระบาดไม่รุนแรง ส่วนในแหล่งที่ปลูกผักเป็นประจำ ควรใช้สารฆ่าแมลงกลุ่มฟิพโพลล์เช่น ฟิโปรนิล (แอสเซนด์5% เอสซี) อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร กลุ่มนีโอนิโคตินอยด์เช่น โมแลน (อะเซตามิพริด 20% เอสพี)อัตรา10 กรัม/น้ำ20 ลิตรจะให้ผลดีกว่า


36 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก ด้วงเต่าแตงแดง (red cucurbit leaf beetle) ชื่อวิทยาศาสตร์ Aulacophora indica (Gmelin) วงศ์ Chrysomelidae อันดับ Coleoptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย ด้วงเต่าแตงแดงจะพบเป็นปัญหาอยู่เสมอกับแตงที่เริ่มงอกยังมีใบน้อย การทำลายยอด แตงโดยแทะกัดกินใบ หากการระบาดรุนแรงอาจทำให้ชะงักการทอดยอดได้ด้วงเต่าแตงแดงพบ ระบาดในสวนแตงที่มีวัชพืชขึ้นหนาแน่น ทั้งนี้เพราะตัวอ่อนอาศัยกัดกินรากพืช จึงมักเป็นปัญหา ในแหล่งปลูกแตงใหม่บริเวณรอบๆ ที่ไม่มีการไถพรวนและปราบวัชพืชเพียงพอพบระบาดแทบทุก ฤดูโดยเฉพาะในช่วงที่แตงเริ่มแตกใบจริง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักพบเสมอๆ รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ ด้วงเต่าแตงแดงเป็นแมลงปีกแข็งขนาดลำตัวยาว 0.8 ซม. ปีกคู่แรกแข็งเป็นมันสีแดงแสด ลำตัวค่อนข้างยาว เคลื่อนไหวช้า จะพบเสมอเวลากลางวันแดดจ้า ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดิน ลักษณะ ตัวหนอนสีขาว อาศัยกัดรากพืชในบริเวณที่เป็นอาหาร อาจเป็นอันตรายต่อรากแตง ในระยะต้นอ่อนด้วย ตัวเต็มวัยสามารถมีอายุได้ถึง 100 วัน หรือมากกว่า เพศเมียจะวางไข่เป็น ฟองเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ ในดินใกล้โคนต้นแตง อายุฟักไข่ 8-15 วัน หนอนที่ออกจากไข่ใหม่ๆ จะมีสีเหลืองซีด และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มเมื่อโตเต็มที่ ตัวอ่อนกัดกินรากพืช การเจริญ เติบโตมี4 ระยะ อายุตัวอ่อน 18-35 วัน เมื่อโตเต็มที่จะเข้าดักแด้ในดินโดยสร้างเกราะป้องกัน อายุดักแด้แตกต่างกันไประหว่าง4-14วัน พืชอาหาร พืชตระกูลแตงทุกชนิด ศัตรูธรรมชาติ - การป้องกันกำจัด 1. วิธีกล ถ้าทำได้โดยการจับทำลายด้วยมือจะช่วยได้มาก โดยหมั่นดูสวนแตงในเวลาเช้า แดดยังไม่จัด ขณะเดียวกันภายหลังเก็บเกี่ยวผลเสร็จแล้วไม่ควรปล่อยต้นแตงทิ้งไว้ควรถอน ทำลาย มิฉะนั้นจะกลายเป็นแหล่งสะสมของด้วงเต่าแตงต่อไป J


37 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก 2. ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัด เช่น อิมิดาโคลพริด (คอนฟิดอร์100 เอสแอล 10% เอสแอล) อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโปรนิล (แอสเซนด์5% เอสซี) อัตรา 20 มล./น้ำ20 ลิตร หรือ คาร์บาริล (เซฟวิน 85% ดับบลิวพี)อัตรา30 มล./น้ำ20 ลิตร ด้วงงวงมันเทศ (sweet potato weevil) ชื่อวิทยาศาสตร์ Cylas formicarius Fabricius วงศ์ Curculionidae อันดับ Coleoptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย ด้วงงวงมันเทศจัดเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่สุดของมันเทศ โดยตัวเต็มวัยจะทำลายทุกส่วน ของพืชในขณะที่ตัวหนอนทำลายในหัวและเถา สำหรับหัวมันเทศที่ถูกด้วงงวงทำลายจะมีลักษณะ เป็นทางคดเคี้ยว มีสีเขียวและสีดำ แม้ถูกทำลายเพียงเล็กน้อยก็ไม่สามารถรับประทานได้เพราะมี กลิ่นเหม็นและรสขม หัวมันเทศที่ถูกทำลายรุนแรงบางครั้งเน่าและมีกลิ่นเหม็น ในช่วงเดือนแรกจะ พบด้วงงวงมันเทศทำลายมันเทศเฉพาะบริเวณต้นและเถาเท่านั้น เมื่อมันเทศอายุ1½ เดือน ซึ่ง เป็นระยะเริ่มมีหัว จะพบด้วงงวงมันเทศเริ่มเข้าทำลาย แต่บางแหล่งปลูกก็พบเมื่ออายุ2-2½ เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งปลูกและความรุนแรงของการระบาด การแพร่กระจายของด้วงงวงมันเทศ มีแนวโน้มว่าเป็นแบบรวมกลุ่ม ด้วงงวงมันเทศชอบออกบินในช่วงเวลา 20.00 -21.00 น. ซึ่งส่วน ใหญ่เป็นเพศผู้ส่วนช่วงเช้า (8.00-9.00 น.) และกลางวัน (12.00-13.00 น.) ไม่พบตัวเต็มวัย ออกบิน จำนวนตัวเต็มวัยจะพบมากขึ้น เมื่อพืชอายุมากขึ้นและพบสูงสุดในช่วงเก็บเกี่ยวหัวมันเทศ รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ ตัวเต็มวัยของด้วงงวงมันเทศเป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก ลำตัวส่วนปีกมีสีน้ำเงินเข้มเป็น มัน บริเวณอกและขามีสีอิฐแดง ส่วนหัวยื่นยาวออกมาเป็นงวงและโค้งลง ปีกคู่แรกแข็งกว่าลำตัว ลำตัวยาวประมาณ 5.0-6.5 มม. กว้าง 1 มม. ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ บริเวณหัว และเถามันเทศ ในรอยเจาะใต้ผิวเปลือก ถ้าเป็นเถามันเทศแมลงจะวางไข่ใกล้ตาและก้านใบ ไข่มี สีครีม ด้านหัวแหลม ท้ายกว้างรูปร่างรีๆ คล้ายไข่ไก่ ผิวเรียบแต่ไม่เป็นมัน เปลือกไข่บางมากและ แตกง่าย ขนาดของไข่กว้างยาวเฉลี่ย 0.44 x 1.61 มม. ปกติไข่จะไม่เปลี่ยนสีไข่เมื่อใกล้ฟักจะมอง เห็นหัวของตัวหนอนมีสีดำด้านบนของไข่ ระยะไข่ของด้วงงวงมันเทศประมาณ 4-5 วัน หนอนที่ฟัก ออกจากไข่ใหม่ๆ จะมีสีขาวไม่มีขา ลำตัวอ่อนบางสามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้หัวมีสีน้ำตาล ลำตัวงอเล็กน้อย ระยะหนอนประมาณ 11-13 วัน หนอนมี3 ระยะ หนอนวัยที่ 1 มักพบทำลาย J


38 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก บริเวณผิวมันเทศลึกประมาณ 0.5 ซม. หนอนวัยที่2 ทำลายลึกกว่าหนอนวัยที่1 และหนอนวัยที่3 จะทำลายลึกกว่าหนอนวัยที่ 1 และ 2 หัวมันเทศที่ถูกทำลายและเสียหายมักเกิดจากหนอนวัย 3 หนอนขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 7 มม. หนอนจะเข้าดักแด้บริเวณหัวและเถามันเทศ ดักแด้ระยะ แรกมีสีขาว ต่อมาตา ปีก และขาจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ลำตัวมีสีค่อนข้างเหลือง ส่วนท้องมองเห็นไม่ ชัด และเคลื่อนไหวได้ขนาดดักแด้เฉลี่ย 5 มม. ระยะดักแด้5-6 วัน มักพบดักแด้ภายในบริเวณหัว และเถามันเทศที่ถูกทำลาย ตัวเต็มวัยด้วงงวงมันเทศที่ออกจากดักแด้ใหม่ๆ จะอาศัยอยู่ภายในหัว และเถามันเทศประมาณ 1-2 วัน หลังจากนั้นจึงออกมาภายนอก พบว่า ในสภาพที่มีอาหารตัวเต็ม วัยสามารถมีอายุได้นานถึง 40-53 วัน เพศผู้มีอายุยาวนานกว่าเพศเมีย แต่ในสภาพที่ไม่มีอาหาร แมลงจะมีอายุเพียง10วันเท่านั้น พืชอาหาร มันเทศ ผักบุ้ง และวัชพืชตระกูลเดียวกับมันเทศ ศัตรูธรรมชาติ ศัตรูธรรมชาติของด้วงงวงมันเทศที่พบ ได้แก่ แตนเบียนหนอน (Rhaconotus sp.) ซึ่งส่วน ใหญ่พบทำลายหนอนที่อยู่บริเวณเถามันเทศเหนือดินเท่านั้น ไม่พบทำลายหนอนที่หัวมันเทศ แต่ ความเสียหายของมันเทศนั้น เกิดจากการทำลายของแมลงที่หัวมันเทศ ซึ่งแตนเบียนไม่สามารถ เข้าทำลายหนอนได้ดังนั้นแตนเบียนชนิดนี้จึงไม่สามารถควบคุมการระบาดของด้วงงวงมันเทศได้ เชื้อราขาว Beauveria bassiana และ ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae และ Heterorhabdtis sp. เป็นศัตรูธรรมชาติของด้วงงวงมันเทศ ซึ่งทำให้ด้วงงวงมันเทศตายภายใน 24- 48ชั่วโมง ตามลำดับ การป้องกันกำจัด 1. วิธีเขตกรรม 1.1 หลีกเลี่ยงการปลูกมันเทศในแหล่งที่มีการระบาดของด้วงงวงมันเทศ 1.2 หลีกเลี่ยงการปลูกมันเทศซ้ำที่เดิม ถ้าเป็นไปได้ควรปลูกหมุนเวียนโดยใช้พืชต่าง ตระกูลกับมันเทศ ควรใช้เถามันเทศที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากด้วงงวงมันเทศ และไม่นำเถา มันเทศจากแหล่งที่มีการระบาดของด้วงงวงมันเทศมาปลูก กำจัดวัชพืชที่เป็นตระกูลเดียวกันกับ มันเทศ บริเวณรอบๆ แปลงปลูกมันเทศออกให้หมด 2. ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ เช่น คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์20% อีซี) หรือ ฟิโปรนิล (แอสเซ็นด์5% เอสซี)อัตรา100 และ20 มล./น้ำ20 ลิตร ตามลำดับ


39 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก แมลงวันผลไม้ (solanum fruitfly) ชื่อวิทยาศาสตร์ Bactrocera latifrons (Hendel) วงศ์ Tephritidae อันดับ Diptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย แมลงวันผลไม้เป็นศัตรูพืชที่สำคัญของพืชผักหลายชนิดโดยเฉพาะในพริก ซึ่งเป็นพืชผักที่มี การปลูกกันอย่างแพร่หลาย เป็นที่นิยมนำไปใช้ประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน ใช้ใน อุตสาหกรรมอาหารต่างๆ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญทำรายได้ดีอีกทั้งเป็นพืชที่มีศักยภาพในการส่ง ออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่เนื่องจากการปลูกพริกในประเทศไทยนั้น มีปัญหาจากการ ทำลายของแมลงวันผลไม้ชนิดที่สำคัญคือ Bactrocera latifrons (Hendel) ทำให้ผลผลิตเสียหาย และคุณภาพต่ำ ทำให้ต้องป้องกันกำจัด ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต และการป้องกันกำจัด แมลงวันผลไม้โดยใช้สารฆ่าแมลงอย่างต่อเนื่องจนเก็บเกี่ยว ยังก่อให้เกิดปัญหาของสารพิษ ตกค้างในผลผลิตและสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาด้านกักกันพืชและใช้เป็น เครื่องมือกีดกันทางการค้าของต่างประเทศ เช่น การส่งออกไปยังประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ ตัวเต็มวัยเพศเมียมีอวัยวะวางไข่ (ovipositor) ที่แหลมและแข็งแรง แทงผิวของเนื้อเยื่อพืช เพื่อวางไข่ที่มีลักษณะรูปร่างยาวรีสีขาวขุ่น ผิวเป็นมันสะท้อนแสง เมื่อใกล้ฟักสีของไข่จะเข้มขึ้น ระยะไข่ 2-3 วัน ก็จะเข้าฟักเป็นตัวหนอนมีลักษณะหัวแหลมท้ายป้าน มีสีขาว หรือสีใกล้เคียงกับสี ของพืชอาหาร ตัวหนอนเคลื่อนที่โดยการยืดหดลำตัวซึ่งเป็นปล้องๆ ส่วนหัวมีปากเป็นตะขอแข็งสี ดำหนึ่งคู่ เรียกว่า “mouth hook” ซึ่งเป็นอวัยวะที่หนอนใช้ชอนไชกินเนื้อเยื่อภายในผลพริกทำให้ ผลพริกเน่าและร่วง นอกจากนี้ตัวหนอนยังมีความสามารถพิเศษในการงอตัวและดีดตัวไปได้ไกล (หนอนวัย 3) ซึ่งช่วยให้หนอนหาที่เหมาะสมเพื่อเข้าดักแด้ในดิน ดักแด้มีรูปร่างกลมรีคล้ายถังเบียร์ ไม่เคลื่อนไหว ระยะแรกจะมีสีขาว และค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และสีเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนออกเป็น ตัวเต็มวัย ซึ่งมีปีกบางใสสะท้อนแสง และมีแถบสีเหลืองที่ส่วนอก จึงเรียกว่า “แมลงวันทอง” พืชอาหาร ทำลายพืชในวงศ์Solanaceae พวกพริก มะเขือ ได้แก่ พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนูมะเขือเปราะ มะเขือพวง มะเขือยาว มะแว้งต้น มะแว้งเครือเป็นต้น ศัตรูธรรมชาติ พบแมลงศัตรูธรรมชาติ2 ชนิด คือ แตนเบียนไข่ (egg-pupal parasitoid) Fopius J


40 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก arisanus (Sonan) และแตนเบียนหนอน (larval-pupal parasitoid) Diachasmimorpha longicaudata(Ashmead) การป้องกันกำจัด 1. วิธีเขตกรรม เช่น ทำความสะอาดแปลงปลูก โดยการเก็บผลพริกที่ร่วงหล่น เผาทำลาย เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันผลไม้หรือทำลายพืชอาศัยที่อยู่รอบๆ แปลงปลูกพริก 2. การใช้น้ำมันปิโตรเลียม ได้แก่ ดีซีตรอน พลัส 83.9% อีซีหรือ เอส เค 99 83.9% อีซี หรือซันสเปรย์อัลตร้า ฟรายด์83.9% อีซีอัตรา60 มล./น้ำ20 ลิตร 3. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ มาลาไธออน (มาลาเฟส 57% อีซี)อัตรา 40 มล./น้ำ20 ลิตร แมลงวันหนอนชอนใบ (leaf miner flies) ชื่อวิทยาศาสตร์ Liriomyza spp. วงศ์ Agromyzidae อันดับ Diptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย แมลงวันหนอนชอนใบมีหลายชนิด ถ้าทำลายพืชตระกูลกะหล่ำ มีชื่อเรียกว่า หนอน แมลงวันชอนใบกะหล่ำ (cabbage leaf miner, Liriomyza brassicae Riley) ทำลายหอมมีชื่อ เรียกว่า หนอนแมลงวันชอนใบหอม (onion leaf miner, Liriomyza chinensis Kato) เป็นต้น พืช ผักหรือไม้ดอกบางชนิดที่ถูกทำลายเกิดจากตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ที่มีขนาดเล็กภายในผิวพืช เมื่อ ไข่ฟักเป็นตัวหนอนที่มีลักษณะหัวแหลมท้ายป้าน ตัวหนอนจะชอนไชอยู่ในใบทำให้เกิดรอยเส้นสี ขาวคดเคี้ยวไปมา เมื่อนำใบพืชมาส่องดูจะพบหนอนตัวเล็กๆ สีเหลืองอ่อนโปร่งแสง ใส อยู่ภายใน เนื้อเยื่อใบพืช หากระบาดรุนแรงจะทำให้ใบเสียหายร่วงหล่นซึ่งจะมีผลต่อผลผลิตหากพืชนั้นๆ ไม่สามารถสร้างใบทดแทนได้พืชก็จะตายไปในที่สุด รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ ตัวเต็มวัยเป็นแมลงวันขนาดเล็ก มีขนาด 1-2 มม. ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ขนาดเล็กไว้ใต้ ส่วนของเนื้อเยื่อบางๆ ของพืช ระยะไข่ 2-4 วัน เมื่อฟักเป็นตัวหนอนมีลักษณะหัวแหลมท้ายป้าน (รูปกระสวย) ไม่เป็นปล้องชัดเจน ไม่มีขา เคลื่อนไหวโดยการดีดตัว มีขนาดยาวประมาณ 0.5-1 มม. จะชอนไชไปตามเนื้อเยื่อพืชในระยะหนอนใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน จึงเข้าดักแด้ดักแด้รูป ร่างคล้ายเมล็ดข้าวสารอยู่ตามส่วนของพืชที่ถูกทำลาย และตามใบร่วงหล่นลงดิน ขนาดดักแด้ยาว


41 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก 0.8-1 มม. ในระยะดักแด้ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน จึงออกเป็นตัวเต็มวัย เป็นแมลงวันมีสีดำปนสี เหลืองตลอดวงจรชีวิตใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ พืชอาหาร แมลงวันหนอนชอนใบ เป็นแมลงศัตรูที่เริ่มมีบทบาทสำคัญต่อพืชผักหลายชนิดที่ปลูก ได้แก่ พืชตระกูลกะหล่ำ หอม มะเขือเทศ มะเขือเปราะ มะระ พริก บวบ กระเจี๊ยบเขียว พืชตระกูล ถั่ว ต่างๆ นอกจากนี้ยังทำลายในไม้ดอกบางชนิด ได้แก่ ดาวเรือง เบญจมาศ กุหลาบ และเยอบีร่า เป็นต้น ศัตรูธรรมชาติ - การป้องกันกำจัด 1. วิธีกล การเผาทำลายเศษใบพืชที่ถูกทำลายเนื่องจากหนอนชอนใบตามพื้นดิน จะ สามารถช่วยลดการแพร่ระบาดได้เนื่องจากดักแด้ที่อยู่ตามเศษใบพืชจะถูกทำลายไปด้วย 2. สารสกัดสะเดาอัตรา100 ppm. สามารถป้องกันและกำจัดหนอนชอนใบได้ดี 3. สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ เบตาไซฟลูทริน (โฟลิเทค 2.5% อีซี) หรือ ฟิโปรนิล (แอสเซ็นด์5% เอสซี)อัตรา30 มล. และ20 มล./น้ำ20 ลิตร ตามลำดับ เป็นต้น หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว (bean fly) ชื่อวิทยาศาสตร์ Melanagromyza sojae (Zehntner) ; Ophiomyia phaseoli Tryon วงศ์ Agromyzidae อันดับ Diptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว (bean fly) เข้าทำลายถั่วฝักยาวมี2 ชนิด คือ หนอนแมลงวัน เจาะโคนต้น (Melanagromyza sojae (Zehntner)) และหนอนแมลงวันเจาะเถาและลำต้น (Ophiomyia phaseoli Tryon) โดยหนอนจะเข้าไปกัดกินส่วนต่างๆของพืชเช่น ลำต้น เถา ก้านใบ หรือแม้แต่เส้นกลางใบ การทำลายเริ่มตั้งแต่ถั่วเป็นต้นอ่อน เมื่อมีการทำลายรุนแรงหนอนจะกัดกิน เนื้อเยื่อภายในต้น ทำให้เถา กิ่ง และลำต้นเหี่ยว ใบร่วง ในระยะต้นกล้าเป็นระยะที่อันตรายที่สุด เพราะหนอนแมลงวันจะเข้าทำลายจนทำให้ต้นกล้าเหี่ยว หักล้มและตายไปในที่สุด หรือหากเกิดที่ เถา กิ่งหรือส่วนอื่นจะเกิดรอยแตก ทำให้ส่วนนั้นเป็นแผลแตกสีน้ำตาลและเสียหายเมื่อพืชเจริญ V. J


42 แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก เติบโตขึ้น ดังนั้นหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วนี้จะต้องเฝ้าระวังในระยะช่วงตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงอายุ 30วัน รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว ตัวเต็มวัยเป็นแมลงวันขนาดเล็กสีดำ ลำตัวยาวประมาณ 1.1- 1.3 มม. มักจะพบบริเวณใบอ่อน โดยเฉพาะต้นกล้าของถั่วฝักยาว ตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงที่ซึม ออกมาจากใบอ่อนที่ถูกทำลาย โดยใช้อวัยวะวางไข่ที่แหลมแทงลงไปก่อน ดังนั้นหากพบมีจุด สีขาวขนาดเล็กตามบริเวณใบอ่อนก็จะทราบว่ามีแมลงวันเจาะต้นถั่วระบาดและเข้าทำลายแล้ว ตัวเต็มวัยเพศผู้มีอายุระหว่าง 4-12 วัน เพศเมีย 9-22 วัน เพศเมียวางไข่เดี่ยวๆในเนื้อเยื่อพืชส่วนที่ กำลังเจริญ เพศเมียวางไข่ได้48-56 ฟอง ระยะฟักไข่2-3 วัน การเจริญเติบโตของหนอนมี3 ระยะ หนอนมีขนาด 2-2.5 มม. ระยะหนอน 7-8 วัน เข้าดักแด้ในส่วนของพืช เช่น เถา กิ่ง หรือเส้นกลาง ใบ ดักแด้ รูปร่างคล้ายเมล็ดข้าวสาร ระยะดักแด้7-9 วัน รวมวงจรชีวิตของแมลงวันเจาะ ต้นถั่ว17-20วัน พืชอาหาร แมลงศัตรูทั้งสองชนิดนี้สามารถทำลายพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และถั่วลิสง เป็นต้น ศัตรูธรรมชาติ - การป้องกันกำจัด 1. ก่อนหยอดเมล็ดถั่วควรคลุกด้วยสารคลุกเมล็ด เช่น คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์25% เอสที) หรืออิมิดาโคลพริด (เกาโช่70 % ดับบลิวเอส)อัตรา40 และ5 กรัม/เมล็ด 1 กิโลกรัม ตามลำดับ 2. หากพบหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วระบาดอย่างรุนแรง ช่วงพืชอายุ1-35 วัน ควรใช้สาร ฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ เช่น ฟิโปรนิล (แอสเซนด์5% เอสซี)อัตรา20 มล./น้ำ20 ลิตร เพลี้ยไฟพริก (chili thrips) ชื่อวิทยาศาสตร์ Scirtothrips dorsalis Hood วงศ์ Thripidae อันดับ Thysanoptera / พ,


Click to View FlipBook Version