The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

77 ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั่วไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

77 ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั่วไทย

77 ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั่วไทย

Keywords: ภูมิปัญญาท้องถิ่น

242

รายละเอยี ดผใู้ หข้ ้อมลู และผู้รวบรวมข้อมูลภมู ิปญั ญาท้องถ่ินด้านการเกษตร

ผู้ใหข้ ้อมูลภมู ิปัญญา : นายสุดสาคร สังฆ์รักษ์ (วสิ าหกิจชุมชนตน้ ตำรับแป้งสาครู วมใจบ้านใสขนั )
ทอ่ี ยู่ : 132/1 หมู่ที่ 6 ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง โทรศัพท์ 095-073-7330
พกิ ดั แผนท่ี : X: 578671 Y: 827697 / Latitude : 7.487430709430842 Longitude :

99.71301805338516

https://qrgo.page.link/hUrK6

ผ้รู วบรวมข้อมูล : นายบัญชา เกิดล่อง ตำแหน่ง นกั วิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
หนว่ ยงาน : สำนกั งานเกษตรอำเภอนาโยง จังหวดั ตรัง
โทรศัพท์ : 062-242-1805, 075-299-788

243

จ.นครศรีธรรมราช

: การทานา้ ตาลจาก

ประวัติความเปน็ มา

ต้นจากเป็นพืชที่อยู่คู่อำเภอปากพนัง จะเห็นได้ว่าคนปากพนังประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้และของกินที่ทำ
จากต้นจากมากมาย ถอื ไดว้ ่าเปน็ ภมู ิปัญญามาตั้งแต่บรรพบรุ ุษ เช่น การทำน้ำผึ้งข้น น้ำผึ้งโซม (น้ำตาลป๊บี ) การทำ
น้ำส้มจาก การนำมากลั่นเป็นแอลกอฮอล์ เรียก สุราชุมชน การนำใบมามวนยาสูบ การนำใบมามุงหลังคา เรียกว่า
ตับจาก การนำต้นมาทำเชื้อเพลิง นำใบมาทำหมวก ซึ่งคนแถวขนาบนากเรียกหมวกนี้ว่า เปี้ยว นำใบมาทำเป็น
กระแชงไว้กันฝน นำใบมาสานใช้ตักน้ำเรียกว่า หมาน้ำ นำผลจากอ่อนมาทำเป็นผักเหนาะกินกับขนมจีนที่เรียกว่า
ลูกจากดอง ตำบลขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรธี รรมราช เปน็ แหล่งปลูกต้นจากแหล่งใหญ่ อาชีพหลัก
ดั้งเดิมของชาวตำบลขนาบนาก คือ การทำนา กับการทำไร่จาก ชว่ งปี พ.ศ. 2530 เกดิ กระแสการเลยี้ งกงุ้ ทะเลในบ่อ
เชิงอุตสาหกรรมทำให้พื้นที่ทำนาและพื้นที่ไร่จากถูกปรับเปลี่ยนกลายเป็นบ่อเลี้ยงกุ้งทะเลจำนวนมาก หลังจาก
ประสบปัญหาการเลี้ยงกุ้งทะเลล้มเหลว ชาวบ้านก็หันกลับมาทำไร่จากอีกครั้ง โดยมี “ไร่จันทรังษี” เป็นหน่ึงในไร่
จากทเี่ ปิดเป็นแหล่งเรียนรู้เร่ืองราวของต้นจาก อกี ทง้ั ยังจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลจากอีกด้วย เดิมพื้นท่ีกว่า 3
ไร่ ของไร่จันทรังษี เคยเป็นนากุ้งมาก่อน แต่เมื่อทำนากุ้งกุลาดำไม่รุ่ง จึงหันกลับมาทำไร่จากแทน โดยมีจุดเริ่มต้น
เมอื่ รศ.ดร.นพรัตน์ บำรงุ รักษ์ อาจารย์คณะวทิ ยาศาสตร์ มหาวิทยาลยั สงขลานครนิ ทร์ ตอ้ งการทำวจิ ัยเก่ียวกับการ
ใชป้ ระโยชน์จากต้นจาก และสนใจท่จี ะพลิกฟืน้ บ่อกุ้งร้างให้กลายเป็นท่ีดินทำประโยชน์ได้ จงึ เสนอพื้นที่ตรงน้ีให้ทำ
เปน็ แปลงสาธติ อกี ทัง้ เม่อื นำดนิ และน้ำไปวจิ ัยก็พบว่า

พื้นที่บริเวณนี้เหมาะที่จะปลูกต้นจาก จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการทำ ไร่จันทรังษี ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เสดจ็ พระราชดำเนนิ ไปเยี่ยมชม เม่ือวนั ที่ 18 กรกฎาคม 2557

รายละเอียดข้ันตอนและวิธีการของภูมปิ ญั ญาท้องถิ่นด้านการเกษตร

1. การเตรยี มอุปกรณ์ ในการทำน้ำตาลจากจะมีอปุ กรณท์ ี่จำเป็น ประกอบดว้ ย
1) โรงเรอื นสำหรบั ทำนำ้ ตาลจาก
2) เตาเคย่ี วนำ้ ตาล เกษตรกรสร้างขึ้นเองโดยใชอ้ ิฐหรือดิน
3) กระทะ ขนาด 3 ปบ๊ี หรอื 60 ลิตร
4) ทับ คือ มีดทีใ่ ชใ้ นการปาดเอาน้ำหวานจากต้นจาก
5) ไม้ฟนื นิยมใช้ทางจากในสวน ไมส้ น ไม้ยางพารา หรือ ไมอ้ นื่ ๆ
6) มอ หรอื ป้อ ใช้สำหรบั ใสใ่ นกระทะไม่ให้น้ำหวานล้นกระทะ
7) กระบอกสำหรับรับน้ำหวาน ทำจากไม้ไผ่เจาะรูเพื่อให้สอดทะลายได้
8) ไม้เคย่ี ม ใสใ่ นกระบอกรับน้ำหวานเพื่อรักษาสภาพของน้ำหวาน
9) ไม้หุ้มด้วยยาง ใช้สำหรบั ตีหรือนวดก้านทะลาย
10) ถุงกรองไม้เคี่ยมออกจากน้ำหวาน
11) ไมส้ ำหรับโซมน้ำตาล

2 การเตรียมทะลาย หรือ การตีก้านทะลายจาก เป็นการเตรียมทะลายก่อนปาดเอาน้ำหวาน โดยต้อง
ดูที่ต้นเพื่อหาทะลายที่ไม่แก่จัด เลือกทะลายต้นที่สมบูรณ์เพียงต้นละ 1 ทะลาย ปอกเปลือกหุ้มทะลายออก ทิ้งไว้

244

15-20 วัน จากนั้นจึงใช้ไม้หุ้มยาง ตีที่ก้านทะลาย 30-40 ครั้งต่อวัน จำนวน 5 วัน ตีวันเว้นวัน ทิ้งไว้ 20 วัน และ
ทำการตีซ้ำอีกจำนวน 4 วัน ตีวันเว้นวัน รวมเป็น 9 วัน แล้วจึงทำการปาดเพื่อเอาน้ำหวาน ในขั้นตอนการตีก้าน
ทะลายจากนั้น เกษตรกรอาจจะทำการตีก้านทะลายจากไม่เท่ากัน บางรายอาจจะตีวันละ 40-50 ครั้ง และบางราย
อาจจะตี วันละ 90 คร้งั เปน็ ต้น 3. การเก็บเกี่ยว หรือ การปาดตาล หลังจากเตรียมทะลายเรียบร้อยแล้วก็ทำ
การตัดทะลายหรือผลจากทิ้งโดยใช้มีดพร้า ให้เหลือแต่ก้านทะลายแล้วทิ้งไว้ 1 คืน ซึ่งเกษตรกรบางรายอาจใช้ดิน
เหนียวปดิ บริเวณก้านทะลายไว้เพื่อให้หน้าปาดเย็น ถงึ เวลารุ่งเช้าใชท้ ับปาดท่กี ้านทะลาย 2-3 คร้งั เพ่อื เอาน้ำหวาน
จากนั้นจึงใช้กระบอกรองรับน้ำหวานโดยในกระบอกรับน้ำหวานจะต้องใส่ไม้เคี่ยมประมาณครึ่งฝ่ามือต่อกระบอก
เพื่อป้องกันการบูดเสียของน้ำหวาน เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปาดครั้งแรกในช่วงเย็น ทิ้งไว้ 1 คืน ในตอนเช้าก็ทำการ
ปาดซ้ำอกี 1 ครง้ั เพ่ือให้ได้ปริมาณน้ำหวานเพ่ิมมากขึ้น ท้ิงไว้ 2-3 ชั่วโมง แลว้ จงึ เก็บกระบอกทรี่ องรับน้ำหวาน

4. การแปรรูปน้ำหวานเป็นน้ำตาลจาก นำนำ้ หวานท่ีได้จากกระบอกรองรับน้ำหวานมาเค่ยี วในกระทะ โดย
ใสผ่ ่านถงุ กรองเพื่อเอาไม้เคี่ยมออก ใชเ้ วลาเคย่ี วนำ้ หวานประมาณ 3-5 ช่ัวโมง เมอื่ นำ้ หวานเรมิ่ เหนียว ยกลงจากเตา
เพือ่ ทำการโซม ด้วยไมโ้ ซมประมาณ 30 นาที เพอ่ื ให้น้ำตาลเย็นตัวแลว้ จึงตักน้ำตาลในกระทะใส่ลงบรรจุในปี๊บ (25
กโิ ลกรัม) เพื่อจำหนา่ ยต่อไป ราคาจำหนา่ ย ปบี๊ ละ 1,200 บาท

5. การแปรรูปน้ำหวานเป็นน้ำตาลผง สำหรับการทำน้ำตาลผง มีเกษตรกรในตำบลขนาบนาก เพียงกลุ่ม
เดียวที่มีการผลิต ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้ทำขายทั่วไปแล้ว แต่จะทำตามปริมาณที่ลูกค้าสั่งในบางช่วงเท่านั้น ซ่ึง
กระบวนการในการผลิตน้ำตาลผงนั้นมีขั้นตอนการเตรียมการคล้ายกับการทำน้ำตาลจาก แต่จะต่างกันที่การทำ
น้ำตาลผงต้องใช้น้ำหวานที่สะอาด โดยต้องคัดเลือกน้ำหวานที่มีสีใส ในช่วงเดือน มกราคม ถึง มีนาคม จากงวงหรือ
ทะลายที่ตัดใหมใ่ นช่วง 1-15 วัน หลังจากนั้นน้ำตาลจะมีรสเปรี้ยว คุณภาพไม่ดี จากนั้นนำมาทำการเคี่ยวในกระทะ
3-5 ชั่วโมง เหมือนกับการทำน้ำตาลจาก แต่การทำน้ำตาลผงต้องใช้ไฟอ่อน ๆ มีการวัดและควบคุมอุณหภูมิให้อยู่
ในชว่ ง 120-125 องศาเซลเซียส ทำการกวนหรือเคี่ยวด้วยไม้พายจนมีความเหนยี ว แล้วเทน้ำตาลลงในถาดไม้ ใช้ไม้
พายขยี้ประมาณ 20-30 นาที จนกลายเป็นน้ำตาลผง นำไปตากแดด 1 ชั่วโมง แล้วนำมาผึ่งลมให้เย็นจากนั้นก็
สามารถบรรจุลงภาชนะท่ีเตรียมไว้เพื่อจำหน่ายต่อไป โดยนำ้ ตาลผงสามารถเก็บไดป้ ระมาณ 6 เดือน ราคาจำหน่าย
กโิ ลกรัมละ 120 บาท

245

รูปภาพประกอบภมู ปิ ญั ญาท้องถ่ินด้านการเกษตร

การใช้ทับปาดเพ่ือเอานำ้ หวาน การใส่ไม้เค่ยี มในกระบอกสำหรับรับน้ำหวาน

การลำเลยี งน้ำหวานเพื่อนำมาเค่ียวเป็นน้ำตาลจาก การใช้กระบอกรองรบั น้ำหวาน

การโซม (เคีย่ ว) น้ำตาล นำ้ ตาลจาก (น้ำตาลป๊บี )

นำ้ ตาลผง 246

การโซม (เคี่ยว) นำ้ ตาล
ผลติ ภณั ฑจ์ ากภูมปิ ัญญา

ผลติ ภัณฑจ์ ากภมู ิปัญญา

247

รายละเอยี ดผ้ใู ห้ข้อมลู และผู้รวบรวมข้อมูลภมู ิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร

ผ้ใู หข้ ้อมูลภูมปิ ัญญา : นายโกวิทย์ จันทรังษี
ทีอ่ ยู่ : 3 หมู่ท่ี 2 ตำบล ขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรธี รรมราช 80140 โทรศัพท์ 085 784 5321
พกิ ัดแผนที่ : Zone 47 X: 636295 Y : 906829 / Latitude 8.201906: Longitude: 100.237329

https://goo.gl/maps/qiXtpndezQCmpi4f9
ผู้รวบรวมข้อมูล : นางปฏมิ า ยง่ิ ขจร ตำแหน่ง นักวิชาการส่งเสรมิ การเกษตรชำนาญการ
หนว่ ยงาน : สำนกั งานเกษตรอำเภอปากพนังบรุ ี
โทรศัพท์ : 081 721 4265, 075 517 173

248

จ.นราธิวาส

: สม้ แขกกวน

ประวัตคิ วามเปน็ มา

ส้มแขก หรอื การซ์ ีเนีย ภาษามลายูเรียกว่า กลูโฆ เปน็ พืชตระกูลเดียวกับมังคุดและเป็นพืชพื้นเมือง
ในจังหวัดภาคใต้ เป็นผลไม้รสเปรี้ยวพบมากในเขต 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย มีผลสีเขียว
เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีเหลือง ออกผลปีละ 1 ครั้ง ใช้ปรุงรสอาหารประเภทแกงส้ม สืบทอดกันมานานหลาย
ชั่วอายุคน จนเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของภาคใต้ จากการศึกษาวิจัยพบว่า ส้มแขกของไทยมีส่วนประกอบของ
ไฮดรอกซี ซิตริก แอซิด (HCA) ที่มีประสิทธิภาพช่วยลดไขมันส่วนเกินของร่างกาย ช่วยยับยั้งไม่ให้อาหาร
จำพวกแปง้ น้ำตาลและโปรตีน ทีเ่ รารับประทานเข้าไปกลายเป็นไขมนั ส่วนเกิน

เนื่องจากส้มแขกในชุมชนมีจำนวนมาก แต่นำมาใช้ประโยชน์น้อยตลอดจนราคาผลผลิตต่ำและ
ส้มแขกมีคุณสมบัติสรรพคุณเป็นสมุนไพร มีสารเอชซีเอ (HCA) ซึ่งมีประโยชน์ทางการแพทย์ใช้แทนน้ำย่อย
และสามารถลดคลอเรสเตอรอล ลดความอยากอาหารได้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากส้มแขกจึงเห็น
ความสำคัญและได้นำผลผลิตส้มแขกที่มีอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากมาแปรรูปเพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งเป็น
การพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในช่วงภาวะเศรษฐกิจของชาติถดถอย จึงได้มีความคิดริเริ่มที่จะแปรรูปส้มแขก
โดยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ส้มแขกต่างๆ และเป็นการดำเนินกิจกรรมเพ่ือเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร
ใช้เวลาว่างใหเ้ กิดประโยชน์และสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกกลุ่มจึงได้รับสมัครสมาชิกเพิ่มและได้ดำเนินกิจกรรม
แปรรปู สม้ แขกเรือ่ ยมา

รายละเอยี ดขั้นตอนและวธิ ีการของภูมปิ ญั ญาท้องถ่นิ ด้านการเกษตร

อปุ กรณใ์ นการทำส้มแขกกวน
1. สม้ แขกตากแห้ง
2. นำ้ ตาลทรายแดง
3. เกลอื
4. พริกป่น
วิธกี ารทำส้มแขกกวน
1. นำส้มแขกตากแห้งมาล้างให้สะอาด บดใหล้ ะเอียด
2. นำสว่ นผสมน้ำตาลทราย เกลือ พริกปน่ มาบดให้ละเอียดในอตั ราส่วนพอเหมาะ
3. จากนนั้ นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงในกระทะ ใชไ้ ฟปานกลางกวนจนเหนยี วและแหง้ ไมต่ ดิ มอื
4. พกั ใหเ้ ย็น แล้วนำมาปน้ั ตามรูปแบบที่ตอ้ งการ
5. จากนนั้ ห่อดว้ ยกระดาษแกว้ หรือบรรจุภณั ฑ์

การใชป้ ระโยชน์ของภูมิปญั ญาทอ้ งถิ่นด้านการเกษตร

1. การถนอมอาหารที่สืบทอดมาหลายชว่ั อายุคน
2. เป็นการแปรรูปผลผลิตส้มแขกท่ีมีอยู่มากในพ้ืนท่ีให้เกดิ ประโยชน์มากทีส่ ุด
3. เกิดการใช้เวลาว่างใหเ้ กิดประโยชน์และสรา้ งรายไดใ้ ห้แกส่ มาชิกกลุ่ม
4. การดำเนนิ กิจกรรมเพ่ือเพิ่มมูลค่าผลผลติ ทางการเกษตร
5. มีเลขท่ี อย. 96 2 00542 0 0002
6. มเี ลขท่ี มผช.35/2546

249

7. เป็นผลติ ภัณฑ์ OTOP ระดับ 4 ดาว
8. และอีกมากมายที่ไม่ได้กล่าวถึง

รปู ภาพประกอบภูมิปญั ญาท้องถิ่นดา้ นการเกษตร

การทำสม้ แขกกวน การป้ันและห่อส้มแขกกวน

การบรรจุส้มแขกกวน ผลิตภัณฑส์ ม้ แขกกวน

รายละเอียดผใู้ หข้ ้อมลู และผู้รวบรวมขอ้ มูลภูมปิ ญั ญาทอ้ งถนิ่ ด้านการเกษตร

ผู้ให้ข้อมูลภูมิปัญญา : นางประทุมทิพย์ ขวัญดี (วสิ าหกิจชุมชนผลติ ภัณฑ์จากส้มแขก)
ทอ่ี ยู่ : 125 หม่ทู ี่ 2 ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส โทรศัพท์ 089-486-7682
พิกดั แผนท่ี : X: 802514 Y: 697433

ผู้รวบรวมข้อมูล : นางสาวซุวัยกรั บินหะยีกาเดร์ ตำแหน่ง นักวชิ าการส่งเสริมการเกษตรปฏิบตั ิการ

หน่วยงาน : สำนกั งานเกษตรอำเภอระแงะ
โทรศัพท์ : 087-299-9454, 0-7367-1290

250

จ.ปตั ตานี
: การทาน้าตาลโตนดและการแปรรูปผลติ ภัณฑ์จากตาลโตนด

ประวตั ิความเป็นมา

ในอดตี น้นั พ้นื ทีต่ ำบลจะรัง อำเภอยะหรงิ่ ประชากรสว่ นมากมีอาชีพทำนา และนิยมปลูกต้นตาลโตนดตาม
คันนาเพื่อบอกอาณาเขต ป้องกันการลุกล้ำพื้นที่ เพราะตาลยืนต้นเด่น โตง่าย ไม่ต้องดูแล ทั้งยังขยายพันธุ์ง่าย
เพียงลูกตาลทีส่ ุกหล่นจากต้น ก็สามารถงอกเปน็ ต้นอ่อนได้ในเวลาไม่นาน นี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ทุ่งนาในตำบลจะรัง
ตอ้ งมีต้นตาลยืนเด่นเคียงคู่กัน ยอ้ นกลบั ไปเม่ือหลายสิบปีก่อนผู้คนต่างใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ชาวตำบลจะรังยังคง
มีวิถีที่ใกล้ชิดธรรมชาติในหลายๆ ส่วน หนึ่งในนั้น คือ การใช้วัสดุจากธรรมชาติและกรรมวิธีดั้งเดิมในการผลิต
น้ำตาลโตนด การใช้เตาที่ก่อจากดินเหนียวปั้นมือ การใช้ฟืนจากเศษไม้ และท่อนไม้ ที่หาได้ตามละแวกบ้านแทน
การใช้เตาแก๊สซ่ึงมีความยากตรงการควบคุมไฟให้ได้ตามท่ีต้องการ การใช้ไม้พายกวนน้ำตาลเพื่อให้น้ำตาลงวดและ
แห้ง แทนการใช้เครื่องจักรในกวนรวมถึงการใช้ใบตาลเป็นแม่พิมพ์ในการทำน้ำตาลแว่นแทนการใช้แม่พิมพ์
สังเคราะห์ และยังมีอีกหลายอย่างที่ชุมชนแห่งนี้ ยังคงใช้วิถีดั้งเดิมเพื่อรักษาและคงคุณค่าของภูมิปัญญาการผลิต
วถิ ีเดมิ เอาไว้

รายละเอยี ดข้ันตอนและวิธกี ารของภูมปิ ัญญาท้องถน่ิ ดา้ นการเกษตร -

1. ผลติ ภัณฑ์น้ำตาลโตนดไซรัป
วตั ถุดิบ คอื นำ้ ตาลสดแท้ % 100

ข้ันตอนวิธที ำ

1) นำนำ้ ตาลสดจากต้นมากรอง โดยอุปกรณ์ที่ใช้กรองนนั้ จะต้องผ่านกระบวนการความร้อน
2) นำน้ำตาลสดทผี่ า่ นการกรองมาเคยี่ วด้วยอุณหภมู ทิ ่ีสูงนาน 2 ชัว่ โมงจนกลายเปน็ ไซรัป
ราคาจำหน่าย ขวดละ 159 บาท ปรมิ าณ 180 มิลลิลิตร
2. ผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนดผง

วตั ถดุ ิบ คือ น้ำตาลสดแท้ 100 %

ขั้นตอนวิธีทำ
1) นำนำ้ ตาลสดจากตน้ มากรอง โดยอุปกรณ์ที่ใช้กรองนั้นจะต้องผ่านกระบวนกาความร้อน
2) นำนำ้ ตาลสดท่ีผ่านการกรองมาเค่ียวดว้ ยอุณหภูมทิ ่ีสูงนาน 2 ช่ัวโมงจนกลายเป็นไซรปั
3) นำไซรัปที่ได้มาผัดให้แห้งจนเป็นผง
ราคาจำหน่าย ขวดละ 159 บาท น้ำหนัก 200 กรัม

การรับรองทางวิทยาศาสตร์หรือทางกฎหมาย

มเี คร่ืองหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร (Q)

251

รปู ภาพประกอบภูมิปัญญาท้องถ่ินด้านการเกษตร

นำน้ำตาลสดท่ีกรองมาเคี่ยวด้วยอุณหภูมิที่สูง
นำน้ำตาลสดจากต้นมากรอง

นำน้ำตาลสดท่ีกรองมาเค่ียวด้วยอุณหภมู ิท่ีสงู

นำ้ ตาลสดถูกเค่ียวจนกลายเป็นไซรปั ไซรปั ท่ีได้ถูกผดั ใหแ้ ห้งจนเป็นผง
สงู

ผลิตภัณฑ์แปรรปู จากตาลโตนดบรรจุ
ขวด

252

รายละเอียดผใู้ ห้ข้อมลู และผู้รวบรวมข้อมลู ภูมิปัญญาทอ้ งถ่ินด้านการเกษตร

ผใู้ หข้ ้อมูลภูมปิ ัญญา : น.ส.ฟัตฮยี ๊ะ ดอเลาะ (วิสาหกิจชุมชนอามีนตาลโตนด)
ท่ีอยู่ : 7/1 หมู่ที่ 7 ตำบลจะรัง อำเภอยะหร่ิง จังหวัด ปัตตานี 94150โทรศัพท์ 081 959 1021
พกิ ดั แผนท่ี : 47N X : 772698 Y : 757810 / Latitude : 6.849479 Longitude: 101.467421

https://goo.gl/maps/skWXPyWU4CwBW1tV8

ผูร้ วบรวมข้อมูล : นายมฟิ ตาหุดดีน วาเด็ง ตำแหนง่ นกั วิชาการสง่ เสริมการเกษตรชำนาญการ
หน่วยงาน : สำนกั งานเกษตรอำเภอยะหริง่
โทรศพั ท์ : 093 579 3718, 093 579 3718

253

จ.พั งงา

: การทาลูกชก

ประวตั คิ วามเปน็ มา

ต้นลกู ชก มลี ักษณะคล้ายตน้ ปาล์ม ชอบขน้ึ ตามแนวพ้ืนราบขา้ งภูเขาหิน มีลำตน้ ตรง โตเตม็ ที่จะมีขนาด
ใหญ่ สูงประมาณ 20 - 25 เมตร ใบยาวประมาณ 2-3 เมตร คล้ายใบมะพร้าวแต่ใหญ่กว่าและแข็งแรงกว่า ก้านใบ
และทางใบเหยียดตรงกว่าต้นมะพร้าว มีรกสีดำตามกาบใบหนาแน่น ดอกเป็นดอกช่อ จะออกบริเวณส่วนบนใกล้
ยอดของลำต้น ช่อหนึ่งๆ มีผลประมาณ 100 ผล ผลของลูกชกคล้ายลูกตาลขนาดจิ๋ว ภายในผลมี1-3 เมล็ด แล้วแต่
ความสมบูรณ์ของต้น พบมากในบริเวณใกล้เขาฝั่งทะเลอันดามัน ต้นชกตัวเมียจะออกผลปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือน
มกราคม - พฤษภาคม ส่วนต้นตัวผู้จะมีดอกแต่ไม่มีผล ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เชิงเขาหรือ
เนินเขาเต้ีย ๆ ในปา่ เขตร้อนช้นื และแตล่ ะต้นจะมีผลไดเ้ พียงครั้งเดยี วเท่านั้น ตน้ ท่อี อกผลแลว้ จะไม่ออกผลอีกและ
จะค่อยเหี่ยวลงและตายภายใน 4-5 ปี ชาวบ้านมักกล่าวเป็นอุทาหรณ์ว่า ต้นลูกฆ่าแม่ ต้นที่เจริญพันธุ์ที่จะออก
ผลได้จะใช้เวลา 25 ปี ต้นชกมีมากเป็นพิเศษในพื้นที่หมู่ที่ 1, 2 และ 7 ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา
ลูกชกสด จะมีลักษณะคล้ายกับลูกตาล แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ลูกจะโตติดอยู่บนนิ้ว (กิ่ง) เดียวกันและมีหลายนิ้ว
รวมกันอยู่ในทลายเดียว บางนิ้วยาวเกือบสองเมตร และบางทลายมีลูกชกขึ้นอยู่เป็นหลายสิบนิ้ว ทำให้เก็บเกี่ยว
ลูกชกได้คราวละมากๆ ผลผลติ จากตน้ ชกสามารถนำไปใชป้ ระโยชน์ไดห้ ลากหลาย เนือ้ เมล็ดใชร้ ับประทานเป็นของหวาน

ภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม จนถึงเดือนธันวาคมของทุกปี จะเป็นช่วงการหาลูกชก
มาต้มขาย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาส่งต่อมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย สำหรับชาวบ้านในแถบนี้ซึ่งมีต้นลูกชกมากมายขึ้นตาม
รมิ ๆ เขาใกลบ้ ้านที่อาศัยอยู่ ปจั จุบนั มีชาวบ้านในตำบลบางเตยทำมาหากินดว้ ยอาชีพน้ีอยู่ประมาณ 10 ราย ในช่วง
เดือนดังกล่าวชาวบ้านจะไปขึ้นลูกชกโดยการให้คนปีนข้ึนเหมือนปีนมะพร้าวซึ่งจะนำเชือกขึ้นไปด้วย เม่ือข้ึนไปบน
ต้นแล้วจะสำรวจดูว่าทะลายไหนกำลังแก่พอดีที่จะทำลูกชกได้ ก็จะตัดและผูกเชือกห้อยลงมาให้ด้านล่าง ลูกชก
แต่ละทะลายจะมีหลายช่อ ตั้งแต่ 10 - 30 ช่อ น้ำหนักค่อนข้างมากนี้คนปีนจะต้องมีความแข็งแรงมาก ช่อที่เป็น
สายของลูกชกในทะลายชาวบ้านแถบนี้เรียกว่า นิว้ แตล่ ะนิว้ หรือช่อจะมีความยาว 2 - 3 เมตร ซ่งึ จะมีผลอยู่ถึงร้อย
กว่าผลทีเดียว ลูกชกดิบจะทิ้งไว้ได้ประมาณ 7 วัน ถ้าเกินกว่านี้จะเริ่มเหี่ยวแกะเนื้อค่อนข้างยาก เมื่อได้จำนวน
พอแล้วก็จะติดไฟเอาน้ำใส่กระทะแล้วเรียงด้วยท่อนลูกชกท่ีเลื่อยแล้วให้เต็ม ครอบด้วยถุงพลาสติกใส แล้วครอบ
ด้วยผ้าหม่ ให้รอบอีกที ใชเ้ วลาประมาณ 2 ชวั่ โมง จะทดลองปลิดผลลูกชกจากช่อดูถ้าหลุดง่ายแสดงว่าสุกพอดีแล้ว
จะนำออกมากกองไว้ให้เย็น หลังจากนั้น ก็จะเติมน้ำต้มลูกชกดิบต่อไปอีก วันหนึ่งๆทำได้ 4 - 5 กระทะ เมื่อลูกชก
เย็นลงก็จะปลิดให้หลุดจากขั้วมาใส่ตะกร้าไว้ ส่วนก้านช่อก็จะนำไปเรียงตากแดดไว้ให้แห้งเพื่อใช้เป็นฟนื ในการต้ม
ลกู ชกครั้งต่อไป หลังจากนั้น จงึ นำลกู ชกมาตัดด้านหวั ออกให้พอเหมาะเพราะถา้ ตดั มากไปก็จะเสียเน้ือลูกชก ถ้าตัด
น้อยไปกจ็ ะทำให้แคะออกยาก ลกู ชกสว่ นใหญจ่ ะมี 3 เมล็ด เม่อื ตดั ได้ทีแล้วก็จะเอาช้อนสน้ั โดยใชด้ ้านหางช้อนแคะ
ออกซึ่งทำไม่ยาก แต่ใช้เวลามากเนื่องจากต้องทำกับมือทีละเมล็ด ซึ่งการต้ม 4 - 5 กระทะ ถ้าใช้คนตัดและแคะ
2 คน ตอ้ งใช้เวลาทำถึง 2 วนั จึงจะหมดหลังจากแคะแล้วก็นำมาล้างน้ำหลายๆ คร้งั โดยใช้มือลงไปคนจับดูว่าเมือก
ลื่นๆ ที่อยู่บนผิวลูกชกหมดหรือยัง ถ้ายังไม่หมดต้องล้างอีกจนหมด แล้วจะแช่น้ำไว้ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกเช้าและเย็น
มิฉะนน้ั ลูกชกจะเสยี หรือนำลูกชกใส่ถงุ แลว้ ใสน่ ำ้ ไว้ด้วยพอท่วมแชต่ ู้เย็นหรือแช่ในน้ำแข็งจะเก็บไว้ไดห้ ลายวนั

254

รายละเอียดข้ันตอนและวธิ ีการของภมู ิปัญญาท้องถนิ่ ด้านการเกษตร

วธิ กี ารทำลูกชก
1. หลังจากได้ลูกชกมา ชาวบ้านก็จะนำมาเลื่อยเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 70 เซนตเิ มตร เพอ่ื ใหใ้ ส่กระทะ
ขนาดใหญไ่ ด้พอดี ลูกชกดิบจะทิง้ ไว้ได้ประมาณ 7 วนั ถ้าเกนิ กวา่ นจี้ ะเร่ิมเหี่ยวแกะเนื้อค่อนข้างยาก
2. เมื่อได้จำนวนพอแลว้ ก็จะติดไฟเอาน้ำใส่กระทะแล้วเรียงด้วยท่อนลูกชกท่ีเล่ือยแล้วให้เต็ม ครอบด้วย
ถงุ พลาสติกใส แล้วครอบดว้ ยผ้าห่มให้รอบอีกที ใชเ้ วลาประมาณ 2 ช่ัวโมง
3. ลองปลิดผลลูกชกจากช่อดูถ้าหลุดง่ายแสดงว่าสุกพอดีแล้วจะนำออกมากกองไว้ให้เย็น หลังจาก
น้นั ก็จะเติมนำ้ ตม้ ลกู ชกดบิ ตอ่ ไปอีก
4. เมื่อลูกชกเย็นลงก็จะปลิดให้หลุดจากขั้วมาใส่ตะกร้าไว้ ส่วนก้านช่อก็จะนำไปเรียงตากแดดไว้
ให้แหง้ เพือ่ ใชเ้ ป็นฟนื ในการต้มลูกชกคร้ังต่อไป
5. หลังจากนั้น จึงนำลูกชกมาตัดด้านหัวออกให้พอเหมาะเพราะถ้าตัดมากไปก็จะเสียเนื้อลูกชก
ถ้าตัดน้อยไปก็จะทำให้แคะออกยาก ลูกชกส่วนใหญ่จะมี 3 เมล็ด เมื่อตัดได้ทีแล้วก็จะเอาช้อนสั้นโดยใช้ด้าน
หางชอ้ นแคะออกซง่ึ ทำไมย่ ากแตใ่ ช้เวลามากเน่อื งจากต้องทำกับมือทีละเมลด็
6. หลังจากแคะแล้วก็นำมาล้างน้ำหลายๆ ครงั้ โดยใชม้ ือลงไปคนจบั ดูว่าเมอื กลื่นๆ ท่อี ยู่บนผวิ ลูกชก
หมดหรือยัง ถ้ายังไม่หมดต้องล้างอีกจนหมด แล้วจะแช่น้ำไว้ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกเช้าและเย็น เมื่อเทน้ำทิ้งแล้ว
จึงต้มอีกครั้งก่อน มิฉะนั้นลูกชกจะเสีย หรือนำลูกชกใส่ถุงแล้วใส่น้ำไว้ด้วยพอท่วมแช่ตู้เย็นหรือแช่ในน้ำแข็ง
จะเกบ็ ไวไ้ ด้หลายวนั
ราคาจำหน่าย
กโิ ลกรัมละ 120 บาท

การใชป้ ระโยชน์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นดา้ นการเกษตร

1. เป็นการสืบทอดภมู ิปัญญาจากรุ่นสรู่ นุ่
2. ยอดออ่ นใช้ทำอาหารไดท้ ั้งคาวและหวาน
3. งวงหรอื ดอก ใชท้ ำน้ำตาลชกสด นำมาเคี่ยวจนกลายเป็นน้ำตาลเหนียวหนืด ซึง่ ทำได้ทง้ั น้ำตาลผงและ
นำ้ ตาลแวน่
4. ก้านใบนำไปทำไม้กวาด
5. นว้ิ ชกก็นำไปทำฟนื

รูปภาพประกอบภมู ปิ ัญญาท้องถ่นิ ด้านการเกษตร

ตน้ ลูกชก การปนี ขึ้นไปตดั ลกู ชก

255

ลูกชกสด สถานที่ทำลกู ชก

การต้มลกู ชก ลูกชกตม้

การ “แควก” (แกะ) ลูกชก ลูกชกทแ่ี กะเรียบร้อยแล้ว

ลูกชกทีผ่ า่ นการต้มอีกรอบ ลูกชกพร้อมจำหน่าย

256

ลูกชกที่ผ่านการแปรรูป ลกู ชกเชือ่ ม

รายละเอยี ดผ้ใู ห้ข้อมลู และผู้รวบรวมข้อมลู ภูมิปญั ญาทอ้ งถน่ิ ด้านการเกษตร

ผใู้ ห้ข้อมูลภูมิปัญญา : นางสาวประภากร สมประกอบ
ท่อี ยู่ : 22/1 หมู่ท่ี 7 ตำบลบางเตย อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา โทรศัพท์ 093-779-8951
พิกดั แผนท่ี : X: 450875 Y: 933509 / Latitude : 8.4448878 Longitude: 98.5537278

https://goo.gl/maps/ijLbLSGoDYWLWu2x7
ผู้รวบรวมข้อมูล : นางสาวนจุ รนิ ทร์ ประดษิ ฐการ ตำแหน่ง นักวชิ าการสง่ เสริมการเกษตรปฏิบตั ิการ
หน่วยงาน : สำนกั งานเกษตรอำเภอเมืองพังงา
โทรศัพท์ : 085-691-0846, 0-7648-1509

257

จ.พั ทลงุ

: การแปรรปู งานจักสานกระจูด

ประวตั ิความเป็นมา

วิสาหกจิ ชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี ดำเนินกิจกรรมการแปรรปู ผลิตภัณฑ์จากกระจูด การท่องเทย่ี ว
ชุมชน และปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี ได้เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้งานหัตถกรรมกระจูดพัทลุง
ซึ่งมีความสำคัญต่อชุมชนและประชาชนทั่วไปเป็นอยา่ งยิ่ง เพราะเป็นแหล่งรวบรวมวิทยาการหลักของความรู้
ภายในชมุ ชน และเป็นศนู ยก์ ลางในการเผยแพร่วฒั นธรรม ภมู ิปัญญาท้องถิ่น หตั ถกรรม ท่สี บื ทอดมากว่า 100
ปี และการสืบสานวัฒนธรรมให้แก่เยาวชน ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมศึกษาเรียนรู้งาน
หตั ถกรรม วฒั นธรรมและวิถชี วี ติ ในชุมชน นอกจากนี้ยังสามารถพฒั นาต่อยอดเพื่อให้พร้อมสำหรับการรองรับ
นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่เดินทางเข้ามาภายในชุมชนมากขึ้น เป็นการยกระดับคุณภาพ
ชีวิตของคนในชุมชน ทำให้มีการกระจายรายได้และเป็นการส่งเสริมให้กับคนในชุมชนเห็นความสำคัญของ
ทรัพยากรท้องถ่ิน วิถีชีวติ วัฒนธรรมดั้งเดมิ ในชุมชน จนเกิดจิตสำนึกในการฟื้นฟู อนุรักษ์และสืบทอดส่ชู นรนุ่
หลงั ซึง่ เปน็ ส่วนสำคญั ในการพัฒนาอยา่ งยัง่ ยนื โดยยดึ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง

วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี อยู่ท่ามกลางวิถีดั้งเดิม เรียนรู้และเข้าใจถึงความหมายที่
แท้จริงของคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่สอน
ให้ทุกคนพึ่งพาตนเอง ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น คำสอนเรียบง่าย แต่ช่วยให้ชุมชนได้สืบทอดภูมิ
ปัญญา และสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน “คำว่า พอเพียง มีความหมายว่า พอกิน เศรษฐกิจแบบ
พอเพียง หมายความวา่ ผลติ อะไรมีพอทจี่ ะใช้ไมต่ ้องขอยืมคนอ่ืน อย่ไู ดด้ ้วยตนเองแปลจากภาษาฝร่ังได้ว่า ให้
ยนื บนขาของตัวเองหมายความว่า สองขาของเรายนื บนพ้ืนให้อยู่ได้ไม่หกล้มไมต่ ้องไปขอยืมของคนอื่นเพื่อท่ีจะ
ยนื อยคู่ ำวา่ พอ….” พระราชดำรสั ของพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ วั รัชกาลท่ี 9 พระราชทานในโอกาสที่คณะ
บุคคลเข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคล เฉลมิ พระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็น
แนวทางสำคญั ของวสิ าหกิจชมุ ชนหัตถกรรมกระจูดวรรณีที่ไดน้ ำมาปรับใช้ ก่อใหเ้ กิดความสขุ สร้างอาชพี และ
รายได้ให้คนในชมุ ชน

งานจักสานกระจูดเป็นศิลปหัตถกรรมไทย ที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนาน ซึ่งวิสาหกิจ
หัตถกรรมกระจูดวรรณี ยังคงสืบทอดรักษาหัตถศิลป์ต่อไปและยังควบคู่การพัฒนาหัตถศิลป์ให้เข้ายุกต์
สมยั ใหม่อย่างสรา้ งสรรค์ มีการนำนวัตกรรมใหม่มาใช้สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาประเทศไทยสู่ยุคไทยแลนด์
4.0

รายละเอียดขั้นตอนและวธิ กี ารของภมู ปิ ัญญาท้องถิน่ ด้านการเกษตร

วิธกี ารทำเส่ือจากกระจูด
1. เป็นขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ คือ ต้นกระจูดขนาดต่าง ๆ ซึ่งชาวบ้านจะเตรียมที่ทุ่งกระจูด การกอบ
นิยมกอบที่ละ 2.3 ต้น รับหนึ่งจะกอบประมาณ 10-15 กำฝ่า มัดกระจูด ที่มัดมาจากแหล่งกระจูด เรียก 1 กำฝ่า
ใหญข่ นาดเท่าตน้ ตาลโตนด 1 กำฝา่ นำมาแยกเปน็ กำฝืนได้ประมาณ 4-5 กำฝนื ( 1 กำฝนื สานเพ่อื ผนู้ ั่งใส่ 1 ผืน)
2. การคลุกโคนต้นกระจูด เพื่อเมความเหนียวให้ทับเส้นใย ชาวบ้านจะใช้น้ำโคลนขาว คลุกกระจูดให้
เปียกทว่ั ก่อนนำไปตากแดด ชว่ ยให้กระจูดเข็งตัว ไม่แห้งกรอบ เพียงปิดจบใช้งานไม่ได้

258

- นำน้ำมาผสมกับดินเหนยี วขาวจะไดน้ ำโคลนสีขาว
- การผสมน้ำกบั โคลน ต้องไม่เหลวหรือข้นจนเกินไป ทดสอบโดยจุ่มมือลงไปให้น้ำโคลนเกาะนว้ิ มือ
3. การนำไปผงึ่ แดด
- นำไปตากแดด แบบกระจายเรียงเสน้ เพอื่ กระจุดจะไดแ้ ห้งเร็วและท่ัวลำต้น
- ถา้ แดดจัดตากประมาณ 2-3 วนั ให้สังเกตที่ทับกระจูดตรงโคนต้น ถา้ ทบั แยกออกแสดงว่าต้นกระจูด
น้ันแหง่ แลว้ ให้ทำการถอดทบั กระจูดออก
4. คดั เลือกต้นกระจดู แยกขนาดเล็กใหญ่มดั ไวเ้ ป็นกำ
5. นำกระจดู ไปรีดให้แบบ ซง่ึ การรดี มี 2 วธิ ี
- ใช้เคร่อื งจักรรีด
- ใชล้ กู กล้ิงรีด ลูกกลงิ้ ทำจากวัสดุทรงกลม ที่มีนำ้ หนกั พอเหมาะ เชน่ ทอ่ ซเิ มนต์ ท่อเหล็กกลม
6. การย่อมสี (สเี คมยี ้อมกก)
- แบ่งกระจูดออกเป็นมัด มัดละ 20-25 เส้น แล้วนำสายยางมัดที่ปลายกระจูดเพื่อไม่ให้เส้นกระจาย
ออกเวลานำไปย้อมสี
- นำกระจูดไปจุ่มน้ำใหช้ ุ่ม
- นำไปยอ้ มสีตามทีต่ ้องการ ในถงั ตม้ สี ซึง่ น้ีเดอื ดไดท้ ่ีแลว้ ประมาณ 15-20 นาที
- นำกระจดู ขนึ้ จากถังสี แลว้ นำไปล้างนำ้ สะอาด เพอ่ื ล้างสีส่วนเกินออก
- นำกระจูดไปตากที่ราว ผ่งึ ลมให้แหง้
- นำเส้นกระจูดที่แหง้ แล้วมดั รวมกนั เพ่ือนำไปรีดใหมอ่ ีกคร้ังให้เสน้ ใยน่ิมและเรยี บ
7. การจักสาน
ใชส้ ถานที่ภายในบ้าน ชานบา้ นหรือลานบ้านท่มี ีพ้ืนท่ีเรียบ การสานนำต้นกระจูดท่ีเตรียมไว้มาจักสาน
เป็นลวดลายตา่ ง ๆ ตามความต้องการของผสู้ าน และตามความต้องการของลูกค้า โดยปกติสายพื้นฐาน คือ สายสอง
ถ้าสานเสื่อจะเริ่มต้นจากริม คือ ตั้งต้นสายจากปลายด้านใดด้านหนึ่งไปจนสุดปลายอีก้านหนึ่ง เช่น ถ้าเป็นภาชนะ
เช่น กระบงุ จะเร่มิ ต้นจากก่ึงกลางงาน มิฉะนน้ั จะทำใหเ้ สยี รูปได้ เพราะขนาดต้นกระจูด สว่ นโคนจะใหญ่กว่าส่วน
ปลาย การสานเสื่อจะมีลายต่าง ๆ เช่น ลายสาม ลายส่ี ลายดอกจันทร์ ลายดอกพิกุล ลาย ลูกแกว้ ลายดอกไม้ ลาย
ท่นี ิยมมากท่ีสุดคือ ลายสอง ผลติ ภัณฑท์ ่ีสามารถจักสานได้หลากหลาย เช่น เสื่อ หมอน กระเป๋า กระบุง ท่ีรองแก้ว
ท่ีรองจาน
8. การตกแต่งส่วนประกอบอื่น ๆ
งานสานเสื่อกระจูดเป็นงานเกือบจะพูดได้ว่า ทำเสร็จเรียบร้อยในคราวเดียว มีการตกแต่งต่อเติมเพียง
เล็กนอ้ ย คือ การเก็บรมิ หรือพับริม และการ ซง่ึ เหมาะสำหรบั ใช้เป็นเสื่อผู้นั่ง แตห่ ากต้องการนำเส่ือทีส่ านเสร็จแล้ว
(แต่ไม่ต้องเก็บริม) ไปตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่,หรือกระเป๋าที่สานเสร็จเรียบร้อยแล้ว(แต่ยังไม่สามารถใช้งานได้
เรียกว่า กระเป๋าตัวดิบ) ซึ่งต้องมีอุปกรณ์ประกอบเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถใช้งานได้ คงทน และเพื่อความสวยงาม
ใหก้ ับผลติ ภณั ฑ์
ผลติ ภณั ฑไ์ ด้รับมาตรฐาน มผช กระทรวงอุตสาหกรรม

259

รูปภาพประกอบภมู ิปัญญาท้องถ่ินด้านการเกษตร

รายละเอียดผ้ใู ห้ข้อมลู และผ้รู วบรวมขอ้ มูลภมู ิปญั ญาท้องถนิ่ ดา้ นการเกษตร

ผู้ใหข้ ้อมูลภูมปิ ัญญา : นาง วรรณี เซ่งฮวด (วสิ าหกจิ ชุมชนหตั ถกรรมกระจูดวรรณี)
ท่อี ยู่ : 152 หมู่ที่ 10 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โทรศัพท์ 074-610-415, 089-589-6370
พิกัดแผนท่ี : Latitude : 7.791752838956147 Longitude: 100.09792081370723

https://goo.gl/maps/4eGE8CMn14HiUh3W8

ผู้รวบรวมข้อมูล : นางสมถวลิ รตั นรังษี ตำแหน่ง นักวชิ าการส่งเสรมิ การเกษตรชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน : สำนกั งานเกษตรอำเภอควนขนุน
โทรศัพท์ : 098-671-5049, 074-681-772

260

จ.ภูเกต็

: การแปรรปู ส้มควาย

ประวตั คิ วามเปน็ มา

กลุ่มจัดตั้งขึ้นมาหลังจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ โดยใช้ประโยชน์จากผลส้มควายที่มีอยู่ในพื้นท่ี
และเปน็ พชื อตั ลกั ษณ์ประจำถิ่นของอำเภอกะทู้ มาสร้างเป็นผลติ ภณั ฑ์ต่างๆ เพื่อสรา้ งรายไดแ้ ก่กลุม่

รายละเอยี ดขนั้ ตอนและวิธีการของภูมปิ ญั ญาท้องถน่ิ ด้านการเกษตร

ชาสม้ แขก สว่ นประกอบส้มแขกแหง้ 200 กรัม ถงุ กระดาษเยือ่ ไม้ ขนาด 5X6 เซนตเิ มตร 20 ถงุ
กรรมวธิ ี
1. อบส้มแขกใหแ้ หง้ กรอบในตอู้ บลมร้อนที่ 80 องศาเซลเซยี ส
2. ตีป่นใหล้ ะเอียดและรอ่ นผ่านตะแกรงขนาด 14 เมซ
3. บรรจใุ นถุงกระดาษเยื่อไม้ น้ำหนกั ถงุ ละ 2 กรัม
4. รีดปากถุงให้สนิทหรือมัดด้วยเชือกให้แน่นหมายเหตุใช้ชาส้มแขก 1ถุง ชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วย หรือ
ประมาณ 150 ลกู บาศก์เซนติเมตร
ผลติ ภณั ฑไ์ ด้รับการรับรอง เครอื่ งดื่มชนดิ ชง อย. เลขที่ 83-2-01055-2-0008

รูปภาพประกอบภูมิปญั ญาท้องถิ่นด้านการเกษตร

261

รายละเอียดผูใ้ หข้ ้อมูลและผู้รวบรวมข้อมูลภูมปิ ญั ญาท้องถ่นิ ดา้ นการเกษตร

ผู้ใหข้ ้อมูลภมู ปิ ัญญา : นางสาวลัดดา คาวิจติ ร
ท่ีอยู่ : 33/5 หมู่ท่ี 5 ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จงั หวดั ภเู ก็ต โทรศัพท์ 093-576-6401
พกิ ัดแผนที่ : 47P X : 421764 Y : 878771

https://goo.gl/maps/xButH5d57x8WeTgK8

ผรู้ วบรวมข้อมูล : นายรฐั กรณ์ ธรรมปรีชา ตำแหนง่ นักวชิ าการส่งเสริมการเกษตรปฏบิ ตั ิการ
หนว่ ยงาน : สำนกั งานเกษตรอำเภอกะทู้
โทรศัพท์ : 095-039-0030

262

จ.ยะลา

: การเลย้ี งปลานลิ ในสายนา้ ไหล

ประวัติความเปน็ มา

อำเภอเบตง เป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่ของจังหวัดยะลา ตั้งอยู่อยู่ในแนวเทือกเขาสันกาลาคีรี ภูมิประเทศ
ของอำเภอเบตงส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง จงึ ทำใหท้ ำให้ท่ีน่มี ีอากาศเย็นและมีหมอกแทบตลอดท้ังปี สว่ นนี้น่ีเองที่ทำให้
พ้นื ที่อำเภอเบตงมีความโดดเด่นในการทำเกษตรกรรม ท้ังการทำสวนผลไม้ สวนกาแฟ ยางพาราและการเลยี้ งปลา

คณุ สันติชยั จงเกยี รตขิ จร Smart Farmer ตน้ แบบสาขาประมง เกษตรกรผเู้ ล้ียงปลาบ้านบ่อน้ำร้อน
ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา ที่เคยกรีดยางพาราเป็นรายได้หลัก แต่ 7 - 8 ปี มานี้ รายได้จากยางพารา
ตกต่ำมาก ทำให้เขาต้องผันตัวเองมาเลี้ยงปลานิลแทนการทำอาชีพกรีดยาง ฟาร์มปลานิลของคุณสันติชัย
เรม่ิ ตน้ จากลงปลานลิ 500 ตัวในพ้ืนท่บี ่อ 600 ตารางเมตร บอ่ ใหญส่ ดุ ใชเ้ วลาเลีย้ ง 4 เดอื น จบั ขายทข่ี นาดตัว
ละ 1 กิโลกรัม จากนั้นจึงขยายเพิ่มบ่อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันฟาร์มเลี้ยงปลานิลของ คุณสันติชัย มีเนื้อที่เพียง
3 ไร่ แตส่ ามารถเลี้ยงไดถ้ งึ 40,000 ตวั

"ปลานิล" ได้กลายเป็น "ปลาเศรษฐกิจ" ของไทยที่มีชื่อเสียง สร้างรายได้ สร้างอาชีพ อีกทั้งพบข้อมูล
ว่า ในปี 2560 ผลผลิตปลานิลจากการเพาะเลี้ยง มีปริมาณรวมกันมากถึง 185,902 ตัน และในปี 2561
จำนวนปลาที่ออกสู่ท้องตลาดเพิ่มขึ้นประมาณ 2% อยู่ที่ราว 189,254 ตัน โดยมีตลาดหลักคือกลุ่มประเทศ
ตะวนั ออกกลางแบ่งออกเป็น 33.6 % สหรฐั อเมริกา 28.6 % กลมุ่ ประเทศสหภาพยุโรปอยทู่ ป่ี ระมาณ 24.9%
กลุ่มอัฟริกา 2.7 % แคนาดา 2.5% และกลุ่มอาเซียนอยู่ที่ 2.5 % โดยเกาหลีใต้ 2.3% และประเทศอื่นๆ
2.9% มลู ค่าการสง่ ออกยงั เติบโตขึ้นอยา่ งตอ่ เน่ือง

คุณสันติชัย จงเกียรติขจร อธิบายถึงที่มาของระบบการเลี้ยงปลาแบบสายน้ำไหล ว่าเกิดจาก
การสังเกต ตามธรรมชาติ ปลาที่แข็งแรงจะว่ายเข้าหาจุดที่น้ำไหลตกใส่ ซึ่งเป็นจุดที่มีออกซิเจนในน้ำปริมาณ
มาก ปลาจะมาชุมนุมกันอยู่ ณ จุดนั้น เกษตรกรจึงเลียนแบบธรรมชาติ ทำให้เกิดน้ำตกในบ่อเลี้ยงปลา
โดยมีการออกแบบระบบน้ำให้มีการไหลและหมุนเวียน ด้วยความพิเศษของปลานิล ในระบบน้ำไหลของ
อ.เบตง ที่มีลักษณะแตกต่างจากปลานิลที่เลี้ยงในพื้นที่อื่นๆ ทางกลุ่มผู้เลี้ยงปลานิล จึงปรึกษากับตัวแทน
กระทรวงพาณิชย์เพื่อนำเสนอให้ “ปลานิล-เบตง” ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบง่ ชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เพื่อให้ปลานิลใน
พื้นท่ีเชิงเขาสันกาลาคีรี เปน็ ทรี่ ู้จกั ในระดบั โลกตอ่ ไป

กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงปลาบ้านบ่อน้ำร้อน ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา มีระบบการเลี้ยงที่แปลก
แตกต่างจากฟาร์มปลานิลในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะการเล้ียงด้วยระบบสายน้ำไหลธรรมชาติ ทำให้ปลานิลที่น่ี
ไม่มีกล่นิ ดิน กลน่ิ โคลนในเนื้อปลาแม้แต่นดิ เดียว ระบบนำ้ จึงเป็นความได้เปรียบ ดว้ ยความที่เป็นน้ำจากแหล่ง
น้ำธรรมชาติจากภูเขาน้ำใสไหล และมีความเย็น บ่อที่ใช้เลี้ยงไม่ลึกมาก เนื่องจากถ้าน้ำลึกปลาจะโตช้า
ระบบน้ำหมุนเวียนจะใช้ท่อขนาดใหญ่ต่อด้วยท่อเล็กลงสองระดับ เพิ่มให้น้ำที่ไหลออกมามีความแรง
เพิ่มออกซิเจนในน้ำและเป็นการกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้มากขึ้น และวิธีการจัดการการเลี้ยงปลาที่มี
นวัตกรรมการเลี้ยงปลาแบบระบบหนาแน่น พื้นที่ประมาณ 100 ตารางเมตร เลี้ยงปลา 6,500 ตัว มากกว่า
การเลี้ยงในแบบของกรมประมงหลายเท่าตัว ถ้าเป็นการเลี้ยงในรูปแบบของกรมประมง ในพื้นที่ 1 ไร่จะเลี้ยง
ปลาประมาณ 2,500 ตวั

263

การจัดทำระบบน้ำจะใช้ท่อขนาดใหญ่ต่อน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสะอาดเย็นอุณหภูมิ
ประมาณ 19-20 องศาเซลเซียส ต่อท่อที่ขนาดเล็กลงก่อนจะไหลลงกระทบผืนน้ำในบ่อเลี้ยงปลา ทำให้เกิด
การเติมออกซิเจนลงไป และมีการระบายน้ำออกจากบ่อสม่ำเสมอ โดยหมุนเวียนไปในบ่อเลี้ ยงปลาบ่ออื่นๆ
ที่จัดเรียงตัวลดหลั่นกันไปเป็นขั้นบันได ก่อนจะลงในบ่อบำบัดเป็นบ่อสุดท้ายก่อนจะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
ซึ่งจากการตรวจวัดค่าไนโตรเจนในน้ำพบว่าน้ำปลายทางคุณภาพแทบไม่ต่างจากต้นทาง เมื่อน้ำสะอาดปลาก็
สามารถเตบิ โตได้ดี ปรมิ าณปลาที่เล้ยี งมากเทา่ ใดก็ไม่ส่งผลกระทบ สามารถเล้ยี งในระบบหนาแน่นได้ แต่อยู่ใน
อัตราที่ไม่มากเกินไป โดยบ่อขนาด 40 ตารางเมตร ปล่อยปลา 13,000 ตัว ปลาเติบโตดี มีเนื้อเยอะ ไม่มีกล่ิน
คาว ในขณะท่ีบ่อเลี้ยงปลาท่วั ไปท่ีน้ำไม่มีการไหลเวยี นและมีอุณหภูมิสูงทำให้เกิดสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินซ่ึง
เม่อื ปลากินสาหรา่ ยนเ้ี ขา้ ไปทำใหเ้ นือ้ ปลามกี ล่นิ

รายละเอยี ดขัน้ ตอนและวิธกี ารของภูมิปญั ญาท้องถิน่ ด้านการเกษตร

อปุ กรณใ์ นเล้ยี งปลานลิ ในสายน้ำไหล
1. พันธุ์ปลานลิ
2. อาหารสำเร็จรูป
3. ระบบนำ้ หมนุ เวยี น
4. บอ่ เลยี้ งปลา
วธิ ีการเลย้ี งปลานลิ ในสายนำ้ ไหล
1. ทำฝายกักน้ำและใช้แหล่งน้ำธรรมชาติจากภูเขาถ่ายเทตลอด 24 ชั่วโมง
2. ระบบน้ำหมุนเวียนจะใช้ท่อขนาดใหญ่ต่อด้วยท่อเล็กลงสองระดับ เพิ่มให้น้ำที่ไหลออกมามีความแรง
เพิ่มออกซิเจนในน้ำ และ เป็นการกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้มากขึ้น การจัดทำระบบน้ำจะใช้ท่อขนาดใหญ่ต่อน้ำ
จากแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสะอาดเย็นอุณหภูมิประมาณ 19-20 องศาเซลเซียส ต่อท่อที่ขนาดเล็กลงก่อนจะ
ไหลลงกระทบผืนน้ำในบ่อเล้ยี งปลา ทำใหเ้ กิดการเติมออกซิเจนลงไป และมกี ารระบายน้ำออกจากบ่อสมำ่ เสมอ โดย
หมุนเวียนไปในบ่อเลี้ยงปลาบ่ออื่นๆ ที่จัดเรียงตัวลดหล่ันกันไปเป็นขั้นบันได ก่อนจะลงในบ่อบำบัดเป็นบ่อสุดท้าย
กอ่ นจะปลอ่ ยคนื สธู่ รรมชาติ
3. ปรมิ าณปลาท่ีเล้ียงมากเท่าใดก็ไมส่ ่งผลกระทบ สามารถเล้ียงในระบบหนาแน่นได้ แต่อยู่ในอัตราท่ีไม่
มากเกินไป โดยบอ่ ขนาด 40 ตารางเมตร ปลอ่ ยปลา 13,000 ตัว
ปลาเติบโตดี มเี น้ือเยอะ ไม่มกี ลิ่นคาว
4. ให้อาหารปลา วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น หรือให้ตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากน้ำหนักปลา
การใหอ้ าหารจะให้ 4-5 เปอร์เซน็ ต์ ของนำ้ หนกั ปลาแต่ละบ่อ
5. ใช้เวลาในการเลีย้ งประมาณ 6 - 8 เดือน ก็พรอ้ มจำหน่ายให้ลูกค้า
ราคาจำหน่าย
กโิ ลกรัมละ 90 – 100 บาท

การใช้ประโยชน์ของภูมิปญั ญาท้องถิ่นด้านการเกษตร

1. ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ของกรมประมง
2. หมู่บา้ นปลาในสายน้ำไหล (Fillage) เป็นแหล่งเรยี นรู้ให้กับเกษตรกรและผสู้ นใจ
3. ปลาท่ีไมไ่ ดน้ ้ำหนักหรือตกไซส์ มีการนำมาแปรรปู เป็นปลานลิ แดดเดยี วและขลยุ่ ปลานลิ ออกจำหน่าย
เป็นสนิ ค้า OTOP

264

4. เปน็ การเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรกลุม่ ผู้เลย้ี งปลา
5. มีตลาดการส่งออก โดยการแล่เน้ือปลา ผา่ นกระบวนการแช่แข็งที่ทันสมัยและส่งออกไปยังตะวันออก
กลางและฝรั่งเศส
6. อยู่ในขั้นตอนการยื่นขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เพื่อให้ปลานิลในพื้นที่เชิงเขาสันกาลา
คีรี เป็นที่รู้จกั ในระดบั โลกต่อไป
7. และอกี มากมายที่ไม่ได้กล่าวถึง

รปู ภาพประกอบภมู ปิ ัญญาทอ้ งถิน่ ด้านการเกษตร

แปลงเรยี นรปู้ ลานิลในสายน้ำไหลของศพก.เครือข่าย ด้านประมงการเลี้ยงปลานิลเชิงพาณิชย์

ระบบนำ้ ไหลหมนุ เวยี น จากแหลง่ นำ้ ภเู ขาธรรมชาติถ่ายเทตลอด 24 ชั่วโมง

ระบบน้ำไหลหมนุ เวียน จากแหล่งนำ้ ภเู ขาธรรมชาติถ่ายเทตลอด 24 ชั่วโมง

265

ระบบน้ำไหลหมนุ เวยี น จากแหลง่ นำ้ ภเู ขาธรรมชาติถ่ายเทตลอด 24 ชั่วโมง

ปลานลิ ท่ีพร้อมจับส่งขายลูกค้า นำ้ หนักราว 0.80 -1.2 กโิ ลกรัมต่อตวั

เมนูแปรรูปจากปลานิลในสายนำ้ ไหล ปลารสชาตหิ วาน เน้ือแน่น ไม่มกี ลิ่นโคลน

รายละเอียดผูใ้ ห้ข้อมูลและผู้รวบรวมข้อมลู ภูมิปัญญาท้องถนิ่ ดา้ นการเกษตร

ผใู้ หข้ ้อมูลภมู ิปัญญา : นายสันตชิ ัย จงเกียรติขจร (วิสาหกจิ ชมุ ชนกลุ่มเลี้ยงปลานลิ สายน้ำไหล Betong 2020)
ท่ีอยู่ : 138 หมูท่ ่ี 2 ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา โทรศัพท์ 094-094-6153, 097-226-7485
พกิ ดั แผนท่ี : X: 725967 Y: 648960 / Latitude : 5.8674188 Longitude: 101.0409073

266

https://goo.gl/maps/JTQhN8JhpcpyyfcL7
ผรู้ วบรวมข้อมูล : นางสาวชวิศา ทองรตั น์ ตำแหน่ง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
หน่วยงาน : สำนักงานเกษตรอำเภอเบตง
โทรศัพท์ : 081-097-8418, 0-7323-1370

267

จ.สงขลา
: การทาน้าตาลโตนดแวน่ (ดาวราย)

ประวัติความเป็นมา

บ้านคลองฉนวน อำเภอสทิงพระ จังหวดั สงขลา ต้ังอยู่บนคาบสมุทรสทงิ พระ เปน็ ชมุ ชนโบราณก่อน
ประวัติศาสตร์ และเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวบก หรือชุมชนบนคาบสมุทรสทิงพระ มีอาชีพหลักคือการทำนา
แตม่ ีรายได้หลกั จากการทำน้ำตาลโตนด ตั้งแต่สมยั โบราณชาวอำเภอสทงิ พระได้ใชป้ ระโยชนจ์ าก ตน้ ตาลโตนด
หรือที่เรยี กสั้นๆ ว่า “โหนด” ตั้งแต่รากจนถงึ ยอด โดยจะนำรากตาลมาทำยาสมุนไพร ใช้ลำต้นปลกู สร้างบา้ น
หรือทำเครื่องเรือน ส่วนใบเอามาพับเป็นของเล่นเด็กและทำหลังคา ลูกตาลเก็บเอามากินสดหรือทำขนม
ที่สุดของปลายยอดก็นำมาทำเป็นดอกไม้ แต่ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายกค็ ือ “น้ำตาล” ซึ่งชาวบ้านคลองฉนวน
จะนำน้ำตาลโตนดสดมาเคี่ยวกลายเป็นน้ำผึ้งเหลวเก็บไว้ แต่บางส่วนก็นำมาเคี่ยวต่อให้ข้นเหนียว จนแห้ง
กลายเป็นผง เรียกว่า “น้ำผึ้งขี้ม้า” หรือ “น้ำผึ้งตังเม” ใช้สำหรับเป็นขนมหวานไว้ถวายพระ ฉันกับน้ำร้อน
และเปน็ ของกนิ เลน่ ของเด็ก ๆ

ปัจจุบันกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรคลองฉนวนได้ยกระดับเป็นวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกร
บ้านคลองฉนวน โดยมีนางดำ คล้ายสีนวล เป็นประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนดบ้านคลองฉนวน ตำบลชุมพล
อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มีภารกิจหลักในการแปรรูปน้ำตาลโตนดเป็นผลิตภัณฑ์น้ำตาลแว่น และน้ำตาลผง
ภายใต้ตราสัญลักษณ์ “ดาวราย” จนได้รับการยอมรับให้เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP
ระดับ 4 ดาว ทางกลุ่มจะรับซื้อน้ำตาลโตนดเหลวจากชาวบ้านในหมู่บ้าน และบริเวณใกล้เคียงนำมาเป็น
วัตถดุ บิ ในการแปรรปู เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ น้ำตาลกอ้ น น้ำตาลปี๊บ นำ้ ตาลแว่น และนำ้ ตาลผง ซึ่งมีการใช้
ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิต เช่น การทำแว่นน้ำตาลโตนดจากใบตาล เป็นการสร้างอาชีพเสริมให้กับคนใน
ชุมชน ในการฟื้นฟูต้นตาลโตนดจะเห็นว่า ในหลายพื้นที่ถูกลดความสำคัญลง ทว่า ในอำเภอสทิงพระยังคง
รักษาสภาพความหนาแน่นของตาลโตนดไว้ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังมีการปลูกเพิ่มขึ้นทุกปีๆ เพื่อสืบสาน
ภูมิปญั ญาและเอกลกั ษณท์ อ้ งถิน่ ต่อไป

รายละเอยี ดขน้ั ตอนและวธิ ีการของภูมิปญั ญาท้องถิน่ ด้านการเกษตร

อุปกรณใ์ นการทำน้ำตาลโตนดแว่น

1. ใบตาลตากแหง้ 2. มดี

3. นำ้ ตาลโตนดสด 4. กระทะ

5. น้ำมนั มะพร้าว 6. น้ำตาลทราย

7. ไมพ้ าย 8. แผงไม้ไผ่

วิธีทำน้ำตาลโตนดแว่น
1. ทำตัวแวน่ โดยนำใบตาลมาตากใหแ้ หง้ ตดั เปน็ ท่อนยาวประมาณ 8 - 9 เซนตเิ มตรตอ่ ท่อน นำมา
กรดี เป็นเส้นให้ไดค้ วามกวา้ ง 0.3 - 0.4 เซนตเิ มตร แล้วนำมาขดเปน็ รูปวงกลม โดยกรีดขอบใหเ้ ป็นเข้ียวเพ่ือให้
หัวท้ายเกีย่ วกัน โดยตำแหน่งกรีดเขี้ยวประมาณ 1 เซนติเมตรจากขอบนอกของหัวทา้ ย ขดเป็นแว่นกลมจะได้
ขนาดเสน้ ผา่ นศนู ย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร สำหรับแว่นเลก็
2. นำน้ำตาลโตนดสดมาเทใส่กระทะ เคี่ยวประมาณ 4 – 5 ชั่วโมง ด้วยไฟปานกลางจนงวด
และข้นตามตอ้ งการ เรยี กว่า “น้ำผึ้งโหนด”

268

3. นำน้ำผึ้งโหนดมากรองเทใส่กระทะตามปริมาณที่ต้องการ (น้ำผึ้งโหนด 6 - 7 ลิตร) เติมน้ำมัน
มะพร้าว 2 - 3 หยด เพื่อไม่ให้เกิดฟองเวลาเคี่ยว และใส่น้ำตาลทรายผสมตามอัตราส่วน เคี่ยวด้วยไฟ
ปานกลางประมาณ 10 นาที จากนั้นกวนโดยใช้ไม้พายประมาณ 10 นาที จนเห็นเป็นสีน้ำตาลเข้ม แล้วใช้
ไมพ้ ายตีประมาณ 5 นาที

4. ยกกระทะลงจากเตา และใชไ้ ม้พายคนรอบๆขอบกระทะ เพื่อดูความเหนยี ว นำมาหยอดลงใน
แวน่ ใบตาล ท่ีวางเรียงไวบ้ นแผงไมไ้ ผ่ แวน่ ใบตาลน้ีเป็นแม่พมิ พ์สำหรับใส่น้ำผง้ึ โหนดท่ีเค่ียวแลว้ ให้มีลักษณะ
เป็นแว่นกลม และถือวา่ เปน็ อัตลักษณ์ของน้ำตาลโตนดแวน่ ของกลุ่มคลองฉนวน

5. ผ่งึ น้ำตาลแวน่ ท่หี ยอดเสรจ็ แล้วไว้ให้เยน็ นำมาบรรจุใสบ่ รรจุภณั ฑโ์ ดยไมแ่ กะออกจากแว่นเพื่อ
เตรียมจำหนา่ ย

รูปภาพประกอบภมู ิปญั ญาทอ้ งถน่ิ ด้านการเกษตร

1. แวน่ ใบตาล

2. น้ำตาลโตนดสด เค่ยี วในกระทะ

3. น้ำผึ้งโหนด

4. นำมาหยอดลงในแว่นใบตาล
ท่ีวางเรียงไว้บนแผงไม้ไผ่

5. ผลิตภัณฑ์

การับรองมาตรฐานของสินค้า 269

ลำดับ ภาพสินคา้ สนิ ค้า ขนาด ราคา มาตรฐานทไ่ี ดร้ บั

น้ำตาลโตนด 300 กรมั 80 บาท
1 แวน่ 100% 1 กโิ ลกรัม 250 บาท

น้ำตาลโตนด 200 กรมั 40 บาท
2 แวน่ 70% 500 กรัม 80 บาท

1 หลอด 5 บาท

รายละเอียดผูใ้ ห้ข้อมลู และผู้รวบรวมขอ้ มูลภูมิปัญญาทอ้ งถนิ่ ด้านการเกษตร

ผ้ใู ห้ข้อมูลภมู ิปัญญา : นางดำ คลา้ ยสีนวล (วสิ าหกิจชมุ ชนแมบ่ ้านเกษตรกรบ้านคลองฉนวน)
ทีอ่ ยู่ : 11 หมู่ที่ 5 ตำบลชมุ พล อำเภอสทงิ พระ จังหวัดสงขลา โทรศัพท์ 086-289-0377
พิกดั แผนท่ี : X: 653006 Y: 840488 / Latitude : 7.601895614495324 Longitude: 100.39898594150091

https://goo.gl/maps/WHMzhqJzQiUAxeUG9
ผรู้ วบรวมข้อมูล : นางจรยิ า เพ็ชร์สุวรรณ ตำแหน่ง นักวิชาการส่งเสรมิ การเกษตรปฏิบตั ิการ
หนว่ ยงาน : สำนักงานเกษตรอำเภอสทิงพระ จงั หวดั สงขลา
โทรศัพท์ : 084-999-8946, 074-397-062

270

จ.ระนอง

: การควั่ เมลด็ กาหยแู บบโบราณ

ประวตั ิความเปน็ มา

ตำบลเกาะพยาม เป็นตำบลหนึ่งที่อยู่ในสังกัดอำเภอเมืองระนอง มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 35 ตาราง
กิโลเมตร ตั้งอยู่ในทะเลฝั่งอันดามันประกอบด้วย 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านเกาะพยาม มีพื้นที่ 16 ตาราง
กิโลเมตร และหมู่ที่ 2 บ้านเกาะช้าง มีพื้นที่ 19 ตารางกิโลเมตร เกาะพยามเป็นเกาะที่ใหญ่อันดับสองของจังหวัด
ระนอง (รองจากเกาะชา้ ง) ตอนกลางของเกาะจะมีลักษณะเปน็ พื้นทภี่ เู ขา ป่าไม้ สวนมะมว่ งหิมพานต์ และบางส่วน
ปรับเปล่ยี นเปน็ พ้นื ทีส่ วนยางพารา ส่งผลให้เกาะพยามมีความหลากหลายในระบบนเิ วศน์ มสี ัตว์ต่างๆ อาศยั อยู่เป็น
จำนวนมาก เชน่ นกเงือก นกอินทรีย์ เป็นต้น

โดยเฉพาะมะม่วงหิมพานต์ หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า “กาหยู” มีแหล่งปลูกในจังหวัดระนองที่เยอะที่สุด
อยู่ที่ตำบลเกาะพยาม มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด ๑,๗๑๓ ไร่ ด้วยสภาพพื้นที่เป็นดินร่วนปนทรายจึงเหมาะสำหรับปลูก
กาหยเู ป็นอย่างย่ิง ทง้ั น้ียังส่งผลให้เม็ดมีขนาดใหญ่ เน้ือแนน่ รสชาติหวาน มนั กรอบ อรอ่ ย อีกด้วย

กาหยูซึ่งเป็นชื่อเรียกขานของประชาชนท้องถิ่นภาคใต้ฝั่งอันดามัน ต่อมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งเป็นพืชที่อยู่
ในตระกูลเดียวกับต้น Poison ivy ที่มียางและน้ำมันที่มีพิษรุนแรงจนถึงตายได้โดยที่สารพิษที่มีอยู่ในพืชตระกูลนี้
คอื "ยูรชุ ิออล" (Urushiol) และมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผิวหนังอย่างรุนแรง สารยูรุชิออลนั้นนอกจากจะอยู่ในยางและ
น้ำมันในส่วนอื่นๆของต้น เช่น ผลดิบ เปลือกลำต้นของมะม่วงหิมพานต์แล้วยังละลายอยู่ในน้ำมันที่อยู่บริเวณ
เปลอื กห้มุ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อีกด้วย ดงั นนั้ จงึ ตอ้ งมีการกะเทาะเปลือกหุ้มเมล็ดออกโดยผชู้ ำนาญการ ก่อนที่จะ
นำมาปรุงอาหารเพื่อลดปริมาณสารยูรุชิออลให้มากท่ีสุด ซึ่งสารยูรุชิออลน้ันสามารถถูกกำจัดออกด้วยความร้อนได้
ผู้ผลิตจึงมีการนำไปนึ่ง (steam) หรือจัดการทอดน้ำมันเพื่อให้เมล็ดสุกบางส่วนก่อนที่จะมาจำหน่ายเป็นเมล็ด
ที่ผู้คนทั่วไปคิดว่าเป็นเมล็ดดิบ ซึ่งในความเป็นจริงเม็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบที่จำหน่ายในท้องตลาดนั้น ไม่ใช่ดิบ
แต่ผ่านกระบวนการทำสุกบางส่วนก่อนที่จะนำมาจำหน่ายในท้องตลาด สำหรับผู้คนในอดีตจะใช้วิธีทำลายน้ำมัน
ส่วนนี้ออกด้วยการนำเมล็ดไปเผาไฟ ด้วยการนำใส่ภาชนะไปวางบนกองไฟเมื่อเมล็ดมะม่วงหิมพานต์เจอความร้อน
น้ำมันก็จะออกมาและจะติดไฟ โดยปล่อยให้เมล็ดติดไฟจนเปลือกนอกเป็นถ่านจึงเทออกจากภาชนะแล้วดับไฟ
จากนั้นนำมากะเทาะด้วยไม้เบาๆ เพียงให้เปลือกนอกที่เป็นถ่านหลุดออกแล้วนำเมล็ดเนื้อในมารับประทาน
ในรูปแบบทีต่ อ้ งการ

การแปรรูปกาหยู ท่ีเกาะพยามจะใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการคั่วแบบโบราณและคั่วเม็ดด้วยข้าวสาร
จึงมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติจนได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยงต่างชาติเป็นอย่างมาก และถือเป็นเอกลักษณ์
คูช่ ุมชนมาอย่างยาวนาน พร้อมทั้งเป็นอีกทางหน่ึงท่ีช่วยสร้างรายได้เสริมให้กบั คนในชุมชนอีกดว้ ย ในเดือนมีนาคม
ซ่ึงเป็นช่วงเก็บเกี่ยวเมล็ดกาหยูหรือมะม่วงหิมพานต์ ที่กำลังสุกเต็มต้นงาน จะมีการจัดงานประเพณีวันกาหยู
เกาะพยาม ขึ้นในทุกๆปี มีกิจกรรมให้ร่วมสนุกมากมาย อาทิ เช่น การประกวดเมล็ดกาหยูคุณภาพ การแข่งขันคั่ว
กาหยูโบราณ การแข่งขันกะเทาะกาหยู และการประกอบอาหารจากผลกาหยู ซึ่งงานประเพณีวันกาหยูเกาะพยาม
ดำเนินการจดั งานโดย อบต.เกาะพยาม ณ บา้ นเกาะพยาม หมู่ท่ี 1 ตำบลเกาะพยาม อำเภอเมือง จงั หวัดระนอง

รายละเอียดขั้นตอนและวธิ กี ารของภูมปิ ัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร

อปุ กรณ์ในการคว่ั เมล็ดกาหยูแบบโบราณ
1. เมลด็ กาหยู
2. กระบะสแตนเลสขึ้นขอบสูง เจาะรูกระจายท่วั กน้ กระบะ

271

3. ไมส้ ำหรับใชค้ ั่ว ยาว 2 เมตร
4. ฟนื หรือเปลือกเมล็ดกาหยู
วธิ ีการคว่ั เมล็ดกาหยูแบบโบราณ
1. ก่อไฟด้วยเศษใบไม้หรือทางมะพร้าว แล้วเติมเปลือกเมล็ดกาหยู (ที่ได้จากการกะเทาะหลังคั่วแล้ว
จะมลี กั ษณะเหมือนถ่านช้ันเยี่ยม) ลงไปจนไฟลุกแรง (ในเปลือกเมล็ดกาหยูจะมีน้ำมันอยสู่ ูง ทำให้ติดไฟง่ายและได้
ไฟท่แี รงข้นึ )
2. วางกระบะแสตนเลสลงบนเตา ใสเ่ มล็ดกาหยูลงไปพอประมาณ
3. ใชไ้ มค้ นไปเรื่อยๆ ประมาณ 5 – 6 นาที จะมีนำ้ มันออกจากเมล็ดกาหยู หลงั จากน้ันไฟจะลามลุก
ไหม้เผาเมล็ดกาหยูในกระบะ ซึ่งน้ำมันจากเมล็ดกาหยูทโ่ี ดนไฟร้อนๆ นี้ จะแตกปะทุออกมาเคลือบเมล็ดเอาไว้
เปน็ ผลทำใหส้ ามารถกักเก็บความกรอบ หอม มัน เปน็ เอกลกั ษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกบั การแปรรูปแบบอื่นๆ
จากนัน้ คนตอ่ ไปสัก 1-2 นาที
4. ควำ่ กระบะลงพ้ืน ใช้กิ่งใบไมท้ ม่ี ัดรวมกนั ตไี ฟจนดบั สนทิ
5. ทิง้ ไว้จนเย็น แล้วจึงนำไปกะเทาะเปลอื กท่คี ่วั ออก ก็จะได้เมล็ดทล่ี อ่ นจากเปลอื ก
6. นำเมล็ดกาหยทู ่ีกะเทาะเปลอื กแลว้ เขา้ ไปอบท่ีอุณภูมิ 200 - 300 องศาฟาเรนไฮต์ นาน 20 นาที
แลว้ ยกลงจากเตาอบทิ้งไวใ้ หเ้ ย็น ก็จะได้เมล็ดกาหยูทห่ี อมกรุ่น รสชาตหิ วานมนั พร้อมบรรจุถุงเพื่อจำหนา่ ย
ตอ่ ไป
ราคาจำหนา่ ย
- แบบเมลด็ ซีก (ไม่เตม็ เมลด็ ) ราคากิโลกรมั ละ 200 – 240 บาท
- แบบเต็มเมลด็ ราคากิโลกรมั ละ 400 – 500 บาท

การใช้ประโยชน์ของภูมิปญั ญาท้องถ่ินด้านการเกษตร

1. ได้รับการรบั รองมาตรฐานพชื ปลอดภัยจากสารพิษ GAP
2. เป็นเอกลกั ษณ์คู่ชุมชนมาอย่างยาวนาน
3. ช่วยสร้างรายไดเ้ สรมิ ให้กบั คนในชมุ ชน
4. ไดร้ บั ความสนใจจากนักท่องเท่ียงต่างชาติเปน็ อย่างมาก
5. เปน็ การส่งเสริมการท่องเที่ยวให้แกช่ ุมชนบ้านเกาะพยาม

รปู ภาพประกอบภูมปิ ัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร

การคั่วเมล็ดกาหยูแบบโบราณ

272

การคั่วเมล็ดกาหยูแบบโบราณ
การคั่วเมล็ดกาหยูด้วยขา้ วสาร
การกะเทาะเปลือกเมลด็ กาหยู

เมล็ดกาหยคู ว่ั แบบโบราณ

273

รายละเอียดผู้ใหข้ ้อมูลและผรู้ วบรวมขอ้ มูลภูมิปญั ญาทอ้ งถิ่นด้านการเกษตร

ผใู้ หข้ ้อมูลภมู ปิ ัญญา : นายอดิศักดิ์ ขาวผ่อง (วสิ าหกิจชุมชนท่องเทีย่ วเชิงเกษตรชมุ ชนเกาะพยาม)
ท่อี ยู่ : 53 หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะพยาม อำเภอเมือง จังหวดั ระนอง โทรศัพท์ 096-072-9002
พกิ ดั แผนที่ : X: 435015 Y: 1076580 / Latitude : 9.7387097 Longitude: 98.4075312

https://goo.gl/maps/qpNdrGfTPBaajWyh6
ผรู้ วบรวมข้อมูล : นางสาวภมรรัตน์ แย้มจรสั ตำแหนง่ นักวชิ าการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
หนว่ ยงาน : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองระนอง
โทรศัพท์ : 098-126-3758, 0-7781-0211

274

จ.สตลู

: การเอาชนะดนิ เส่ือมสภาพ

ประวัติความเป็นมา

ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ น้ำท่วมขัง ดินเป็นกรดจัดมาก
มีค่าความเป็นกรด - ด่างของดิน (pH) ต่ำกว่า 4.5 และมีความเป็นพิษของอะลูมินัม เหล็ก แมงกานีส ซัลไฟด์
ขาดแคลนธาตุอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัส และโครงสร้างดินแน่นทึบ ทำดินมีการระบายน้ำไม่ดี เนื้อดิน
เป็นดินเหนียวถึงเหนียวจัด เมื่อดินแห้งจะแข็งและแตกระแหง ทำให้ไถพรวนยาก ปลูกพืชได้ผลผลิตน้อย
ทำใหใ้ นอดีตข้าพเจา้ นายพงษ์ศักด์ิ ฉมิ อนิ ทร์ จึงเล้ยี งกุ้งเป็นอาชีพหลัก แต่ประสบปัญหาขาดทุน จึงได้ย้อนนึก
ถึงวถิ ีการทำเกษตรของคนรนุ่ เกา่ ที่มเี ทคนิคการปรับปรุงดินโดยใช้ขีเ้ ถา้ ผสมกับกุ้งเคยหมักแล้วนำไปแช่ต้นกล้า
และวิธีขังกระบือไว้ในนาขา้ วประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อเป็นปุย๋ หมักในนาข้าว ช่วยเพิ่มผลผลิต ตนจึงนำแนวคดิ
การทำการเกษตรแบบผสมผสาน เช่น เลี้ยงแพะ เลี้ยงโค เลี้ยงปลา ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยมีความคิดในการ
เลี้ยงสัตว์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นมูลสตั ว์ เนื้อสัตว์ หรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ก็สามารถ
นำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น และได้ศึกษา คิดค้น วิธีการปรับปรุงบำรุงดิน ให้สามารถเพิ่มผลผลิตและลด
ค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตรได้สำเร็จ ระยะเวลาที่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรและด้านปศุสัตว์แบบ
ผสมผสานเปน็ เวลา 7 ปี รวมท้ังเปน็ วิทยากรใหค้ วามรู้ในเร่ืองการทำเกษตรตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจ
พอเพียงแกเ่ กษตรกรและผู้ทส่ี นใจ

รายละเอียดขั้นตอนและวธิ กี ารของภมู ิปญั ญาท้องถนิ่ ด้านการเกษตร

อุปกรณใ์ นการปรับปรุงดินเส่ือมสภาพเพ่ือเพ่ิมผลผลิตทางการเกษตร
1. จอบ เสียม
2. มลู สัตว์และดิน
3. น้ำ
4. ท่อนพันธ์อุ ้อย
5. ฟางหรือหญ้า
6. วัตถุดบิ ผลิตฮอร์โมน ได้แก่นมจดื นมเปรี้ยว กากน้ำตาล
วธิ ีการเตรยี มดิน (ตัวอย่างการปลกู อ้อย)
1. ขุดหลุมปลูกขนาด กวา้ ง 30 ซม. ยาว 30 ซม. ลึก 20 ซม.
2. ใส่มูลสัตว์และดินประมาณ 50 % ของหลุม
3. ผสมดินกับมูลสตั ว์ให้เข้ากัน
4. เติมน้ำลงไปในหลุมใหเ้ ต็ม
5. คลุกเคลา้ มูลสตั ว์ ดนิ และน้ำอีกรอบ
6. นำดินบริเวณปากหลุมมาคลุกผสมให้เข้ากนั ให้มลี ักษณะเปน็ ตม
7. วางท่อนพันธ์ุอ้อย 2-3 ท่อน โดยใหต้ ากิ่งทง้ั 2 ด้านอยู่ด้านข้าง เพ่ือให้ตาหน่อแตกออกทั้ง 2 ดา้ น
8. กดท่อนพันธุ์ใหจ้ มดินประมาณคร่ึงท่อน
9. นำดินมาโรยกลบบางๆ บนทอ่ นพนั ธ์ุ
10. ใช้ฟางหรือหญา้ คลุมบนหลมุ เพ่ือรักษาความชื้น ควรรดนำ้ ในสปั ดาห์แรกหากความช้ืนไม่เพียงพอ

275

11. หากเป็นการเตรยี มดินเพื่อปลกู พืชชนิดอ่นื เช่น พรกิ มะเขือ ให้ปฏบิ ตั ติ ามข้อ 1-6 และพักหลุมปลูก
ไวป้ ระมาณ 1 เดือน (เพื่อใหจ้ ลุ ินทรีย์ทำงาน เกิดการหมักที่สมบูรณ์และช่วยทำใหพ้ ชื สามารถนำไปใชป้ ระโยชน์ได้
เรว็ ขึ้น) หลังจากนน้ั พรวนดินในหลุมให้รว่ นซุยและนำต้นพันธุพ์ ืชมาปลูกได้

วธิ ีการผลิตฮอรโ์ มนนมสด
ใช้นมจืด ปริมาณ 1 ลิตร ผสมนมเปรี้ยว ปริมาณ 1 ขวด และกากน้ำตาล ปริมาณ 1 กิโลกรัม ผสม
สว่ นผสมทุกอย่างลงในถังปิดฝา หมักท้ิงๆไว้ 3 วนั สามารถนำไปใช้ได้
การดแู ลรักษา
1. เมือ่ อ้อยอายุได้ 2 เดือน ให้เกบ็ ใบและต้นที่ไม่สมบูรณ์ออก เมื่ออายุได้ 4 เดอื น ตัดแต่งใบทีไ่ ม่สมบูรณ์
ออก และตกแต่งอ้อยให้เป็นทรงกอ
2. หญ้าที่ขึ้นรอบๆ ต้นอ้อย ควรปล่อยไว้ไม่ต้องกำจัดออก เพื่อรักษาความชื้นและช่วยพยุงต้นไม่ให้
โอนเอนไปกับลม ค่อยตัดหญ้าช่วงที่ต้นอ้อยออกดอก โดยตัดหญ้าและปล่อยทิ้งไว้บริเวณรอบโคนต้น เพื่อช่วย
คลมุ ดนิ และเปน็ ป๋ยุ ให้พืชต่อไป
3. หลังจากตัดผลผลิตอ้อยรุ่นที่ 1 ไปแล้ว รุ่นถดั ไปให้เก็บหน่อไว้ ตดั ก่งิ ตาออก เพ่ือบังคับไม่ให้โคนลอย
ปอ้ งกนั การล้มยกกอ
4. ออ้ ยรุน่ ที่ 2 - 5 ใชฮ้ อร์โมนนมสด ชว่ ยเรง่ การเจริญเติบโต โดยฉีดฮอรโ์ มนทางใบในช่วงเช้า อัตราส่วน
ฮอร์โมน 200 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ไร่ ใช้ 5 ถัง) เริ่มให้ฮอร์โมนตั้งแต่หลังตัดอ้อย จนอ้อยอายุครบ 4 เดือน
จึงหยดุ ใหฮ้ อร์โมน

การใช้ประโยชน์ของภมู ิปัญญาท้องถิ่นดา้ นการเกษตร

1. ปรับปรุงบำรุงดินเสื่อสภาพใหส้ ามารถปลูกพืชไดอ้ ีกครั้ง
2. พืชโตเรว็ มีความแข็งแรงและทนทานต่อโรค
3. ลดข้ันตอนการดูแลรักษาพืช
4. เพิ่มผลผลติ และยดื อายุการเก็บเก่ียวได้นานขึน้
5. ลดต้นทุนการใช้ปยุ๋

รูปภาพประกอบภูมปิ ัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร 2. การปลูกอ้อย

1. วิธีการเตรียมดิน

276

รายละเอยี ดผูใ้ หข้ ้อมลู และผรู้ วบรวมขอ้ มูลภูมิปญั ญาทอ้ งถิน่ ดา้ นการเกษตร

ผู้ใหข้ ้อมูลภูมิปัญญา : นายพงษ์ศักดิ์ ฉิมอนิ ทร์
ท่ีอยู่ : 295 หมูท่ ่ี 1 ตาบลละงู อาเภอละงู จังหวัดสตูล โทรศัพท์ 086-306-1782

พิกัดแผนที่ : X : 589062 Y : 753190 / Latitude : Longitude:

https://goo.gl/maps/eMVyt3ztqE76y9h19
ผรู้ วบรวมข้อมูล : นางสาวมนัสนันท์ นุน่ แกว้ ตาแหน่ง นกั วิชาการสง่ เสริมการเกษตรชานาญการ
หน่วยงาน : สานักงานเกษตรอาเภอละงู
โทรศัพท์ : 089-657-1242, 0-7470-1532

277

จ.สุราษฎรธ์ านี

: ผลติ ภัณฑก์ าบหมาก

ประวัติความเป็นมา

ผลิตภัณฑจ์ ากกาบหมาก เกดิ จากแนวคดิ ของภูมปิ ญั ญาท้องถนิ่ ทตี่ ้องการนำวัสดธุ รรมชาติ ทเ่ี ป็นวสั ดุท่ีหา
งา่ ยตามบรเิ วณบ้าน เนอ่ื งจากหมากเป็นพืชเศรษฐกิจที่เพาะปลูกง่าย ดแู ลรักษาไม่ยาก จงึ มีการนำมาทำเป็นภาชนะ
ต่างๆเพื่อใช้ในครัวเรือน สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ที่นิยมทำกันในสมัยก่อน คือ หมาตักน้ำ ต่อมาระยะ
หลังๆ ก็ได้มีการพัฒนาต่อยอดมาเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น พัด หมวก กระเป๋า และที่กำลังนิยมอยู่ในขณะนี้ คือ
นวัตกรรมจานกาบหมาก เนื่องจากกระแสของการลดโลกร้อน

ภูมิปัญญาจากกาบหมากของ นางจินดา เข็มเพชร เกษตรกรในตำบลคลองน้อย อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุ
ราษฎร์ธานี เกดิ ข้ึนจากการที่ได้สัมผัสกับกาบหมากมาตั้งแตว่ ัยเด็ก ไดเ้ หน็ คนรุ่นปู่ ย่า นำกาบหมากมาใช้ให้เห็นอยู่
เป็นประจำ และได้เห็นการพัฒนาการทำผลิตภัณฑ์จากกาบหมากเรื่อยมา กอรปกับมีความรักความผูกพันจาก
สายใยกาบหมากที่ได้จากบรรพบุรุษ จึงได้สืบสานภูมิปัญญากาบหมาก โดยคิดค้น สร้างสรรค์ และสร้างคุณค่า
สร้างความภาคภูมิใจต่อชิ้นงานที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจากกาบหมาก นอกเหนือจากการประดิษฐ์เป็นของใช้ที่ทำกันอยู่
ทั่วไปแล้ว สิ่งที่โดดเด่นของผลิตภัณฑ์กาบหมาก ของนางจินดา เข็มเพชร คือ การประดิษฐ์เป็นรูปเสมือนจริง เช่น
พญานาค เจ้าแม่กวนอิม ฤาษี เรือพระองค์เทพ พานธูปเทียนแพ เชิงเทียน นกยูง หนุมาน ฯลฯ เหล่านี้ทำเกิดเป็น
เอกลักษณ์ของท้องถิ่นขึ้น ซึ่งนางจินดา เข็มเพชร ได้จัดตั้งกลุ่มสายใยจากกาบหมากขึ้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ภูมิ
ปัญญาจากกาบหมากให้แก่คนในชมุ ชน ให้แก่ลูกหลานและประชาชนท่ีสนใจ

รายละเอยี ดขน้ั ตอนและวิธกี ารของภูมปิ ัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร

การทำผลิตภัณฑ์ “กาบหมาก”
1. ทำการคัดเลือกกาบหมาก ซึ่งเป็นส่วนล่างของทางใบที่หุ้มรอบลำต้นหมาก เมื่อแก่จัดแล้วจะหลุดลงมา
มลี ักษณะเป็นแผ่นแข็งเหนียว ความกว้างประมาณ 12 นิว้ ความยาวประมาณ 20 นวิ้ หรอื ตามขนาดของลำต้น โดย
กาบสดจะเป็นสเี ขยี วอ่อน แต่กาบทีน่ ำมาทำเปน็ ผลิตภณั ฑ์ จะเป็นกาบหมากแห้งที่หลดุ ลงมาจากลำตน้ มี 2 สี ด้าน
ในเป็นสขี าวนวลด้านนอกเป็นสนี ำ้ ตาล
2. นำมากาบหมากมาผ่านขน้ั ตอนการทำความสะอาด และผ่ึงแดดให้แหง้ ก่อน
3. เมือ่ จะนำกาบหมากมาประดิษฐ์เป็นช้ินงาน ต้องนำกาบหมากไปวางตากน้ำค้างไว้ก่อน อยา่ งนอ้ ย 1 คืน
เพอ่ื ใหก้ าบหมากมีความยืดหย่นุ ใหต้ ัว ง่ายตอ่ การ ตัด เยบ็ ออกแบบให้เป็นรูปทรงตามทต่ี ้องการ
4. ใช้กาวรอ้ นในการยึดติดชนิ้ งาน และมกี ารประดับตกแต่งด้วยวสั ดุอ่นื เพิ่มเติมตามท่ีต้องการ
5. ตกแต่งดว้ ยกากเพชร หรือพ่นสี และเคลือบดว้ ยสารเคลือบเงาเพ่ิมความคงทนและสวยงาม ทงิ้ ไว้ให้แห้ง
จงึ สามารถนำไปใชง้ าน ประดับตกแต่งบา้ น หรอื จำหนา่ ยได้

ราคาและตลาด
ราคาข้ึนอย่กู ับชิน้ งาน เริม่ ตั้งแตห่ ลักร้อยบาท ไปจนถึงหลักหม่ืนบาท ขน้ึ อยู่กบั ความยากง่ายของชิ้นงาน
โดยลูกค้าเป็นคนในท้องถ่ิน และเปน็ ทีส่ นใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

278

รูปภาพประกอบภูมิปัญญาท้องถิ่นดา้ นการเกษตร

279

280

281

รายละเอยี ดผใู้ หข้ ้อมูลและผรู้ วบรวมข้อมลู ภูมปิ ัญญาท้องถน่ิ ดา้ นการเกษตร

ผใู้ ห้ข้อมูลภูมิปัญญา : นางจินดา เข็มเพชร (กลุ่มสายใยจากกาบหมาก)
ทีอ่ ยู่ : 13 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองน้อย อำเภอชยั บุรี จังหวดั สรุ าษฎร์ธานี 84350

โทรศัพท์ 080 038 3033
พกิ ดั แผนที่ : 47P, X : 503262 Y : 939635/ Latitude : 8.500548 Longitude: 99.029638

https://goo.gl/maps/SRwMVj4QvzunAftL8
ผู้รวบรวมข้อมูล : นางสาวขวญั จติ สัสดเี ดช ตำแหนง่ นกั วิชาการส่งเสรมิ การเกษตรปฏิบัติการ
หนว่ ยงาน : สำนักงานเกษตรอำเภอชยั บรุ ี
โทรศัพท์ : 063-4653996, 077-367117

282

ภาคเหนอื

283

จ.เชยี งราย

: การใชค้ ตุ ีขา้ ว

ประวตั คิ วามเป็นมา

ในการทำนาของภาคเหนือ เมอื่ ถึงฤดูเกี่ยวข้าว กต็ อ้ งมกี ารจัดเตรียมอุปกรณส์ ำหรับเก่ียวข้าว ตีข้าว
และเกบ็ ขา้ วข้นึ ยุ้งฉาง การในตีข้าวสามารถตีได้หลายวิธี ไมว่ า่ จะทำตาราง โดยการนำขีว้ วั มาทาบริเวณพ้ืนนา
รอให้แห้งแล้ว เอาฟ่อนข้าวมาตีกับตารางได้เลย หรือจะใช้คุสำหรับตีข้าว ซึ่งคุสำหรับตีข้าวเป็นเคร่ืองจักสาน
ขนาดใหญท่ ่ีทำจากไม้ไผ่ มขี นาดเส้นผา่ ศูนย์กลางประมาณ 2 – 2.50 เมตร สงู ประมาณ 90 - 100 เซนติเมตร
โดยจะนำคุไปวางที่ใกล้ ๆ กองข้าวที่เกี่ยวเรียบร้อยแล้ว โดยมีการปูเสื่อไม้ เรียกว่า “สาดกะลา” (เสื่อกะลา)
สานด้วยผิวไม้บง มาปูไว้ด้านหนึ่งของคุ เพื่อรองรับเมล็ดข้าวที่กระเด็นออกจากคุ ตอนที่ยกฟ่อนข้าวข้ึน
ในการใช้คุสำหรับตีข้าวต้องใช้ไม้หีบสำหรับหนีบข้าว ไม้หีบทำจากไม้เนื้อแข็งเกลาเป็นแท่งกลมขนาดพอมือ
เจาะด้านบนเป็นรูเพื่อร้อยเชือก การเจาะรูไม้ข้างหนึ่งจะเจาะรูสูง อีกข้างเจาะรูปต่ำกว่า เกือบกลางลำไม้
ใช้บริเวณด้านบน หนีบกับฟ่อนข้าว ยกขึ้นแล้วตีกับคุตีข้าว คนตีต้องยืนชิดคุเพื่อจะได้ตีสะดวก และเอาฟ่อน
ข้าวตีกับ “หมง” ซึ่งเป็นก้นของคุที่มีลักษณะนูนขึ้นมา การตีข้าวกับคุ สามารถตีพร้อมกันได้ถึง 4 คน
ใชก้ ารสลับเขา้ ตที างเดียว เพราะอีกดา้ นจะได้ปูสาดกะลาเพ่ือรองรบั เม็ดข้าวท่ีกระเด็นออกนอกคุ และข้าวที่ได้
จะมีความสะอาด

สำหรับเฟืองหรือฟางข้าวที่ได้จากการตีข้าวแล้วนั้นจะใช้ตอกมัดเป็นมัดๆ ขนย้ายไปเก็บที่ค้างเฟือง
หรือโรงเรือนที่เก็บฟางข้าวต่อไป แต่ในกรณีที่พ่อนาไม่ประสงค์จะเก็บเอาฟางไปก็อาจใช้ฟางปูทับบนแปลง
ปลูกพืชอย่างหอมหรือกระเทียม เป็นต้น ส่วนผู้ที่ปลูกถั่วเหลืองนั้นก็อาจโรยฟางให้ทั่วแปลงนาแล้วจุดไฟเผา
เพื่อกำจัดแมลงศัตรูพชื และเพ่ือใชข้ ้เี ถ้าฟางนนั้ เปน็ ปุ๋ยตอ่ ไป

หลังการเก็บเกี่ยวและการใช้งานตีข้าวในท้องนาแล้ว ก่อนที่จะนำคุไปเก็บ เจ้าของคุมักจะนำคุไป
รมควันไฟเพื่อไล่ความชื้นที่เกิดขึ้น เพราะการนำออกไปใช้ตีข้าวกลางท้องนาในฤดูหนาว ที่มีหมอกลงจับคุ
ทำใหเ้ กิดความช้ืน ซึง่ เปน็ ตวั การทำลายไม้ไผ่ให้ผุไวย่ิงขึ้น เพราะเป็นแหล่งอาศัยของแมลง ท่ีจะมากัดกินไม้ไผ่
การรมควันคุหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ไม่เพียงแต่จะไล่ความชื้นทำใหค้ ุมีสภาพคงทนเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดความ
สวยงามตามธรรมชาตขิ องเส้นตอกท่นี ำมาขัดสาน ทำให้คมุ สี ีเข้ม มันวาวอกี ดว้ ย เกษตรกรมักจะเก็บคุไว้ใต้ถุน
เรอื นพักอาศยั หรือใต้หลองขา้ ว (ยุ้งขา้ ว) เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก ถ้าบ้านหลังใดมเี สา หรอื แผ่นกระดาน
อยู่ใต้ถุนเรือน ก็สามารถใช้เป็นฐานรองรับคุได้เลย แต่หากไม่มีก็อาจจะหาท่อนไม้มาวางเป็นฐานรอง นำคุมา
วางคว่ำไว้ หรือถ้าต้องการยกคุให้อยู่สูง ลมพัดผ่านได้ดียิ่งขึ้น ก็อาจจะตีไม้ยึดเสาเรือนทำเป็นไม้คร่าว
แบบง่ายๆ แล้วนำคุมาวางคว่ำไว้บนนั้น การเก็บคุไว้ใต้ถุนเรือนอีกวิธีหนึ่ง คือใช้เชือกมัดกับขอไม้ไผ่เกี่ยวกับ
ขอบคุสี่มมุ ผูกแขวนไว้ใต้ถนุ เรือน การเก็บคุด้วยวธิ ีน้ีแม้จะเป็นวธิ งี ่ายๆ แต่ก็จะปอ้ งกนั และรักษาคุ ให้พ้นแดด
และฝนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งลมพัดผ่านได้ตลอดเวลา ทำให้คุไม่ชื้นหรือแห้งจนเกินไป นอกจากนี้ อาจจะพบ
เหน็ วธิ ีการเก็บคุง่ายๆ เชน่ เก็บไวใ้ ต้ต้นไม้ หรือคว่ำไวบ้ นกองไมก้ ลางลานบ้าน แลว้ นำสงั กะสีมาปิดพอช่วยกัน
แดดกันฝนได้บา้ ง แตว่ ธิ ีน้จี ะทำใหค้ ชุ ำรดุ ไว เนอื่ งจากโดนแดดและฝนมากเกินไป

284

รายละเอียดข้นั ตอนและวธิ กี ารของภมู ปิ ญั ญาท้องถิ่นด้านการเกษตร

วิธีการใช้คตุ ีขา้ ว
การตีคุจะต้องเตรียมการก่อนตีง่ายๆ คือ นำคุไปวางใกล้กองข้าวที่เกี่ยวแล้วเก็บมาวางซ้อนกันไว้
นำ “สาดกะลา” คือ เสือ่ ไมบ้ งหรือไม้เฮีย้ สานด้วยลายสองขนาดใหญ่ประมาณ ๑๘๐x๒๕๐ เซนติเมตร นำมา
ปูตามขวางชิดก้นคุด้านตรงข้ามกับคนตีข้าว เพื่อรองรับเมล็ดข้าว ที่อาจจะกระเด็นออกนอกคุ ในช่วงการยก
ฟ่อนข้าวขนึ้ ตี
การตคี จุ ะตอ้ งมไี มค้ บี ฟ่อนข้าว ซึง่ ทำด้วยไมเ้ นื้อแขง็ ขนาดพอเหมาะมอื คือสว่ นหัวไม้มีขนาด ๓ x ๓
เซนติเมตร ยาวประมาณ ๙๐ เซนติเมตร ส่วนด้ามจับมีลักษณะเรียวและแบนลงคือ ๒ x ๒.๒๕ เซนติเมตร
เจาะส่วนหัวไม้เพื่อใช้เชือกหนังควาย หรือเชือกประเภทอื่นๆ รวมทั้งโซ่เหล็กขนาดเล็ก ยาวประมาณ
๓๐ เซนติเมตร ผูกโยงส่วนหัวไม้ทั้งสอง ด้ามหนึ่งผูกห่างจากสว่ นหัวไม้ ๔ เซนติเมตร อีกด้ามหนึ่งผูกห่างจาก
ส่วนหวั ไม้ ๒๐ เซนตเิ มตร เพื่อให้สะดวกกบั การเก่ียวรัดฟ่อนขา้ ว ผ้ตู จี ะยนื ชดิ ขอบปากคุ ซ่ึงจะอยู่สูงประมาณ
โคนขา แล้วยกไม้ที่คีบฟ่อนข้าวขึ้นตี โดยกะให้ส่วนรวงข้าวกระทบ "หมง" ซึ่งเป็นส่วนก้นคุที่นูนป่องขึ้นมา
จะทำใหเ้ มล็ดขา้ วหลดุ รว่ งเรว็ ขนึ้
แม้การตีคจุ ะสามารถตีพร้อมกันได้ถึงสี่คน แตถ่ ้าจะใหเ้ หมาะควรตเี พียงสองคนต่อคุหนงึ่ ใบ เพ่ือที่จะ
สลับกันเข้า-ออกด้านเดียว อีกด้านจะได้ปูสาดกะลา รองรับเมล็ดข้าวที่กระเด็นออกนอกคุ ในช่วงการยกฟ่อน
ข้าวขึ้นตี การตีข้าวด้วยคุ จึงเหมาะกับจำนวนสมาชิกที่มีในครอบครัว แต่หากต้องการตีข้าวให้เสร็จเร็วขึ้น
ก็สามารถเพม่ิ จำนวนคนตแี ละคุใหม้ ากขน้ึ ได้
เม่อื ตขี ้าวจนหมดแตล่ ะกองแลว้ จงึ ทำการเกบ็ เมล็ดขา้ วเปลือกออกจากคุ กอ่ นทจ่ี ะเคล่ือนย้ายคุไปตี
ยังกองอื่นต่อไป การเก็บข้าวจะเริ่มจากการนำสาดกะลามาปูให้ชิดก้นคุ โดยปูยาวไปตามทางลมในแต่ละวัน
วิธีการทดสอบทิศทางลมทำได้ง่ายๆคือ โปรยข้าวขึ้น แล้วสังเกตข้าวลีบทีล่ อยไปตามลม แล้วให้คนตักข้าวเขา้
ไปยืนในคุหนึ่งคน อีกหนึ่งหรอื สองคนยนื ข้างสาด คนตักข้าวจะใชพ้ ล่ัวไม้ ขนาดประมาณ ๒๐x๔๐ เซนติเมตร
ด้ามยาวประมาณ ๑๕๐ เซนติเมตร ตักเมล็ดข้าวค่อยๆ สาดให้เป็นเส้นยาวไปตามทิศทางลมในแต่ละวัน
ให้เมล็ดข้าวที่สมบูรณ์เท่านั้นตกลงที่สาดกะลา ส่วนข้าวลีบจะลอยออกไปข้างนอกสาด โดยมีคนพัดข้าวลีบ
ช่วยพัดส่งอีกแรง ด้วยการใช้พัดไม้ไผ่สาน รูปทรงกลม เส้นผ่าศูนยก์ ลางประมาณ ๔๕ เซนติเมตร เรียกว่า "ว"ี
หรือ "ก๋า" ช่วยพัดให้เหลือเพียงเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์ ซึ่งชาวเหนือเรียกว่า "ข้าวเต้ง" เท่านั้นที่ตกลงมาที่สาด
ทำอย่างนจี้ นหมดขา้ วในคุ ก็จะเคลอื่ นยา้ ยคไุ ปตยี ังกองอืน่ ตอ่ ไป
ข้าวที่ได้จากการตีด้วยคุนี้ จะได้เมล็ดข้าวที่สมบูรณ์และสะอาด เพราะการตีข้าวในคุจะไม่มีกรวด
หิน ดิน ทรายปนเปื้อน เหมือนกับการตีตาลาง และการตีแคร่ซึ่งข้าวต้องตกลงกับพื้น แม้จะใช้มูลควาย
ทาเคลอื บผิว แตก่ ็มโี อกาสท่กี รวดและดนิ จะปนได้ สว่ นขัน้ ตอนการสาดขา้ วออกจากคุ โดยใชก้ ระแสลมและคน
ช่วยพดั ขา้ วลบี ออกไปด้วยนั้น จะชว่ ยใหไ้ ดข้ า้ วทสี่ มบรู ณ์เท่าน้ัน

การใช้ประโยชน์ของภมู ปิ ัญญาท้องถ่ินดา้ นการเกษตร

1. เป็นภูมิปัญญางานชา่ งฝีมือพื้นบ้านอีกช้นิ หนึ่ง ซึง่ เป็นเครือ่ งมือของชาวนานบั หลายชั่วอายุคน
2. เป็นภูมิปัญญาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เนื่องจากมีการใช้งานคุตีข้าวน้อยลงและมีเพียงบางพื้นท่ี
เทา่ น้ัน
3. ข้าวที่ไดจ้ ากการตมี ีความสะอาด ไมม่ ีสง่ิ ปนเป้อื น และได้เม็ดข้าวท่ีสมบูรณ์

285

รูปภาพประกอบภูมิปัญญาท้องถ่ินด้านการเกษตร

รายละเอยี ดผใู้ หข้ ้อมูลและผ้รู วบรวมข้อมลู ภมู ปิ ัญญาทอ้ งถิ่นดา้ นการเกษตร

ผ้ใู หข้ ้อมูลภูมปิ ัญญา : นายรัตน์ ชัยวงศ์

ทอี่ ยู่ : 190 หม่ทู ่ี 4 ตำบลสนั สลี อำเภอเวยี งป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ 084-949-5169

ผูร้ วบรวมข้อมูล : ตำแหนง่

หนว่ ยงาน : สำนกั งานเกษตรอำเภอเวยี งป่าเป้า

โทรศัพท์ : 0-5378-1440

286

จ.เชยี งใหม่

: ช้างไถนา

ประวตั ิความเปน็ มา

ช้างไถนา เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมายาวนานและมีเพียงแห่งเดียวในโลก ที่ทำกันมานานนับร้อยปี
และยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันของชาวเผ่ากะเหรี่ยงบ้านนาเกียน ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ท่ีใช้ช้าง
ไถนามาหลายชั่วอายุคน แต่ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย เนื่องจากสภาพพื้นที่ตั้งอยู่บนยอดเขา สูงจากระดับน้ำทะเล
ประมาณ 1,200 - 1,600 เมตร และตวั อำเภออมก๋อยตง้ั อยหู่ ่างจากตวั เมืองเชยี งใหม่ถึง 179 กโิ ลเมตร บา้ นนาเกียน
อยู่หา่ งตวั จากอำเภอเพียง 39 กิโลเมตร แตใ่ ชร้ ะยะเวลาเดินทางประมาณ 3 ช่วั โมง ดว้ ยความทุรกันดารของหนทาง
ชาวบ้านนาเกียนจึงยึดอาชีพเกษตรกรรม ทำนาดำแบบขั้นบันไดและปลูกพืชไร่ เพื่อเลี้ยงชีพ แต่ด้วยข้อจำกัด
ทางด้านภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นที่ลาดเชิงเขา มีหินปะปนอยู่มาก ทำให้การไถนาด้วยวัวหรือควาย ได้เนื้องานน้อย
ประกอบกับในวิถีชีวิตของชาวบ้านราว 100 ครัวเรือนหรือ 500 กว่าคน มีการเลี้ยงช้างไว้ 20 กว่าตัว แต่ปล่อยให้
หากินเองในปา่

สำหรับประวัติช้างไถนามีเรื่องเล่าขานกันมาเมื่อกว่า 40 ปีก่อน มีนายพะก่า โหนะ ชาวบ้านแม่แพ
ต.แม่สวด อ.สบเมย จ.แม่ฮอ่ งสอน มนี ิสัยอารมณจ์ ินตนาการความเป็นศิลปิน ชอบเลน่ เต่อหน่า ท่เี ป็นเคร่ืองดนตรี
ของกะเหรี่ยง และชอบอูเคว เป็นการเป่าแคนเขาควาย มาตั้งแต่เด็กแล้ว ได้เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ และได้เกิด
แนวคิดว่า จะใช้ช้างไถนาแทนควาย จึงได้ปรึกษาหารือกับชาวบ้านใน ต.นาเกียน และชาวบ้านก็ได้ฝึกช้างไถนา
อย่างหลบๆ ซอ่ นๆ เพราะกลัวถูกกล่าวหาจากคนอ่ืนว่าเพ้ียน หรือทำส่ิงที่แปลกๆ ทค่ี นอ่นื ไม่ค่อยทำกัน แต่เวลาได้
พิสูจน์จนเกิดเป็นที่ยอมรับจากที่ฝึกฝนช้างด้วยคันไถนาและทดลองจากคันไถ 1 คัน มาเป็น 2 คัน จึงได้ปรากฏ
การใช้ช้างไถนามาจนทุกวันนี้ ช้างตัวแรกที่เคยเป็นช้างไถนาที่บ้านนาเกียนชื่อว่า ปุ๊น่อย แปลว่าตัวผู้น้อย โดยช้าง
ป๊นุ ่อย ถูกใชง้ านและเลยี้ งอยู่ละแวกบ้านนาเกียนและบา้ นแมโ่ ขง จากนั้นปี 2526 ถูกขายไปในเขตชายแดนทางพม่า
และไดม้ กี ารซ้ือช้างใหม่ขึ้นเร่ือยๆและนำช้างตัวอื่นมาไถนาสืบต่อกนั มา หลงั จากนนั้ ชาวบ้านในบ้านนาเกียนก็ได้สืบ
สานประเพณีชา้ งไถนา ซึ่งถอื เป็นการเร่ิมตน้ ฤดูเพาะปลูกเป็นประจำทุกปี

เมื่อถึงฤดูกาลทำนา จึงเข้าไปจับช้างที่เลี้ยงไว้มาไถนา เพราะเป็นสัตว์ใหญ่ แข็งแรงกว่าวัว ควาย
และยงั สามารถไถนาได้พื้นท่ีมากกว่าในระยะเวลาที่เท่ากัน โดย 1 แรงชา้ ง เท่ากับ 4 แรงววั /ควาย ซง่ึ หมายความว่า
ช้าง 1 เชือก ลากคันไถได้ตั้งแต่ 1- 4 คันไถ โดยไม่ต้องพักเหนื่อยและถือเป็นงานที่เบา เมื่อเทียบกับการลากซุง
ในอดตี ความแตกต่างอีกประการหน่ึงของการใช้ชา้ งกบั วัวหรือควาย กค็ ือช้างไถนา 1 เชอื ก ตอ้ งใชค้ นถึง 3 คนเป็น
อย่างน้อย ขณะที่วัวหรือควาย ใช้เพียงคนเดียวก็สามารถไถนาได้ ดังนั้นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านนาเกียน จึงนิยม
ไถนาในลักษณะ“ลงแขก” หมนุ เวยี นชว่ ยกันจนกว่าจะแล้วเสร็จ ในระยะหลังความเจริญหล่ังไหลเข้าสู่พื้นที่มากขึ้น
รถไถนามีบทบาทค่อนข้างสูง ส่งผลให้การใช้ช้างลดลง แต่ปัญหาวิกฤติน้ำมันแพงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ได้กลายเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ชาวบ้านหันกลับมาพึ่งพาช้างไถนาอีกครั้ง จนเชื่อมั่นได้ว่าภูมิปัญญาดั้งเดิมของ
บรรพบุรษุ บ้านนาเกียน จะยงั คงอยู่และสืบทอดสู่คนรุ่นหลังต่อไป

ประเพณีช้างไถนา ในโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ช้างไถนา จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม –
กรกฎาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูฝนและยังเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูก ซึ่งมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย
ชาวต่างชาติและชาวบ้านแต่งชุดประจำเผ่าปกาเกอะญอ มาร่วมกิจกรรมอย่างคึกคัก นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์
ภูมิปัญญาดั้งเดิมและสืบสานประเพณีที่สืบทอดมายาวนานนับร้อยปีแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของ
อำเภออมก๋อย ให้คนทั่วโลกไดร้ จู้ ักช้างไทยในอีกมติ ิหนึ่งที่ไม่เคยปรากฏแพร่หลายมาก่อน

287

รายละเอยี ดขนั้ ตอนและวธิ กี ารของภูมปิ ัญญาท้องถน่ิ ด้านการเกษตร

วธิ ีการใชง้ านช้างไถนา
การไถนาแต่ละคร้ัง ช้างไถนา 1 เชือก ต้องใช้คนถึง 3 คนเป็นอย่างนอ้ ย โดยคนแรกคือควาญบังคบั
ชา้ ง คนที่ 2 รบั หนา้ ท่ีจงู ชา้ งใหเ้ ดนิ ตามแนวที่ตอ้ งการไถ และคนสุดทา้ ยจับคนั ไถ

การใช้ประโยชน์ของภูมปิ ัญญาทอ้ งถ่ินด้านการเกษตร

1. เปน็ การสืบทอดภมู ปิ ญั ญาด้ังเดิมของบรรพบรุ ุษให้คงอยูส่ บื ไป
2. เป็นการอนรุ กั ษป์ ระเพณีท่ีมเี พยี งแห่งเดยี วในโลก
3. เป็นการส่งเสริมการท่องเท่ียวให้เป็นทีร่ ู้จักมากขึ้น ทำให้ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวท้ังชาวไทย
และชาวต่างชาติ

รูปภาพประกอบภูมปิ ญั ญาทอ้ งถ่นิ ด้านการเกษตร

288

รายละเอียดผใู้ ห้ข้อมลู และผูร้ วบรวมขอ้ มูลภูมิปัญญาทอ้ งถ่นิ ดา้ นการเกษตร

ผูใ้ หข้ ้อมูลภมู ิปัญญา : นายภมู มิ ชี ยั ประเสริฐ (เกษตรกรผู้เลี้ยงช้าง)
ท่อี ยู่ : 80 หมทู่ ี่ 3 ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชยี งใหม่ โทรศัพท์ 095-723-2979
พิกัดแผนที่ : X: 411332 Y: 1967292 / Latitude : 17.7912873 Longitude: 98.1634322

https://goo.gl/maps/ovu8Q6DxBQxouQax5
ผรู้ วบรวมข้อมูล : นางธิดาวรรณ กันธิมา ตำแหน่ง นักวิชาการสง่ เสรมิ การเกษตรปฏิบตั ิการ
หน่วยงาน : สำนกั งานเกษตรอำเภออมก๋อย
โทรศัพท์ : 096-669-2390, 0-5346-7063

289

จ.ตาก

: กล้วยอบน้าผ้ึง (อบเตาถ่านโบราณ)

ประวัติความเป็นมา

ชุมชนสันเก้ากอม ตำบลแม่ระมาด อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก เป็นแหล่งปลุกกล้วยน้ำว้าพันธุม์ ะลิอ่อง
เป็นสายพันธุ์ที่เกษตรกรในชุมชนนิยมปลูกมากว่าร้อยปี สมัยก่อนนิยมปลูกไว้ตามหัวไร่ปลายนาและปลูกไว้ เพื่อ
บรโิ ภคเท่านั้น ปัจจุบนั เกษตรกรเร่ิมปลูกกล้วยน้ำว้ากันมากขึ้นโดยทำเป็นสวนกลว้ ยน้ำว้าเพ่ือบรโิ ภคและจำหน่าย
แต่เนื่องจากเกษตรกรไม่มีการวางแผนการปลูกแต่นิยมปลุกตามๆกันเมื่อเห็นเพื่อนบ้านปลูกและได้ราคาดี ทำให้
เกิดปัญหากล้วยน้ำว้าล้นตลาด กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในชุมชนจึงได้รวมตัวกันปรึกษากับปราชญ์ชาวถึงแนว
ทางการแก้ปัญหาเรื่องกล้วยล้นตลาด โดยเน้นเรื่องถนอมอาหารหรือการแปรรูปเพื่อให้สามารถเก็บกล้วยไว้บริโภค
ได้นานขึน้ โดยมกี ารนำกล้วยน้ำวา้ สุกมาแปรรูปเปน็ “กลว้ ยอบเตาถ่านโบราณ” และจากนัน้ พฒั นามาเป็นกล้วยอบ
น้ำผึ้งเตาถ่านโบราณ จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ คือ กล้วยอบมีกลิ่นหอมจากการอบแบบเตาถ่าน เนื้อนุ่มไม่แข็ง และ
รสชาติ หวานจากธรรมชาติของกล้วยสุกและหอมกลิ่นน้ำผึ้ง ซึ่งจะมีการใช้น้ำผึ้งป่าซึ่งอุดมไปด้วยน้ำเกสรของ
สมุนไพรป่า จนปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้น และเป็นสินค้าเด่นของกลุ่มวิสาหกิจชุมอำเภอแม่ระมาด จนได้
มาตรฐาน มผช.และปัจจุบันเป็นสินค้าเด่นระดับ OTOP 5 ดาว ของอำเภอแม่ระมาด เป็นของฝากอันดับต้นๆของ
จังหวดั ตาก ถา้ เอ่ยถงึ ของฝากจังหวัดตาก ตอ้ งคิดถงึ “กล้วยอบนำ้ ผ้งึ อำเภอแม่ระมาด”

รายละเอียดขัน้ ตอนและวธิ กี ารของภมู ิปญั ญาท้องถน่ิ ด้านการเกษตร

วตั ถดุ ิบ
1. กลว้ ยน้ำวา้
2. นำ้ ผง้ึ ปา่
3. เกลอื

ขนั้ ตอนการดำเนนิ งาน
1. ประสานงานกับเกษตรกรผปู้ ลูกกล้วย
2. วางแผนการผลติ ระหวา่ งเกษตรกร(ฝา่ ยวตั ถดุ ิบ) และกลุม่ แปรรูป (ฝ่ายผลติ และแปรรูปผลติ ภัณฑ์)

วธิ ที ำ
1. รบั กลว้ ยจากเกษตรกรผปู้ ลูก โดยคดั เลือกกลว้ ยที่โต แก่จดั บม่ ไวใ้ นห้องอุณหภูมิปกติ 8-10 วัน
2. เม่อื บ่มกลว้ ยไดส้ ุกงอมแล้วปอกเปลือกล้างนำ้ สะอาด
3. น้ำกลว้ ยท่ลี า้ งน้ำสะอาดแล้วเรียงวางบนตะแกรงเพื่อใหส้ ะเด็ดน้ำ
4. นำกลว้ ยทเี่ รยี งไวบ้ นตะแกรงเข้าตู้อบพักไว้
5. กอ่ ไฟในเตาอังโล่ใหถ้ ่านไฟแดงแล้วกลบด้วยข้ีเถ้าอบไว้ 3 วัน
(วันที่ 1)
6. นำเตาถา่ นเขา้ ใส่ไว้ในตู้อบท่ีใส่ตะแกรงกลว้ ยรอไว้แลว้
7. เวลา 08.00 น. ถงึ เวลา 16.00 น. อบจนผิวกล้วยเหี่ยว
8. นำ้ กลว้ ยที่อบออกมาทุบเบาๆพอให้กล้วยแบนๆ
9. เตรียมสว่ นผสม นำ้ เปลา่ 1 ถว้ ย / เกลือ 1 ช้อนชา/ น้ำผึ้ง 1 ช้อนโตะ๊ ผสมให้เข้ากนั

290

10. ทาส่วนผสมน้ำทั้งหมดลงบนผวิ กลว้ ยที่นำออกมาทบุ แล้ววางลงบนตะแกรงเตรียมเขา้ ตู้อบอีกรอบ
11. 18.00 น.- 22.00 น. ก่อไฟในเตาอังโล่ใหถ้ ่านไฟแดงแลว้ กลบดว้ ยข้ีเถ้าอีกคร้ัง
(วนั ที่ 2)
12. เวลา 08.00 น. อีกวันนำกลว้ ยออกมากลับด้านสลับตะแกรงเข้าตู้อบ
13. เวลา 18.00 น. – 22.00 น. กอ่ ไฟในเตาอังโล่ใหถ้ ่านไฟแดงแล้วกลบดว้ ยขีเ้ ถา้ อีกครง้ั
(วนั ท่ี 3)
14. เวลา 08.00 น. อีกวันนำกล้วยออกมากลับด้านสลับตะแกรงเข้าตู้อีกครั้งจนกล้วยแห้งดีแล้วเก็บใส่
ภาชนะ รอใหเ้ ย็นลง
15. ทำการตดั แต่งกล้วยใหส้ วยและนำบรรจลุ งในบรรจภุ ัณฑ์ พรอ้ มจำหน่าย
หมายเหตุ วิธีทำหรือกระบวนการผลิต 2 คืน 3 วัน การจำหน่าย กล่องละ 40 บาท สามารถเก็บไว้รับประทานได้
นาน 45 วนั หรือนานกว่านัน้

รปู ภาพประกอบภูมิปัญญาท้องถ่ินดา้ นการเกษตร

ขน้ั ตอนการเก็บกลว้ ยและการคดั เลือกกลว้ ย

ขนั้ ตอนการบ่มกล้วยใหส้ ุกงอม

291

ขัน้ ตอนการปอกและลา้ งทำความสะอาดกลว้ ย
ข้นั ตอนการเตาองั โล่ให้ถา่ นไฟแดงแลว้ กลบด้วยข้เี ถ้าอบไว้ 3 วนั

ขน้ั ตอนการอบกล้วย (วันท่ี 1)


Click to View FlipBook Version