The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สำเนาของ หลักสูตรกิจกรรมชมรมบ้านไม้ฝาดใหม่

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sukaman, 2023-05-31 12:27:39

หลักสูตรเกษตรอัจฉริยะประณีตในโรงเรียน

สำเนาของ หลักสูตรกิจกรรมชมรมบ้านไม้ฝาดใหม่

1 โรงเรียนบ้านไม้ฝาด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2


2 หลักสูตรอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน Science Technology Innovation (STI) : Smart Intensive Farming หลักสูตรอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน ตามโครงการ Science Technology Innovation (STI) : Smart Intensive Farming ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตรอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน ภาคการเกษตรนับว่า มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยสภาพ ภูมิประเทศ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และภูมิอากาศที่เอื้อต่อการทำการเกษตร จึงทำให้ประชากรส่วนใหญ่ของ ประเทศประกอบอาชีพทางการเกษตรมาโดย ตลอด ซึ่งถือได้ว่าเกษตรกรรมเป็นประโยชน์ต่อการพึ่งพาตนเอง รวมไปถึงการสร้างรายได้ให้ครอบครัว ชุมชน และ นำไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ในปัจจุบันแบ่งกลุ่มเกษตรกรออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เกษตรกรรายย่อย และเกษตรกรรายใหญ่ที่ทำการเกษตร พาณิชย์ ซึ่งเกษตรกรรายย่อยเป็นกลุ่มเกษตรกรแบบครอบครัว โรงเรียน และ กลุ่มชุมชนขนาดเล็ก โดยจะเน้น การทำการเกษตรเพื่อการดำรงชีวิตและต่อยอดรายได้เข้าสู่ครอบครัว โรงเรียน และ ชุมชน ซึ่งยังมีข้อจำกัด ทางด้านการลงทุนหรือค่าใช้จ่าย และด้วยแนวโน้มทางเศรษฐกิจในปัจจุบันอาชีพเกษตรกรราย ย่อยอยู่ใน สภาวะที่ไม่มั่นคง เกษตรกรรายย่อยมีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย จนเกิดปัญหาหนี้สินและที่ดินทำกิน อีกทั้ง ราคาสินค้าเกษตรตกด่ำ ขาดการหมุนเวียนรายได้ภายในชุมชน อาจเป็นผลมาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน ที่เกษตรกรราย ย่อยยังไม่สามารถปรับตัวให้ทันต่อระบบการผลิตที่เปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน เช่น ปัจจัย ด้านความสามารถในการ เข้าถึงความรู้และเทคโนโลยี การบริหารจัดการพื้นที่และผลผลิต การต่อยอด ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อการสร้าง รายได้ การสร้างสรรค์นวัตกรรม และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมภายใน ชุมชนเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือภาค การเกษตร เพื่อใช้ในการต่อรองราคาทางการค้า ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็น ส่วนสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขและการพัฒนาเพื่อ คุณภาพชีวิตเกษตรกรรายย่อยด้วยเกษตรกรรมบนพื้นฐาน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพอย่างเร่งด่วน ต่อไปภายใต้พลวัตความเปลี่ยนแปลงของโลก ยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมความรู้ต่าง ๆ โดยเฉพาะ ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ได้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนา ในหลากหลายสาขาอาชีพ รวมไปถึงการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังจะเห็นได้จากปัจจุบันในประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้นำเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เหมาะสม มาสร้างประสิทธิภาพให้กับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ อย่างจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นหนึ่งประเทศตะวันออกกลางที่มี สภาพ อากาศแห้งแล้งขั้นรุนแรง มีพื้นที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกเพียง 20% พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกปกคลุมไปด้วย ทะเลทราย ติดอันดับต้น ๆ ของโลก มีปริมาณฝนตกน้อย และเป็นประเทศที่มีแหล่งน้ำหลักจาก “ทะเล” แต่มี ความสำเร็จในการคิดค้นเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ล้ำสมัย จนสามารถผันตัวเองให้เป็นผู้นำด้านการทำเกษตร อัจฉริยะ การชลประทานน้ำหยด การผลิตน้ำบริสุทธิ์ และนำกลับมาใช้ใหม่ โดยการพัฒนาเทคโนโลยีการกลั่น น้ำเค็ม และ รีไซเคิลน้ำเสียให้กลับมาเป็น “น้ำจืดเพื่อการเกษตร” ได้ และพลิกผืนทะเลทรายให้กลายเป็น แปลงเกษตร นอกจากนี้ สามารถพัฒนาระบบตรวจสอบและควบคุมสภาพความชื้นในดินผ่านแอพพลิเคชั่น บนสมาร์ทโฟน โดยสามารถสั่งการ


3 ให้ปรับปรุงดินและแก้ไขความชื้นได้ทันทีผ่านคลื่นวิทยุ ซึ่งจะครอบคลุม พื้นที่ในระยะไกลได้มากกว่าใช้ระบบ อินเตอร์เน็ตไร้สาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเทศต้นแบบของการนำเทคโนโลยี มาใช้เพื่อการบริหารจัดการภาคการเกษตร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยแท้จริง และอีกในหลาย ๆ ประเทศ ก็ได้นำแนวคิดการบริการจัดการภาคการเกษตรด้วย เทคโนโลยีระบบอัจฉริยะมาใช้จนเกิดเป็นนวัตกรรม ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตทางการเกษตรสู่การเพิ่ม มูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศได้ ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าวิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการขับเคลื่อนการพัฒนา ประเทศและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ในอนาคต ด้วยความสำคัญดังกล่าว สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดทำโครงการ Science Technology Innovation (STI) : Smart Intensive Farming โดยเน้นการจัดการเรียนรู้ที่สามารถบูรณาการรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิทยาการ คำนวณ กับการทำเกษตรแบบประณีตในโรงเรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิด ทักษะและสามารถนำองค์ความรู้ มาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งสามารถนำความรู้และประสบการณ์ ไปต่อยอดในการประกอบอาชีพ ก่อให้เกิด รายได้ภายในโรงเรียนและนำไปสู่การผลักดัน ให้เกิดการยกระดับ กระบวนการผลิตและคุณภาพสินค้าภาคเกษตร ที่เป็น ประโยชน์ต่อชุมชนสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวขับเคลื่อน ไปอย่างเป็นรูปธรรม สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้จัดทำกรอบหลักสูตรอัจฉริยะเกษตรประณีต ในโรงเรียนขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทาง ในการพัฒนาหลักสูตรอัจฉริยะวิถีระดับสถานศึกษาที่เข้าร่วมขับเคลื่อนการ จัดการเรียนรู้ในโครงการ Science Technology Innovation (STI) : Smart Intensive Farming ต่อไป แนวคิดของหลักสูตรอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน การพัฒนาหลักสูตรอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียนตามโครงการ Science Technology Innovation (STI) : Smart Intensive Farming มุ่งเน้นการออกแบบกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ องค์ความรู้และทักษะทางด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิทยาการคำนวณ กับการทำเกษตร แบบประณีตในโรงเรียน โดยปรับแนวคิด ของโครงการ 1 ไร่ 1 แสน มาใช้เป็นแนวคิดหลักในการก าหนด เป้าหมายหลักสูตร โดยแนวคิดการทำเกษตรกรรมใน รูปแบบ 1 ไร่ 1 แสนนั้น พัฒนามาจากการทำเกษตรกรรม แบบประณีต เพื่อให้เกษตรกรพออยู่พอกิน และสามารถ ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ซึ่งในแต่ละพื้นที่ โครงการมีความแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ หลักของการ ทำ การเกษตรนั้นจะต้องเน้นการผลิต แบบพึ่งพาตนเอง ทำการผลิตที่มีความหลากหลายเพื่อการบริโภคที่เพียงพอภายใน ครอบครัว ซึ่งช่วยลด ค่าใช้จ่ายด้านอาหาร ด้านการผลิต นอกจากนั้นเมื่อผลผลิตเหลือจากการบริโภคในครัวเรือน แล้วยังสามารถ นำไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้น การทำ เกษตรกรรมในรูปแบบดังกล่าว จึงเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นกระบวนการคิดของเกษตรกรอย่างเป็นระบบ ทั้งใน การปลูกพืช เพาะเลี้ยง การแปรรูปผลผลิต และการจัดจำหน่าย เพื่อให้เกิดรายได้แก่เกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้ง เป็นการสร้างให้เกษตรกรเกิดความรู้และทักษะทั้งในการวางแผนการทำงานและการปฏิบัติงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่านี้คือ การคิดแบบ Coding for Farm นั่นเอง ทั้งนี้ ในการออกแบบหลักสูตรดังกล่าว ได้มี การนำเอาองค์ความรู้ทางด้าน เทคโนโลยีอัจฉริยะ หรือระบบควบคุมอัตโนมัติมาออกแบบเป็นหน่วยการเรียนรู้ เพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนนำองค์ความรู้ ดังกล่าวไปปรับใช้ในการปฏิบัติการทำการเกษตรของตนเองให้เป็นระบบ เกษตรกรรมที่เป็น Smart Farm โดยแท้จริง


4 หลักสูตร กิจกรรมชมรมอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน แนวการจัดกิจกรรมชมรม เวลาเรียน 40 ชั่วโมง/ปี โรงเรียนบ้านไม้ฝาด ได้จัดกิจกรรมชมรมอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน โดยมุ่งเน้นการเติมเต็มความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ของผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบความถนัด ความสนใจของตนเอง อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งมีหลักการในการจัดกิจกรรมชมรม ดังนี้ 1. เป็นกิจกรรมที่เกิดจากความสมัครใจของผู้เรียน โดยมีครูเป็นที่ปรึกษา 2. เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนช่วยกันคิด ช่วยกันทำ และช่วยกันแก้ปัญหา 3. เป็นกิจกรรมที่พัฒนาผู้เรียนตามสาระที่กำหนดนอกเหนือจากการเรียนการสอน 4. เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน 5. เป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนบ้านไม้ฝาด หรือท้องถิ่น ทั้งนี้ นักเรียนโรงเรียนบ้านไม้ฝาด ต้องเข้าร่วมกิจกรรม 40 ชั่วโมง ต่อปีการศึกษา โดยผ่าน การประเมินตามพฤติกรรมบ่งชี้ หรือตัวชี้วัดและเป้าหมายการจัดกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ 5 ข้อ ดังนี้ วัตถุประสงค์ พฤติกรรมบ่งชี้ เป้าหมายการจัดกิจกรรม 1. เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถด้านการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้เกิด ทักษะ ประสบการณ์ ทั้งวิชาการและวิชาชีพตาม ศักยภาพ • มีการจัดทำโครงงาน/ผลงาน/ชิ้นงาน • มีทักษะการคิด การตัดสินใจและ การ แก้ปัญหา • มีทักษะการวางแผนและการจัดการ • ประยุกต์เทคโนโลยีกับภูมิปัญญาไทย • ใช้ภาษาและการสื่อสารได้ถูกต้อง ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ และทักษะจนเกิดเป็น โครงงาน/ผลงาน/ชิ้นงาน ตามศักยภาพของแต่ละ บุคคล 2. เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึง ประสงค์ • รักวัฒนธรรมไทย ใช้ของไทย • มีกิริยามารยาทที่ดี • แต่งกายถูกระเบียบ • มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ • มีความซื่อสัตย์สุจริต • มีสัมมาคำรวะ อ่อนน้อม ถ่อมตน • มีน้ำใจต่อครู เพื่อน และผู้อื่น • รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย • ตรงต่อเวลา • รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย มีน้ำใจนักกีฬา • เข้าแถว เข้าคิว ขึ้นลงอย่างมีระเบียบ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึง ประสงค์ เป็นแบบอย่างให้ ผู้อื่นได้


5 วัตถุประสงค์ พฤติกรรมบ่งชี้ เป้าหมายการจัดกิจกรรม • รักษาความสะอาดบริเวณโรงเรียน • เปิดปิดไฟตามความจำเป็นเข้าชั้นเรียน ตามเวลา 3. ส่งเสริมให้มีสุขภาพและ บุคลิกภาพทางด้านร่างกายและ จิตใจที่ดี • มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน • ร่าเริง แจ่มใส มีความมั่นคงทางอารมณ์ • อดทน อดกลั้น ต่อสิ่งยั่วยุ ผู้เรียนเป็นผู้มีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตดี และ ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข 4. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ต่อตนเอง ชุมชน สังคม และ ประเทศชาติ • บำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม • ใช้เวลาที่มีให้เกิดประโยชน์ ผู้เรียนใช้เวลาว่างให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและ ส่วนรวม 5. มีมนุษย์สัมพันธ์ในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่นในระบอบ ประชาธิปไตย • มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี • สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ • เคำรพในกฎ กติกา ของกลุ่มและสังคม • รับฟังและเคำรพความคิดเห็นของผู้อื่น ผู้เรียนสามารถทำงานและ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี ความสุข


6 การจัดการเรียนรู้หน่วยที่ 1 พื้นฐานการเกษตร รายวิชา อัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วันที่ เดือน พ.ศ. จำนวน 3 ชั่วโมง เรื่องย่อยที่ 1 รู้จักพื้นที่ สาระสำคัญ การปลูกพืชผักในท้องถิ่นตามฤดูกาลผู้ปลูกต้องมีความรู้เกี่ยวกับชนิดและประเภทพืชผักที่ ปลูกวิธีการปลูก การดูแล รักษา ส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช โดยอาศัยหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลและ สำรวจเกี่ยวกับสินค้าทางการเกษตรได้ 2. นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลและ สำรวจเกี่ยวกับความเหมาะสมของพื้นที่ ทางการเกษตรได้ 3. นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลและ สำรวจเกี่ยวกับสภาพอากาศในพื้นที่ทางการเกษตรได้ 4. นักเรียนมีความตระหนักและเห็น คุณค่าของการใช้ทรัพยากรทางการเกษตรอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม วัสดุ อุปกรณ์ - สื่อและแหล่งเรียนรู้ 1. โรงเรียนบ้านไม้ฝาด 2. ชุมชนบ้านกายูคละ อำเภอแว้ง 3 . เอกสารประกอบการเรียนการสอนกิจกรรมชมรม 4. แบบฟอร์มการสำรวจ 5 .สมุดเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture Book) 6. ใบกิจกรรม 7. แหล่งสืบค้นออนไลน กระบวนการเรียนรู้หลัก 1. นักเรียนร่วมกันสำรวจพื้นที่ตลาดในชุมชนเพื่อหา แนวทางในการขายสินค้าทางการเกษตร 2. นักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าทาง การเกษตรและร่วมกันอภิปรายในสิ่งที่ต้องสำรวจ (ราคำพืช ราคำสัตว์ ราคำอาหารแปรรูป พืชตามฤดูกาล พืชนิยม พืชราคำสูง เป็นต้น) 3. นักเรียนร่วมกันสำรวจในพื้นที่ตลาดตามข้อมูลที่สืบค้นเกี่ยวกับสินค้าทางการเกษตร 4 . นักเรียนนำข้อมูลที่ได้ทำสถิติทางข้อมูลเพื่อ เปรียบเทียบสินค้าที่สำรวจได้ในตลาด (แผนภูมิแท่ง กราฟ


7 รูปภาพ สัญลักษณ์) เก็บเป็นข้อมูลทางสถิติบันทึกลงในสมุด เกษตรอัจฉริย ะ (Smart Agriculture Book) เพื่อ ประกอบการตัดสินใจในการเลือกผลิตสินค้าเกษตรกรรม 5. นักเรียนร่วมกันสำรวจพื้นที่ทางการเกษตรในโรงเรียน โดยวัดค่าปัจจัยที่มีผลต่อการทำการเกษตร (ขนาด ของพื้นที่แหล่งน้ำ ภูมิประเทศ ค่า pH ของดินและน้ำ พืชที่มีอยู่ความชื้น ธาตุในดิน) เก็บเป็นข้อมูลทางสถิติ บันทึกลงในสมุด เกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture Book) เพื่อประกอบ การตัดสินใจในการเลือกผลิต สินค้าเกษตรกรรม 6. สำรวจสภาพอากาศในแต่ละฤดูกาล ของบริเวณที่จะ ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ จากแหล่งข้อมูล เช่น - การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ หรือเกษตรกรภายในชุมชน - การสืบค้นแอปพลิเคชัน - การสำรวจทางวิทยาศาสตร์ - การสำรวจโดยใช้บอร์ดอัจฉริยะสมองกลร่วมกับ เซนเซอร์ - แหล่งข้อมูลอื่น ๆ เก็บเป็นข้อมูลทางสถิติบันทึกลงในสมุดเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture Book) เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกผลิตสินค้าเกษตรกรรม การวัดและประเมินผล 1. ประเมินข้อมูลทางการตลาด จากการสำรวจที่บันทึกในสมุดเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture Book) ส่วนที่ 1 การตลาด 2. ประเมินข้อมูลพื้นที่ทางการเกษตร จากการสำรวจที่ บันทึกในสมุดเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture Book) ส่วนที่ 2 พื้นที่ทางการเกษตร 3. ประเมินข้อมูลสภาพอากาศในพื้นที่การเกษตรจากการสำรวจที่บันทึกใน สมุดเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture Book)ส่วนที่ 3 สภาพอากาศในพื้นที่การเกษตร 4. สังเกตพฤติกรรมการตระหนักถึงคุณค่าทรัพยากรทางการเกษตร หลักฐานร่องรอยผลการเรียนรู้ 1. สมุดเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture Book) ส่วน ที่ 1 การตลาด 2. สมุดเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture Book) ส่วน ที่ 2 พื้นที่ทางการเกษตร 3. สมุดเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture Book) ส่วน ที่ 3 สภาพอากาศในพื้นที่การเกษตร 4. แบบสังเกตพฤติกรรมการตระหนักคุณค่าทรัพยากรทางการเกษตร ข้อเสนอแนะ . . .


8 เรื่องย่อยที่ 2 พื้นฐานการเกษตร สาระสำคัญ - ความรู้พื้นฐานด้านการเกษตร วัสดุ อุปกรณ์ - สื่อและแหล่งเรียนรู้ 1. โรงเรียนบ้านไม้ฝาด 2. ชุมชนบ้านกายูคละ อำเภอแว้ง 3 . เอกสารประกอบการเรียนการสอนกิจกรรมชมรม 4. แบบฟอร์มการสำรวจ 5 .สมุดเกษตรอัจฉริยะ (SmartAgriculture Book) 6. ใบกิจกรรม 7. แหล่งสืบค้นออนไลน จุดประสงค์การเรียนรู้ 1 . นักเรียนสามารถอธิบาย ความสำคัญของการเกษตรที่มีต่อ ประเทศ ชุมชน และครอบครัวได้ 2. นักเรียนสามารถอธิบายรูปแบบ การเกษตรของไทยตั้งแต่อดีต จนถึง ปัจจุบัน รวมทั้งบอกข้อดี ข้อเสีย ของแต่ละรูปแบบได้ 3 . นักเรียนสามารถอธิบาย และอภิปรายการนำพืชและสัตว์มาปลูกหรือเลี้ยงโดยอาศัยข้อมูลจาก การสำรวจพื้นที่ภายในสถานศึกษา และชุมชนได้ 4. นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับชนิดพืช และสัตว์เศรษฐกิจ ภายในประเทศได้ 5. นักเรียนสามารถเขียนสรุปแผนผังความคิดเกี่ยวกับความสำคัญของ การเกษตรที่มีต่อประเทศ ชุมชน และครอบครัวได้ กระบวนการเรียนรู้หลัก 1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม “ความสำคัญของการเกษตรต่อประเทศ/ชุมชน/ครอบครัว” โดยให้นักเรียน สรุปเป็นแผนผังความคิดและส่งตัวแทนนำเสนอ 2. ครูและนักเรียนร่วมอภิปรายเรื่อง ความสำคัญของการเกษตรต่อประเทศ/ชุมชน/ครอบครัว 3. ครูบรรยายเรื่อง ประวัติการเกษตรกรรมของประเทศไทย 4. ครูให้ความรู้เรื่อง “รูปแบบและประเภทเกษตรกรรม” เพื่อให้นักเรียนรู้จักรูปแบบการเกษตรในทั้งในอดีต และปัจจุบัน และการแบ่งประเภทของเกษตร เช่น การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การประมง และการทำเกษตร แบบผสมผสาน เพื่อนำมาปรับใช้การการเกษตรของตนเอง หรือครอบครัว ซึ่งแบ่งออกเป็น 4.1 เกษตรอินทรีย์ 4.2 เกษตรธรรมชาติ 4.3 วนเกษตร


9 4.4 เกษตรผสมผสาน 4.5 เกษตรทฤษฏีใหม่ 4.6 เกษตรเคมี 4.7 เทคโนโลยีการเกษตรในปัจจุบัน 4.8 ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง 5. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อวิเคราะห์ ข้อดีข้อเสีย ของรูปแบบการเกษตรแต่ละประเภท และ อภิปราย เลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่การเกษตร ในโรงเรียน 6. แบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาค้นคว้า ชนิดพืช และสัตว์เศรษฐกิจ ภายในประเทศ และชุมชน กลุ่ม 2-3 คน กลุ่ม ละ 1 ชนิด 7. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย และวิเคราะห์เกี่ยวกับ “ชนิดของพืชและสัตว์เศรษฐกิจในประเทศ และชุมชน” ที่เหมาะสมต่อการปลูก หรือเลี้ยงในพื้นที่การเกษตรในโรงเรียน หลักฐานร่องรอยผลการเรียนรู้ 1. แผนผังความคิด เรื่อง “ความสำคัญของการเกษตรต่อประเทศ/ชุมชน/ครอบครัว ” ข้อเสนอแนะ . . .


10 การจัดการเรียนรู้หน่วยที่ 2 พื้นฐานเทคโนโลยีSmart Farm รายวิชา อัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วันที่ เดือน พ.ศ. จำนวน 17 ชั่วโมง เรื่องย่อยที่ 1 พื้นฐานเทคโนโลยี Smart Farm สาระสำคัญ ศึกษาคุณลักษณะและคุณสมบัติทั่วไปของ เซนเซอร์อุปกรณ์ และบอร์ดควบคุมพื้นฐาน ออกแบบและประกอบ ระบบควบคุม Smart Farm โดยใช้ เซนเซอร์และบอร์ด พื้นฐานควบคุมอุปกรณ์ เช่น ระบบตั้งเวลารดน้ำ อัตโนมัติระบบพลังงานทดแทนเบื้องต้น ระบบควบคุม Smart Farm แบบอัตโนมัติและควบคุมผ่านสมาร์ท โฟน (IoT) โดยใช้ข้อมูล สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม (Weather Station) อ้างอิง โดยใช้กระบวนการ STI (Science Technology and Innovation) มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม มีคุณธรรมการ ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติงาน จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะ ความรู้ทางทฤษฎี เกี่ยวกับ Smart Farm 2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกแบบ และติดตั้ง ทดสอบ วิเคราะห์ และบำรุงรักษาอุปกรณ์และอุปกรณ์ได้ 3. เพื่อให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพและ คุณลักษณะเหมาะสมกับการ ปฏิบัติงานอาชีพและการร่วมกับผู้อื่น 4. เพื่อให้ผู้เรียนมีการปฏิบัติงานตามแผนความสามารถในการ แก้ปัญหา การดำเนินงาน วัสดุ อุปกรณ์ 1. อุปกรณ์เชื่อมต่อ เช่น สายไฟ จุดยึด เป็นต้น - 2. บอร์ดควบคุม 3. Water pump 4. Relay module 5V. 5. LED Light Glow 6. LCD I2C 8. Humidity Sensor 9. Moisture Sensor 10. แหล่งจ่ายไฟ 11. App เชื่อมโยง IoT


11 สื่อและแหล่งเรียนรู้ 1. โรงเรียนบ้านไม้ฝาด 2. ชุมชนบ้านกายูคละ อำเภอแว้ง 3 . เอกสารประกอบการเรียนการสอนกิจกรรมชมรม 4. แบบฟอร์มการสำรวจ 5 .สมุดเกษตรอัจฉริยะ (SmartAgriculture Book) 6. ใบกิจกรรม 7. แหล่งสืบค้นออนไลน กระบวนการเรียนรู้หลัก 1. ศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเกษตรที่ ทันสมัย (เช่น ภูมิสารสนเทศทางการเกษตร) (1 คำบ) 2. ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับเซนเซอร์ อุปกรณ์ และบอร์ด พื้นฐานการเขียนโปรแกรมควบคุม IoT (10 คำบ) 3. ออกแบบและสร้างต้นแบบระบบควบคุม Smart Farm ตามที่ได้ออกแบบและทดลองใช้งาน (4 คำบ) 4. นำเสนอ ประเมินผล วิเคราะห์ สรุปผลการทดลอง/ แนวทางการแก้ปัญหา แนวทางพัฒนาต่อยอด (2 คำบ) การวัดและประเมินผล 1. ใบความรู้ เกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเกษตรที่ทันสมัย 2. ใบความรู้ 3. แบบบันทึกผล 4. นำเสนอ หลักฐานร่องรอยผลการเรียนรู้ 1. ใบงาน 2. ใบงาน แบบทดสอบ 3. ชิ้นงาน ต้นแบบ 4. แบบประเมิน ข้อเสนอแนะ . .


12 การจัดการเรียนรู้หน่วยที่ 3 ปฏิบัติการอัจฉริยะเกษตรประณีต รายวิชา อัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วันที่ เดือน พ.ศ. จำนวน 10 ชั่วโมง เรื่อง กระบวนการวางแผน ออกแบบ และดำเนินการปฏิบัติอัจฉริยะเกษตรประณีต สาระสำคัญ วิเคราะห์วางแผน ออกแบบพื้นที่ ในการทำเกษตรอัจฉริยะลงมือปฏิบัติ โดยใช้เทคโนโลยี Smart Farm รวบรวมพัฒนาและขยายผล จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลและ สำรวจเกี่ยวกับสินค้าทางการเกษตรได้ 2. นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลและ สำรวจเกี่ยวกับความเหมาะสมของพื้นที่ ทางการเกษตรได้ 3. นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลและ สำรวจเกี่ยวกับสภาพอากาศในพื้นที่ทางการเกษตรได้ 4. นักเรียนมีความตระหนักและเห็น คุณค่าของการใช้ทรัพยากรทางการเกษตรอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม วัสดุ อุปกรณ์ 1. อุปกรณ์โรงเรือน 2. อุปกรณ์การเกษตร 3. อุปก รณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับ smart farm 4. อุปกรณ์การเขียนแบบ สื่อและแหล่งเรียนรู้ 1. Internet 2. ชุดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 3. อุปกรณ์การเกษตร 4. ใบงาน 5. แหล่งเรียนรู้ เช่น ห้องสมุดหนังสือเรียน เรียนรู้นอกสถาน 6. โปรแกรม Arduino /Blink กระบวนการเรียนรู้หลัก 1. วิเคราะห์ สภาพบริบทของพื้นที่ที่จะจัดทำ Smart Farm 2. ออกแบบแผนผัง ฟาร์มอัจฉริยะ 3. ลงมือปฏิบัติ ตามแผนผังที่ออกแบบไว้


13 การวัดและประเมินผล 1. แบบสังเกต 2. แบบประเมินผลงาน 3. แบบประเมินการนำเสนอ หลักฐานร่องรอยผลการเรียนรู้ ชิ้นงานนักเรียน ข้อเสนอแนะ . .


14 การจัดการเรียนรู้หน่วยที่ 4 พื้นฐานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รายวิชา อัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วันที่ เดือน พ.ศ. จำนวน 10 ชั่วโมง เรื่องย่อยที่ 1 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ สาระสำคัญ การแปรรูปผลผลิต เป็นขั้นตอนและวิธีการใน การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับ ผู้บริโภค โดยใช้หลักการ การใช้ความร้อน การใช้ความเย็น การทำแห้ง การใช้น้ำตาล การหมักดอง การฉาย รังสี การใช้สารเคมี เน้นความสะอาดปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม จุดประสงค์การเรียนรู้ 1.รู้เข้าใจวางแผนในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผู้บริโภค เน้นความสะอาดปลอดภัย และเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม 2.ปฏิบัติในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผู้บริโภค เน้นความสะอาดปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วัสดุ อุปกรณ์ - คอมพิวเตอร์ - โปรแกรมออกแบบ 3d sketchup สื่อและแหล่งเรียนรู้ - ฟาร์มตัวอย่าง - ใบความรู้ ใบกิจกรรม - สื่ออินเตอร์เน็ต - ปราชญ์ชาวบ้าน - แหล่งเรียนรู้ในชุมชน กระบวนการเรียนรู้หลัก 1. เรียนรู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นการแปรรูปผลผลิต 2. สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล ผลผลิตในฟาร์มและตัดสินใจเลือกวัตถุดิบในการแปรรูป 3. สืบค้นหาวิธีการที่เหมาะสมกับวัตถุดิบที่เลือกและตัดสินใจวิธีการที่ดีที่สุด 4. วางแผนและออกแบบ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ 5. ปฏิบัติการแปรรูปผลิตภัณฑ์ 6. สรุปผล จัดทำรายงาน และนำเสนอการปฏิบัติการ แปรรูปผลิตภัณฑ์ในรูปแบบโครงงาน


15 การวัดและประเมินผล 1. ตรวจผลิตภัณฑ์ 2. ประเมินโครงงาน 3. สังเกตพฤติกรรม ข้อเสนอแนะ . .


16 เรื่องย่อยที่ 2 การออกแบบบรรจุภัณฑ์พัฒนาต่อยอดผลผลิต สาระสำคัญ การใช้ศาสตร์และศิลป์เพื่อการบรรจุสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์ จะต้องปกป้องตัวสินค้าให้อยู่ในสภาพที่ดีจากแหล่งผลิตจนถึง มือลูกค้าโดยไม่ให้ได้รับความเสียหาย มีต้นทุน ของการผลิตที่ ไม่สูงจนเกินไป จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. รู้ เข้าใจ และ วางแผนการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ผลิตภัณฑ์ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2. ปฏิบัติการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผู้บริโภค และเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม วัสดุ อุปกรณ์ - คอมพิวเตอร์ - โมเดลกระดาษ - สื่อและแหล่งเรียนรู้ - ใบความรู้ ใบกิจกรรม - สื่ออินเตอร์เน็ต - ปราชญ์ชาวบ้าน - แหล่งเรียนรู้ในชุมชน กระบวนการเรียนรู้หลัก 1. เรียนรู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตราสินค้าและโปรแกรมกราฟิก ในการสร้าง 2. เรียนรู้ลิขสิทธิ์ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ และการให้เครดิตเจ้าของผลงาน 3. สืบค้นหาวิธีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตราสินค้าที่ เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์และตัดสินใจเลือกรู ปแบบบรรจุ ภัณฑ์ และใช้โปรแกรมกราฟิก ที่เหมาะสมที่สุด 4. วางแผนและออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า 5. ปฏิบัติการสร้างบรรจุภัณฑ์ และตราสินค้า 6. สรุปผล และนำเสนอการออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า **หมายเหตุ การเรียนรู้ในเนื้อหานี้สามารถบูรณาการ การจัดการเรียนรู้กับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี( วิทยาการคำนวณ) การวัดและประเมินผล 1. ตรวจบรรจุภัณฑ์ และตราสินค้า 2. สังเกตพฤติกรรม


17 หลักฐานร่องรอยผลการเรียนรู้ - ใบกิจกรรม - บรรจุภัณฑ์ ข้อเสนอแนะ . .


18 เรื่องย่อยที่ 3 การใช้เทคโนโลยีเพื่อการตลาดและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ สาระสำคัญ การประกอบธุรกิจการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ หรือ คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นช่องทางที่มีความสำคัญที่สุดในปัจจุบัน โดยมีระบบ อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการ เชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขายให้สามารถทำการค้าระหว่างกันได้ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. รู้ เข้าใจ และ วางแผนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการตลาด(E-Commerce)และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 2. จัดจำหน่ายสินค้าทางสื่อเทคโนโลยีที่จัดสร้างขึ้น วัสดุ อุปกรณ์ - คอมพิวเตอร์ - โทรศัพท์มือถือ สื่อและแหล่งเรียนรู้ - ใบความรู้ ใบกิจกรรม - สื่ออินเตอร์เน็ต - ห้องคอมพิวเตอร์ กระบวนการเรียนรู้หลัก 1. เรียนรู้เกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับ (E-Commerce) 2. เรียนรู้ลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และการให้ เครดิตเจ้าของผลงาน 3. สืบค้นหาวิธีการสร้างสื่อออนไลน์ในการจัดจำหน่ายสินค้า 4. วางแผนและออกแบบสื่อออนไลน์ที่เหมาะสมกับ ผลิตภัณฑ์และกลุ่มเป้าหมาย 5. สร้างสื่อออนไลน์ในการขาย (facebook line shop website โรงเรียน ฯลฯ) 6. จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในสื่อออนไลน์ที่สร้างขึ้น 7. จัดทำบัญชี ราย รับ-รายจ่าย และสรุปผลการ ประกอบการ **หมายเหตุ การเรียนรู้ในเนื้อหานี้สามารถบูรณาการการ จัดการเรียนรู้กับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี การวัดและประเมินผล 1. ตรวจสื่อออนไลน์ 2. ตรวจบัญชีรายรับ-รายจ่าย 3. สังเกตพฤติกรรม


19 หลักฐานร่องรอยผลการเรียนรู้ - ใบกิจกรรม - สื่อออนไลน์ - บัญชีรายรับ-รายจ่าย ข้อเสนอแนะ . .


20 การจัดการเรียนรู้หน่วยที่ 5 สมรรถนะอาชีพการเป็นผู้ประกอบการและการจัดทำแผนธุรกิจ รายวิชา อัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วันที่ เดือน พ.ศ. จำนวน 10 ชั่วโมง เรื่องย่อยที่ 1 คุณสมบัติและจรรยาบรรณของผู้ประกอบการที่ดี สาระสำคัญ การนำคุณสมบัติและจรรยาบรรณของผู้ประกอบการ ที่ดีมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจของตนเองร่วมกับการ จัดทำแผนธุรกิจ ซึ่งเป็นเครื่องมือของธุรกิจที่ผู้ประกอบการสามารถ ใช้ในการกำหนดขั้นตอน และวางแผนการ ดำเนินธุรกิจอย่างมีระบบ และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ เพื่อนำไปสู่ ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนสามารถบอกคุณสมบัติและจรรยาบรรณของผู้ประกอบการที่ดีได้ 2. นักเรียนสามารถอธิบายความสำคัญของการปฏิบัติตนตามคุณสมบัติและจรรยาบรรณของผู้ประกอบการณ์ที่ ดีได้ 3. นักเรียนสามารถนำคุณสมบัติและจรรยาบรรณของผู้ประกอบการที่ดีมาประยุกต์ใช้ใช้ในด้านต่าง ๆ วัสดุ อุปกรณ์ - คอมพิวเตอร์ สื่อและแหล่งเรียนรู้ - ใบความรู้ ใบกิจกรรม - สื่ออินเตอร์เน็ต - ห้องคอมพิวเตอร์ กระบวนการเรียนรู้หลัก 1. เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติและจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบการที่ดี 2. วิเคราะห์กระบวนการในการนำคุณสมบัติและจรรยาบรรณของผู้ประกอบการที่ดีมาปรับใช้ในการ ประกอบ ธุรกิจของตนเองรวมถึงในชีวิตประจำวัน 3. วิเคราะห์คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ และนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการประกอบ ธุรกิจของตนเอง


21 การวัดและประเมินผล 1. แบบสังเกต 2. แบบประเมินผลงาน 3. แบบประเมินการนำเสนอ หลักฐานร่องรอยผลการเรียนรู้ - ใบกิจกรรม - แผนผังความคิด ข้อเสนอแนะ . .


22 เรื่องย่อยที่ 2 การจัดทำแผนธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ สาระสำคัญ การวางแผนธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ เป็นหัวใจสำคัญ ในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะต้องมี กระบวนการในการวิเคราะห์ภาพรวมของธุรกิจแผนการตลาดแผนการบริหารจัดการและแผนการดำาเนินงาน แผนการผลิต แผนการเงินและแผนฉุกเฉิน รวมถึงการบริหารบุคลากร ให้มีประสิทธิภาพ และมีความละเอียด รอบคอบในการวางแผน จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนสามารถอธิบาย ความหมายและความสำคัญของแผนธุรกิจได้ 2. นักเรียนสามารถเขียนแผนธุรกิจโดยนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาวางแผนการดำเนินธุรกิจอย่างมีระบบ 3. นักเรียนสามารถแก้ปัญหาที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจได้ 4. นักเรียนสามารถวิเคราะห์สถานการณ์เกี่ยวกับแผนธุรกิจได้ วัสดุ อุปกรณ์ เครืองคอมพิวเตอร์ - สื่อและแหล่งเรียนรู้ - ใบงาน - สื่ออินเตอร์เน็ต - ห้องคอมพิวเตอร์ -แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น กระบวนการเรียนรู้หลัก 1. เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของแผนธุรกิจ 2. เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของแผนธุรกิจ 3. นักเรียนร่วมกันลงมือเขียนแผนธุรกิจ โดยใช้องค์ประกอบต่าง ๆ ประกอบการเขียน 3. สำรวจความถนัดของแต่ละคนเพื่อแบ่งหน้าที่ให้สามารถดำเนินการประกอบธุรกิจตามแผนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยยึดหลักของคุณสมบัติและจรรยาบรรณของผู้ประกอบการที่ดี 4. ปฏิบัติการตามแผนธุรกิจที่ได้วางไว้ 5. สรุปผล จัดทำรายงานและนำเสนอผลการปฏิบัติงาน ตามแผนธุรกิจที่ได้วางไว้ การวัดและประเมินผล 1. แบบสังเกต 2. แบบประเมินผลงาน 3. แบบประเมินการนำเสนอ


23 หลักฐานร่องรอยผลการเรียนรู้ - ใบกิจกรรม - แบบสังเกตพฤติกรรม - แผนธุรกิจ - รายงานผลการดำเนินงานตามแผนธุรกิจ ข้อเสนอแนะ . .


Click to View FlipBook Version