The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนการจัดการเรียนรู้ ข้างขึ้น ข้างแรมและน้ำขึ้นน้ำลง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Suchat Boonsanong, 2023-09-05 08:32:31

แผนการจัดการเรียนรู้ ข้างขึ้น ข้างแรมและน้ำขึ้นน้ำลง

แผนการจัดการเรียนรู้ ข้างขึ้น ข้างแรมและน้ำขึ้นน้ำลง

แผนการจัดการเรียนรู้ที่28 เรื่อง การเกิดข้างขึ้น ข้างแรม รหัสวิชา ว23101 เวลา 3 ชั่วโมง หน่วยการเรียนรู้ที่4 ชื่อหน่วยการเรียนรู้ระบบสุริยะของเรา รวม 15 ชั่วโมง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่1 สาระที่ 3 ชื่อสาระ วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ มาตรฐาน ว 3.1 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว 3.1 เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการเกิด และวิวัฒนาการของเอกภพกาแล็กซี ดาวฤกษ์ และระบบสุริยะ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ ตัวชี้วัด ว 3.1 ม.3/3 สร้างแบบจำลองที่อธิบายการเกิดข้างขึ้น ข้างแรม การเปลี่ยนแปลงเวลาการขึ้นและตก ของดวงจันทร์ และการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด 1) ดวงจันทร์โคจรรอบโลก โลกและดวงจันทร์โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์รับแสงจากดวงอาทิตย์ ครึ่งดวงตลอดเวลา เมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลกได้หันส่วนสว่างมายังโลกแตกต่างกัน จึงทำให้คนบนโลกสังเกต ส่วนสว่างของดวงจันทร์แตกต่างไปในแต่ละวันเกิดเป็นข้างขึ้นข้างแรม 2) ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในทิศทางเดียวกันกับที่โลกหมุนรอบตัวเอง จึงทำให้เห็นดวงจันทร์ขึ้นช้าไป ประมาณวันละ 50 นาที 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1) ด้านความรู้ (K) นักเรียนอธิบายการเกิดข้างขึ้น ข้างแรมได้ 2) ด้านทักษะ (P) นักเรียนใช้ทักษะการสร้างแบบจำลอง ออกแบบและเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ เพื่อสร้างแบบจำลองที่อธิบายการเกิดข้างขึ้น ข้างแรมได้ 3) ด้านเจตคติ (A) นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการใช้อุปกรณ์การทำกิจกรรมได้ 4. คุณลักษณะผู้เรียน 4.1 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ รักชาติศาสน์กษัตริย์ อยู่อย่างพอเพียง ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย รักความเป็นไทย ใฝ่เรียนรู้ มีจิตสาธารณะ 5. ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ความสามารถในการคิด: นักเรียนสามารถวิเคราะห์และอธิบายการเกิดข้างขึ้น ข้างแรม ความสามารถในการแก้ปัญหา: นักเรียนสามารถคิดแก้ปัญหาระหว่างการทำกิจกรรมกลุ่มได้ 6. สาระการเรียนรู้ บนท้องฟ้ายามค่ำคืนจะเห็นดวงดาวต่าง ๆ มากมาย รวมถึงดวงจันทร์ซึ่งเป็นบริวารของโลก โดยดวงจันทร์จะปรากฏมีขนาดใหญ่และสว่างมากเมื่อเทียบกับดวงดาวต่างๆ เนื่องจากอยู่ใกล้โลกจะพบว่า ในเวลาเดียวกันของทุกคืน ตำแหน่งของดวงจันทร์บนท้องฟ้าจะไม่อยู่ที่เดิมและส่วนสว่างหรือรูปร่างของ


ดวงจันทร์จะไม่เหมือนเดิม ปรากฏการณ์ที่เห็นดวงจันทร์มีเสี้ยวสว่างแตกต่างกัน เรียกว่า ข้างขึ้นข้างแรมหรือดิถี จันทร์ (Phases of the moon) การที่คนบนโลกเห็นดวงจันทร์ได้ ทั้ง ๆ ที่ดวงจันทร์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ก็เพราะดวงจันทร์สะท้อน แสงที่ได้รับจากดวงอาทิตย์มายังโลก โดยดวงจันทร์ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์และมีส่วนสว่างอยู่ครึ่งดวงเท่ากัน ทุกวัน แต่การที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกทำให้คนบนโลกเห็นแสงสะท้อนจากดวงจันทร์แตกต่างกัน โดย ดวงจันทร์ใช้เวลาในการโคจรรอบโลกประมาณ 29.5 วัน การที่เราสังเกตเห็นดวงจันทร์สว่างเต็มดวง แล้วส่วนสว่างค่อย ๆ ลดลงกระทั่งมืดทั้งดวง เรียก ช่วงดังกล่าวว่า ข้างแรม (waning) วันที่ดวงจันทร์มืดทั้งดวง เรียกวันแรม 15 ค่ำ หรือวันแรม 14 ค่ำ หรือ จันทร์ดับ (new moon) ซึ่งเป็นวันที่ดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ หลังจากนั้นดวงจันทร์จะค่อย ๆ สว่างจนเต็มดวงอีกครั้ง เรียกเช่นนี้ว่า ข้างขึ้น (waxing) โดยให้วันที่ดวงจันทร์สว่างเต็มดวงเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ หรือเรียกว่า จันทร์เพ็ญ (full moon) ซึ่งเป็นวันที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ส่วนวันที่ดวง จันทร์เคลื่อนที่ทำมุมฉากกับโลกและดวงอาทิตย์ จะทำให้เราเห็นดวงจันทร์สว่างครึ่งดวงเรียกวันแรม 8 ค่ำ หรือ วันขึ้น 8 ค่ำ น้ำขึ้นน้ำลง เป็นปรากฏการณ์ที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และลดลงเป็นช่วงเวลาในแต่ละวัน โดยเกิดจาก อิทธิพลของแรงดึงดูดระหว่างมวลของดวงจันทร์และโลก น้ำขึ้นจะเกิดบนผิวโลกบริเวณที่มีตำแหน่งใกล้ดวง จันทร์และตรงกันข้ามกับตำแหน่งของดวงจันทร์ ส่วนน้ำลงเกิดในพื้นที่บนโลกที่มีพื้นที่ตั้งฉากกับตำแหน่งของ ดวงจันทร์ เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองพื้นที่บนโลกที่มีพื้นที่ตั้งฉากกับตำแหน่งดวงจันทร์เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองพื้นที่ บนโลกที่มีตำแหน่งใกล้ ตรงกันข้าม หรือตั้งฉากกับดวงจันทร์จะมีการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้พื้นที่หนึ่งๆ เกิดน้ำขึ้น น้ำลง วันละ 2 ครั้ง โดยปกติน้ำทะเลขึ้นวันละ 2 ครั้ง และลงวันละ 2 ครั้ง โดยมีช่วงเวลาระหว่างการขึ้น-การลงประมาณ 6 ชั่วโมง 12 นาที ทำให้น้ำขึ้นครั้งแรกถึงครั้งถัดไปห่างกันประมาณ 12 ชั่วโมง 25 นาที และวันถัดไป น้ำจะขึ้นช้าวันละประมาณ 50 นาที เพราะดวงจันทร์เคลื่อนไปอยู่ทางตะวันออกจุดเดิมเกือบ 13 องศา การที่วัตถุใดๆ จะเคลื่อนที่ได้จะต้องมีแรงมากระทำกับวัตถุนั้น ในกรณีนี้น้ำในส่วนต่างๆ ของโลก ถูกทำให้เคลื่อนที่โดยแรงโน้มถ่วง(Gravity) ที่เกิดขึ้นจากดวงจันทร์ แรงโน้มถ่วงจากทางโลกและดวงจันทร์ กระทำซึ่งกันและกัน ทำให้ดวงจันทร์(คล้ายกับ)โคจรรอบโลก หรือถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องก็คือ ทำให้โลกและดวง จันทร์โคจรรอบศูนย์กลางมวลรวมกัน แต่แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่มีขนาดแปรผกผันกับค่ากำลังสองของระยะห่าง ระหว่างวัตถุ ดังนั้น แรงโน้มถ่วงที่กระทำระหว่างโลกและดวงจันทร์ จึงมีค่าไม่เท่ากันในแต่ละตำแหน่งบนพื้นผิว ของโลกและดวงจันทร์ เรียกว่า เป็นแรงไทดัล (Tidal force) แรงไทดัลทำให้รูปร่างของโลกและดวงจันทร์ไม่เป็นทรงกลมแน่นอน ทำให้โลกมีรูปร่างแป้น คือมีรัศมีใน แนวเส้นศูนย์สูตรมากกว่ารัศมีในแนวขั้วโลกเล็กน้อย และทำให้ดวงจันทร์หันด้านเดียวเข้าหาโลกตลอดเวลา มีแก่นกลางที่ไม่อยู่ในตำแหน่งใจกลาง และด้วยเหตุนี้ น้ำที่มีอยู่ถึง 2 ใน 3 2 ใน 3 ของพื้น และเป็นของไหล (Fiuid) เคลื่อนที่ไหลเวียนไปทั่วทั้งโลก จึงแสดงผลกระทบจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ให้เห็นอย่างชัดเจน น้ำที่อยู่ด้านใกล้กับดวงจันทร์จะถูกแรงดึงดูดดึงเข้าไปหาดวงจันทร์มากกว่าน้ำที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง ทำให้ด้านที่อยู่ใกล้กับดวงจันทร์เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้น(High tide) แต่ในขณะเดียวกันที่ด้านตรงข้าม กันบนโลก ก็เกิดเช่นกัน ในขณะที่น้ำขึ้นบริเวณที่อยู่ระหว่างน้ำขึ้นทั้งสองฝั่ง จะเกิดปรากฏการณ์น้ำลง (Low tide) เกิดขึ้นพร้อมกันอีกสองบริเวณบนโลกที่อยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับเส้นที่ลากระหว่างดวงจันทร์และ ตำแหน่งที่น้ำขึ้นทั้งสองผ่านจุดศูนย์กลางของโลก


ดวงอาทิตย์ก็มีบทบาทต่อการเกิดน้ำขึ้นน้ำลงเช่นกัน เพราะดวงอาทิตย์มีแรงโน้มถ่วง แต่เนื่องจาก ดวงอาทิตย์อยู่ไกลจากโลกมาก ผลของแรงไทดัลของดวงอาทิตย์ที่มีต่อการเกิดน้ำขึ้นน้ำลงบนโลก จึงมีเพียง ครึ่งหนึ่งของผลจากดวงจันทร์เท่านั้น ในวันเพ็ญ (ขึ้น 15 ค่ำ) หรือวันเดือนมืด (แรม 15 ค่ำ) ดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์จะอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน ทำให้แรงไทดัลจากดวงอาทิตย์และดวงอาทิตย์เสริมหรือ หักล้างกัน ดังนั้นในวันทั้งสองนี้ น้ำจึงขึ้นสูงที่สุดและลดลงต่ำที่สุด เรียกว่าเป็น น้ำเกิด(Spring tide) น้ำจะขึ้น สูงสุดและลงต่ำสุดเดือนละ 2 วัน ส่วนในวันขึ้นขึ้น 7 (หรือ 8 ค่ำ) และแรม 7 ( หรือ 8 ค่ำ) ดวงจันทร์จะทำมุมตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ เมื่อมองจากโลก ทำให้แรงไทดัลจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์หักล้างกัน น้ำจึงขึ้นต่ำที่สุดและลงน้อยที่สุด เมื่อ มีความแตกต่างของระดับน้ำที่ขึ้นและลงน้อยที่สุด เรียกว่าเป็น น้ำตาย(Neap tide) ซึ่งจะเกิดขึ้นเดือนละ 2 วัน เช่นกัน 7 .การส่งเสริมอัตลักษณ์โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา 1.ความรับผิดชอบ 2.ความซื่อสัตย์ 8. การบูรณาการ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1. ความมีเหตุผล นักเรียนรู้จักรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น มีมารยาทในการพูดสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สามารถสืบค้นความรู้ที่เกี่ยวข้องทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายผลการทดลองที่เกิดขึ้นได้ 2. เงื่อนไขความรู้ นักเรียนนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการอธิบาย อภิปรายผลการทดลองที่ เกิดขึ้นได้ และสามารถสร้างแบบจำลองการเกิดข้างขึ้น ข้างแรมและน้ำขึ้นน้ำลงได้ 3. เงื่อนไขคุณธรรม นักเรียนมีมารยาทในการพูด มีมารยาทในการฟัง รู้จักรักษาเวลาในการพูด ยอมรับฟังความคิดเห็น ของคนอื่น รู้จักให้เกียรติผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย มีความสามัคคีช่วยเหลือกัน ได้ ทำงานเป็นกลุ่มและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 9. กิจกรรมการเรียนรู้ ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycles: 5Es) (3 ชั่วโมง; 180นาที) ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engagement) (20 นาที) 1) ครูให้นักเรียนทายภาพดวงจันทร์ที่ครูถ่ายได้ในแต่ละวันว่าแต่ละภาพตรงกับวันข้างขึ้นหรือ ข้างแรม 2) ครูให้นักเรียนแลกเปลี่ยนกันภายในกลุ่มด้วยคำถามว่า เพราะเหตุใด คนบนโลกถึงมองเห็น ดวงจันทร์ในแต่ละวันไม่เหมือนกัน 3) ครูสุ่มนักเรียนนำเสนอแลกเปลี่ยนกันและนำเข้าสู่บทเรียนเรื่อง ข้างขึ้น ข้างแรมเกิดขึ้นได้ อย่างไร มีความสัมพันธ์กับน้ำขึ้น น้ำลงหรือไม่ ขั้นที่2 ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) (50 นาที) 4) ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการชมวิดิโอเรื่อง ปรากฏการณ์ ข้างขึ้นข้างแรม จากเว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=T1lPT-zsjIs และแลกเปลี่ยนพูดคุยถึง ปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์นี้ ด้วยคำถามดังนี้ - ดวงจันทร์จะปรากฏบนท้องฟ้าในเวลากลางคืนเท่านั้น (ไม่ถูกต้อง) - ในรอบ 1 เดือน เราจะเห็นดวงจันทร์มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน (ถูกต้อง)


- ถ้าระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางของดาว 2 ดวงมากขึ้น แรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อกันจะมาก ขึ้นตามไปด้วย (ไม่ถูกต้อง) 5) ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียน และทบทวนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิด จากการหมุนรอบตัวเองของโลก โดยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจการเกิดปรากฏการณ์การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ กลางวัน กลางคืน และการกำหนดทิศ และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ที่สัมพันธ์กับโลกและ ดวงอาทิตย์ รวมถึงเวลาที่ดวงจันทร์ใช้ในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างกลับมาเป็นรูปร่างเดิม และให้นักเรียนร่วมกัน อภิปรายว่า เหตุใดในบางวันเราจึงมองเห็นดวงจันทร์ในเวลากลางวัน 6) ครูเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมเรื่อง ข้างขึ้น ข้างแรม เกิดขึ้นได้อย่างไร โดยใช้คำถามว่า การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์รอบโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์อะไรอีกบ้าง โดยให้นักเรียนตอบจากประสบการณ์เดิม และแนวคิดของตนเอง 5) นักเรียนอ่านชื่อกิจกรรมตอนที่ 1 ข้างขึ้น ข้างแรม จุดประสงค์ และวิธีดำเนินกิจกรรมและ ครูตรวจสอบความเข้าใจการอ่าน โดยใช้คำถามดังต่อไปนี้ - กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (ข้างขึ้น ข้างแรม) - กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อะไร (สร้างแบบจำลองอธิบายการเกิดข้างขึ้น ข้างแรม) - วิธีดำเนินกิจกรรมมีขั้นตอนโดยสรุปอย่างไร (วาดภาพลักษณะของดวงจันทร์ทั้งหมด 8 ภาพ โดยประกอบด้วย ข้างขึ้น 4 ภาพ ข้างแรม 4 ภาพ และให้นักเรียนระบุข้อมูลความสว่างของ LED (แทนระดับน้ำ ที่ขึ้นและลงในแต่ละวัน) ในแต่ละภาพดวงจันทร์ในแต่ละวัน จากนั้นคาดคะเนและบันทึกว่าเมื่อ ดวง จันทร์โคจรรอบโลก ผู้สังเกตบนโลกและนอกโลกจะมองเห็นดวงจันทร์มีส่วนสว่างและส่วนมืดอย่างไร ทำ กิจกรรมเพื่อตรวจสอบการคาดคะเน โดยให้ตัวแทนนักเรียนแต่ละกลุ่มกรอกข้อมูลวันและเวลาที่สังเกตผ่านเว็บ แอพ เช่น ข้างขึ้น 15 ค่ำเวลา 12.00 น. เป็นต้น จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวาดภาพลักษณะดวงจันทร์ที่ สังเกตเห็นและจดบันทึกข้อมูลน้ำขึ้น น้ำลงจาก LED ที่สว่าง แทนระดับความสูงของน้ำที่ขึ้นลงในแต่ละวัน - นักเรียนต้องสังเกตหรือรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง (สังเกตรูปร่างของดวงจันทร์ที่มองเห็นเมื่อ สังเกตจากมุมมองเดียวกับผู้สังเกตที่อยู่บนโลก (ผู้สังเกตขณะต่อแถว) และสังเกตความสว่างของ LED 6) ครูแนะนำนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่ควรระวังในการทำกิจกรรม เช่น การกรอกข้อมูลวันและ เวลาในเว็บแอพ ต้องกรอกข้อมูลเวลาในรูปแบบ 12.00 เท่านั้น นอกจากนั้น ให้นักเรียนช่วยกันถ่ายภาพหรือถ่ายวิดีโอการสังเกตดวงจันทร์ทั้งขณะต่อแถวและออกจากแถว 7) ให้นักเรียนแต่ละคนทดลองด้วยสื่อเสมือนจริงเรื่อง ข้างขึ้นข้างแรม จาก https://www.scimath.org/resources/10594/index.html โดยให้นักเรียนบันทึกลักษณะของดวงจันทร์ใน แต่ละตำแหน่งดังนี้ - ตำแหน่งที่ 1 แรม 15 ค่ำ - ตำแหน่งที่ 2 ขึ้น 4 ค่ำ - ตำแหน่งที่ 3 ขึ้น 8 ค่ำ - ตำแหน่งที่ 4 ขึ้น 12ค่ำ - ตำแหน่งที่ 5 ขึ้น 15 ค่ำ - ตำแหน่งที่ 6 แรม 4 ค่ำ - ตำแหน่งที่ 7 แรม 8 ค่ำ - ตำแหน่งที่ 8 แรม 12 ค่ำ


7) นักเรียนแต่ละกลุ่มตอบคำถามท้ายกิจกรรม และร่วมกันสรุปผลของกิจกรรม เพื่อให้ได้ ข้อสรุปจากกิจกรรมว่า เมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลก ถ้าสังเกตดวงจันทร์จากบนโลกจะเห็นดวงจันทร์มี การเปลี่ยนแปลงรูปร่างไป โดยช่วงที่ดวงจันทร์มีส่วนสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนสว่างเต็มดวง เรียกว่า ข้างขึ้น และ ช่วงเวลาที่ส่วนสว่างค่อย ๆ ลดลงจนมืดทั้งดวงอีกครั้ง เรียกว่า ข้างแรม ถ้าสังเกตดวงจันทร์นอกโลก ทุกตำแหน่ง ที่ดวงจันทร์โคจรไป ดวงจันทร์จะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ครึ่งดวงเสมอ เพราะดวงจันทร์มีลักษณะคล้าย ทรงกลม แต่การที่ดวงจันทร์โคจรเปลี่ยนตำแหน่งไปทำให้คนบนโลกมองเห็นรูปร่างของดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงไป ทุกวันใน 1 เดือน เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ข้างขึ้น ข้างแรม ซึ่งจะเกิดซ้ำเป็นวัฏจักรเช่นนี้ทุกเดือน 8) ครูเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมตอนที่ 2 น้ำขึ้นน้ำลงเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยให้นักเรียนชมวิดิโอ น้ำขึ้นน้ำลงจากเว็บไซต์ (https://www.youtube.com/watch?v=prxoiiTSF4U) และครูใช้คำถามว่า การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์จากที่รับชมวิดิโอทำให้เกิดปรากฏการณ์อะไรบนโลกอีกบ้าง 9) นักเรียนอ่านชื่อกิจกรรม จุดประสงค์ และวิธีดำเนินกิจกรรม - กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (น้ำขึ้น น้ำลง) - กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อะไร (สร้างแบบจำลองที่อธิบายการเกิดน้ำขึ้น น้ำลง) - วิธีดำเนินกิจกรรมมีขั้นตอนโดยสรุปอย่างไร (บันทึกระดับน้ำบนผิวลูกโลกจากการสังเกต จำนวนหลอด LED ที่สว่าง ของดวงจันทร์แต่ละวัน - นักเรียนต้องสังเกตหรือรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง (ระบุตำแหน่งระดับความสูงของน้ำในแต่ละ วัน ตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ จนครบทั้ง 8 ตำแหน่ง จากนั้นใช้แบบจำลองสังเกตการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำใน 1 วัน) 10) ครูให้นักเรียนแต่ละคนตรวจสอบความเข้าใจโดยใช้การทดลองด้วยสื่อเสมือนจริงเรื่อง น้ำขึ้น น้ำลง จากเว็บไซต์ https://www.scimath.org/resources/10596 11) ครูให้นักเรียนสร้างแบบจำลองโดยวาดภาพตำแหน่งและลักษณะของดวงจันทร์ในแต่ละวัน พร้อมระบุข้อมูลระดับน้ำขึ้นน้ำลง ลงในตารางบันทึกผล ขั้นที่3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) (40 นาที) 12) ทำกิจกรรมตอนที่ 1 ข้างขึ้นข้างแรมสรุปได้ดังนี้ - ปรากฏการณ์ข้างขึ้น ข้างแรมเกิดขึ้นได้อย่างไร (ปรากฏการณ์ข้างขึ้น ข้างแรม เกิดจากการที่ ดวงจันทร์โคจรรอบโลกและโลกกับดวงจันทร์ก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์จะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ครึ่งดวงเสมอ เพราะมีลักษณะคล้ายทรงกลม แต่การเปลี่ยนตำแหน่งของดวงจันทร์ขณะโคจรรอบโลกทำให้คน บนโลกมองเห็นบริเวณที่ได้รับแสงหรือส่วนสว่างของดวงจันทร์เปลี่ยนไป จึงมองเห็นปรากฏการณ์ข้างขึ้น ข้างแรม หรือมองเห็นดวงจันทร์บนท้องฟ้ามีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไป) 13) ทำกิจกรรมตอนที่ 2 น้ำขึ้น น้ำลงสรุปได้ดังนี้ - ในแต่ละวันระดับน้ำมีการเปลี่ยนแปลง โดยระดับน้ำจะสูงขึ้นวันละ 2 ครั้ง เรียกว่า ช่วงน้ำขึ้น และระดับน้ำลดลงวันละ 2 ครั้ง เรียกว่า ช่วงน้ำลง โดยน้ำขึ้น น้ำลง เกิดจากผลของแรงไทดัลของ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแรงที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดระหว่างโลก กับดวงจันทร์ เป็นผลทำ ให้ระดับน้ำบนผิวโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ขั้นที่4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) (40 นาที) 14) ครูให้นักเรียนขยายความรู้โดยทำกิจกรรมตอนที่ 3 เรื่องเวลาขึ้น ตกของดวงจันทร์ เพื่อให้ นักเรียนศึกษาเวลาขึ้นและตกของดวงจันทร์ในแต่ละวัน โดยให้นักเรียนอ่านชื่อกิจกรรม จุดประสงค์ และวิธี ดำเนินกิจกรรม ตามหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 1 ตาม


หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 213 และครูตรวจสอบความเข้าใจการอ่าน โดยใช้คำถามดังต่อไปนี้ - กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (เวลาขึ้นและตกของดวงจันทร์ในแต่ละวัน) - กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อะไร (สร้างแบบจำลองอธิบายการเปลี่ยนแปลงเวลาการขึ้นและตก ของดวงจันทร์) - วิธีดำเนินกิจกรรมมีขั้นตอนโดยสรุปอย่างไร (พิจารณาข้อมูล สร้างแบบจำลองแล้วคำนวณ เพื่อตอบคำถามว่า ใน 1 วัน ดวงจันทร์เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนตำแหน่งไปเป็นมุมเท่าไร จากนั้นคำนวณเวลาที่โลก ใช้ในการหมุนรอบตัวเองและเวลาที่โลกหมุนได้เป็นมุมเท่ากับที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ใน 1 วัน แล้วใช้แบบจำลอง อธิบายการเปลี่ยนแปลงเวลาขึ้นและตกของดวงจันทร์ โดยอาจระบุตำแหน่งของดวงจันทร์ในวันแรม 1 ค่ำและ แรม 2 ค่ำ จากนั้นคำนวณเวลาขึ้นและตกของดวงจันทร์ในวันแรม 1 ค่ำและแรม 2 ค่ำ) - นักเรียนต้องสังเกตหรือรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง (คำนวณหามุมที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกไปใน 1 วันและคำนวณเวลาที่โลกใช้ในการหมุนรอบตัวเองและเวลาที่โลกหมุนได้เป็นมุมเท่ากับที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ใน 1 วัน และใช้แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงเวลาขึ้นและตกของดวงจันทร์ จากการคำนวณและการสังเกต ดวงจันทร์ ในวัน แรม 1ค่ำและแรม 2 ค่ำขึ้นและตก) 15) ครูแนะนำนักเรียนขณะที่แต่ละกลุ่มทำกิจกรรม ครูควรเดินสังเกตการทำกิจกรรมในแต่ละ กลุ่ม และให้คำแนะนำหรือตอบข้อสงสัยในประเด็นต่าง ๆ เช่น ตำแหน่งของดวงจันทร์ในวันทางจันทรคติ การ คำนวณมุม เวลาที่นักเรียนเห็นดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ขึ้นและตกจากแบบจำลอง 16) นักเรียนแต่ละกลุ่มตอบคำถามท้ายกิจกรรม และร่วมกันสรุปผลของกิจกรรม เพื่อให้ได้ ข้อสรุปจากกิจกรรมว่า ดวงจันทร์จะโคจรเปลี่ยนตำแหน่งไปรอบโลกในแต่ละวัน โดยในวันถัดไปดวงจันทร์จะ เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 13.2 องศา ซึ่งโลกจะใช้เวลาประมาณ 50 นาที ในการหมุนรอบ ตัวเองไปประมาณ 13.2 องศา ทำให้คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์ที่ขอบฟ้าทางทิศตะวันออกในวันถัดไปอีกครั้งที่ ตำแหน่งเดิมโดยเวลาจะช้าไปประมาณวันละ 50 นาที 17) ให้นักเรียนเรียนรู้เพิ่มเติม โดยอ่านเนื้อหาในหนังสือเรียนหน้า 214-216 และตอบคำถาม ระหว่างเรียนเกี่ยวกับปรากฏการณ์ข้างขึ้น ข้างแรม และเวลาขึ้นและตกของดวงจันทร์ในแต่ละวัน ครูให้นักเรียน สังเกตภาพ 4.27-4.29 จากนั้นนักเรียนร่วมกันอภิปรายตามแนวคำถามดังนี้ - ปรากฏการณ์ข้างขึ้น ข้างแรมเกิดขึ้นได้อย่างไร (ปรากฏการณ์ข้างขึ้น ข้างแรม เกิดจากการที่ ดวงจันทร์โคจรรอบโลกและโลกกับดวงจันทร์ก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์จะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ครึ่งดวงเสมอ เพราะมีลักษณะคล้ายทรงกลม แต่การเปลี่ยนตำแหน่งของดวงจันทร์ขณะโคจรรอบโลกทำให้คน บนโลกมองเห็นบริเวณที่ได้รับแสงหรือส่วนสว่างของดวงจันทร์เปลี่ยนไป จึงมองเห็นปรากฏการณ์ข้างขึ้น ข้างแรม หรือมองเห็นดวงจันทร์บนท้องฟ้ามีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไป) - ถ้าสังเกตดวงจันทร์ที่ตำแหน่งและเวลาเดิม ดวงจันทร์จะปรากฏที่ตำแหน่งเดิมช้าไปวันละกี่ นาที เพราะเหตุใด (50 นาที เพราะขณะที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ดวงจันทร์ เปลี่ยนแปลงตำแหน่งไปประมาณวันละ 13.2 องศา ซึ่งโลกจะใช้เวลาประมาณ 50 นาทีในการหมุนรอบตัวเองไป ประมาณ 13.2 องศา) 18) ครูและนักเรียนอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า - ข้างขึ้น ข้างแรมเกิดจากการที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกกับดวงจันทร์ก็โคจรรอบ ดวงอาทิตย์ แม้ว่าดวงจันทร์จะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ครึ่งดวงตลอดเวลา แต่ดวงจันทร์หันส่วนสว่างมายังโลก แตกต่างกันในแต่ละวัน ทำให้คนบนโลกมองเห็นรูปร่างของดวงจันทร์เปลี่ยนแปลง ช่วงเวลาที่เห็นดวงจันทร์สว่าง


ขึ้นจนสว่างเต็มดวงเรียกว่า ข้างขึ้น ส่วนช่วงเวลาที่เห็นดวงจันทร์สว่างน้อยลงเรื่อย ๆ จนมองไม่เห็นดวงจันทร์ เรียกว่า ข้างแรม จากนั้นก็จะเห็นดวงจันทร์ค่อย ๆ สว่างขึ้นจนสว่างเต็มดวงอีกครั้งหนึ่ง หมุนเวียนต่อเนื่องเช่นนี้ เป็นวัฏจักร - การที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก 1 รอบใช้เวลาประมาณ 1 เดือน โดยโคจรในทิศทางเดียวกับที่ โลกหมุนรอบตัวเอง ในแต่ละวัน ดวงจันทร์จึงมีการเปลี่ยนตำแหน่งไป ทำให้คนบนโลกที่อยู่ตำแหน่งเดิมบนโลก มองเห็นดวงจันทร์ปรากฏที่ตำแหน่งเดิมบนท้องฟ้าช้าลงในแต่ละวันประมาณวันละ 50 นาที 19) ให้นักเรียนเรียนรู้เพิ่มเติม โดยอ่านเนื้อหาในหนังสือเรียนหน้า 219-220 และตอบคำถาม ระหว่างเรียนเกี่ยวกับการเกิดน้ำขึ้น น้ำลง โดยสังเกตภาพ 4.30-4.32 ประกอบ จากนั้นร่วมกันอภิปรายตามแนว คำถามดังนี้ - แรงไทดัลเกิดจากแรงอะไร (แรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดระหว่างดาว) - แรงไทดัลเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์น้ำขึ้น น้ำลงหรือไม่ อย่างไร (เกี่ยวข้อง โดยขณะที่ ดวงจันทร์โคจรรอบโลกพร้อมกับที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะมีแรงโน้มถ่วงของดาว 3 ดวงที่กระทำต่อกัน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำบนผิวโลก) 20) ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ปรากฏการณ์น้ำขึ้น น้ำลงเกิดจาก การที่โลก ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์มีแรงโน้มถ่วงกระทำต่อกัน แรงโน้มถ่วงที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์กระทำ ต่อโลกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำบนโลกใน 1 วัน ขั้นที่5 ขั้นประเมิน (Evaluation) (30 นาที) 13) นักเรียนตรวจสอบการทำแบบบันทึกการค้นคว้าก่อนส่งตรวจความเรียบร้อย 14) ครูตรวจสอบการส่งคำตอบคำถามท้ายกิจกรรมของนักเรียนและให้คะแนนประเมินตาม เกณฑ์การประเมิน (Rubrics Score) 10. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 10.1 วิดีโอ: - ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม (https://www.youtube.com/watch?v=T1lPT-zsjIs) - ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง (https://www.youtube.com/watch?v=prxoiiTSF4U) 10.2 อุปกรณ์ทำกิจกรรม : แบบจำลองลักษณะของเฟสดวงจันทร์และน้ำขึ้นน้ำลง 10.3 ใบกิจกรรม: ใบกิจกรรม 3.2 เรื่องข้างขึ้น ข้างแรมและน้ำขึ้น น้ำลงเกิดขึ้นได้อย่างไร - ตอนที่ 1 ข้างขึ้น ข้างแรม - ตอนที่ 2 น้ำขึ้น น้ำลง - ตอนที่ 3 เวลาขึ้นและตกของดวงจันทร์ในแต่ละวัน 10.4 แบบบันทึกกิจกรรม:แบบบันทึกการค้นคว้ากิจกรรมที่ 3.2 ข้างขึ้น ข้างแรม เกิดขึ้นได้อย่างไร - ตอนที่ 1 ข้างขึ้น ข้างแรม - ตอนที่ 2 น้ำขึ้น น้ำลง - ตอนที่ 3 เวลาขึ้นและตกของดวงจันทร์ในแต่ละวัน 10.5 แหล่งเรียนรู้: - หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษา


ปีที่ 3 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ - แหล่งเรียนรู้อื่นๆที่นักเรียนสนใจ 10.6 สื่อเสมือนจริง - เรื่อง ข้างขึ้นข้างแรม จากเว็บไซต์ https://www.scimath.org/resources/10594/index.html - เรื่อง น้ำขึ้น น้ำลง จากเว็บไซต์ https://www.scimath.org/resources/10596 11. การวัดและการประเมิน ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน 1. อธิบายการเกิดข้างขึ้น ข้างแรม (ด้านความรู้: K) - ตรวจการตอบคำถาม ท้ายกิจกรรมที่ 3.2 - คำถามท้ายกิจกรรมที่ 3.2 ข้างขึ้น ข้างแรม เกิดขึ้นได้ อย่างไร จำนวน 6 ข้อ - ได้ไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ระดับคุณภาพดี ถือว่า ผ่านการประเมิน ด้านความรู้ 2. การใช้ทักษะการสร้าง แบบจำลอง เพื่ออธิบาย การเกิดข้างขึ้นข้างแรม ได้(ด้านกระบวนการ: P) - ตรวจการทำแบบ บันทึกการค้นคว้า กิจกรรมที่ 3.2 - แบบบันทึกการค้นคว้า กิจกรรมที่ 3.2 ข้างขึ้น ข้างแรม เกิดขึ้นได้อย่างไร - ได้ไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ระดับคุณภาพดี ถือว่า ผ่านการประเมิน ด้านกระบวนการ 3. ตระหนักถึงความสำคัญ ของการใช้อุปกรณ์ การทำกิจกรรมได้ (ด้านเจตคติ: A) - สังเกตการณ์ใช้งาน อุปกรณ์ในกิจกรรม ของนักเรียน - เกณฑ์การประเมินการใช้ งานอุปกรณ์ในกิจกรรม ของนักเรียน - ได้ไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ระดับคุณภาพดี ถือว่า ผ่านการประเมิน ด้านเจตคติ ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ วิธีการวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน 1. อธิบายการเกิดน้ำขึ้น น้ำลง (ด้านความรู้: K) - ตรวจการตอบคำถาม ท้ายกิจกรรมที่ 3.2 - คำถามท้ายกิจกรรมที่ 3.2 น้ำขึ้น น้ำลง เกิดขึ้นได้ อย่างไร จำนวน 3 ข้อ - ได้ไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ระดับคุณภาพดี ถือว่า ผ่านการประเมิน ด้านความรู้ 2. การใช้ทักษะการสร้าง แบบจำลอง เพื่ออธิบาย การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง ได้(ด้านกระบวนการ: P) - ตรวจการทำแบบ บันทึกการค้นคว้า กิจกรรมที่ 3.2 - แบบบันทึกการค้นคว้า กิจกรรมที่ 3.2 น้ำขึ้น น้ำลง เกิดขึ้นได้อย่างไร - ได้ไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ระดับคุณภาพดี ถือว่า ผ่านการประเมิน ด้านกระบวนการ 3. ตระหนักถึงความสำคัญ ของการใช้อุปกรณ์ การทำกิจกรรมได้ (ด้านเจตคติ: A) - สังเกตการณ์ใช้งาน อุปกรณ์ในกิจกรรม ของนักเรียน - เกณฑ์การประเมินการใช้ งานอุปกรณ์ในกิจกรรม ของนักเรียน - ได้ไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ระดับคุณภาพดี ถือว่า ผ่านการประเมิน ด้านเจตคติ


11.1 เกณฑ์การประเมินผลนักเรียน เกณฑ์การประเมิน (Rubrics Score) ประเด็นการประเมิน ค่าน้ำหนัก คะแนน แนวทางการให้คะแนน การให้คะแนนตอบ คำถามท้าย กิจกรรมที่ 4.4 3 ตอบคำถามท้ายกิจกรรมที่ 3.2 ถูกต้อง จำนวน 5-6 ข้อ 2 ตอบคำถามท้ายกิจกรรมที่ 3.2 ถูกต้อง จำนวน 3-4 ข้อ 1 ตอบคำถามท้ายกิจกรรมที่ 3.2 ถูกต้อง จำนวน 1-2 ข้อ หรือ ไม่ถูกต้อง การให้คะแนนการบันทึก แบบบันทึกการค้นคว้า กิจกรรมที่ 4.4 3 บันทึกผลการทำกิจกรรมโดยสร้างแบบจำลอง จากแบบจำลองที่แสดง ทำให้เห็นถึงแนวคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเกิดข้างขึ้นข้างแรม โดยบันทึก ในแบบบันทึกการค้นคว้าตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ได้ถูกต้อง ชัดเจน 2 บันทึกผลการทำกิจกรรมโดยสร้างแบบจำลอง จากแบบจำลองที่แสดง ทำให้เห็นถึงแนวคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเกิดข้างขึ้นข้างแรม โดยบันทึก ในแบบบันทึกการค้นคว้าตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ได้แต่มีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้อง น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 ของแบบบันทึกทั้งหมด 1 บันทึกผลการทำกิจกรรมโดยสร้างแบบจำลอง จากแบบจำลองที่แสดง ทำให้เห็นถึงแนวคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเกิดข้างขึ้นข้างแรม โดยบันทึก ในแบบบันทึกการค้นคว้าตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ได้ แต่มีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้อง มากกว่าร้อยละ 50 ของแบบบันทึกทั้งหมด การให้คะแนน การใช้งานอุปกรณ์ใน กิจกรรม 3 ใช้งานอุปกรณ์การทดลองในกิจกรรมได้ถูกวิธี หยิบ เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ อย่างระมัดระวัง ไม่หยอกล้อหรือแกล้งเพื่อนขณะกำลังใช้งานอุปกรณ์ และหลังการใช้งานอุปกรณ์มีการเก็บรักษาอย่างถูกวิธี 2 ใช้งานอุปกรณ์การทดลองในกิจกรรมได้ถูกวิธี หยิบ เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ อย่างระมัดระวัง ไม่หยอกล้อหรือแกล้งเพื่อนขณะกำลังใช้งานอุปกรณ์ แต่หลังการใช้งานอุปกรณ์ไม่มีการเก็บรักษาอย่างถูกวิธี 1 ใช้งานอุปกรณ์การทดลองในกิจกรรมได้ แต่ขณะหยิบเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ หรือกำลังใช้งานอุปกรณ์ จะหยอกล้อหรือแกล้งเพื่อน อาจทำให้อุปกรณ์ เสียหายได้ และหลังการใช้งานอุปกรณ์ไม่มีการเก็บรักษาอย่างถูกวิธี 11.2 ระดับคุณภาพ คะแนนรวมเฉลี่ย 3.00 หมายถึง ดีมาก คะแนนรวมเฉลี่ย 2.00 - 2.99 หมายถึง ดี คะแนนรวมเฉลี่ย 0.01 - 1.99 หมายถึง พอใช้ ดังนั้น นักเรียนต้องได้คะแนนเฉลี่ยทุกประเด็นการประเมิน ไม่ต่ำกว่า 2.00 แสดงระดับ คุณภาพ ดี ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในแผนการจัดการเรียนที่ 28


12. กิจกรรมเสนอแนะ ............................................................................................................................. .................................................... ................................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. .................................................... ............................................................................................................................. .................................................... ................................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. .................................................... 13. บันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ....................................................................................................................................................................... .......... ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................... ............................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................ ................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ........................................................................................................................................................................ ......... ................................................................................................................................................................................. ลงชื่อ.................................. ( นายสุชาติ บุญสนอง ) ผู้สอน


14.ความเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ............................................................................................................................. .................................................... ................................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. .................................................... ............................................................................................................................. .................................................... ................................................................................................................................................................................. ลงชื่อ………………………………………………… (............................................................) 15. ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถาศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย . ............................................................................................................................. .................................................... ................................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. .................................................... ............................................................................................................................. .................................................... .......................................................................................................................................................................... ....... ลงชื่อ………………………………………………… (............................................................) ........../......................................./......


แบบบันทึกการประเมินคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ว23101) หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ระบบสุริยะของเรา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 28 เรื่อง การเกิดข้างขึ้น ข้างแรม และน้ำขึ้น น้ำลง คำชี้แจง: ทำเครื่องหมาย ✓ ในช่องค่าน้ำคะแนนแต่ละด้านตามจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยประเมินตามเกณฑ์Rubrics Score เลข ที่ ชื่อ-นามสกุล/ รหัสนักเรียน ด้านความรู้ (K) ด้านกระบวนการ (P) ด้านเจตคติ(A) คะแนน รวม ระดับ คุณภาพ ค่าน้ำหนักคะแนน ค่าน้ำหนักคะแนน ค่าน้ำหนักคะแนน 3 2 1 3 2 1 3 2 1 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30


เลข ที่ ชื่อ-นามสกุล/ รหัสนักเรียน ด้านความรู้ (K) ด้านกระบวนการ (P) ด้านเจตคติ(A) คะแนน รวม ระดับ คุณภาพ ค่าน้ำหนักคะแนน ค่าน้ำหนักคะแนน ค่าน้ำหนักคะแนน 3 2 1 3 2 1 3 2 1 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 เกณฑ์การพิจารณาคุณภาพ (โดยนำคะแนนรวมทุกด้าน K P A แล้วหาค่าเฉลี่ย) - คะแนนรวมเฉลี่ย 3.00 หมายถึง ดีมาก - คะแนนรวมเฉลี่ย 2.00 - 2.99 หมายถึง ดี - คะแนนรวมเฉลี่ย 0.01 - 1.99 หมายถึง พอใช้ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยทุกประเด็นการประเมิน ไม่ต่ำกว่า 2.00 แสดงระดับคุณภาพ ดี ขึ้นไปเท่านั้น ถึงจะผ่านการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด ผลการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน ผู้เรียนที่ ผ่าน ตัวชี้วัด มีจำนวน…………………………คน คิดเป็นร้อยละ……………………………………………….. ผู้เรียนที่ ไม่ผ่าน ตัวชี้วัด มีจำนวน…………………………คน คิดเป็นร้อยละ……………………………………………….. 1)………………………………………………........……….สาเหตุ………………......................................................... 2)………………………………………………........……….สาเหตุ………………......................................................... 3)………………………………………………........……….สาเหตุ………………......................................................... 4)………………………………………………........……….สาเหตุ………………......................................................... 5)………………………………………………........……….สาเหตุ………………......................................................... 6)………………………………………………........……….สาเหตุ……………….........................................................


สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 28: วิดีทัศน์ คลิปวิดิโอ: ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม แหล่งที่มา: เว็บไซต์อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=T1lPT-zsjIs เผยแพร่เมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (ช่องYouTube: บทเรียนออนไลน์ กระทรวงศึกษาธิการ)


สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 28: ใบกิจกรรมที่ 3.2 ตอนที่ 1 ใบกิจกรรมที่3.2 ข้างขึ้น ข้างแรม น ้าขึ้น น ้าลง เกิดขึ้นได้อย่างไร กิจกรรมที่ 3.2 ตอนที่ 1 ข้างขึ้น ข้างแรม จุดประสงค์ 1. สร้างแบบจำลองอธิบายการเกิดข้างขึ้น ข้างแรมและน้ำขึ้นน้ำลง 2. สร้างแบบจำลองอธิบายการเปลี่ยนแปลงเวลาการขึ้นและตกของดวงจันทร์ วัสดุ อุปกรณ์ วัสดุที่ใช้ต่อกลุ่ม 1) ชุดทดลองการเกิดข้างขึ้นข้างแรมและน้ำขึ้นน้ำลง 1 ชุด 2) สื่อเสมือนจริง เรื่อง ข้างขึ้นข้างแรม จากhttps://www.scimath.org/resources/10594 วิธีดำเนิน กิจกรรม ตอนที่ 1 ข้างขึ้น ข้างแรม ตอนที่ 2 น ้าขึ้น น ้าลง และตอนที่ 3 เวลาขึ้น เวลาตก ของ ดวงจันทร์ 1. ให้นักเรียนคาดคะเนและบันทึกว่าเมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลกใน ต าแหน่งที่ 1-8 ผู้สังเกตบนโลกมองเห็นส่วนสว่างและส่วนมืดอย่างไร 2. ให้นักเรียนท ากิจกรรมเพื่อพิสูจน์สมมุติฐานที่ตั้งไว้โดยใช้ ชุดทดลองการเกิดข้างขึ้น ข้างแรมและน ้าขึ้นน ้าลง ดังต่อไปนี้ 2.1 การเปิดเว็บแอพ 2.2 กรอกข้อมูลวันข้างขึ้น 15 ค ่า และเวลาที่สังเกตดวงจันทร์ 06.00 น. , 12.00 น. , 18.00 น. และ 00.00 น. 2.3 บันทึกข้อมูลลักษณะของดวงจันทร์ ข้อมูลน ้าขึ้น หรือน ้า ลงจากการสังเกตไฟ LED ลงในแบบบันทึกกิจกรรม 2.4 ท าการทดลองซ ้า ข้อ 2.2 – 2.3 แต่เปลี่ยนจากวันขึ้น 15 ค ่าเป็นวันขึ้น 8 ค ่า , วันแรม 15 ค ่า , แรม 8 ค ่า 2.5 เลือกข้อมูลวันเป็นวันขึ้น 4 ค ่าและเวลาที่สังเกตดวงจันทร์ 09.00 น. , 15.00 น. ,21.00 น. ,03.00 น. 2.6 บันทึกข้อมูลลักษณะของดวงจันทร์ ข้อมูลน ้าขึ้น หรือน ้า ลงจากการสังเกตไฟ LED ลงในแบบบันทึกกิจกรรม 2.7 ท าการทดลองซ ้า ข้อ 2.5 – 2.6 แต่เปลี่ยนจากวันขึ้น 4 ค ่าเป็น วันขึ้น 12 ค ่า , วันแรม 4 ค ่า , แรม 12 ค ่า 2.8 วาดภาพลักษณะดวงจันทร์ทั้ง 8 จุดลงในแบบบันทึกกิจกรรม 2.9 สรุปและอภิปรายผล 3. ให้นักเรียนตรวจสอบผลการทดลองกับการทดลองเสมือนจริงจาก เว็บไซต์ https://www.scimath.org/resources/10594


กิจกรรมที่ 3.2 ตอนที่ 1 ข้างขึ้น ข้างแรม 7. นักเรียนตรวจสอบผลการทดลองด้วยสื่อเสมือนจริง จากเว็บไซต์www.scimath.org/resources/10594 สังเกตและบันทึกทิศทางของแสงจากดวงอาทิตย์ลักษณะของ ดวงจันทร์ในแต่ละต าแหน่ง บันทึกผล 8. เปรียบเทียบภาพที่วาดจากการทดลอง เหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร กิจกรรมที่ 3.2 ตอนที่ 2 น ้าขึ้นน ้าลง วัสดุอุปกรณ์ วัสดุที่ใช้ต่อกลุ่ม 1) ชุดทดลองการเกิดข้างขึ้นข้างแรม 1 ชุด 2) สื่อเสมือนจริง เรื่อง น้ำขึ้นน้ำลง จาก https://www.scimath.org/resources/10596 ตอนที่ 2 น ้าขึ้นน ้าลง 1. ครูให้นักเรียนบันทึกผลพร้อมกับการทดลองใน ตอนที่ 1 โดยสังเกตและบันทึกความสว่างของ LED และท าเครื่องหมาย √ ลงในช่องน ้าขึ้นหรือน ้าลง ใน ดวงจันทร์วันดังกล่าว ของการทดลองในตอนที่ 1 ภาพการจัดกิจกรรม ข้อมูลเว็บแอพที่ใช้กรอกข้อมูล วันและเวลา


2. นักเรียนตรวจสอบผลการทดลองด้วยสื่อเสมือนจริง จากเว็บไซต์https://www.scimath.org/resources/10596 และบันทึกผล กิจกรรมที่ 3.2 ตอนที่ 3 เวลาขึ้น เวลาตกของดวงจันทร์ วัสดุอุปกรณ์ วัสดุที่ใช้ต่อกลุ่ม 1) ชุดทดลองการเกิดข้างขึ้นข้างแรม 1 ชุด 2) สื่อเสมือนจริง เรื่อง น้ำขึ้นน้ำลง จาก https://www.scimath.org/resources/10595 ตอนที่ 3 เวลาขึ้น เวลาตกของดวงจันทร์ 1. พิจารณาข้อมูลที่ก าหนดให้แล้วน ามาค านวณเพื่อตอบค าถามต่อไปนี้ 1.1 ดวงจันทร์โคจรอบโลกเป็นมุม 3 องศา ซึ่งใช้เวลา 27.3 วัน ให้ค านวณว่าใน 1 วัน ดวงจันทร์เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนต าแหน่งไปเป็นมุมเท่าไร 1.2 จากการหมุนรอบตัวเองของโลกใน 1 วัน ซึ่งคิดเป็นมุม 30 องศา ใช้เวลา 24 ชั่วโมง ให้ค านวณเวลาที่โลกใช้ในการหมุนไปได้เป็นมุมเท่ากับที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ใน 1 วัน 2. เมื่อผู้สังเกตอยู่ ณ ต าแหน่งเส้นศูนย์สูตร พบว่า ดวงจันทร์วันเพ็ญอยู่กลางศีรษะเมื่อเวลา ประมาณ 00.00 น. แสดงว่า ดวงจันทร์ขึ้นจากขอบฟ้าเวลาประมาณ 18.00 น. และตลับขอบ ฟ้าเวลา 6.00 น. ของวันถัดไป สร้างแบบจ าลองการเปลี่ยนแปลงเวลาขึ้นและตกของดวง จันทร์ ภาพแบบจำลองการเกิดปรากฎการณ์การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ และกลางวัน กลางคืน 3. นักเรียนเข้าเว็บไซต์ สื่อเสมือนจริง เรื่องการเปลี่ยนแปลงเวลาขึ้นและตกของดวงจันทร์ จาก https://www.scimath.org/resources/10595 และกดเริ่มหมุนโลก 4. สังเกตดวงจันทร์บนท้องฟ้า บันทึกตำแหน่งของดวงจันทร์ โดยใช้มุมทิศและมุมเงย จากนั้น สังเกตดวงจันทร์ในวันถัดไป บันทึกเวลาที่ดวงจันทร์กลับมาปรากฏที่ตำแหน่งเดิมบนท้องฟ้า เปรียบเทียบเวลาที่สังเกตเห็นดวงจันทร์ที่ตำแหน่งเดิมว่าใกล้เคียงกับเวลาที่คำนวณไว้ในข้อ 1.2 หรือไม่ 5. อภิปรายการเปลี่ยนแปลงเวลาขึ้นและตกของดวงจันทร์ในเวลา 1 เดือนและระบุเวลาขึ้นและตก ของดวงจันทร์วันเพ็ญในเดือนถัดไป


การเตรียม ตัวล่วงหน้า ครูตรวจสอบการเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ต ข้อเสนอ แนะในการ ทา กิจกรรม - ครูอาจแนะน าให้นักเรียนไปสังเกตลักษณะของดวงจันทร์บนท้องฟ้าหรือดูวีดิโอ การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของดวงจันทร์ใน 3 เดือนก่อนการท ากิจกรรม - ในขณะท ากิจกรรม ครูอาจให้นักเรียนบันทึกผลการท ากิจกรรมโดยการถ่ายภาพนิ่ง หรือถ่ายภาพเคลื่อนไหวส าหรับใช้ประกอบการอภิปราย กิจกรรมที่ 3.2 ข้างขึ้น ข้างแรม สื่อการ เรียนรู้/ แหล่งเรียนรู้ - วิดิโอตัวอย่างการปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง ข้างขึ้น ข้างแรมเกิดขึ้นได้อย่างไร http://ipst.me/9486 - แผนภาพวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก ในเอกสารประกอบการจัดกิจกรรม หน่วยที่ 4 ระบบสุริยะของเรา http://ipst.me/10952 - สื่ออินเตอร์แอ็กทีฟซิมูเลชัน ตอน การเกิดข้างขึ้น ข้างแรม http://ipst.me/10594 - วิดิโอ ตอน ปรากฏการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับดวงจันทร์ http://ipst.me/10597


คำถามท้ายกิจกรรม 1. ตำแหน่งที่ 1 2 3 4 5 ส่วนสว่างและส่วนมืดของดวงจันทร์ที่คนบนโลกมองเห็นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และเรียกช่วงเวลานี้ว่าอะไร 2. ตำแหน่งที่ 5 6 7 8 1 ส่วนสว่างและส่วนมืดของดวงจันทร์ที่คนบนโลกมองเห็นมีการเปลี่ยนแปลง อย่างไร และเรียกช่วงเวลานี้ว่าอะไร 3. เมื่อดวงจันทร์โคจรไปแต่ละตำแหน่ง พื้นที่บนดวงจันทร์ที่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์เป็นอย่างไร และ สัมพันธ์ตำแหน่งของดวงอาทิตย์หรือไม่ อย่างไร 4. เพราะเหตุใด คนบนโลกจึงมองเห็นดวงจันทร์ในแต่ละตำแหน่งมีส่วนสว่างและส่วนมืดแตกต่างกัน 5. ใน 1 วัน 1. ใน 1 วัน ระดับน้ำมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร 6. จากการสืบค้นข้อมูล น้ำขึ้น น้ำลง เกิดขึ้นได้อย่างไร 7. การเปลี่ยนแปลงเวลาในการขึ้นและตกของดวงจันทร์จากการคำนวณและการสังเกตแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร 8. ถ้าสังเกตดวงจันทร์เวลาเดิมในวันถัด ๆ ไป ณ ตำแหน่งเดิมบนโลก จะสังเกตเห็นดวงจันทร์อยู่ที่ตำแหน่ง เดิมบนท้องฟ้าหรือไม่ เพราะเหตุใด 9. จากกิจกรรมทั้ง 3 ตอนนี้ สรุปได้ว่าอย่างไร


สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 28: แบบบันทึกการค้นคว้ากิจกรรมที่ 3.2 ตอนที่ 1 แบบบนัทึกการค้นคว้ากิจกรรมที่3.2 ข้างขึ้น ข้างแรม น ้าขึ้น น ้าลง เกิดขึ้นได้อย่างไร ตอนที่ 1 ข้างขึ้น ข้างแรม ชื่อ-นามสกุล..........................................................................................ชั้น.................เลขที่...........กลุ่มที่............ บันทึกผลการทำกิจกรรม ผลการคาดคะเนการสังเกตรูปร่างของดวงจันทร์ทั้ง 8 ตำแหน่ง โลก 7 6 5 4 3 2 1 8 SUN


ผลการสังเกตรูปร่างของดวงจันตอนที่ 1 ข้างขึ้น ข้างแรมโล2 1 8 SUN ความสว่า น้ำขึ้น น้ำลง ความสว่างของ LED น้ำขึ้น น้ำลง ความสว่า น้ำขึ้น น้ำลง ความสว่างของ LED น้ำขึ้น น้ำลง ความสว่างของ LED น้ำขึ้น น้ำลง


นทร์ทั้ง 8 ตำแหน่งจากชุดทดลอง ม และตอนที่ 2 น ้าขึ้นน ้าลง ลก 7 6 5 4 3 ความสว่างของ LED น้ำขึ้น น้ำลง ความสว่างของ LED น้ำขึ้น น้ำลง ความสว่างของ LED น้ำขึ้น น้ำลง างของ LED างของ LED


ผลการสังเกตรูปร่างของดวงจันทตอนที่ 1 ข้างขึ้น ข้างแรมโล2 1 8 SUN ความสว่า น้ำขึ้น น้ำลง ความสว่างของ LED น้ำขึ้น น้ำลง ความสว่า น้ำขึ้น น้ำลง ความสว่างของ LED น้ำขึ้น น้ำลง ความสว่างของ LED น้ำขึ้น น้ำลง


ทร์ทั้ง 8 ตำแหน่งจากสื่อเสมือนจริง มและตอนที่ 2 น ้าขึ้นน ้าลง ลก 7 6 5 4 3 ความสว่างของ LED น้ำขึ้น น้ำลง ความสว่างของ LED น้ำขึ้น น้ำลง ความสว่างของ LED น้ำขึ้น น้ำลง างของ LED างของ LED


สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 28: แบบบันทึกการค้นคว้ากิจกรรมที่ 3.2 แบบบนัทึกการค้นคว้ากิจกรรมที่3.2 ข้างขึ้น ข้างแรม น ้าขึ้น น ้าลงเกิดขึ้นได้อย่างไร ตอนที่ 3 เวลาขึ้นและตกของดวงจันทร์ในแต่ละวัน ชื่อ-นามสกุล..........................................................................................ชั้น.................เลขที่...........กลุ่มที่............ บันทึกผลการทำกิจกรรม 1.1 ดวงจันทร์โคจรรอบโลกไปเป็นมุม 360 องศา ซึ่งใช้เวลาประมาณ 27.3 วัน ให้คำนวณว่าใน 1 วัน ดวงจันทร์เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนตำแหน่งไปเป็นมุมเท่าไร วิธีทำ ................................................................................................................................................................ .......... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................ ................... 1.2 จากการหมุนรอบตัวเองของโลกใน 1 วัน ซึ่งคิดเป็นมุม 360 องศา ใช้เวลา 24 ชั่วโมง ให้คำนวณเวลา ที่โลกใช้ในการหมุนไปได้เป็นมุมเท่ากับที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ใน 1 วัน วิธีทำ ........................................................................................................................................................ .................. ................................................................................................................................................................ ................... .......................................................................................................................................................................... .........


บันทึกผลการทำกิจกรรม 2. เมื่อผู้สังเกตอยู่ ณ ตำแหน่งเส้นศูนย์สูตร พบว่า ดวงจันทร์วันเพ็ญอยู่กลางศีรษะเวลาประมาณ 24.00 น. แสดงว่า ดวงจันทร์ขึ้นจากขอบฟ้าเวลาประมาณ 18.00 น. และตกลับขอบฟ้าเวลา 6.00 น. ของวันถัดไป สร้าง แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงเวลาขึ้นและตกของดวงจันทร์ในวันแรม 1 ค่ำและแรม 2 ค่ำ โดยระบุตำแหน่งขอ งดวงจันทร์บนวงโคจรและเวลาที่ดวงจันทร์อยู่ตรงศีรษะในแบบจำลอง จากนั้นคำนวณเวลาขึ้นและตกของดวงจันทร์ ดังนั้น ดวงจันทร์แรม 1 ค่ำอยู่ตรงศีรษะ เมื่อเวลาประมาณ.......................นาที เท่ากับ............น. เวลาโดยประมาณ ดวงจันทร์แรม 1 ค่ำขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก..............................นาที เท่ากับ..............น. เวลาโดยประมาณ ดวงจันทร์แรม 1 ค่ำตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก.................................นาที เท่ากับ................น. เวลาโดยประมาณ ดังนั้น ดวงจันทร์แรม 2 ค่ำอยู่ตรงศีรษะ ................................................นาที เท่ากับ..............น. เวลาโดยประมาณ ดวงจันทร์แรม 2 ค่ำขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก ............................นาที เท่ากับ..............น. เวลาโดยประมาณ ดวงจันทร์แรม 2 ค่ำตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก ................................นาที เท่ากับ..............น. เวลาโดยประมาณ


สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 28: แบบบันทึกการค้นคว้ากิจกรรมที่ 3.2 ตอนที่ 1 แบบบนัทึกการค้นคว้ากิจกรรมที่3.2 ข้างขึ้น ข้างแรม น ้าขึ้น น ้าลง เกิดขึ้นได้อย่างไร ตอนที่ 1 ข้างขึ้น ข้างแรม ชื่อ-นามสกุล..........................................................................................ชั้น.................เลขที่...........กลุ่มที่............ สรุปและอภิปรายผลการทำกิจกรรม สรุปผลการทดลอง ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... อภิปรายผลการทดลอง ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... ..........................................


สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 28: แบบบันทึกการค้นคว้ากิจกรรมที่ 3.2 ตอนที่ 1 แบบบนัทึกการค้นคว้ากิจกรรมที่3.2 น ้าขึ้น น ้าลง เกิดขึ้นได้อย่างไร ตอนที่ 2 น ้าขึ้น น ้าลง ชื่อ-นามสกุล..........................................................................................ชั้น.................เลขที่...........กลุ่มที่............ สรุปและอภิปรายผลการทำกิจกรรม สรุปผลการทดลอง ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... อภิปรายผลการทดลอง ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... ..........................................


สื่อการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 28: แบบบันทึกการค้นคว้ากิจกรรมที่ 3.2 ตอนที่ 1 แบบบนัทึกการค้นคว้ากิจกรรมที่3.2 ตอนที่ 3 เวลาขึ้น เวลาตกของดวงจันทร์ ตอนที่ 3 เวลาขึ้น เวลาตกของดวงจันทร์ ชื่อ-นามสกุล..........................................................................................ชั้น.................เลขที่...........กลุ่มที่............ สรุปและอภิปรายผลการทำกิจกรรม สรุปผลการทดลอง ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... อภิปรายผลการทดลอง ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... .......................................... ....................................................................................................................................... ..........................................


แนบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 28: การให้คะแนนด้านความรู้ (K) เฉลยใบกิจกรรมที่ 3.2 ข้างขึ้น ข้างแรม น ้าขึ้น น ้าลงเกิดขึ้นได้อย่างไร เฉลยคำถามท้ายกิจกรรม 1. ตำแหน่งที่ 1 2 3 4 5 ส่วนสว่างและส่วนมืดของดวงจันทร์ที่คนบนโลกมองเห็นมีการเปลี่ยนแปลง อย่างไร และเรียกช่วงเวลานี้ว่าอะไร แนวคำตอบ คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์มีส่วนสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เรียกช่วงเวลานี้ว่า ข้างขึ้น 2. ตำแหน่งที่ 5 6 7 8 1 ส่วนสว่างและส่วนมืดของดวงจันทร์ที่คนบนโลกมองเห็นมีการเปลี่ยนแปลง อย่างไร และเรียกช่วงเวลานี้ว่าอะไร แนวคำตอบ คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์มีส่วนสว่างน้อยลงเรื่อย ๆ เรียกช่วงเวลานี้ว่า ข้างแรม 3. เมื่อดวงจันทร์โคจรไปแต่ละตำแหน่ง พื้นที่บนดวงจันทร์ที่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์เป็นอย่างไร และ สัมพันธ์ตำแหน่งของดวงอาทิตย์หรือไม่ อย่างไร แนวคำตอบ ในแต่ละตำแหน่งที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ดวงจันทร์จะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ เพียงครึ่งดวงเสมอ โดยพื้นที่ที่ได้รับแสงจะเป็นด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์เสมอ 4. เพราะเหตุใด คนบนโลกจึงมองเห็นดวงจันทร์ในแต่ละตำแหน่งมีส่วนสว่างและส่วนมืดแตกต่างกัน แนวคำตอบ เพราะดวงจันทร์โคจรรอบโลก โดยดวงจันทร์จะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ครึ่งดวงเสมอ แต่คนบนโลกจะมองเห็นส่วนที่ได้รับแสงหรือส่วนสว่างของดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละตำแหน่ง 5. ใน 1 วัน 1. ใน 1 วัน ระดับน้ำมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร แนวคำตอบ เปลี่ยนแปลง โดยระดับน้ำจะขึ้นและลงวันละ 2 ครั้ง 6. จากการสืบค้นข้อมูล น้ำขึ้น น้ำลง เกิดขึ้นได้อย่างไร แนวคำตอบ น้ำขึ้น น้ำลง เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างมวลของดวงจันทร์และโลก 7. การเปลี่ยนแปลงเวลาในการขึ้นและตกของดวงจันทร์จากการคำนวณและการสังเกตแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร แนวคำตอบ นักเรียนตอบตามผลการคำนวณและการสังเกต เช่น แตกต่างกัน โดยจากการคำนวณ ดวงจันทร์ในวันแรม 1 ค่ำจะขึ้นเวลา 18.53 น. และตกเวลา 6.53 น. แต่ผลการสังเกตดวงจันทร์ในวันแรม 1 ค่ำ จะขึ้นเวลา 18.50 น. และตกเวลา 6.51 น. ซึ่งขึ้นและตกช้าไปจากวันก่อนประมาณ 50 นาที โดยคลาดเคลื่อน จากการคำนวณเล็กน้อย 8. ถ้าสังเกตดวงจันทร์เวลาเดิมในวันถัด ๆ ไป ณ ตำแหน่งเดิมบนโลก จะสังเกตเห็นดวงจันทร์อยู่ที่ตำแหน่ง เดิมบนท้องฟ้าหรือไม่ เพราะเหตุใด แนวคำตอบ ดวงจันทร์ไม่อยู่ในตำแหน่งเดิม เพราะดวงจันทร์ขึ้นช้ากว่าเดิม โดยในวันถัดไปดวงจันทร์ จะกลับมาปรากฏที่ตำแหน่งเดิมบนท้องฟ้าช้ากว่าเดิมประมาณ 50 นาที เนื่องจากดวงจันทร์มีการโคจรรอบโลก ใน 1 เดือน


9. จากกิจกรรมทั้ง 3 ตอนนี้ สรุปได้ว่าอย่างไร 9.1 จากกิจกรรมตอนที่ 1 สรุปได้ว่าอย่างไร แนวคำตอบ ข้างขึ้น ข้างแรม เกิดจากการที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก โดยที่ดวงจันทร์ได้รับแสงจาก ดวงอาทิตย์ครึ่งดวงตลอดเวลา ซึ่งคนบนโลกสังเกตส่วนสว่างของดวงจันทร์แตกต่างกันในแต่ละวัน ทำให้เห็น รูปร่างของดวงจันทร์เป็นเสี้ยว ครึ่งดวง ค่อนดวง และเต็มดวง 9.2 จากกิจกรรมตอนที่ 2 สรุปได้ว่าอย่างไร แนวคำตอบ น้ำขึ้น น้ำลงเป็นปรากฏการณ์ที่คนบนโลกสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใน 1 วัน เกิดจากผลของแรงโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ที่ดึงดูดน้ำบริเวณผิวโลก 9.3 จากกิจกรรมตอนที่ 3 สรุปได้ว่าอย่างไร แนวคำตอบ เวลาขึ้นและตกของดวงจันทร์มีการเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน โดยดวงจันทร์จะขึ้นช้าไปวันละ ประมาณ 50 นาที คลิปวิดิโอ: ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง แหล่งที่มา: เว็บไซต์อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=prxoiiTSF4U เผยแพร่เมื่อ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (ช่องYouTube: Trirat Petchsingh)


ภาพชุดทดลองข้างขึ้น ข้างแรม น้ำขึ้น น้ำลง


Click to View FlipBook Version