The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by trtcgd, 2021-10-04 02:59:40

ประวัติพระแสงราชศัสตราประจำเมือง

พระแสงราชศัสตราประจำเมือง

พระแสงราชศสั ตราประจาเมือง
ในการเสด็จพระราชดาเนิน เสด็จประพาส เสด็จประพาสต้น ออกตรวจราชการตามหัว
เมืองใหญ่น้อยและเย่ียมเยียนดูสารทุกข์สุกดิบของราษฎร์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอย่หู วั ลน้ เกล้ารัชกาลท่ี 5 มบี ันทึก เร่อื งเล่า และเกร็ดเลก็ นอ้ ยมากมาย
หลายเรื่องคนท่ัวไปรับรู้เป็นอย่างดี แต่ก็มีอีกหลายเร่ืองท่ีคนท่ัวไปไม่ค่อยรู้ อย่างเช่น
เรื่องราวของพระแสงราชศัสตรา ในรชั กาลที่ 5 ที่ถือเป็นสิ่งของลาค่าคู่บ้านค่เู มืองท่ีมีความสาคัญ
ยง่ิ มาจนถงึ ปัจจบุ ันนี
สาหรับท่ีมาท่ีไปของพระแสงราชศัสตรานัน “สุรินทร์ ดีมี” วัฒนธรรมจังหวัดตราด
หน่ึงในผู้ท่ีศึกษาเร่ืองนีมาเป็นอย่างดี ให้ข้อมูลว่า พระแสงราชศัสตรา หมายถึง อาวุธมีคม
ของพระมหากษัตริย์ที่ใช้สาหรับเป็นเครื่องฟันแทง หมายรวมถึงอาวุธทุกชนิด แต่ในกรณีนี
จะหมายความเฉพาะพระแสงดาบ
ส่วนในเอกสารเรื่อง “พระแสง ราชศัสตราป ระจาเมือง ” ที่เรียบเรียงโดย
“สานักพัฒนาการประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์” หนึ่งในหน่วยงานหลักท่ีต้องการเผยแพร่
ให้สาธารณะชนเห็นถึงความสาคัญในเร่ืองนี ระบุว่า พระแสงราชศัสตรา มีความสาคัญหลักๆ
๒ ประการดว้ ยกัน

พระแสงราชศัสตราประจาเมืองตราด (พระแสงดา้ มฝกั ทอง)

ประการแรก พระแสงราชศัสตราประจาเมืองเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ และเป็น
ส่ิงสาคัญที่พระราชทานไว้เป็นที่ระลึกถึงพระมหากษัตริย์ หรืออีกนัยหน่ึงนัน พระแสงราชศัสตรา
แสดงถึงพระราชอานาจสูงสุดและเด็ดขาดของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
การที่พระมหากษัตริย์พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจามณฑลและเมือง โดยผ่าน
สมุหเทศาภิบาลมณฑล หรือผู้ว่าราชการเมือง เปรียบดังได้พระราชทานพระราชอานาจ
ในการปกครองบริหารราชการบ้านเมืองในส่วนภูมิภาคแก่สมุหเทศาภิบาล ผู้ว่าราชการเมือง
ให้ปฏิบัติราชการต่างพระเนตรพระกรรณเท่านัน แต่ไม่มีอานาจสิทธิ์ขาดที่จะตัดสินลงโทษแก่ผู้ใด
เด็ดขาด เหมือนดังเช่นพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ที่พระมหากษัตริย์ได้พระราชทานแก่แม่ทัพ
ในสมยั กอ่ นอกี ตอ่ ไป

ประการที่สอง พระแสงราชศัสตราเป็นอาวุธสาหรับแทงนาในพิธีถือนาพระพิพัฒน์สัตยา
ประจาปีในหวั เมอื ง ซึ่งเดิมใช้กระบ่ีหรือดาบซึ่งเป็นเครื่องยศท่ีพระราชทานให้แก่ผู้ว่าราชการเมือง
สาหรับแทงนาในพิธี ต่อมาเมื่อเลิกประเพณีพระราชทานเครื่องยศในรัชกาลท่ี ๔ แล้ว
พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หวั จึงมีพระราชดาริในการพระราชทานพระแสงราชศัสตรา
ประจาเมืองสาหรับแทงนาพระพพิ ัฒน์สัตยาสบื มา

โดยในการเสด็จฯ เยือนมณฑลฝ่ายเหนือในปี พ.ศ. ๒44๔ รัชกาลท่ี ๕ ทรงเล็งเห็น
ถึงปัญหาสาคัญ คือ การขาดอาวุธสาหรับแทงนาในการประกอบพิธีถือนาพระพิพัฒน์สัตยา
ในหัวเมือง จึงมีพระราชดาริให้พระราชทานพระแสงราชศัสตราไว้ประจาเมืองต่างๆ เพ่ือใช้ในพิธี
ถอื นาพระพิพฒั น์สตั ยาขนึ มา

พระแสงราชศัสตราลกั ษณะตา่ งๆ

ในขณะท่ี นายสุรินทร์ ดีมี ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงความสาคัญของพระแสงราชศัสตราว่า
เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยายศอย่างหน่ึงในชุดเคร่ืองเบญจราชกกุธภัณฑ์ อันแสดงฐานะ
ความสาคญั ของพระมหากษัตริยแ์ ละพระราชอานาจอันเป็นอาญาสูงสดุ ในการปกครองแผ่นดิน ซ่ึง
มีมาตงั แตค่ รงั อดีตตราบจนปัจจบุ ัน

นอกจากนี พระแสงราชศัสตรายังถือเป็นเครื่องราชูปโภคประเภทเคร่ืองราชศัสตราวุธ
ซึ่งหมายรวมถึงพระแสงทุกองค์ ทังกระบ่ี หอก ดาบ ง้าว หลาว แหลนฯ ในบรรดาพระแสงเหล่านี
มีพระแสงดาบสาคัญองค์หน่ึงที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกใช้ประจาพระองค์ และถือเป็นพระแสง
พระจารัชกาลดว้ ย

พระแสงราชศัสตราที่เป็นพระแสงดาบ มีชื่อเรียกเฉพาะองค์แตกต่างกันออกไปตามท่ีมา
และลักษณะของพระแสง ทังนีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้มีการเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมในการพระราชทานพระแสงราชศัสตรา โดยมิได้มีพระราช
ประสงค์ที่จะพระราชทานเฉพาะบุคคล หากแต่มีพระราชประสงค์จะพระราชทานพระแสง
ราชศัสตราไว้ประจาตามหัวเมืองใหญ่น้อย เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์และเป็นเคร่ืองหมาย
แห่งพระราชอานาจในการปกครองแผ่นดิน

ทังนีพระแสงราชศัสตราประจาเมืองแต่ละองค์มีการบ่งบอกถึงลาดับขันความสาคัญ
ของเมืองท่ีได้รับพระราชทาน คือ เมืองสาคัญท่ีเป็นสถานที่ตังมณฑลเทศาภิบาล พระราชทาน
พระแสงฝกั ทองลงยาราชาวดี ส่วนเมืองสามัญท่วั ไปพระราชทานพระแสงด้ามฝักทอง

ดา้ มพระแสงราชศสั ตราประจาเมอื งตราด

โดยในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการพระราชทานพระแสงราชศัสตรา
ประจาเมืองมณฑลและเมืองท่ีเสด็จฯ ผ่านรวม ๑๓ องค์ และถ้ารวมในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ
ของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระแสงราชศัสตรา
พระราชทานรวม ๓๒ องค์ดว้ ยกนั

ในช่วงรัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานพระแสงราชศัสตรานี ๑๓ เมือง คือ ๑.มณฑลกรุงเก่า
๒.เมืองอ่างทอง ๓.เมืองสิงห์บุรี ๔.เมืองชัยนาท ๕. เมืองอุทัยธานี ๖.มณฑลนครสวรรค์
๗.เมืองพิจิตร ๘.มณฑลพิษณุโลก ๙.เมืองพิชัย ๑๐.เมืองกาแพงเพชร ๑๑.เมืองตราด
๑๒.มณฑลจนั ทบรุ ี ๑๓.มณฑลปราจนี บรุ ี

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้พระราชทานอีก ๑๓ เมือง คือ ๑.มณฑลราชบุรี ๒. เมืองเพชรบุรี
๓.เมืองประจวบคีรีขันธ์ ๔.มณฑลปัตตานี ๕.เมืองสายบุรี ๖.เมืองนราธิวาส ๗.มณฑลนครศรีธรรมราช
๘.เมืองตรัง ๙.เมืองนครศรีธรรมราช ๑๐.มณฑลชุมพร ๑๑.เมืองระนอง ๑๒.มณฑลภูเก็ต
๑๓.มณฑลนครชยั ศรี

ส่วนสมัยรัชกาลที่ ๗ พระราชทานเพียง ๖ เมือง คือ ๑.เมืองลาปาง ๒.เมืองแพร่
๓.เมอื งเชยี งราย ๔.เมอื งเชียงใหม่ ๕.เมอื งลาพนู ๖.เมอื งพังงา

ตอ่ มามีการยุบเมืองพิชัยรวมเข้ากับเมืองอุตรดติ ถ์ และยุบเมืองสายบุรีเข้ากับเมืองปัตตานี
จึงได้ถวายคืนลักษณะของพระแสงราชศัสตราประจาเมือง ส่วนพระแสงราชศัสตราประจาเมืองชุมพร
ไม่ปรากฏหลักฐานวา่ เกบ็ รักษาไวท้ ีใ่ ด

สาหรับเมืองสาคัญในพืนท่ีภาคตะวันออกอย่างเมืองจันทบุรี (มณฑลจันทบุรีในขณะนัน)
และเมืองตราด ท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสฯ ทังสองเมือง
อยู่บ่อยครังคือมณฑลจันทบุรี ๑๓ ครัง และเมืองตราด ๑๒ ครัง ซึ่งพระองค์ท่านได้พระราชทาน
พระแสงราชศัสตราประจาเมืองตราด (พระแสงด้ามฝักทอง) ไว้ในการเสด็จประพาสครังสุดท้าย
เมื่อวันที่ ๑๓ พ.ย. ๒4๕๐ โดยมีพระบริรักษ์ภูธร (ปิ๋ว บุนนาค) ผู้ว่าราชการเมืองตราดมารับ
พระราชทาน ณ พลบั พลาโรงพธิ ีเมอื งตราด

ส่วนพระแสงราชศัสตราประจามณฑลจันทบุรี (พระแสงฝักทองลงยาราชาวดี)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแก่ พระยาวิชยาธิบดี ข้าหลวง
เทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี ท่ีมารับพระราชทาน ณ พลับพลาโรงพิธี มณฑลจันทบุรี
ในวันที่ ๑๕ พ.ย. ๒4๕๐ ซึง่ เปน็ การเสดจ็ ประพาสเมืองจันทบุรีครงั สดุ ท้ายเช่นกัน

สาหรับลักษณะของพระแสงราชศัสตราประจาเมืองทุกองค์ จะเป็นดาบไทย ใบดาบตีจาก
เหล็กกล้าอย่างดีสีขาวเป็นมัน ฝีมือช่างทองหลวง องค์พระแสงมีความยาวประมาณ 100-110
เซนติเมตร ด้ามยาวประมาณ ๓๑-๓๕ เซนติเมตร ใบยาวประมาณ ๖๕-๗๕ เซนติเมตร
กว้างประมาณ ๒.๕-๓.๕ เซนติเมตร ฝักดาบตกแต่ง สลักเสลาลงลวดลายอย่างสวยงาม
ประณตี วิจิตร อาทิ ลายเครือเถา ลายสตั ว์หิมพานต์ เป็นตน้

พระแสงราชศัสตรามีสง่ิ รองรับส่วนใหญ่มี ๒ ลักษณะ คือ บันไดแก้ว ที่มีเสา ๒ เสาลดหลั่นกัน
และพานแวน่ ฟ้า ทเ่ี ป็นพานทองพระมหากฐนิ หรือพานเงนิ พานแก้วเจยี ระไน

อย่างไรกต็ ามในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แม้จะไม่ทรงมีพระราชนิยม
ทจ่ี ะพระราชทานพระแสงราชศสั ตราประจาเมืองเพมิ่ เติม แต่พระองค์ท่านทรงมีพระกรณุ าโปรดเกล้าฯ
ให้คงธรรมเนยี มโบราณประเพณเี ก่ียวกบั การทูลเกล้าถวายพระแสงราชศัสตราไว้

โดยจังหวัดใดที่เคยได้รับพระราชทานพระแสงราชศัสตราประจาเมืองแล้วทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอัญเชิญพระแสงราชศัสตราประจาเมืองเพ่ือทูลเกล้าถวายคืน
พระองค์จนกระท่ังเมื่อจะเสด็จพระราชดาเนินกลับ จึงพระราชทานคืนโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด
เป็นผ้แู ทนในการรับพระราชทานคนื ตามธรรมเนียมเดิม

สาหรับเร่ืองนี นายสุรินทร์ ดีมี ให้ข้อมูลว่า ธรรมเนียมโบราณราชประเพณี
ของการทูลเกล้าฯ ถวายพระแสงราชศัสตราประจาเมืองแด่พระมหากษัตริย์เม่ือพระองค์เสด็จฯ
ประทับ ณ เมืองนันๆ ถอื เป็นแบบอย่างธรรมเนยี มโบราณราชประเพณที ส่ี มควรจะอนุรักษส์ ืบทอด
เป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้วยเป็นเอกลักษณ์อันบ่งบอกวิถีชีวิตของคนไทยทุกหมู่เหล่าที่ล้วนผูกพัน
และจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงดารงฐานะเป็นองค์พระประมุขของชาติ
มานับแต่ครังอดตี ตราบจนปจั จบุ ัน


Click to View FlipBook Version