The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือสำรวจกล้วยไม้ป่า

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

คู่มือสำรวจกล้วยไม้ป่า

คู่มือสำรวจกล้วยไม้ป่า

The Field Guide of W ild Orchids กล้ล้วยไม้ม้ป่ ป่า คู่ คู่มืมือ สำสำสำสำร ว จ หญ้าจิ้มฟันควาย Arundina graminifolia (D.Don) Hochr.


ปกหน้า ปกหลัง หญ้าจิ้มฟันควาย Arundina graminifolia (D.Don) Hochr. รองเท้านารีดอยตุงกาญจน์ Paphiopedilum vejvarutianum O.Gruss & Roellke


T H E F I E L D G U I D E O F W I L D O R C H I D S กันยายน 2565 เครือวัลย์พิพัฒน์สวัสดิกุล เครือวัลย์พิพัฒน์สวัสดิกุล จำลอง ลลิตอาภาไพร บุญร่วม ขุนอินทร์ พรศักดิ์ ยงวิจิตรพงศ์ สุริยา ธนะวงศ์ สุภาพ ขัวญใจยอดคีรี สมใจนึก ปริ้นท์ แอนด์ก๊อปปี้ เซ็นเตอร์ 200 เล่ม พิมพ์ครั้งแรก ภาพ จำนวนพิมพ์ *สวนรุกขชาติไม้เมืองหนาว* Mai Muang Nao Arboretum การอ างอิง : เครือวัลย พิพัฒน สวัสดิกุล. 2565. คู มือสํารวจกล วยไม ป า. สวนรุกขชาติไม เมืองหนาว, สํานักวิจัยการอนุรักษ ป าไม และพันธุ พืช. กรมอุทยานแห งชาติ สัตว ป า และพันธุ พืช. เชียงใหม . 150 น. ดาวโหลดหนังสือไฟล PDF ได ฟรีที่ https://www.maimuangnao.com/eBook/OrchidFieldGuide.html จัดทําภายใต งบประมาณ กิจกรรมบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ สวนรุกขชาติไม เมืองหนาว สงวนลิขสิทธิ์ในรูปภาพที่ปรากฏในเอกสารนี้ ห ามมใหิ ผู ใดใช ประโยชน ทําซํ้า ดัดแปลง นําออกแสดง ทําให ปรากฏหรือเผยแพร ต อสาธารณชน ไม ว าด วยประการใดๆ ไม ว าทั้งหมดหรือบางส วน เว นแต ได รับอนุญาตเป นหนังสือจากสวนรุกขชาติไม เมืองหนาว สํานักวิจัยการอนุรักษ ป าไม และพันธุ พืช กรมอุทยานแหงชาต ิ สัตว ป า และพันธุ พืช


คู่มือการสำ รวจกล้วยไม้ป่าเล่มนี้ เกิดจากการปฏิบัติงานและประสบการณ์ การสำ รวจ วิจัย เรียนรู้รวมถึงการขยายพันธุ์กล้วยไม้ป่าของผู้เรียบเรียงพร้อม กับเจ้าหน้าที่ภาคสนามในพื้นที่รับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และ พันธุ์พืช เช่น อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สวนพฤกษศาสตร์ และ สวนรุกขชาติมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี โดยเฉพาะพื้นที่ทางภาคเหนือของ ประเทศไทย คู่มือเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้เป็นแนวทางในการสำ รวจ วิจัย และเรียนรู้กล้วยไม้ป่า เพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพในด้าน การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และเพื่อให้ประชาชนทั่วไป ได้รู้จักและเรียนรู้เรื่องราวของกล้วยไม้ป่าของประเทศไทย กล้วยไม้ป่ากระจายอยู่ทั่วประเทศ การซื้อขาย กล้วยไม้ที่ลักลอบนำออกมาจากป่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ไม่ควรทำอย่างยิ่ง ผู้ที่นิยมกล้วยไม้ป่าควรปลูกเลี้ยง กล้วยไม้ป่าที่ได้จากการขยายพันธุ์ที่ถูกต้องเท่านั้น การขยายพันธุ์เพื่อฟื้นฟูประชากรกล้วยไม้ที่ หายาก ใกล้สูญพันธุ์เป็นสิ่งจำเป็นและสำ คัญเร่งด่วน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานควรรู้จักกล้วยไม้ป่าก่อนการ ดำเนินงานด้านอื่นต่อไป คู่มือฉบับนี้ได้ทำเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-book ด้วย เพื่อสะดวกต่อการใช้งานและพกพา โดยหวังว่าจะเกิดประโยชน์ต่อทรัพยากรกล้วยไม้ป่าของประเทศ และประชาชนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์อย่างเหมาะสม สำ หรับ ข้อบกพร่องใดๆ ที่เกิดขึ้น ผู้จัดทำขอน้อมรับและจะนำไปสู่การ แก้ไขในโอกาสต่อไป ผู้จัดทำ กันยายน 2565 2 คำนำ คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


คู่มือสำ รวจกล้วยไม้เล่มนี้สำ เร็จสมบูรณ์ได้จากความร่วมมือของหลายฝ่าย ขอขอบพระคุณ ดร.วรดลต์ แจ่มจำรูญ ดร.สมหญิง ทัฬหิกรณ์ ดร.สมราน สุดดี ดร.ณรงค์คูนขุนทด คุณภาณุมาศ ลาดปาละ คุณอมลรัตน์ เลี่ยมตระกูลพาณิชย์ คุณมานพ ผู้พัฒน์ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช คุณวิทิต พุ่มศฤงฆาร คุณ Kurt Keller คุณสุชาติจันทร์หอมหวล และพันธมิตรผู้รักษ์กล้วยไม้ทุกท่าน ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ป่าไม้ผู้เป็นเพื่อนร่วมงานที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้เกิดคู่มือเล่มนี้ รวมถึงผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไม่ย่อท้อต่อการปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ภาพประกอบเป็นเวลายาวนานกว่าสิบปี ขอบพระคุณผู้บังคับบัญชาที่สนับสนุน และท้ายนี้ขอขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่ช่วยให้กำลังใจให้มีคู่มือเล่มนี้ได้ในที่สุด คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids กิตติกรรมประกาศ 3


คำนำ กิตติกรรมประกาศ คำอธิบายคู่มือ บทนำ การจำแนกชนิดกล้วยไม้ ตัวอย่างชนิดกล้วยไม้ เอกสารอ้างอิง ดัชนีชื่อวิทยาศาสตร์ 2 3 5 6 15 23 148 148 4 สารบัญ คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids สวนรุกขชาติไม้เมืองหนาว กล้วยไม้คืออะไร ลักษณะของกล้วยไม้ วงจรชีวิตกล้วยไม้ ข้อควรรู้เกี่ยวกับกล้วยไม้ สถานภาพตามกฎหมายของกล้วยไม้ จำแนกตามหลักอนุกรมวิธาน จำแนกตามลักษณะที่ขึ้นอยู่ในธรรมชาติ จำแนกตามสีของดอก จำแนกตามรูปทรงของฝัก 6 7 8 11 12 14 15 15 16 20


สถานภาพ ด้านการอนุรักษ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อไทย ชื่อท้องถิ่น ลักษณะกล้วยไม้ วิสัยของกล้วยไม้ ลักษณะใบ ลักษณะดอก ลักษณะฝัก การกระจายใน ประเทศไทย แหล่งอาศัย สถานภาพพืชตาม อนุสัญญาไซเตส ลักษณะกล้วยไม้ ลักษณะกล้วยไม้ ชื่อสกุล (genus) ประโยชน์ทางยา เขตการ กระจายพันธุ์ คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids คำอธิบาย 5 ช่วงเวลาออกดอก (เดือน) Plants of the World Online by the Royal Botanic Gardens, Kew. Thai Plant Names โดยสำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช THE PEA KEY : Australian Pea-flowered Legume Research Group และ The Color Thesaurus by Ingrid sundberg Ethnomedical uses of Thai orchidaceous plants by Wongsatit Chuakul, บ้านสวนพอเพียง, มหาวิทยาลัยมหิดล, สารานุกรมสมุนไพร และ Collection and trade of wild-harvested orchids in Nepal Threatened Plants in Thailand โดยสำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่มา : 1. 2. 3. 4. 5.


สวนรุกขชาติไม้เมืองหนาว ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2537 โดยฝ่ายพฤกษศาสตร์ กองบำรุง กรมป่าไม้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ปลูกพรรณไม้ที่ระดับสูง เป็นการรวบรวมพรรณไม้ในท้องถิ่นที่หายากและสวยงาม มาปรับปรุงและปลูกพรรณไม้เสริม เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นสถานศึกษาและวิจัยทางพฤกษศาสตร์ ที่ตั้งและการเดินทาง สวนรุกขชาติไม้เมืองหนาวตั้งอยู่บริเวณละติจูดที่ 18 องศา 8 ลิปดา เหนือ ลองติจูดที่ 98 องศา 54 ลิปดาตะวันออก หรือ UTM WGS 1984, 47Q 423388E 2008308N สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 850-1,200 เมตร มีพื้นที่รวม 370 ไร่ อยู่ในตำบล บ่อสลีอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ การเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้ทางหลวงหมายเลข 108 ผ่านอำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทอง จนถึงตลาดอำเภอฮอด เลี้ยวขวา ไปตามทางหลวงหมายเลข 108 ตามลำน้ำแม่แจ่ม ผ่านอุทยานแห่งชาติออบหลวง อยู่ระหว่าง กิโลเมตรที่ 50-51 ระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศ เป็นเนินเขาไม่สูงมากนักสลับกันบนหุบเขาชั้นหินแกรนิต สังคมพืช ในพื้นที่สวนรุกขชาติประกอบด้วยสังคมพืชชนิดต่างๆ 4 ชนิด ได้แก่ ป่าเต็งรัง-ไม้สน (Pine-deciduous dipterocarp forest) ป่าไม้ก่อผสมเต็งรัง (Deciduous dipterocarp-oak forest) ป่าเบญจพรรณไม่มีไม้สักผสมไม้ไผ่ (Mixed deciduous with Bamboo forest) - 1,200 - 1,100 - 1,000 - 900 - 800 ความสูง (msl.) ป่าดิบเขาต่ำ (Lower montane rain forest) แหล่งเรียนรู้ในสวน - สังคมพืชชนิดต่างๆ (Highland Forest Communities) - ความหลากหลายกล้วยไม้ป่า (Resource of Wild Orchid Species) เป็นแหล่งอนุรักษ์กล้วยไม้ป่ามากกว่า 100 ชนิด - การขยายพันธุ์พืชและกล้วยไม้ป่า (Plant Propagation and Wild Orchid Species) 6 บทนำ คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


ความสำ คัญทางนิเวศวิทยา เศรษฐกิจ และการใช้ประโยชน์กล้วยไม้ บ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและประสิทธิภาพของงานอนุรักษ์ กล้วยไม้มีรูปแบบที่หลากหลาย กระจายอยู่ทั่วไปและปรับตัวเข้ากับแหล่งอาศัย จึงมีความจำเพาะต่อสภาพแวดล้อมเฉพาะและความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย องค์ประกอบความหลากหลายทางทางชีวภาพของระบบนิเวศ กล้วยไม้มีดอกสวยงามล่อแมลงผสมเกสร ช่วยด้านการสืบพันธุ์ของพรรณพืช ไม้ประดับ จากลักษณะลำต้น ใน และดอกที่มีรูปร่างและสีสันสวยงาม บางชนิดมีกลิ่นหอม จึงนิยมนำกล้วยไม้มาปลูกเลี้ยงเป็นไม้ประดับและปรับปรุงพันธุ์ทางการค้า องค์ประกอบของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ใช้ฝักกล้วยไม้วนิลา เป็นเครื่องเทศแต่งกลิ่นและ รสเครื่องดื่ม และขนมหวานจากหัวใต้ดินของกล้วยไม้สกุล Orchis ที่เรียกว่า ซาเลพ (Salep) เครื่องนุ่งห่ม ใช้เส้นใยจากลำลูกกล้วยมาทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม สมุนไพร เช่น ลำลูกกล้วย เอื้องเงิน (Dendrobium draconis) แก้ร้อนใน กล้วยไม้สกุล Cynorkis ส่งผลต่อเพศของเด็กในครรภ์ หญ้าจิ้มฟันควาย Arundina graminifolia มีฤทธิ์ป้องกันการอักเสบ เครื่องบูชาทางพิธีกรรม ใช้ในเทศกาลและประเพณีต่างๆ และศาสตร์ ฮวงจุ้ย ด้วยความเชื่อที่ว่ากล้วยไม้เป็นสัญลักษณ์ของความเข้มแข็ง อดทน และแข็งแกร่ง เครื่องใช้อื่นๆ เช่น ดอกของ Bletia campanulata, Epidendrum pastoris และ Catasetum maculatum ใช้เป็นกาวติดไม้ กล้วยไม้คืออะไร คำว่า "กล้วยไม้" มาจากลักษณะคล้ายผลกล้วยที่เรียกว่า "ลำลูกกล้วย" ส่วนคำว่า "Orchid" มาจาก "Orkhis" เป็นภาษากรีก หมายถึง ลูกอัณฑะ หรือลักษณะโป่งเป็นกระเปาะ กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีวิวัฒนาการและการปรับตัวอย่างสูงในหลายรปูแบบ ลักษณะเด่น ของพืชวงศ์กล้วยไม้คือเป็นไม้ล้มลุกขึ้นบนดินหรือเป็นพืชอิงอาศัย ดอกมีลักษณะแตกต่าง จากพืชวงศ์อื่น คือ มีกลีบปากที่เด่นชัด เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมียเชื่อมติดกันเป็นเส้าเกสร เมื่อผลแก่จะแห้งแตก ทำให้สามารถกระจายพันธุ์ได้ในทุกภูมิภาคของโลก กล้วยไม้ทั่วโลกมีประมาณ 28,000-30,000 ชนิด กระจายพันธุ์ทุกภูมิภาคของโลกในถิ่นอาศัย ตามสภาพธรรมชาติต่างๆ ยกเว้นพื้นที่ขั้วโลก ด้วยสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกันทั้งในเขตอบอุ่น และเขตร้อน ทำให้กล้วยไม้มีวิวัฒนาการและพัฒนาลักษณะสัณฐานต่างๆ ให้เหมาะสมกับที่อยู่ที่ เป็นแหล่งอาศัย ทั้งระบบราก ลำต้น ใบ รูปร่าง ขนาด สี กลิ่นดอก และฝัก เพื่อกักเก็บความชื้น ผสมเกสรและการกระจายพันธุ์ซึ่งจะสังเกตได้จากลักษณะสัณฐานภายนอก ในประเทศไทยคาดว่ามีกล้วยไม้ประมาณ 177 สกุล 1,200 ชนิด คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids บทนำ 7


กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีโครงสร้างประกอบด้วย 1. ราก เป็นเนื้อเยื่อพิเศษสีขาว ส่วนทีี่คล้ายฟองน้ำ เรียกว่า วีลาเมน (velamen) จะห่อหุ้มรากจริงเอาไว้ มีหน้าที่ดูดความชื้นจากอากาศและธาตุอาหาร ป้องกันแสงแดดให้รากจริงที่อยู่ภายใน ส่วนปลายรากหรือ root-tip มีสีเขียว สามารถสังเคราะห์แสงได้ และช่วยยึดเกาะติดกับต้นไม้ที่ อาศัยอยู่ รากของกล้วยไม้ดินจะทำหน้าที่ในการดูดธาตุอาหาร นอกจากนี้กล้วยไม้ดินมักมีส่วน หัวใต้ดิน (tuber) ทำหน้าที่สะสมอาหารอีกด้วย กลีบปาก (labellum / lip) เส้าเกสร (column) กลีบเลี้ยงบน (dorsal sepal) กลีบดอก (petal) กลีบเลี้ยงคู่ข้าง (lateral sepals) 2. ดอก ดอกของกล้วยไม้ที่มีลักษณะเด่น แปลกไปจาก ไม้ดอกชนิดอื่นๆ คือ ส่วนของเกสรตัวผู้และ เกสรตัวเมียรวมอยู่บนฐานเดียวกัน เรียก โครงสร้างนี้ว่า เส้าเกสร (column) ซึ่งไม่มี โครงสร้างนี้ในไม้ดอกชนิดอื่นๆ ลักษณะ ของกลีบดอก แบ่งเป็น 2.1 กลีบเลี้ยงชั้นนอก (sepal) ประกอบด้วย กลีบเลี้ยง 3 กลีบ ได้แก่ กลีบเลี้ยงบน (dorsal sepal) และกลีบเลี้ยงคู่ข้าง (lateral sepals) มี 2 กลีบ 2.2 กลีบดอกชั้นใน (petal) มีส่วนของกลีบดอก อยู่ 2 กลีบและมีกลีบชั้นในอีกกลีบหนึ่งเปลี่ยนรูปไป เป็นส่วนที่เรียกว่า กลีบปาก (labellum หรือ lip) เมื่อมีการนับจำนวนกลีบดอกของกล้วยไม้จึง มักบอกว่ามี 5 กลีบ และ 1 ปาก ซึ่งส่วนกลีบปากใช้ เป็นจุดเด่นในการเรียกกล้วยไม้บางสกุล เช่น กระเป๋า กระโปรง หรือรองเท้า ลักษณะของกล้วยไม้ วีลาเมน (velamen) ปลายราก (root-tip) Pomatocalpa naevatum : เสือแผ้ว แบบช่อแยกแขนง Pinalia acervata : กระเพาะปลา แบบช่อดอกเดี่ยว Paphiopedilum charlesworthii รองเท้านารีดอยตุง Aerides odorata กุหลาบกระเป๋าปิด (กุหลาบเดือยไก่) Cymbidium tracyanum เอื้องกำเบ้อ (กำเบ้อ = ผีเสื้อ) ช่อดอก (inflorescense) คือจุดที่ช่อดอกแตก ออกมามีทั้งจากปลายยอด ซอกใบใกล้ปลาย ยอด จากข้อตามลำต้นหรือจากโคนข้างลำต้น ช่อดอกของกล้วยไม้มีทั้งที่เป็นช่อดอกเดี่ยว (raceme) และช่อแยกแขนง (panicle) 8 บทนำ คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


1 2 3 4 ที่มา : 1 = https://www.fs.usda.gov , 2 = https://www.aos.org/all-about-orchids, 3 = http://news.bbc.co.uk, 4 = http://naresh.org.in ชนิดของ แมลงพาหะ ลักษณะดอกกล้วยไม้ สี กลิ่น ช่อดอก กลิ่นแรง แนวขนานหรือห้อยลง ไม่ค่อยมีกลิ่น มีกลิ่นเหม็น ดอกมักจะมีีโครงสร้างช่วยนำทาง ให้แมลงวัน เช่น กลีบดอกยาว และคล้ายหาง กลีบปากเป็นพู่ เพื่อสั่นล่อแมลงวัน เป็นต้น ดอกสีเหลือง ส้ม หรือแดง ดอกสีสดใสในกลุ่มสีเหลือง แดง ม่วง น้ำเงิน ดอกมักจะมีกับดักจับแมลงวัน เช่น กลีบดอกยาว ดอกสีเป็นลายหรือปื้น สีทึบ กลุ่มสีเขียว น้ำตาล ม่วง และแดง มีสีสันสดใส (ยกเว้นสีแดง อาจจะมีกลิ่นหอม ตั้งขึ้น เนื่องจากผึ้งจะเห็นเป็นสีเทา-ดำ) ดอกสีขาวหรือสีอ่อน ผึ้ง ผีเสื้อกลางสื้ คืน ผีเสื้อสื้นก แมลงวัน 3.2 แบบเจริญไปทางแนวนอน/เจริญทางข้าง (sympodial) มีการ เจริญเติบโตเป็นไปในแนวนอน มีส่วนของลำต้นที่แท้จริงอยู่บริเวณโคน ในบางชนิดเรียกว่าเหง้า ส่วนที่เห็นเป็นลำต้นคือลำต้นเทียมหรือส่วนที่มี การพัฒนาไปในการสะสมอาหาร เรียกว่า ลำลูกกล้วย (pseudobulb) มีจุดเจริญอยู่ที่เหง้า เมื่อต้นเดิมพัฒนาไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ต้นใหม่ขึ้นมา จากตาด้านข้าง มีรูปทรงและการเจริญเติบโตคล้ายกับพืชที่แตกกอ ทั่วไป ต้นหน่ึงหรือกอหนึ่งจะประกอบด้วยต้นย่อยหลายต้น เช่น สกุล สิงโต สกุลน้ำต้น สกุลหวาย สกุลกะเรกะร่อนและสกุลเพชรหึง Bulbophyllum affine : สิงโตประหลาด ลำต้นเจริญไปทางนอน Vanda brunnea : เอื้องสามปอยนก ลำต้นเจริญไปทางเดียว ดอกกล้วยไม้มีขนาดและโครงสร้างที่หลากหลาย เพ่ือให้การผสมเกสรมีประสิทธิภาพ ดอกกล้วยไม้จึงถูกพัฒนาเพื่อล่อแมลงมาผสมเกสร ซึ่งมีความจำเพาะต่อชนิดกล้วยไม้ ค่อนข้างมาก แต่กลุ่มเรณูของกล้วยไม้ไม่ได้เป็นแหล่งโปรตีนสูงสำ หรับแมลงพาหะ จึง จำเป็นต้องมีดอกไม้ชนิดอื่นในระบบนิเวศนั้นด้วย ลักษณะของดอกกล้วยไม้ สามารถ ระบุชนิดของแมลงพาหะได้ เช่น 3. ลำต้น แบ่งเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการเจริญของทรงต้นคือ 3.1 แบบเจริญไปทางเดียว/เจริญทางยอด (monopodial) มีการเจริญ เติบโตขึ้นไปทางสูงแต่เพียงอย่างเดียว การเกิดของใบเกิดสลับเป็นแบบ ฟันปลาซ้อนกันขึ้นไปในระนาบเดียว จุดเจริญอยู่ที่ยอด รากเกิดขึ้นได้ ตามลำต้นที่เจริญสูงขึ้นไป เช่น สกุลเอื้องกุหลาบ สกุลช้าง สกุลพญาไร้ใบ และสกุลพลูช้าง คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids บทนำ 9


Bletilla sinensis : เอื้องดินจีน ใบจีบร่องแนวยาว ผลของกล้วยไม้เรียกว่า ฝัก (pod, capsule) ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก และมีรูปร่างหลากหลาย ทั้งรูปทรงกระบอก รูปกลม รูปไข่ หรือรูปรี เมล็ดกล้วยไม้ ไม่มีอาหารสะสม (endosperm) และไม่มีใบเลี้ยง ดังนั้นเมล็ดที่งอก และเจริญเติบโตได้ต้องอยู่ในสภาพวดล้อมเหมาะสม จะมีรา และ พวกไมคอร์ไรซา (mycorrhiza) ร่วมอยู่ด้วย ฝักอ่อนจะมีสีเขียวและเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ และจะแตกตามยาวเป็น 3 หรือ 6 พู ให้เมล็ดแห้งปลิว กระจายออกไป เมล็ดจะมีขนาดเล็กมาก 0.3-0.6 ไมโครกรัม ใน 1 ฝัก อาจจะมีเมล็ดกล้วยไม้ได้ ถึงล้านเมล็ด เนื่องจากเมล็ดของกล้วยไม้มีขนาดเล็กมากนี้เอง จึงต้องมีการเพาะโดยเทคนิค การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเข้ามาช่วยในการขยายพันธุ์ 5. ฝักและเมล็ด Vanda curvifoliua : เข็มแดง / ใบร่อง Cleisostoma areitinum : เขาแพะ / ใบแท่งกลม Phalaenopsis cornu-cervi : เขากวางอ่อน / ใบแบน 4. ใบ กล้วยไม้มีใบหลากหลายแบบ ตั้งแต่ใบเรียวยาว เช่น ในรูปหอก ใบลูกลูกศร ใบรูปหัวใจ ใบหยักลึก ใบบิดเป็นเกลียว ใบกลม ใบร่อง ใบแบน เป็นต้น แผ่นใบของกล้วยไม้อาจเรียบแบนหรืออวบ รูปตัววี เป็นจีบ หรือร่องในแนวยาว ทั้งนี้กล้วยไม้ จะมีปากใบเฉพาะผิวด้าน ล่างของใบเท่านั้น Nervilia spp. : ว่านแผ่นดินเย็น > ใบรูปหัวใจ ฝักและเมล็ดหญ้าจิ้มฟันควาย (Arundina graminifolia) ฝักและเมล็ดเอื้องคำน้อย (Dendrobium fimbriatum) 10 บทนำ คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


11 วงจรชีวิตกล้วยไม้ (The life cycle of orchid) กล้วยไม้เมื่อบานเต็มที่ จะมีแมลงพาหะมาผสมเกสร เมื่อได้รับการผสมเกสรแล้ว ดอกจะค่อยๆ เหี่ยวลง รังไข่จะพองโต และเกิดเป็นฝัก อายุฝักจะขึ้นอยู่กับกล้วยไม้แต่ละชนิด โดยทั่วไปอยู่ ระหว่าง 5-12 เดือน เมล็ดที่ปลิวออกจากฝักแก่เมื่อตกลงในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้ง ความชื้น เชื้อราไมคอร์ไรซา จะสามารถงอกเองได้แต่เป็นส่วนน้อย (2-5%) และใช้เวลา 5-8 ปี กว่าจะเป็นต้นอ่อน* จึงมีการใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในการขยายพันธุ์กล้วยไม้ซึ่งใช้ เวลาในการเพาะจนถึงเป็นต้นอ่อน ประมาณ 8-12 เดือน จึงนำออกจากขวดที่เพาะ ไปอนุบาล ในโรงเรือน เมื่อต้นแข็งแรงนำไปปลูกในสภาวะปกติจนเจริญเติบโตเป็นต้นแข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมออกดอก ใช้เวลาประมาณ 3 ปีขึ้นไป กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีหน่วยงานที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ป่าหรือ เพาะในสภาพปลอดเชื้อ โดยเฉพาะกล้วยไม้ที่หายาก ใกล้สูญพันธุ์ทั้งนี้เพื่อการรักษาความ หลากหลายทางชีวภาพ มิให้สูญพันธุ์ และเพื่อประโยชน์ในการวิจัยด้านอื่นๆต่อไป เช่น กล้วยไม้สมุนไพร เป็นต้น หากมีความสนใจต้องการขยายพันธุ์กล้วยไม้ที่สำ คัญ สามารถติดต่อได้ที่ "ส่วนความหลากหลายทางชีวภาพ สำ นักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช" *Marpha TELEPOVA-TEXIER, https://www.orchidcambodia.com/life-cycle-of-orchids.html คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids บทนำ


กล้วยไม้ส่วนใหญ่มีกลีบดอกกลีบที่สาม หรือที่เรียกว่า กลีบปาก มีลักษณะไม่เหมือนกลีบดอก ทั่วไป ก้านเกสรทั้งเพศผู้ เพศเมีย รวมเป็นอันเดียวกันอยู่กลางดอกเรียกว่า เส้าเกสร (column) รังไข่ของกล้วยไม้อยู่ใต้ดอก เมื่อได้รับการผสมก็เจริญขึ้นเป็นเมล็ด และเมื่อผลแก่จัดจะแตก ตามรอยประสานทั้งสามบนฝักกล้วยไม้ทำให้ผงเมล็ดปลิวกระจายไปตามลม เมล็ดกล้วยไม้มี ขนาดเล็กมากๆ ผล/ฝัก หนึ่งๆ อาจมีเมล็ดกล้วยไม้หลายพันหลายหมื่นเมล็ด ละอองเรณูของกล้วยไม้ไม่ได้มีลักษณะเป็นผงธุลีเหมือนละออกเรณูของพันธุ์ไม้ทั่วไป เมล็ดกล้วยไม้คล้ายฝุ่นซึ่งมีขนาด 1 มิลลิเมตร ไม่มีอาหารสำ รอง และขึ้นกับเชื้อราในการงอก และเจริญเติบโตโดยเฉพาะกล้วยไม้ที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ที่เด่นชัด กล้วยไม้มีวงจรชีวิตที่ไม่ปกติเมื่อเทียบกับพืชส่วนใหญ่ โดยเมล็ดของกล้วยไม้จะงอกและเติบโต อยู่ในโปรโตคอร์มก่อน จากนั้นกล้าไม้ที่มีใบและเจริญเติบโตเต็มที่เป็นพืชมีดอกซึ่งมีใบ/ใบย่อย และโครงสร้างคล้ายหัวมันฝรั่งอยู่ใต้ดิน ซึ่งอยู่ได้มากกว่าสามปีขึ้นกับปัจจัยที่เอื้อต่อการเจริญ เติบโต ข้อควรรู้เกี่ยวกับกล้วยไม้ กล้วยไม้มีรูปแบบที่หลากหลาย กระจายอยู่ทั่วไปและปรับตัวเข้ากับแหล่งอาศัย มีความจำเพาะต่อสภาพแวดล้อมเฉพาะ และมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย ทำให้กล้วยไม้เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและประสิทธิภาพของงานอนุรักษ์ 1. กล้วยไม้มีลักษณะเฉพาะ เช่น แต่จะรวมกันเป็นกลุ่มๆ เรียกว่า กลุ่มเรณู (pollinia) มักจะใช้ลักษณะการวางของกลุ่มเรณู จำแนกชนิดกล้วยไม้ กล้วยไม้ดินมีการงันในรูปของหัวใต้ดิน จนกว่าสภาพแวดล้อม กล้วยไม้จะไม่ตอบสนองทันทีต่อสภาพอากาศตามฤดูกาล เช่น ฝนตกใหม่ๆ กล้วยไม้ดินมักจะออกดอกปลายฤดูหนาว ปีที่แล้งยาวนานอาจไม่พบกล้วยไม้เลยหรือ กล้วยไม้ส่วนใหญ่ออกดอกช่วงเวลาสั้นๆ ปกติประมาณ 1 สัปดาห์ ควรสำ รวจในช่วงเวลาออกดอก การสำ รวจการออกช่วงต้นหรือปลายฤดูออกดอก อาจ ทำให้พบในลักษณะของตาหรือดอกร่วงแล้ว บางชนิดออกดอกหลังจากเกิดไฟป่าในช่วงฤดูร้อน กล้วยไม้ส่วนใหญ่ไม่ออกดอกทุกปี บางกลุ่มเป็นส่วนลำต้นมากกว่าออกดอก 2. การสำ รวจกล้วยไม้ต้องคำนึงถึง 2.1 การตอบสนองต่อปัจจัยแวดล้อม ที่เหมาะสมจึงจะเจริญเติบโต ถ้ามีใบ ใบก็จะมีขนาดเล็กหรือร่วงก่อนออกดอกหรือก้านช่อดอกหลุดร่วง หากไม่พบกล้วยในช่วงหน้าแล้งหรือช่วงที่ฝนกตกใหม่ๆ ก็ไม่ใช่ว่าจะ ไม่มีกล้วยไม้ในพื้นที่นั้น 2.2 การออกดอก บางดอก 2-3 วัน แต่ก็มีบางชนิดที่ดอกบานเป็นเวลานาน ดังนั้นการออกดอกของกล้วยไม้อาจจะมีความแตกต่างในแต่ละปี 12 บทนำ คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


13 กล้วยไม้บางชนิดพบได้ยาก หรือมีขนาดเล็กมากๆ สำ รวจพบได้ยาก กล้วยไม้ลูกผสมจะมีความผันแปรกลีบดอก บางชนิดอาจมีลักษณะ เมื่อหัวใต้ดินแตกใบ ใบจะโผล่ขึ้นมาหลายเดือนก่อนออกดอก กล้าไม้ของกล้วยไม้มีขนาดเล็กมากสำ หรับช่วงฤดูเติบโต ทำให้ระบุชนิดได้ยาก กล้วยไม้ชนิดที่ถูกคุกคามต้องการถิ่นที่อยู่อาศัยเฉพาะจำเป็นต้องใช้ความรู้และ การสำ รวจถิ่นอาศัยที่เหมาะสม สัตว์บางชนิดกินส่วนใบ ตาดอก และดอกของกล้วยไม้ วัฎจักรชีวิต ต้องค้นหาอย่างละเอียด และใช้ความรู้ที่เฉพาะของแต่ละชนิด เหมือนอีกชนิด การจำแนกจำเป็นต้องมีทักษะที่เชี่ยวชาญในการจำแนก การสำ รวจบางชนิดอาจจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดเพิ่มขึ้นถ้ามีความสับสนกับชนิดทั่วไป ควรมีการกำหนดชนิดที่จะสำ รวจในพื้นที่ และกำหนดวิธีการสำ รวจ เมื่อกำหนดชนิดได้แล้ว ทำการสำ รวจความเป็นไปได้ผู้สำ รวจประกอบด้วย ควรกำหนดขั้นตอนให้เหมาะสมกับช่วงเวลา ทั้งนี้การจะพบกล้วยไม้หรือจำแนกกล้วยไม้ขึ้นกับ ลักษณะสัณฐานวิทยา รูปชีวิต ถิ่นที่อยู่อาศัย สภาพภูมิอากาศในช่วงที่สำ รวจ ฤดูกาลในรอบ ปี การรบกวนของคน หรือการปกคลุมของพืชอื่น เป็นต้น 3. การกำหนดชนิดเพื่อการสำ รวจ และสำ รวจให้พบจริง หรือยืนยันการปรากฏ ผู้สังเกตพบชนิดและผู้สังเกตเห็นหรือผู้จำแนกชนิด คัดเลือกเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมในการสำ รวจ เช่น ที่มีประสบการณ์จะทำให้การสำ รวจมี ประสิทธิภาพและได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้มีความพร้อมของร่างกายในการสำ รวจในภาคสนาม มีความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ ข้อบังคับ ผู้สำ รวจที่ไม่มีประสบการณ์ควรมีการถ่ายภาพไว้ให้ ผู้เชี่ยวชาญ หรือเก็บตัวอย่างไว้ การสำ รวจกล้วยไม้ที่ถูกคุกคาม ควรมีการศึกษาหาข้อมูลก่อนไปสำ รวจ ได้แก่ การจำแนก ชนิด ช่วงเวลาสำ รวจที่เหมาะสม พื้นที่ที่ขื้นอยู่ และเทคนิคที่เหมาะสมในการสำ รวจชนิดนั้น ลักษณะของพื้นที่สำ รวจ 4. การออกแบบการสำ รวจ ช่วงเวลาของปีและฤดูกาล สภาพอากาศและความแปรปรวนของภูมิ อากาศ การเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของพันธุ์ไม้ การเปลี่ยนแปลงทางอุทกวิทยาของพื้นที่ ระยะเวลาการออกดอก สภาพของสังคมพืช สิ่งรบกวนก่อนหรือระหว่างการสำ รวจ ประวัติไฟป่า การตัดไม้ การแทะเล็ม ของสัตว์และประวัติการรบกวนของวัชพืช 5. การพิจารณาที่สำ คัญในการสำ รวจกล้วยไม้ในพื้นที่คือ ระยะเวลาการสำ รวจที่เหมาะสมสำ หรับแต่ละชนิดพันธุ์ อาจแตกต่างกันในแง่ของ: คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids บทนำ


สถานภาพตามกฏหมายของกล้วยไม้ในประเทศไทย กล้วยไม้ป่ามีสถานภาพเป็นของป่าหวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 การเก็บหามีไว้เพื่อการค้า การครอบครองและการเคลื่อนที่ ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด กล้วยไม้ป่าเป็นพืชอนุรักษ์ตามพระราช บัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 ซึ่งกำหนดบัญชีพืชอนุรักษ์ไว้ 3 บัญชี สอดรับตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้า ระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (The Convention on International Trade in Endangered Species of Fauna and Flora : CITES) ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก ซึ่งต้องมีการควบคุม การนำเข้า-ส่งออกเพื่อการค้า พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 หมายถึง ชนิดพันธุ์ที่ได้จากป่า หรือเป็นของป่าสูญพันธุ์ห้ามทำการค้าโดยเด็ดขาด (ยกเว้นที่ได้จากการขยายพันธุ์หรือเพาะพันธุ์ และเพื่อการศึกษาและวิจัย) การนำเข้าและส่งออกซึ่งชนิด พันธุ์ในบัญชีนี้จะต้องคำนึงถึงความอยู่รอด ผลกระทบต่อประชากรในธรรมชาติเป็นสำ คัญ การส่งออก จะต้องได้รับอนุญาต ให้นำเข้าจากประเทศ ผู้นำเข้าเสียก่อน ได้แก่ เอื้องปากนกแก้ว Dendrobium cruentum และ สกุลรองเท้านารีทุกชนิด Paphiopedilum spp. (ถ้าเป็นต้นอ่อนหรือที่ได้จากการเพาะ เลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อ ไม่ว่าจะอยู่ในอาหารแข็ง หรืออาหารเหลว ซึ่งขนส่งบรรจุในภาชนะที่ ปลอดเชื้อ ไม่ถือเป็นพืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518) พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 หมายถึง ชนิดพันธุ์ที่เหลืออยู่ค่อนข้างน้อย แต่ยังไม่ใกล้จะสูญพันธุ์ สามารถทำการ ค้าได้ (สามารถทำการค้าชนิดพันธุ์ที่ได้จากป่าได้แต่ต้องไม่ละเมิดกฎหมายภายในประเทศ) พืชในวงศ์ กล้วยไม้ (ทุกชนิด) ORCHIDACEAE (ยกเว้นชนิดที่ระบุไว้แล้วในบัญชีพืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1) พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 3 หมายถึง ชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่ง แล้วขอความช่วยเหลือจากประเทศภาคีให้ช่วยควบคุมการค้าชนิดพืชนั้นด้วย 14 บทนำ คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


Dendrobium heterocarpum เอื้องสีตาล Epipactis flava กล้วยไม้น้ำ Bulbophyllum nigrescens สิงโตดำ Habenaria medusa อั้วปากฝอย Apostasioideae วงศ์ย่อยนี้เป็นกล้วยไม้ดิน มีลักษณะดั้งเดิม หรือโบราณมากที่สุด Cypridedioideae วงศ์ย่อยนี้ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้ดิน มีลักษณะเด่นคือกลีบเลี้ยงด้านข้าง เชื่อมติดกันเป็นอันเดียว อยู่ที่ด้านล่างของดอก กลีบปากเป็นถุงคล้ายหัวรองเท้า ได้แก่ Vanillioideae วงศ์ย่อยนี้พบได้ทั้งกล้วยไม้ดิน กล้วยไม้อิงอาศัย หรือกล้วยไม้กินซาก ทั้งกลีบเลี้ยง กลีบดอก กลีบปากแยกกันเป็นอิสระ หรือโคนขอบกลีบเชื่อมกับเส้าเกสร เช่น สกุลเถางูเขียว (Vanilla) Orchidoideae เป็นกล้วยไม้ดินทั้งหมดมีหัวแบบมันฝรั่ง (tuberous) อยู่ใต้ดินหรือมีเหง้า มีการพักตัวช่วงฤดูแล้ง ลักษณะเด่นคือ กลีบเลี้ยงบนเชื่อมติดกับกลีบดอกคล้ายหมวก พบได้น้อยที่แยกจากกัน เช่น สกุลนางอั้ว (Habenaria) Epidendroideae มีมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของชนิดที่พบมักมีลักษณะต้นและใบหลาก หลายมาก มีทั้งกล้วยไม้อิงอาศัยและกล้วยไม้ดิน มีเกสรเพศผู้ 1 อัน อับเรณูด้านบน แยกเป็นฝาปิด (operculum) และร่วงหลุดไปเมื่อเจริญเต็มที่ ละอองเรณูจับเป็นก้อนแน่น แต่ไม่แข็งส่วนใหญ่กลุ่มละอองเรณูไม่มีก้าน (stripes) เช่น สกุลสิงโต (Bulbophyllum) กล้วยไม้อิงอาศัย (epiphytic orchids) คือกล้วยไม้ที่อาศัยอยู่บน พืชชนิดอื่นโดยการพักพิงเพื่อช่วยให้ได้แสงสว่างหรืออากาศ ซึ่งมี กล้วยไม้ดิน (terrestrial orchids) คือ กล้วยไม้ที่เจริญอยู่บนดิน พบ กล้วยไม้กินซากหรือกล้วยไม้อาศัยรา (saprophytic orchids) คือกล้วยไม้ กล้วยไม้ที่ขึ้นบนหิน (lithophytic orchids) คือกล้วยไม้ที่อาศัยบนหินหรือหน้าผา ซึ่งมีทั้งที่เป็นกล้วยไม้ดิน และกล้วยไม้อิงอาศัย กล้วยไม้น้ำ (rheophylic orchids) คือ กล้วยไม้ที่มีระยะหนึ่งของชีวิตจมอยู่ใต้น้ำเป็น เวลานานในประเทศไทยพบชนิดเดียว คือ กล้วยไม้น้ำ Epipactis flava Seidenf. -จำแนกตามหลักอนุกรมวิธาน ลักษณะเด่นคือ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกท้ังหมดมีลักษณะคล้ายกัน ไม่มีกลีบปาก เช่น ตานขโมย สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum) - จำแนกตามลักษณะที่ขึ้นอยู่ในสภาพธรรมชาติ จำนวนประมาณ 65% ของกล้วยไม้ทั้งหมด ประมาณ 1/3 ของกล้วยไม้ท้ังหมด โดยทั่วไปกล้วยไม้กลุ่มนี้จะเป็นไม้ล้มลุก ที่เจริญอยู่ตามซากสิ่งมีชีวิตอื่นส่วนมากเจริญบนซากใบไม้ที่ทับถม Gastrodia exilis : เอื้องกลีบติด ภาพจาก : ForestHerbarium คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids บทนำ 15 การจำแนกชนิดของกล้วยไม้ตามลักษณะต่างๆ


โทนสีของดอก ขาว-เหลือง ขาว-ชมพู ขาว-เขียว - จำแนกตามสีของดอก คู่มือเล่มนี้ได้จัดกลุ่มสีของดอกกล้วยไม้ เพื่อใช้ระบุชนิดของกล้วยไม้ที่พบเบื้องต้น โดยในคู่มือ เล่มนี้ได้กำหนดสีเฉดสีกับชาร์ตสีของ Ingrid sundberg เป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มโทนสีขาว สีแดง สีน้ำตาล สีม่วง สีเขียว และสีเหลือง ดังนี้ ชนิดกล้วยไม้แยกตามสีของดอก เอื้องกุหลาบพวง ว่านพร้าว เอื้องแซะ เอื้องกระเพาะปลา เอื้องข้าวตอกอินทนนท์ ช้างกระ หนวดพราหมณ์ เข็มหนู 32 สิงโตประหลาด สิงโตโคมไฟ 42 กะเรกะร่อน เอื้องแซะภู 66 เอื้องทอง 76 85 เอื้องเงินแดง 69 เอื้องชีปะขาว 86 96 เอื้องมอนไข่ใบมน 100 เอื้องงวงช้าง เสวตสุกรี 115 เข็มขาว เอื้องนิ่มก้านแดง พลายงาม เอื้องนิ่มตาข่าย เอื้องตาเหิน 27 35 62 93 105 118 123 126 128 129 145 103 117 ชนิดกล้วยไม้ 16 สี คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchidsสีของดอก


โทนสีของดอก ขาว-น้ำตาล แดง ส้ม น้ำตาล น้ำตาลแดง ม่วง ม่วงแดง เข็มแดง เอื้องพร้าว เขียวเสือลาย สิงโตดำ 106 ลิ้นกระบือ เอื้องรังนกไทยทอง 24 37 40 47 49 51 52 เอื้องปีกไก่ใหญ่ 31 สร้อยระย้า 53 54 เอื้องลำต่อ 55 60 เอื้องนิ่มปากตัด 61 เอื้องเงิน 75 เอื้องหมากเลื่อม เอื้องหมาก เอื้องขนหมู 81 90 เอื้องเสี้ยน หวายกาเร็ต 77 99 ช้ เอื้องแซะมะลิ างน้าว 94 138 ช้างงาเดียว 135 ตรียัมปวาย 64 รองเท้านารีอินทนนท์ 114 124 125 133 142 143 144 คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids สีของดอก 17 ชนิดกล้วยไม้ ช้างสารภี สิงโตกลีบหลอด เอื้องสร้อยทับทิม เอื้องกำเบ้อ ฟ้ามุ่ย ฟ้ามุ่ยน้อย เขาแกะ ก้างปลา มณีโกเมน รูหินี เอื้องสามปอยนก 111 141 สามปอยนก 146


โทนสีของดอก ชมพูเข้ม ชมพูอ่อน-ขาว ชมพู-ขาวเหลือง เขียว-ชมพู เขาแพะ สายน้ำเขียว เอื้องนางฟ่อน เอื้องเมี่ยง สิงโตเสือดาว 38 เอื้องน้ำต้น เอื้องงวงช้าง 47 65 50 71 72 73 พวงหยก 80 มณีฉาย 136 เอื้องสามปอยแพะ 140 สายวิสูตร 78 ชนิดกล้วยไม้ กุหลาบแดง แปรงสีฟัน เข็มม่วง 27 เอื้องพวงมาลัย เอื้องกุหลาบเดือยไก่ สิงโตช่อทับทิม สิงโตลิ้นดำ 29 30 เอื้องใบไผ่ภูวัว หญ้าจิ้มฟันควาย 33 34 39 44 สิงโตเล็บเหยี่ยว 45 97 เอื้องช่อม่วง 107 พลายชมพู มณีรัตนา 119 127 139 เอื้องกิ่งดำ 82 18 สี คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchidsสีของดอก


รองเท้านารี ดอยตุงกาญจน์ ช้างสารภีน้อย จุกพราหมณ์ เอื้องเสือแผ้ว สิงโตมรกต เอื้องใบไผ่ 25 26 46 เอื้องเทียนใบรี 56 เอื้องเทียนตะนาวศรี รองเท้านารีเมืองกาญจน์ 59 109 58 เอื้องฉุน ข้าวเหนียวลิง 95 เอื้องตาลหม่น 101 เอื้องคางอ้ม 102 110 120 121 กะเรกะร่อนปากนกแก้ว ตาลเสี้ กล้วยไม้น้ำ สี้ยนไม้ เอื้องจำปา สิงโตกลอกตา ไตรดอกนวล 36 41 กีบม้าใหญ่ 43 63 เอื้องคำฝอย 67 เอื้องคำ 70 เอื้องคำกิ่ว 68 84 เอื้องผึ้ง เอื้องเทียน แววมยุรา 74 79 เอื้องก้านกิ่ว 91 เอื้องสีตาล 83 87 88 เอื้องคำผักปราบ เอื้องเย้าลม 89 92 เอื้องชะนี 98 104 เขากวางอ่อน 112 มังกรทอง 113 เอื้องนิ่ม 116 บานจ้วน 129 เสือแผ้ว 131 รองเท้านารีเหลืองปราจีน ช้างดำ 108 122 แมงมุมเหลือง 134 สามก้อม 137 พรรณี 132 โทนสีของดอก เหลือง เหลือง-แดง เหลือง-ขาว เหลือง-น้ำตาล เหลือง-เขียว เหลือง-ม่วง ชนิดกล้วยไม้ คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids สีของดอก 19 เข็มเหลือง 147


- จำแนกตามรูปทรงของฝัก (Pod shape) โดยทั่วไปแล้วการจําแนกชนิดกล้วยไม้จะใช้ส่วนของดอก (reproductive organ) เป็นหลัก แต่ หากไม่พบดอกกล้วยไม้ แต่พบฝักอาจจะพอเทียบเคียงได้ เพราะลำต้นและใบของกล้วยไม้ หลายชนิดมีลักษณะใกล้เคียงกัน ในคู่มือเล่มนี้จึงได้จัดกลุ่มกล้วยไม้โดยใช้ฝักแก่ แต่มีบางชนิด ในรูปไม่ใช่ฝักแก่ เนื่องจากข้อจำกัดด้านการสำ รวจซ้ำ ฝักอ่อนอาจมีรูปร่างแตกต่างจากฝักที่ โตเต็มที่ ควรตีความรูปร่างของฝักอย่างกว้างๆ และสังเกตได้บ่อยที่สุด ทั้งนี้ได้กำหนดลักษณะ ของรูปทรงผลหรือฝักของกล้วยไม้ไว้ 5 ลักษณะ ส่วนสีของฝักกล้วยไม้ใช้เกณฑ์เดียวกันกับสี ของดอกกล้วยไม้ รูปทรงฝัก ชนิดกล้วยไม้ รูปขอบขนาน (oblong รูปขอบขนาน (oblong) ยาวและแคบ ขอบฝักเกือบขนานกัน รูปทรงรี (elliptical) ส่วนกว้างสุดอยู่ตรงกลาง ส่วนปลายและโคนเรียว รูปเส้นหรือเข็ม (linear) ยาวและแคบ คล้ายเส้นตรง รูปไข่ (ovate) รูปร่างคล้ายรูปไข่ ส่วนกว้างสุดอยู่ต่ำกว่ากลางฝัก รูปทรงกลม (round) มีรูปร่างคล้ายวงกลม ชนิดกล้วยไม้แยกตามรูปทรงของฝัก กีบม้าใหญ่ เอื้องเขี้ยวเสือลาย บานจ้วน เสือแผ้ว ตะขาบเหลือง ตรียัมปวาย เอื้องเขาแพะ เอื้องช่อม่วง เอื้องคำกิ่ว 78 ตาลเสี้ยนไม้ 85 เอื้องคำผักปราบ 89 กล้วยไม้น้ำ 104 เอื้องตาลหม่น 103 107 ช้างสารภีน้อย เอื้องพวงมาลัย ว่านพร้าว เอื้องใบไผ่ภูวัว หญ้าจิ้มฟันควาย สิงโตกลีบหลอด 25 29 32 33 34 37 เอื้องสร้อยทับทิม 43 50 49 เอื้องคำฝอย 52 77 เอื้องเงิน 75 เอื้องเสือแผ้ว ช้างดำ 122 123 รองเท้านารี เหลืองปราจีน 108 130 131 134 138 138 เอื้องนิ่ม 116 เอื้องเข็มหนู 129 20 รูปทรงของฝัก คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : Field Guide to the Wild Orchids


ช้างสารภี กุหลาบแดง 27 เอื้องปีกไก่ใหญ่ 31 เอื้องกุหลาบพวง เอื้องกุหลาบเดือยไก่ 30 รูปทรงฝัก ชนิดกล้วยไม้ รูปทรงรี (elliptical) 21 ชนิดกล้วยไม้แยกตามรูปทรงของฝัก 24 แววมยุรา หวายกาเร็ต เอื้องสายม่านพระอินทร์ เอื้องสายวิสูตร พวงหยก พลายชมพู หวายเขียว สิงโตทับทิมอินทนนท์ สิงโตดำ 39 สิงโตเสือดาว 38 40 สิงโตประหลาด 35 กะเรกะร่อนปากนกแก้ว เอื้องกำเบ้อ เอื้องสายล่องแล่ง 63 64 65 เอื้องสายน้ำเขียว 71 สิงโตเล็บเหยี่ยวใหญ่ สิงโตมรกต 45 46 เอื้องน้ำต้น 47 เอื้องพร้าว 48 เอื้องหมากเลื่อม เอื้องหิน กะเรกะร่อน 57 เอื้องกางเขน 56 เอื้องฉุน 58 เอื้องหมาก 60 62 เอื้องเทียนตะนาวศรี 59 55 ก้างปลา 51 เอื้องนางฟ่อน 72 73 เอื้องทอง 76 78 79 80 81 เอื้องก้านกิ่ว เอื้องคำตาควาย เอื้องใบไผ่ เอื้องจำปา เอื้องขนหมู 88 90 91 94 95 เอื้องแปรงสีฟัน 97 รองเท้านารีอินทนนท์ ข้าวเหนียวลิง รองเท้านารีหนวดฤาษี 101 เอื้องมอนไข่ใบมน 100 เสวตสุกรี 105 มณีโกเมน 106 110 109 สร้อยระย้า 53 ลิ้นกระบือ 114 120 121 เอื้องลำต่อ 54 สิงโตโคมไฟ 42 เอื้องตาเหิน 85 เอื้องตาเหิน 86 พลายงาม 119 เขากวางอ่อน 112 28 คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids รูปทรงของฝัก


รูปทรงฝัก ชนิดกล้วยไม้ รูปเส้นหรือเข็ม (linear) รูปไข่ (ovate) เอื้องนิ่มปากตัด เอื้องเสี้ยน เอื้องเทียน เอื้องแซะภู รูปทรงกลม (round) สิงโตกลอกตา สิงโตลิ้นดำ เอื้องไตรดอกนวล เอื้องรังนกไทยทอง เอื้องมณีรัตนา จุกพราหมณ์ รูหินี สามปอยแพะ ฟ้ามุ่ยน้อย เข็มขาว สามก้อม 137 ตรียำปวาย 138 เข็มม่วง 139 140 ฟ้ามุ่ย 142 143 145 36 44 66 41 124 127 เอื้องสามปอยนก 141 สามปอยหางปลา เข็มเหลือง 146 147 61 77 มังกรทอง 113 เอื้องกระเพาะปลา 115 เอื้องผึ้ง 74 87 26 133 เอื้องแซะ 96 เอื้องเงินแดง เอื้องคำ เอื้องกิ่งดำ เอื้องสีตาล 69 70 82 83 เอื้องเฉวียน ข้าวตอกอินทนนท์ 92 93 เอื้องตาลหม่น 102 เอื้องนิ่มก้านแดง 117 เอื้องแซะมะลิ 99 เอื้องชะนี 98 เอื้องนิ่มตาข่าย 123 เข็มแดง 144 รูปทรงรี (elliptical) ชนิดกล้วยไม้แยกตามรูปทรงของฝัก ช้างกระ หนวดพราหมณ์ เอื้องนิ้วนาง ช้างงาเดียว เอื้องมณีฉาย 126 128 132 135 136 เขาแกะ 125 22 รูปทรงของฝัก คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids ชนิดกล้วยไม้ 23 ตัวอย่าง ตัวอย่าง


ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Acampe praemorsa (Roxb.) Blatt. & McCann ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นอวบสั้น เป็นปล้องถี่ๆ ใบหนาแข็ง กว้าง 3-4 ซม. ยาว 20 ซม. ปลายใบมีรอยเว้า ตรงกลาง ดอกเป็นช่อตั้งยาว มี 4-6 ดอก/ช่อ ขนาดดอกประมาณ 1.5 ซม. ก้านดอกแข็งสั้น กลีบดอกสีเหลืองอ่อน มีเส้นลาย ตามขวางสีแดง กลีบปากสีขาวมีจุดสีม่วงเล็กน้อย ดอกมี กลิ่นหอมเย็น สีน้ำตาลแดง กลีบปากสีขาว ขนาดดอก 1 ซม. ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ฝักรูปทรงรีสีเขียวมะกอก ยาว 6-7 ซม. ป่าดิบแล้ง พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส อินเดีย บังกลาเทศ กัมพูชา จีน ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไต้หวัน เวียดนาม เอื้องเจ็ดปอย เอื้องตีนเต่า เอื้องดอกขาม เอื้องสารภี ช้างสารภี ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. บำรุงกำลัง 24 ACAMPE คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. Acampe rigida (Buch.-Ham. ex Sm.) P.F.Hunt ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้อิงอาศัย ใบรูปขอบขนาน คล้ายรางน้ำ กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 10 ซม. ดอกออกเป็นช่อ ดอกย่อยเรียงแน่น เป็นกระจุกกลม จำนวน 8-14 ดอก/ช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกโค้งมาด้านหน้า สีเขียวอมเหลือง และมีขีดตามขวาง สีน้ำตาลแดง กลีบปาก สีขาว ขนาดดอก 1 ซม. ออกดอกเดือนสิงหาคม – ตุลาคม ฝักรูปขอบขนาน สีเขียวมะกอกปนน้ำตาลแดง มีสันเป็นแถบ เข้มสีน้ำตาลแดง ก้านฝักยาว ฝักยาว 3.5-5 ซม. ป่าผลัดใบ พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส อินเดีย จีน ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันตก เอื้องตีนตุ๊กแก ช้างสารภีน้อย คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids ACAMPE 25


Acriopsis indica C.Wright ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยทรงกลมขนาดเล็ก เบียดแน่น เป็นกระจุก ใบรูปแถบมี 2 ใบ ขนาดประมาณ 1 x 10 ซม. ปลายแหลม ทิ้งใบเมื่อผลิดอก ช่อดอกยาว 10-12 ซม. มีดอกจำนวนมาก ดอกขนาด 0.8-1 ซม. กลีบเลี้ยงคู่ข้างเชื่อมกันเป็นรูปแถบสีเขียว อมเหลืองเช่นเดียวกับกลีบเลี้ยงบน กลีบดอกรูปช้อนสีเหลือง อ่อนมีจุดสีน้ำตาลเรื่อ ปลายกลีบมน กลีบปากสีขาวรูปขอบ ขนาน ขอบกลีบไม่เรียบ กลางแผ่นกลีบมีสันเตี้ยๆ 2 สัน ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน ฝักรูปไข่ สีเขียวลูกแพร์ ยาว 1 ซม. อินเดีย ลาว จีน เมียนมาร์ เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ทั่วประเทศ จุกพราหมณ์ เข็มหนูนมหนูหัวกลม ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. 26 ACRIOPSIS คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ Aerides crassifolia C.S.P.Parish ex Burb. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นแข็ง มีข้อปล้อง มักมีกาบใบแห้งสี น้ำตาลหุ้ม ใบอวบหนา สีเขียวอมม่วง กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-12 ซม. ปลายใบมน มีรอยเว้าสองแฉกไม่เท่ากัน ดอกออกที่ซอกใบแบบช่อกระจะ โค้งห้อยลง 10-20 ดอก/ช่อ บานเต็มที่กว้าง 2.8-3 ซม. สีม่วงจางถึงสีม่วงแดง กลีบปาก สีเข้มกว่ากลีบดอก เส้าเกสรสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อน กลีบดอก รูปรีถึงรูปไข่ กลีบปากรูปพัด ปลายกลีบปากแยกเป็น 3 พู กลีบปากพูกลางแผ่กว้าง ขอบโค้งลงหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย หูกลีบปากตั้งขึ้น โคนกลีบปากเป็นเดือยรูปกรวย โค้งชี้มา ด้านหน้า ออกดอกเดือนเมษายน-พฤษภาคม ฝักรูปทรงรีสีเขียวมะกอกปนน้ำตาลแดง มีสันเป็นแถบเข้ม สีน้ำตาลแดง ก้านฝักยาว ยาว 3.5-5 ซม. พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม อินเดีย ทั่วประเทศ ยกเว้นภาคกลาง เอื้องกุหลาบแดง ช้างแดงช้เอื้องฟ้าฟ้ห้ำ Rare : R คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids AERIDES 27


Aerides falcata Lindl. & Paxton ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นยาว อาจขึ้นตรงหรือเอน ใบแบน อวบน้ำ กว้างประมาณ 2-4 ซม. ยาวประมาณ 15-20 ซม. แผ่นใบค่อนข้างบางแต่เหนียว ปลายใบมน และเว้าตรงกลางเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ เป็นพวงห้อยลงออกดอกคราวละหลายช่อ ดอกบานเต็มที่ 2.5-3 ซม. กลีบดอกสีขาวอมม่วงแดง ปลายเดือยเรียวแหลม สีเขียวอ่อนอมม่วง มีกลิ่นหอมฟุ้ง กระจาย ออกดอกเดือนเมษายน-พฤษภาคม ฝักรูปทรงรีสีเหลืองเลม่อน ยาว 3-4 ซม. ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส กัมพูชา จีน ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ทั่วประเทศ เอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด เอื้องกุหลาบป่า เอื้องคำสบนก เอื้องด้ามข้าว เอื้องปากเป็ด เอื้องกุหลาบพวง ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. 28 AERIDES คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


Aerides multiflora Roxb. ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นหนาและแข็ง ลำต้นตั้งตรงหรือเอน เล็กน้อย ใบอวบหนาและโค้งพับลงตามยาวเป็นราง โคนใบเรียงชิด เรียงซ้อนถี่ผิวมันเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อ ห้อยลง จำนวนดอกอาจถึง 50 ดอก/ช่อ ดอกขนาด 2.5-3 ซม. กลีบเลี้ยงรูปรีแกมรูปขอบขนาน กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายกลีบมน พื้นกลีบ เลี้ยงและกลีบดอกสีขาวหรือสีแดงเรื่อ มีจุดสีแดงเข้ม จำนวนมาก ออกดอกเดือนเมษายน-พฤษภาคม ฝักรูปขอบขนาน สีหลืองข้าวโพด สันแหลมบางคล้ายปีก มีแนวร่องเป็นแถบเส้นหนา ยาว 2.5-3 ซม. บำรุงกำลัง ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ป่าเต็งรัง พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส อินเดีย บังกลาเทศ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เนปาล เวียดนาม เอื้องพวงมาลัย ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. พวงมาลัย พอทุยดีกุหลาบมาลัยแดง เอื้องเป็ดน้อย เอื้องนกน้อย เอื้องหางจ้อน เอื้องไอยเรศ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Vulnerable : VU คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids AERIDES 29


ทุกภาคยกเว้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อินเดีย บังกลาเทศ เนปาล จีน กัมพูชา ภูฏาน เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย Aerides odorata Lour. ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นต้นขึ้นตรง เอนหรือห้อยลง แผ่บใบค่อนข้างหนาและเหนียว พับเป็นรางตามยาว เรียงตัวซ้อนถี่ ผิวใบแห้ง ขนาด 12-15 x 2 ซม. ดอกออกเป็นช่อ ช่อดอกเอนในระนาบ หรือห้อยลงเล็กน้อย ขนาดของดอก 2.5-3 ซม. กลีบค่อนข้างอวบ ดอกในช่อมี จำนวนมาก ดอกบานทนหลายวัน มีกลิ่นหอมฟุ้งกระจาย ออกดอกเมษายน-พฤษภาคม ฝักรูปทรงรีสีเขียวลูกแพร์ ยาว 3 ซม. รักษาแผล ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส เอื้องกุหลาบเดือยไก่ ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. กุหลาบกระเป๋าปิด เอื้องกุหลาบขาว เอื้องพวงกุหลาบ เอื้องเป็ดน้อย ม้าหมุย Rare : R 30 AERIDES คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


Agrostophyllum planicaule (Wall. ex Lindl.) Rchb.f. อินเดีย จีน ลาว บังกลาเทศ กัมพูชา มาลายา เมียนมาร์ เนปาล เวียดนาม ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้อิงอาศัย เจริญแบบแตกกอ สูง 30-50 ซม. ใบ จำนวน 1-2 ใบ ออกสลับระนาบเดียว แผ่นใบรูป ขอบขนาน ปลายใบหยักเป็นสองแฉกไม่เท่ากัน ช่อดอกออกที่ปลายยอด แบบช่อกระจุกแน่น ทรงกลม มี 10-20 ดอก ขนาดดอก 3-4 มม. สีขาวครีมมีแต้มสีเหลือง กลางกลีบปาก ออกดอกเดือนเมษายน-พฤษภาคม ฝักทรงรีขนาดเล็ก สีเขียวมะนาว ยาว 4-7 มม. เอื้องปีกไก่ใหญ่ ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids AGROSTOPHYLLUM 31 ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


Anthogonium gracile Wall. ex Lindl. ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้ดิน สูง 15-20 ซม. มีหัวใต้ดินรูปทรงค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. ใบ จำนวน 2 ใบ แผ่นใบรูปแถบ กว้าง 0.7-3 ซม. ยาว 7-45 ซม. ปลายใบเรียวแหลม ทิ้งใบช่วงออกดอก ช่อดอกกระจะออกด้านข้างลำต้น 5-10 ดอก ช่อดอกยาว 15-30 ซม. ดอกขนาด 1 ซม. สีขาว ชมพูหรือม่วง กลีบเลี้ยง เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายกลีบแยกคล้ายปากแตร กลีบ ดอกรูปช้อนแคบ ปลายกลีบปากแยกเป็น 3 พู ดอกพลิกกลับ กลีบปากอยู่ด้านบน ออกดอกเดือนกันยายน-ตุลาคม ฝักรูปขอบขนาน สีเขียวหญ้ามอส ยาว 2-2.5 ซม. พื้นที่โล่งตามลานหิน ป่าโปร่ง พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส อันเดีย บังกลาเทศ กัมพูชา จีน ลาว เมียนมาร์ เนปาล เวียดนาม ว่านพร้าว ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ว่านป้าวป้ 32 ANTHOGONIUM คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


Arundina graminifolia (D.Don) Hochr. subsp. caespitosa (Aver.) H.A.Pedersen & Schuit. Rare : R ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้ดิน มีเหง้าสั้นๆ แตกกอเป็นกระจุกหนาแน่น ประมาณ 100 ต้นต่อกอ ลำต้น ยาว 25–60 ซม ใบเดี่ยวเรียงสลับระนาบเดียว รูปแถบ กว้าง 2–5 มม. ยาว 10–18 ซม. ปลายแหลม สีเขียวเข้มเป็นมัน ช่อดอกแบบช่อกระจะออกที่ปลายยอดดอกย่อย 1–4 ดอก สีม่วงอ่อนถึงสีม่วงเข้ม กลิ่นหอม กลีบเลี้ยงรูปขอบขนาน แกมรูปไข่แคบ ปลายมน กลีบดอกรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 0.6–0.8 ซม. ยาว 1.8–2.4 ซม. ปลายกว้างมนถึงกลม กลีบปากรูปแตร ออกดอกเดือนเมษายน-กรกฎาคม ฝักรูปขอบขนาน สีเขียวใบเตย ยาว 3-4 ซม. ลานหิน ลานทรายหรือ ตามโขดหิน ริมน้ำ พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส อินเดีย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ศรีลังกา เวียดนาม อินโดนีเซีย เอื้องใบไผ่ภูวัว ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids ARUNDINA 33


Arundina graminifolia (D.Don) Hochr. ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้ดินลำต้นเรียว ผอมและตั้งตรง มีความสูงประมาณ 0.6-2.0 ม. ขึ้นเป็นกอ ใบเรียวคล้ายใบหญ้าหรือใบไผ่ แผ่นใบยางและอ่อน โคนเป็นกาบหุ้มลำต้น มีความกว้าง 1.0 - 2.0 ซม. ดอกออกเป็นช่อสั้น เกิดที่ปลายยอด มี 1-5 ดอก ขนาดดอก 2-6 ซม. สีชมพูอ่อนจนถึงสีม่วง ใบประดับดอกมีขนาดเล็ก กลีบปากมีขนาดใหญ่ที่สุด ปลายกลีบหยักเป็นคลื่น สีม่วงสด หรือสีม่วงอ่อนหรือสีขาว กลางกลีบสีเหลืองสดหรือเหลืองอ่อน มีความผันแปรของสีดอกสูง ออกดอกเกือบตลอดปี ฝักรูปขอบขนาน สีเหลืองเลม่อนหรือสีเขียวมะกอก ยาว 4-5 ซม. ป้องกันการอักเสบ ที่โล่ง ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ทุ่งหญ้า พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส บังคลาเทศ กัมพูชา จีน อินเดีย ลาว เมียนมาร์ เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรี ลังกา ไต้หวัน, เวียดนาม ทั่วประเทศ หญ้าจิ้ม จิ้ ฟันควาย แขมดอกขาว แขมเหลือง ง้วนตากหงาย ม้วนตักหงาย ห้อนตักหงาย ฮ้วนตักหงาย น้ำทราย ยี่โถปีนัง หญ้าแผงสีหญ้าแยงแย่ ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. 34 ARUNDINA คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


Bulbophyllum affine Lindl. ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเต็งรังผสมป่าสน ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้อิงอาศัย มีเหง้าทอดเลื้อย ลำลูกกล้วยรูปทรง กระบอก ใบรูปขอบขนานแคบ แผ่นใบหนา อวบ และแข็ง เกิดตรง ปลายลำลูกกล้วยหนึ่งใบ ดอกเดี่ยว ออกที่โคนลำลูกกล้วย ขนาดดอก 2.5 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีครีมหรือสีเหลืองอ่อน มีขีดขนาน ตามยาวสีม่วงแดงเข้ม กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม กลีบดอก รูปใบหอก กลีบปากรูปไข่แกมขอบขนาน แผ่นกลีบหนา สีเหลืองเข้ม ขอบกลีบสีแดงเข้ม เส้าเกสรสั้นป้อม ดอกบานเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ฝักรูปทรงรีสีเขียวลูกแพร์ ยาว 2.5-3 ซม. ก้านฝักยาว กัมพูชา จีน อินเดีย ลาว เมียนมาร์ เนปาล ไต้หวัน เวียดนาม ภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ สิงโตประหลาด ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. สิงโตงาม พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids BULBOPHYLLUM 35


Bulbophyllum bittnerianum Schltr. ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้อิงอาศัย สูง 3-4 ซม. ลำลูกกล้วยรูปกลม ใบรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 10-12 ซม. จำนวน 1 ใบ/ลำลูกกล้วย ดอกออกเป็นช่อจากโคนกอ ยาว 10-12 ซม. มีใบประดับ สีครีมประสีเลือดหมู ดอกย่อยเรียงกันแน่น กลีบเลี้ยงและ กลีบดอกสีครีม กลีบปากสีเหลืองเข้ม ขนาดดอก 1 ซม. ออกดอกเดือนกันยายน-ธันวาคม ฝักรูปทรงกลม สีเขียวหญ้ามอส ยาว 1-1.5 ซม. จีน ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก สิงโตกลอกตา ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเต็งรังผสมป่าสน พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส Rare : R 36 BULBOPHYLLUM คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


Bulbophyllum helenae (Kuntze) J.J.Sm. กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยทรงกระบอกแกมรี สูง 2-2.5 ซม. ใบรูปขอบขนาน กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 15-20 ซม. มี 1 ใบ ต่อลำลูกกล้วย ดอกออกเป็นช่อจากโคนกอ ยาว 10-12 ซม. สีเหลือง แกมส้ม และมีประสีส้มหรือสีน้ำตาลแดงทั่วดอก กลีบเลี้ยง คู่ล่างเชื่อมติดกัน รูปร่างคล้ายถุง ขนาดดอก 0.8x2 ซม. มีกลิ่นคาว ออกดอกเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ฝักรูปขอบขนาน สีน้ำตาลไม้สนสีดาร์ ยาว 2-3 ซม. ช่วงเวลาออกดอกช่ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส อินเดีย จีน ลาว เมียนมาร์ เนปาล เวียดนาม ภาคเหนือ ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. พวงถุงคำ คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids BULBOPHYLLUM 37


Bulbophyllum leopardinum (Wall.) Lindl. ex Wall. ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้อิงอาศัย หรืออาศัยบนหิน เจริญแบบแตกกอ ลำลูกกล้วยทรงรูปไข่ ขึ้นชิดกัน ใบมี 1 ใบ ออกปลายลำลูกกล้วย แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 10-17 ซม. ปลายใบแหลม ช่อดอก ออกที่โคนลำลูกกล้วย แบบช่อกระจะ มี 1-3 ดอก ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 3.5 ซม. สีเขียวแกมเหลือง มีจุดสีแดงเข้มกระจายทั่วกลีบดอกและกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยง รูปไข่กว้าง กลีบดอกรูปรีถึงรูปไข่ กลีบปากสีแดงเข้ม รูปสามเหลี่ยมกว้างหนา เส้าเกสรสีเหลือง ออกดอก เดือนเมษายน-สิงหาคม ฝักรูปทรงรีสีเขียวลูกแพร์ ยาว 5-6 ซม. จีีน อินเดีย ลาว เมียนมาร์ เนปาล เวียดนาม ภาคเหนือ สิงโตเสือดาว ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส ป่าดิบเขา 38 BULBOPHYLLUM คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


Bulbophyllum medioximum J.J.Verm., Schuit. & de Vogel ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยทรงกลมหรือรูปไข่ ใบเดี่ยว ใบรูปขอบขนาน ตั้งตรง ใบหนา ปลายใบทู่ ช่อดอกแบบกระจะ ตั้งตรง ยาว 15-35 ซม. มี 4-6 ดอก/ช่อ ดอกตูมสีม่วงหรือม่วงสีทับทิม ดอกบานสีม่วงอ่อน กลีบเลี้ยง กลีบดอก และกลีบปากสีม่วงแดง มีเส้นสีม่วงแดง ขนาดบานเต็มที่ กว้าง 1 ซม. ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ฝักรูปทรงรีสีเขียวมะกอก ยาว 1-1.5 ซม. จีน เวียดนาม ภาคเหนือ สิงโตทับทิมอินทนนท์ ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส ป่าดิบเขา คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids BULBOPHYLLUM 39


Bulbophyllum nigrescens Rolfe สิงโตดำ สิงโตนิล สิงโตรวงข้าวดำ ข้าวเหนียวดำ ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยรูปรีถึงรูปกรวย ออกเรียง เป็นกระจุก กว้าง 1-1.5 ซม. ใบมี 1 ใบ ที่ปลายลำ ใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 1.5-1.8 ซม. ยาว 10-15 ซม. ดอกออกเป็นช่อจากโคน ลำลูกกล้วยยาวได้ถึง 40 ซม. ดอกเรียงตัวด้านเดียว ทยอยบานจากโคนช่อถึงปลายช่อ ดอกบานเต็มที่กว้าง 7-10 มม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอก สีเกือบดำ กลีบปากสีม่วงดำ ออกดอกเดือนพฤศจิกายน ฝักรูปทรงรีสีเขียวมะนาว ขนาดประมาณ 1 ซม. ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส ป่าดิบแล้ง Vulnerable : VU 40 BULBOPHYLLUM คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


Bulbophyllum oblongum (Lindl.) Rchb.f. กล้วยไม้อิงอาศัย เจริญเติบโตทางด้านข้าง ใบรูปรีขนาด 1 x 1.5-2.5 ซม. แผ่นใบอวบน้ำและแข็ง ปลายแหลม ดอกเดี่ยว สีเหลืองอ่อนแกมเขียว กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม แกมรูปหอก ขนาดใหญ่ มีเส้นสีน้ำตาลแดงตามยาว 7 เส้น กลีบดอกขนาดเล็ก กลีบปาก รูปสามเหลี่ยมสีเข้มกว่ากลีบ อื่นๆ ปลายเส้าเกสรสีขาว ขนาดดอกประมาณ 1 ซม. ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ฝักรูปทรงกลม สีเขียวมะนาว ยาว 1 ซม. ช่วงเวลาออกดอกช่ ป่าดิบ พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส อินเดีย บังกลาเทศ เมียนมาร์ เวียดนาม ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคใต้ ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. เอื้องไตรดอกสีนวล คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids BULBOPHYLLUM 41


Bulbophyllum odoratissimum (Sm.) Lindl. ex Wall. ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้อิงอาศัย สูง 2-5 ซม. มีไหล ลำลูกกล้วย รูปทรง กระบอก สีเหลือง มีสันเหลี่ยม ใบรูปขอบขนาน กว้าง 0.8-1 ซม. ยาว 4-5 ซม. จำนวน 1 ใบ ต่อลำลูกกล้วย ดอกออกเป็นช่อจากโคนกอ ยาว 6-8 ซม. ดอกย่อยเรียงแน่น ที่ปลายช่อเป็นทรงกลม ขนาด 2 ซม. กลีบเลี้ยงสอบเรียวสีขาว ปลายกลีบแต้มสีเหลืองหรือสีส้ม กลีบดอกขนาดเล็กค่อนข้างใส กลีบปากสีส้มอมแดง มีกลิ่นหอม ออกดอกเดือนมิถุนายนถึง กรกฎาคม ฝักรูปขอบขนาน สีเหลืองข้าวโพด ขนาด 1.5-2 ซม. ต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง กัมพูชา จีน อินเดีย ลาว เมียนมาร์ เนปาล เวียดนาม ทั่วประเทศ สิงโตโคมไฟ ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส ป่าดิบเขา ตุ่มสิงโต สิงโตคอยาว สิงโตโคมไฟเล็ก สิงโตหลอดไฟ เอื้องขนตาสิงโต 42 BULBOPHYLLUM คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


Bulbophyllum rufinum Rchb.f. คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids BULBOPHYLLUM 43 ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยทรงกลมหรือรูปไข่ ใบ มี 1 ใบ รูปขอบขนานแกมรี กว้าง 3 ซม. ยาว 13-14 ซม. ช่อดอกแบบกระจะ มี 20-40 ดอก ขนาดบานเต็มที่ กว้าง 3 มม. ยาว 8 มม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเหลือง มีเส้นตามยาวสีม่วง กลีบปากสีเหลืองเข้ม ออกดอกเดือน พฤศจิกายน-มกราคม ฝักรูปขอบขนาน สีเหลืองเนื้อกล้วย ยาว 1-2 ซม. บำรุงร่างกาย แก้หืด อินเดีย บังกลาเทศ กัมพูชา จีน ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม ทุกภาคยกเว้น ภาคกลาง กีบม้าใหญ่ ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส ป่าดิบ หางกระรอก เอื้องกีบม้า


Bulbophyllum secundum Hook.f. ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยทรงกลมหรือรูปไข่ ใบ มี 1 ใบ รูปขอบขนานแกมรี กว้าง 0.4-1 ซม. ยาว 3.2-10 ซม. ช่อดอกแบบกระจะ มี 8-23 ดอกต่อช่อ กลีบเลี้ยงและ กลีบดอก สีเขียวอ่อน มีเส้นตามยาวสีม่วงดำ กลีบปากสีดำ อมม่วง มีขนละเอียด สั้น ตามขอบกลีบดอกและกลีบปาก ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ฝักรูปทรงกลม สีเหลืองเลม่อน ขนาด 1 ซม. จีน ลาว เมียนมาร์ เนปาล เวียดนาม ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สิงโตลิ้นดำ ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ 44 BULBOPHYLLUM คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


Bulbophyllum wendlandianum (Kraenzl.) Dammer ช่วงเวลาออกดอกช่ ลำต้นขนาดกลาง เจริญด้านข้าง ลำลูกกล้วยห่างกันราว 1 ซม. รูปไข่สูง 2 ซม. ใบรูปรีแกมรูปหอก มี 1 ใบ/ลำ ขนาดใบ 2.5x5 ซม. ปลายใบบุ๋ม ออกเป็นช่อจากโคนกอ ยาว 10-12 ซม. ดอกย่อยเรียงแน่น ที่ปลายก้านช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเหลืองอ่อน มีขีด ตามยาวสีแดงเข้มที่ปลายขอบกลีบมีขนหนา ชัดเจน กลีบ เลี้ยงคู่ล่างเรียวแหลม กลีบปากสีแดงเข้ม ดอกบานเต็มที่ กว้าง 2 ซม. ออกดอกเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ฝักรูปทรงรีสีเขียวสด ขนาด 2.5-3.5 ซม. ลาว เมียนมาร์ ภาคเหนือ สิงโตเล็บเหยี่ยว ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส ป่าดิบเขา สิงโตนาคราช คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids BULBOPHYLLUM 45


Bulbophyllum xylophyllum C.S.P.Parish & Rchb.f. ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยขนาดเล็ก และมีไหล ใบหนา รูปใบพาย กว้าง 3 ซม. ยาว 5-7 ซม. ดอกย่อยออกที่ปลายก้านเป็นกลุ่ม จำนวน 10-12 ดอก/ช่อ ช่อดอกมีขนาดเล็ก 0.5-1 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอก สีเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงเป็นรูปหอก กลีบปากเป็นรูปรีแกม รูปไข่กลับ ออกดอกเดือนพฤศจิกายน ฝักรูปทรงรีสีเขียวลูกแพร์ ขนาด 0.7-1 ซม. อินเดีย จีน ลาว เมียนมาร์ เนปาล เวียดนาม ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สิงโตมรกต ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส ป่าดิบขื้น หัวใจสิงโต 46 BULBOPHYLLUM คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


Calanthe cardioglossa Schltr. ช่วงเวลาออกดอกช่ กล้วยไม้ดิน ลำลูกกล้วยรูปไข่คอดคล้ายน้ำเต้า ใบพับจีบหลายใบ ปลายใบ แหลม โคนใบเป็นกาบ ทิ้งใบเมื่อผลิดอก ช่อดอกแบบกระจะออกที่ข้อข้าง ดอกขนาดเล็ก หลายดอก เรียงห่างกัน ดอกกว้าง 1.5 ซม. ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีเหลือง สีชมพูสีแดง จนถึงสีม่วง ในช่อเดียวกัน กลีบเลี้ยง และกลีบดอกรูปรีกว้าง ปลายกลีบ แหลมจนถึงเรียวแหลม ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ฝักรูปทรงรีสีเขียวใบเตย ยาวประมาณ 2-3 ซม. ลดการบวมน้ำที่ศีรษะ กัมพูชา ลาว เวียดนาม ทั่วประเทศ เอื้องน้ำ ต้น ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง เฒ่านั่งนั่ ฮุ่ง เอื้องน้ำต้น เอื้องเลี่ยม Rare : R คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids CALANTHE 47


กล้วยไม้ดิน สูง 50-70 ซม. โคนเป็นลำลูกกล้วยรูปทรงกลม มีกาบใบหุ้ม ใบรูปรีแกมขอบขนาน ขนาด 8-12 x 60-100 ซม. แผ่นใบเป็นจีบ ปลายใบสอบ มี 4-5 ใบ ดอกออกเป็นช่อตั้งจากโคนกอ สูงได้ถึง 150 ซม. มี 15-20 ดอก/ช่อ สีน้ำตาลอมเหลือง หลังกลีบสีขาว กลีบปากห่อปลายแผ่สีชมพูเข้ม ขนาดดอก 9-10 ซม. มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ฝักรูปทรงรีสีเขียวถั่วพิตาชิโอ ยาว 4-6 ซม. Calanthe tankervilleae (Banks) M.W.Chase, Christenh. & Schuit. ช่วงเวลาออกดอกช่ ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส อินเดีย บังกลาเทศ กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น ลาว เมียนมาร์ เนปาล นิวกินี ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เอื้องพร้าว ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ฮ่องฟู่ 48 CALANTHE คู่มือสำ รวจกล้วยไม้ป่า : The Field Guide of Wild Orchids


Click to View FlipBook Version