The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by BARAJUU, 2022-02-16 22:32:00

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

---

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

จังหวัดอุ
ทัยธานี

จัดทำโดย
นางสาว ชลิตา เดชบุรัมย์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง2 เลขที่ 24



คำนำ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา
วิทยาการคำนวณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องของ
เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่เป็นสถานที่สำคัญของจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็น
จังหวัดเล็กๆในประเทศไทย แต่มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติมากมาย และมีความ
สวยงาม รวมทั้งมีคาเฟ่ ที่พัก ให้กับเหล่านักท่องเที่ยวที่มเที่ยวที่จังหวัดอุทัยธานี

ผู้จัดทำได้ตระหนักถึงนักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับเขต
อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จึงได้รวบรวมข้อมูลมาไว้ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เล่มนี้ เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จัก จังหวัดอุทัยธานีมากขึ้น และผู้จัดทำหวังว่าหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษา ได้เป็นอย่างดี

นางสาวชลิตา เดชบุรัมย์

สารบัญ ข

คำนำ ก
สารบัญ ข
ประวัติความเป็นมา 1
สถานที่ตั้ง และพื้นที่ 2
ตัวอย่างการรายงานการลาดตระเวน 3
ความหลากหลายทางชีวภาพ 4
พฤติกรรมสัตว์ป่าบางชนิด 5
แผนที่แสดงการกระจายปัจจัยการคุกคามการล่า 6
แหล่งพรรณไม้ 7
แนวทางในการต่อยอด 10
บรรณานุกรม 11

ประวัติความเป็นมา 1
เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

เดิมทีเป็นผืนป่าที่ได้รับสัมปทานให้ตัดไม้ แต่กลับไม่เคยถูกบุกรุก จนกระทั่งในปี
พ.ศ. 2508 จึงเริ่มมีการสำรวจทางวิชาการอย่างจริงจัง และได้รับการประกาศให้เป็น
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลำดับที่ 5 ของไทย
ลักษณะภูมิประเทศมีทั้งทิวเขาและที่ราบ โดยเป็นแนวเขาของทิวเขาถนนธงชัยและตอน
เหนือของทิวเขาตะนาวศรี มีความหลากหลายทั้งภูมิประเทศ, ภูมิอากาศ และความชื้น
อันเป็นที่มาของความหลากหลายทางชีวภาพ จนกล่าวได้ว่าที่นี่มีป่าเกือบทุกประเภท
ยกเว้นป่าชายเลนและป่าชายหาด หรือป่าพรุน้ำจืด เท่านั้น โดยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วย
ขาแข้งถือเป็นพื้นที่เงาฝน เนื่องจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรที่อยู่ทิศตะวัน
ตกเป็นพื้นที่ ๆ สูงกว่าระดับน้ำทะเล ดังนั้นเมื่อฝนมาปะทะที่ด้านทิศตะวันตกรวมถึงตะวัน
ตกเฉียงใต้ก็จะตกที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรโดยข้ามเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ห้วยขาแข้งไป จึงทำให้ป่าที่นี่ส่วนใหญ่ไม่ใช่ป่าดิบ แต่เป็นป่าเบญจพรรณ โดยเฉพาะป่าไผ่

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ยังเป็นต้นน้ำของแหล่งน้ำสำคัญ 3 สาย
คือ ลำน้ำทับเสลา ซึ่งไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำทับเสลา และไหลลงสู่แม่น้ำสะแกกรังจนกระทั่ง
ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา, ลำน้ำห้วยขาแข้งไหลลงสู่เขื่อนศรีนครินทร์ และลำน้ำแม่กลอง–
อุ้มผาง ที่ไหลจากจังหวัดกาญจนบุรีและตาก ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญในการผลิตไฟฟ้ารวม
ถึงน้ำประปาในภาคตะวันตกและกรุงเทพมหานคร

สถานที่ตั้ง และพื้นที่ 2

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าขนาดใหญ่แห่ง
หนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี และมีพื้นที่ติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์
ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรในพื้นที่จังหวัดตากและจังหวัดกาญจนบุรี ที่อยู่ทางทิศตะวันตก
ถือเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของผืนป่าตะวันตกของประเทศไทย และเป็นผืนป่าที่ยังคง
ความอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ
โดยองค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534 มีลักษณะเป็นผืนป่าที่มีความ
ยาวจากเหนือจรดใต้วัดเป็นเส้นทางตรงมากกว่า 100 กิโลเมตร มีพื้นที่กว่า
1,737,587 ไร่ แต่ได้ผนวกรวมเพิ่มขึ้นอีก 2 ครั้ง จนขยายเป็นประมาณ
1,800,000 ไร่ หรือ 2,880 ตารางกิโลเมตร ในปัจจุบัน ทางเหนือติดกับอุทยาน
แห่งชาติแม่วงก์ ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางรวมถึง
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ในจังหวัดตากและกาญจนบุรี และทิศใต้ติดกับ
อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี รวมถึงอุทยานแห่งชาติพุเตย
จังหวัดสุพรรณบุรี มีเพียงพื้นที่ด้านทิศตะวันออกเท่านั้นที่อยู่ติดกับชุมชน 3 อำเภอ
คือ อำเภอบ้านไร่, อำเภอลานสัก และอำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

ตัวอย่าง 3

การรายงานผลการลาดตระเวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

ความหลากหลายทางชีวภาพ 4

ความหลากหลายทางชีวภาพของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็น
แหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญของสัตว์ป่าหายากหลายชนิด บางชนิดอยู่ในสถานะใกล้สูญ
พันธุ์ เช่น สมเสร็จ , เก้งหม้อ , เลียงผา , กระทิง , วัวแดง , ควายป่า ซึ่ง
เป็นแหล่งที่อยู่ทางธรรมชาติแห่งสุดท้ายแล้วในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาศัย
ของ เสือโคร่ง ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และได้แพร่ขยายไปยังพื้นที่ป่าใกล้เคียงกัน
ด้วย จากการศึกษาพบว่ามีประมาณ 70–80 ตัว จากปริมาณทั้งหมดที่มีใน
ธรรมชาติในประเทศไทย 250–300 ตัว โดยเฉพาะที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขา
แข้งนี้จะมีสัตว์ป่าที่เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวที่นิยมการเที่ยวแบบผจญภัยหรือ
นักถ่ายภาพธรรมชาติอยู่ทั้งสิ้น 7 ชนิด เรียกกันว่า "ผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 7" (Big 7)
ได้แก่ ช้าง , เสือโคร่ง , เสือดาว , ควายป่า , วัวแดง , กระทิง และ สมเสร็จ

พฤติกรรมสัตว์ป่าบางชนิด 5

จากการตรวจสอบพบสัตว์ป่า ประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 12
ชนิด ได้แก่ กวางป่า กระทิง ช้างป่า เก้งธรรมดา วัวแดง สมเสร็จ เม่นใหญ่
หมูป่า และหมีควาย สัตว์ป่าประเภท นก พบนกที่เข้ามาใช้ประโยชน์ 3 ชนิด ได้แก่
นกยูง นกทึดทือพันธุ์เหนือ และ เหยี่ยวรุ้ง โดยมีสัตว์ป่าเข้ามาใช้ประโยชน์บริเวณ
โป่ง ซึ่งแต่ละโป่ง แตกต่างกัน โดยโป่งแรกมีสัตว์เข้ามาใช้ประโยชน์ จำนวน 145
ครั้ง แห่งที่2 จำนวน 111 ครั้ง และแห่งที่ 3 จำนวน 76 ครั้ง

สำหรับสัตว์ป่าที่เข้ามาใช้ประโยชน์โป่ง มากที่สุด คือ กวางป่า เข้ามาใช้
ประโยชน์ 131 ครั้ง (39.46%) รองลงมา คือ กระทิง 55 ครั้ง (16.57%)
และช้างป่า 47 ครั้ง (14.16%) ช่วงเวลาที่สัตว์ป่าเข้ามาใช้ประโยชน์บริเวณโป่ง
มากที่สุด ในช่วงเวลา 12.00 น. -18.00 น.

ทั้งนี้สัตว์ป่าที่เข้ามาใช้ประโยชน์โป่ง ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ป่าประเภทที่กินพืช
เป็นอาหาร โดยจะเข้ามากินดินจากโป่ง หรือไม่ก็เข้ามากินน้ำจากโป่งน้ำ รวมทั้ง
สัตว์ผู้ล่า เช่น เสือโคร่ง เสือดาว หมาใน ที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์จากโป่งในทางอ้อม
คือ ใช้โป่งเป็นพื้นที่ในการซุ่มโจมตีเหยื่อ

แผนที่แสดงการกระจายปัจจัยการคุกคามการล่า 6
เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

แหล่งพรรณไม้ 7

พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (Huai Kha Khaeng Wildlife
Sanctuary) เป็นแหล่งของพรรณไม้ถึง 3 ภูมิพฤกษ์ คือ ภูมิพฤกษ์ Indo-
China ภูมิพฤกษ์ Indo-Malaya และภูมิพฤกษ์ Indo-Burma

สังคมพืชเด่นของพื้นที่ ได้แก่ สังคมป่าผลัดใบ สังคมป่าดงดิบเขา สังคม
ป่าดงดิบชื้น สังคมป่าดงดิบแล้ง สังคมป่าเต็งรัง และสังคมป่าไผ่ นอกจากสังคมหลัก
ดังกล่าวแล้วยังมีสังคมพืชย่อยที่น่าสนใจอีกหลายชนิด เช่น สังคมผาหิน กลุ่มไม้สน
เขา สังคมดอนทรายริมลำน้ำ และสังคมป่าแคระที่ผ่านการทำลายมาก่อน ลักษณะที่
สำคัญของแต่ละสังคมพืช มีดังนี้

สังคมป่าดงดิบเขา (Hill Evergreen Forest Community) เป็นสังคม
พืชที่กระจายในระดับสูง พบในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 1,000 - 1,554 เมตร
จากระดับน้ำทะเล เช่น บริเวณยอดเขาปลายห้วยขาแข้ง บริเวณเทือกเขาเขียว
เทือกเขาใหญ่และเทือกเขาน้ำเย็น ป่าชนิดนี้มีอยู่ประมาณ 235,156.25 ไร่
(376.25 ตารางกิโลเมตร) ปัจจัยอันเป็นตัวกำหนดสังคม (Limiting
Factors) ได้แก่ ความหนาวเย็นและความชื้น อันเนื่องมาจากความสูง
อุณหภูมิจึงค่อนข้างต่ำตลอดปี โดยปกติอุณหภูมิจะไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส

โครงสร้างทางด้านที่ตั้งของป่าดงดิบเขา ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วย
ขาแข้ง จะแปรผันไปตามลักษณะภูมิประเทศ บริเวณยอดเขาสูงที่รับลมจัด มักมีไม้
ใหญ่ขึ้นอยู่ห่าง ๆ กัน ความสูงไม่เกิน 10 เมตร บริเวณพื้นดินมีหญ้าและพืชล้มลุก
ปกคลุมหนาแน่น บริเวณหุบเขาที่มีดินลึก โครงสร้างประกอบด้วยสี่ชั้น ได้แก่ ชั้น
เรือนยอด มีความสูงถึง 35 เมตร พรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ วงศ์ไม้ก่อ เช่น ก่อ
เดือย ก่อหนาม ก่อนก ก่อใบเลื่อม ฯ เรือนยอดชั้นรองสูงประมาณ 15 - 20
เมตร พรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ มะนาวควาย เหมือดเขา พลองดง ปอขี้แรด ฯ ชั้นไม้
พุ่ม มีความสูงไม่เกิน 7 เมตร และชั้นคลุมดิน มีความสูงประมาณ 1 เมตร ซึ่งการ
แยกชั้นจะเด่นชัดเฉพาะชั้นคลุมดินเท่านั้น

8สังคมป่าดงดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) พบกระจายในระดับ

เดียวกันกับป่าดงดิบชื้น แต่ขึ้นอยู่ในดินที่มีความชื้นน้อยกว่า เช่น บนสันเขา
หรือหุบห้วยแห้งที่มีน้ำเฉพาะฤดูฝน ดินค่อนข้างลึกเป็นดินร่วนปนทราย ทราย
ร่วน หรือดินทรายร่วนปนดินเหนียว พบในระดับสูง 400 - 1,000 เมตร
จากระดับน้ำทะเล พื้นที่ทั้งหมดของป่าชนิดนี้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขา
แข้ง มีอยู่ประมาณ 88,593.75 ไร่ (461.75 ตารางกิโลเมตร) เทือกเขา
ด้านตะวันออก ด้านเหนือ และด้านตะวันตกของพื้นที่ ดินมีความเป็นกรด
ระดับปานกลาง

ลักษณะโครงสร้างของสังคมประกอบด้วย เรือนยอด มีความสูง
ประมาณ 40 เมตร เรือนยอดชั้นรองแบ่งแยกได้ไม่เด่นชัดนัก มีไม้ในป่าผลัดใบขึ้น
ผสมอยู่ค่อนข้างมาก ไม้หลักที่ใช้ในการจำแนกในสังคมนี้ ได้แก่ ยางแดง สะเดาปัก
ยางโอน บางพื้นที่อาจพบยางนา และตะเคียนทอง ขึ้นผสมอยู่ด้วย ไม้ชั้นรองที่ใช้ใน
การจำแนก ได้แก่ ค้างคาวดำ กัดลิ้น ลำไยป่า กระเบากลัก มะไฟป่า สะทิม และ
คอแลน ในบริเวณที่โล่งอันเนื่องมาจากไม้ล้ม จะพบกล้วยป่าขึ้นอย่างหนาแน่นผสม
กับหญ้าและเฟิร์น โดยเฉพาะหญ้าลิเภา บริเวณริมลำห้วยชิดขอบน้ำจะมีผักกูด ผัก
หนาม และตะไคร่น้ำ ขึ้นค่อนข้างหนาแน่น

สังคมป่าผสมผลัดใบ (Mixed Deciduous Forest) มีพื้นที่ครอบคลุม
ประมาณ 731,937.50 ไร่ พบในบริเวณสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ประมาณ 450 - 900 เมตร ปัจจัยกำหนดที่สำคัญ ได้แก่ ความลึกของดิน
ช่วงความแห้งแล้งและระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล พืชพรรณไม้เกือบ
ทั้งหมดในสังคมจะปลดใบทิ้งในช่วงเดือนธันวาคม และออกใบใหม่ในช่วงเดือน
เมษายน พรรณไม้เด่น ได้แก่ มะค่าโมง สมพง อินทนิลบก ก้านเหลือง เสลา
คูณ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีป่าไผ่ขึ้นผสมอยู่ด้วย

เนื่องจากป่าชนิดนี้ค่อนข้างโปร่ง จึงมีเถาวัลย์ขนาดใหญ่ขึ้นผสม
อยู่มาก ในฤดูฝนผืนป่าจะหนาแน่นไปด้วยลูกไม้และพืชล้มลุกผสมกับไม้พุ่มเตี้ย มี
หญ้าปรากฏทั่วไปอย่างน้อย 11 ชนิด

9สังคมป่าเต็งรัง (Deciduous Dipterocarp Forest) ป่าชนิดนี้มีอยู่

ประมาณ 214,531.25 ไร่ (343.25 ตารางกิโลเมตร) พบในพื้นที่แห้งแล้ง
ดินเก็บความชื้นได้ไม่นาน จึงปรากฏในที่ดินทรายจัด ดินตื้นและมีหินผสมอยู่
มาก มีปรากฏในระดับความสูงตั้งแต่ 200 - 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ไม้
เด่นของสังคม ได้แก่ เต็ง รัง ยางเหียง ยางพลวง ยางกราด พุดป่า ตาลกรด
และผักหวาน เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีสังคมพืชในชั้นของการทดแทนที่ปรากฏอยู่หลายสังคม
ด้วยกัน เช่น สังคมผาหิน สังคมไร่ร้าง และสังคมดอนทรายริมลำห้วย

แนวทางในการต่อยอด 10

เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นสถานที่สำคัญ ถือเป็นหนึ่งในหัวใจ
หลักของผืนป่าตะวันตกของไทย ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ เป็นแหล่ง
ต้นน้ำสำคัญ จึงอยากชวนเชิญนักท่องเที่ยว และผู้ที่อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เล่มนี้ มาสัมผัสบรรยากาศป่าไม้ ธรรมชาติ ที่น่าค้นหา ของจังหวัดอุทัยธานี
เพราะมีศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็น
แหล่งศึกษาหาความรู้ในพื้นที่สำคัญนี้ จุดเด่นของที่นี่ คือ ในกิจกรรมศึกษา
ธรรมชาติจะมีหลักสูตรการอนุรักษ์เสือโคร่ง เนื่องจากศูนย์ฯอยู่ในพื้นที่ป่าห้วยขา
แข้ง ซึ่งเป็น ผืนป่าสำคัญหรือที่อยู่ของเสือโคร่งที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก มีน้ำตก
ไซเบอร์ที่มีความสวยงามซึ่งเป็นน้ำตกที่มีระดับลดหลั่นกันไปจำนวน 4 ชั้น มีความ
กว้างมากกว่า 30 เมตร ความสูงในแต่ละชั้น ที่มีขนาดความสูงที่ลดหลั่นกันไป
ตั้งแต่ 6 เมตร 3 เมตร 2 เมตรและ 1 เมตร เรียงรายบริเวณใกล้ๆกันอย่าง
สวยงาม

บรรณานุกรม 11

http://portal.dnp.go.th/Content/WildlifeConserve?contentId
https://www.google.co.th/travel/things-to-do/see-all?g2lb
https://www.paiduaykan.com/travel/เที่ยวอุทัยธานี
https://th.wikipedia.org/wiki/เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
https://guru.sanook.com/4353/
https://thai.tourismthailand.org/Attraction/เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง


Click to View FlipBook Version