The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือสื่อ วงล้อพยัญชนะ A-Z

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ab5217651, 2022-02-25 21:26:14

คู่มือสื่อ วงล้อพยัญชนะ A-Z

คู่มือสื่อ วงล้อพยัญชนะ A-Z

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์
สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

คำนำ

คู่มือการใช้สื่อการสอนฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ประกอบใน
การใช้สื่อวงล้อพยัญชนะ A-Z ซึ่งจัดทำขึ้นภายใต้การจัดการเรียนรู้
ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชา การศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา การจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้เป็นการจัดการ
เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายใต้กิจกรรมเพชรครุศาสตร์ มีกิจกรรมที่ส่งเสริม
การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนในโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนได้มี
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี และช่วยให้ผู้เรียนมีสื่อการสอนที่สามารถ
พัฒนาการเรียนรู้ได้

คู่มือการใช้สื่อการสอนฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนประกอบ
ในการใช้สื่อวงล้อพยัญชนะ A-Z ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งคู่มือและสื่อ
เป็นส่วนหนึ่งที่นักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาพิเศษ-ภาษา
ไทย จัดทำเพื่อมอบสื่อการสอนวงล้อพยัญชนะ A-Z ให้แก่ผู้เรียน
โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดสงขลา ได้ใช้ในการจัดการเรียนรู้และช่วย
ส่งเสริมศักยภาพทักษะต่าง ๆ และเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนในการ
ต่อยอดความรู้ที่ดีในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น

จากการจัดทำสื่อการสอนวงล้อพยัญชนะ A-Z และคู่มือฉบับนี้
เกิดขึ้นได้ภายใต้การร่วมมือ ร่วมใจกันของนักศึกษาคณะครุศาสตร์
สาขาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย และมีความตั้งใจที่จัดทำสื่อการ
สอนวงล้อพยัญชนะ A-Z เพื่อมอบให้แก่ผู้เรียน โรงเรียนโสตศึกษา
จังหวัดสงขลา เพื่อนำสื่อการสอนและคู่มือการใช้สื่อที่จัดทำขึ้นไปใช้
ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา
ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ
๒๕๖๕

สารบัญ

๑ บทนำ หน้า
๑.๑ หลักการและเหตุผล ๕
๑.๒ ความสำคัญของการจัดทำสื่อการเรียนรู้ ๖
๑.๓ วัตถุประสงค์ของการจัดทำสื่อการสอน ๗
๑.๔ เป้าหมาย ๘

๒ เอกสารที่เกี่ยวข้อง ๙
๒.๑ พยัญชนะภาษาอังกฤษ ๒๖ ตัว ๑๐
๒.๒ การสะกดตัวอักษรด้วยนิ้วมือ ๑๑
๒.๓ หลักการสะกดนิ้วมือ ๑๓
๑๔
๓ การดำเนินการ ๑๕
๓.๑ อุปกรณ์การจัดทำสื่อ ๑๕
๓.๒ ขั้นตอนการจัดทำสื่อ ๑๖
๓.๓ วิธีการใช้สื่อ ๑๗
๓.๔ ข้อควรระวังในการใช้สื่อ ๑๘
๓.๕ ระยะเวลาการดำเนินการ ๑๘
๓.๖ สถานที่การดำเนินการ ๑๘
๓.๗ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑๙
๒๑
บรรณานุกรม
ภาคผนวก




บทนำ

๑ บทนำ

๑.๑ หลักการและเหตุผล

จากการที่ได้ศึกษาพบว่าสิ่งที่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในสังคม
ปัจจุบัน คือ การศึกษา ซึ่งหากจะมองถึงสุขภาวะของบุคคลก็จะมอง
การศึกษาเป็นสำคัญ การศึกษาไม่ได้มีความสำคัญและมีความจำเป็น
เฉพาะบุคคลบางกลุ่ม แต่มีความสำคัญกับบุคคลทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น
บุคคลปกติ หรือแม้กระทั่งบุคคลที่มีความบกพร่องในด้านต่าง ๆ ล้วน
แต่ก็ต้องการการศึกษา ดังนั้น บุคคลทุกคนควรได้รับสิทธิ์ทางการศึกษา
อย่างเท่าเทียมกัน และไม่มีการแบ่งแยกว่าบุคคลนั้นแตกต่างกัน เพราะ
แม้ว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ แต่บุคคลเหล่า
นั้นก็เป็นมนุษย์เช่นกัน

นอกจากนี้การศึกษาเป็นสิ่งที่สามารถทำให้ผู้เรียนมีความรู้
ความสามารถ สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษามาปรับใช้ในชีวิต
ประจำวันได้ ดังนั้น การที่สถานศึกษา ครูผู้สอน ผู้เรียน มีความพร้อม
ในการจัดการเรียนรู้ จะทำให้การการจัดเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ มี
ทักษะ กระบวนการที่ดี และมีสำคัญต่อการศึกษา ซึ่งทางนักศึกษา
สาขาวิชา การศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสงขลา ได้เล็งเห็นความจำเป็นในการจัดทำสื่อวงล้อพยัญชนะ
A-Z ขึ้น เพื่อมอบสื่อการสอนวงล้อพยัญชนะ A-Z ให้แก่ผู้เรียนโรงเรียน
โสตศึกษา จังหวัดสงขลา ซึ่งสื่อที่จัดทำขึ้นนี้เป็นสื่อที่มีความเหมาะสม
สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการได้ยิน และภายในสื่อ
ประกอบด้วยภาษามือ และพยัญชนะภาษาอังกฤษ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้จากการใช้สื่อ ดังนั้น สื่อวงล้อพยัญชนะ A-Z จึงเป็นสื่อที่
สามารถนำมาใช้ในการสอนให้ผู้เรียนได้มีความรู้ และสามารถสื่อสาร
ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ รวมไปถึงสามารถนำความรู้ไปต่อยอด
ในอนาคตได้

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๖

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

๑.๒ ความสำคัญของการจัดทำสื่อการเรียนรู้

การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง
นอกจากการสอนเนื้อหาความรู้ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจแล้ว การใช้
สื่อประกอบในการสอนด้วยนั้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทั้งครูและผู้เรียน
ทำให้ครูสามารถสอนผู้เรียนให้เกิดความเข้าใจได้มากขึ้น และผู้เรียนเอง
สามารถรับความรู้ ความเข้าใจ ที่เพิ่มขึ้นจากการเรียนรู้ในชั้นเรียนโดยใช้สื่อ
ประกอบได้ นอกจากนี้สื่อเป็นส่วนหนึ่งในแนวทางการตัดสินใจที่ทำให้ผู้
เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขึ้นตามจุดมุ่งหมาย ซึ่งการสอนโดย
ทั่วไป ครูมักมีบทบาทในการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหา
สาระ หรือทักษะต่าง ๆ ล้วนมีบทบาทในการจัดประสบการณ์เพื่อการ
จัดการเรียนรู้ สื่อการสอนจึงเป็นส่วนที่สร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นใน
ความคิดของผู้เรียน ทำให้เร้าความสนใจของผู้เรียนได้ ดังนั้น สื่อจึงมีความ
สำคัญและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ซึ่งนักศึกษาสาขาวิชา การศึกษาพิเศษ-
ภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จึงเลือกจัดทำสื่อวง
ล้อพยัญชนะ A-Z ขึ้น เพื่อมอบสื่อวงล้อพยัญชนะ A-Z นี้ให้แก่โรงเรียนโสต
ศึกษา จังหวัดสงขลา ไว้สำหรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนใ้ห้แก่ผู้เรียน
ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ มีความสามารถในการสื่อสาร และมีความพร้อมต่อ
การเรียนรู้

สื่อการสอนวงล้อพยัญชนะ A-Z เป็นสื่อที่ช่วยส่งเสริมทักษะในด้าน
ภาษามือ และภาษาอังกฤษ ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นที่ทำให้ผู้ที่มีความ
ต้องการจำเป็นพิเศษทางการได้ยิน สามารถนำความรู้จากการเรียนโดยมีสื่อ
ที่ประกอบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเห็นรูปธรรมมากขึ้น และสนใจต่อการเรียน
ได้ดีขึ้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่าสื่อการสอนวงล้อพยัญชนะ A-Z มีความสำคัญ
ต่อผู้เรียน และการศึกษา เนื่องจากจะช่วยให้การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนมี
ประสืทธิภาพที่ดีขึ้นทั้งครูและผู้เรียนได้ ส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ ความ
สามารถ และเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศต่อไปใน
อนาคต

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๗

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

๑.๓ วัตถุประสงค์ของการจัดทำสื่อการสอน

๑. เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่านและจำพยัญชนะภาษาอังกฤษ
ได้อย่างรวดเร็วและคล่องแคล่ว

๒. เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักการใช้ภาษามือในการสะกดพยัญชนะ
ภาษาอังกฤษได้

๓. เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจพยัญชนะภาษาอังกฤษจากการใช้
ภาษามือ

๔. เพื่อให้นักเรียนนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและใน
อนาคตได้

๑.๔ เป้าหมาย

๑. ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะเพิ่มขึ้นจากเดิม ทำให้ผู้เรียนมีส่วน
ร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อัน
ดีในระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง รวมไปถึงครูผู้สอนด้วย

๒. ช่วยสร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้
๓. ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับพยัญชนะ A-Z และสะกดนิ้วในภาษา
มือได้
๔. เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการใช้ภาษามือ และจดจำคำศัพท์ภาษา
อังกฤษได้
๕. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้จากการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นและ
สามารถต่อยอดสู่อนาคตได้

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๘

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย


เอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง

๒ เอกสารที่เกี่ยวข้อง

๒.๑ พยัญชนะภาษาอังกฤษ ๒๖ ตัว

ตัวอักษรภาษาอังกฤษมีทั้งหมด ๒๖ ตัว ซึ่งมีทั้งตัวอักษรพิมพ์ใหญ่
และตัวอักษรพิมพ์เล็ก ดังนี้

อักษรพิมพ์ใหญ่
ABCDEFGHI
J K L M N O PQ R
STUVWXYZ

อักษรพิมพ์เล็ก

abcdefghi
jklmnopqr
stuvwxyz

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๑๐

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

๒.๒ การสะกดตัวอักษรด้วยนิ้วมือ

แบบสะกดนิ้วมืออเมริกัน ประกอบด้วยท่ามือ ๒๖ ท่า ตามตัว
อักษรพิมพ์ใหญ่ A- Z จำนวน ๒๖ ตัว ตัวอักษรพิมพ์เล็ก a – z จำนวน
๒๖ ตัว ซึ่งแบบสะกดนิ้วมืออเมริกัน นับเป็นต้นแบบการนำไปประยุกต์
ใช้สะกดนิ้วมือในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ท่ามือของการ
สะกดนิ้วมืออเมริกัน มีดังนี้

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๑๑

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

คุณหญิงกมลา ไกรฤกษ์ อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเศรษฐเสถียร
ถือได้ว่าเป็นผู้ริเริ่มการสะกดนิ้วมือของไทยขึ้นใช้ในประเทศไทยเป็น
คนแรกในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ โดยทำการดัดแปลงมาจากแบบตัวอักษร
สะกดนิ้วมือของอเมริกัน (American Manual Alphabets) และได้ยึด
หลักทาง สัทศาสตร์ทั้งของภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หลักการคือ
เสียงพยัญชนะหรือเสียงสระตัวใดในภาษาไทยที่ออกเสียงเหมือนหรือ
คล้ายคลึงกับเสียงพยัญชนะหรือเสียงสระในภาษาอังกฤษ ก็ให้ใช้ท่า
สะกดนิ้วมือเหมือนกัน เช่น (b) = (บ) ท่าสะกดนิ้วมือ แสดงดังรูปที่ ๑

รูปที่ ๑ ท่าสะกดนิ้วมือของ “b”

รูปที่ ๒ ท่าสะกดนิ้วมือของ “b” " f " "e"

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๑๒

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

๒.๓ หลักการสะกดนิ้วมือ

การสะกดนิ้วมือเป็นการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ ต้องทำท่าให้ชัดเจน
ในระดับสายตา ไม่ยกมือขึ้นๆ ลงๆ เว้นวรรคให้ถูกต้องตามหลักภาษาพูด
และภาษาเขียน โดยการ สะกดนิ้วมือต้องสะกดเป็นคำ ด้วยการหันฝ่ามือ
ไปสู่ผู้อ่านพร้อมกับเปล่งเสียงคำนั้นด้วย นิยมทำที่ ข้างใบหน้าหรือระดับ
อก ในภาษาไทยนิยมสะกดพยัญชนะ และสระบางตัวด้วยมือที่ถนัด ส่วน
มืออีกข้างหนึ่งใช้แสดงตำแหน่งของสระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายอื่นๆ

การสะกดนิ้วมือ เป็นวิธีการสื่อภาษาชนิดหนึ่งที่ใช้ในหมู่คนหูหนวก
หรือบุคคลปกติที่ต้องการจะสื่อภาษา สื่อความเข้าใจกับคนหูหนวก โดยใช้
ประกอบกับการทำท่าภาษามือ เพื่อบอกชื่อเฉพาะหรือเพื่อเน้นย้ำคำศัพท์
ที่ต้องการ

รูปที่ ๓ การสะกดนิ้มือภาษาอังกฤษรูปแบบอเมริกัน

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๑๓

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย


การ
ดำเนินการ

๓ การดำเนินการ

๓.๑ อุปกรณ์การจัดทำสื่อ

๑. ฟิวเจอร์บอร์ด ๒ แผ่น (ใหญ่)
๒. กระดาษขาวเทา ๑ แผ่น
๓. กระดาษสติ๊กเกอร์เคลือบ ๓๐ แผ่น
๔. ตัวหนีบกระดาษ ๒๖ ตัว
๕. กาวสองหน้าบาง ๑ ม้วน
๖. กาวร้อน
๗. กรรไกร
๘. มีดคัตเตอร์
๙. แผ่นรองตัดกระดาษ

๓.๒ ขั้นตอนการจัดทำสื่อ

๑. กำหนดหัวข้อสื่อที่จะลงมือปฏิบัติ
๒. สร้างวงล้อคำในโปรแกรม Microsoft Word
๓. บันทึกรูปภาพที่จะใส่ลงในวงล้อ
๔. นำรูปภาพใส่ลงในวงล้อให้ครบทุกช่อง
๕. สร้างบัตรคำในโปรแกรม Microsoft Word
๖. กำหนดรูปแบบของช่องบัตรคำตามที่ต้องการ
๗. ใส่ตัวอักษรให้ครบทุกช่องที่บัตรคำ
๘. ตัดฟิวเจอร์บอร์ดให้มีขนาดเท่ากับวงล้อที่ได้ทำไป

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๑๕

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

๙. นำวงล้อที่ได้ปริ้นมา นำมาติดฟิวเจอร์บอร์ดที่ได้ตัดไว้ แล้วเคลือบ
ด้วยกระดาษสติ๊กเกอร์

๑๐. นำบัตรคำที่ได้ปริ้นมา มาติดกับกระดาษขาวเทา แล้วเคลือบด้วย
กระดาษสติ๊กเกอร์

๑๑. แล้วนำมาติดกับตัวหนีบกระดาษ

๓.๓ วิธีการใช้สื่อ

สื่อประกอบไปด้วยทั้งหมด ๒ ส่วน คือ ตัววงล้อ และบัตรคําที่มีพยัญชนะ A-Z

ซึ่งวิธีการใช้สื่อมีขั้นตอนที่สําคัญดังนี้
๑.วงล้อภาษามือจะแบ่งเป็นแผ่นซึ่งใน ๑ แผ่นจะแบ่งเป็น ๗ ช่อง
ตัวอย่างเช่น แผ่น A-G จากนั้นให้ผู้เรียน เลือกช่อง A และพร้อมทําท่า
ประกอบภาษามือ จากช่อง A และหยิบบัตรคําพยัญชนะ A เพื่อไปหนีบให้
ตรงกับช่อง A
๒.เมื่อผู้เรียนเลือกช่องภาษามือและหนีบบัตรคําจํากช่อง A แล้ว ให้ผู้
เรียนเลือกและ หนีบบัตรคําในช่องถัดไป คือ B-G ไปเรื่อยๆ จนครบสื่อใน ๑
แผ่น
๓.ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ภาษามือและพยัญชนะภาษาอังกฤษได้หลาก
หลายคำ ตั้งแต่ พยัญชนะ A-Z ซึ่งจะแบ่งตามแผ่นที่ไม่ซ้ำกัน
๔.ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรู้พยัญชนะต่างๆ โดยไม่จําเป็นต้องเรียง
หรือเลือกเรียนรู้ ได้ตามความสนใจของผู้เรียนได้

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๑๖

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

๓.๔ ข้อควรระวังในการใช้สื่อ

๑. สื่อการเรียนการสอนไม่สามารถใช้ได้ทุกจุดประสงค์
๒. ควรใช้สื่อการสอนให้เหมาะสมกับจุดประสงค์
๓. ผู้ใช้สื่อจะต้องคุ้นเคยกับเนื้อหาและวิธีการเสนอของสื่อชนิดนั้นๆ
๔. สื่อการเรียนการสอนจะต้องเหมาะสมกับวิธีสอนและกิจกรรมที่ใช้ใน
การเรียนการสอน
๕. ผู้สอนจะต้องรู้จักวิธีการใช้สื่อในการสอนเป็นอย่างดี
๖. สื่อการเรียนการสอนจะต้องให้ความเป็นรูปธรรม
๗. ควรจัดสิ่งแวดล้อมสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสม
๘. ควรทดลองใช้สื่อการเรียนการสอนก่อนใช้และควรมีคู่มืออธิบายการ
ใช้สื่อที่ชัดเจน

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๑๗

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

๓.๕ ระยะเวลาการดำเนินการ

วันที่ ๑๘ – ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕

๓.๖ สถานที่การดำเนินการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา คณะครุศาสตร์ อาคารศูนย์ช่วยเหลือ
ระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

๓.๗ ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. นักเรียนสามารถรู้จักพยัญชนะภาษาอังกฤษและแสดงภาษามือได้
๒.นักเรียนสามารถจำพยัญชนะภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
๓.ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้รู้สึกสนุกและอยากเรียนมากขึ้น
๔.ช่วยให้นักเรียนได้รับประโยชน์จากการรู้จักพยัญชนะภาษาอังกฤษ
๕.นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและในอนาคตต่อไปได้

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๑๘

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

แหล่งอ้างอิง

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๑๙

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

แหล่งอ้างอิง

Hmong.(๒๕๖๕).การสะกดตัวอักษรด้วยนิ้วมือ, สืบค้นเมื่อ ๒๔ กุมภาพันธ์
๒๕๖๕.จาก. https://hmong.in.th/wiki/Fingerspelling

ภาษาอังกฤษออนไลน์. (๒๕๖๕). พยัญชนะภาษาอังกฤษ, สืบค้นเมื่อ ๒๔
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕. จาก. https://xn--12cl9ca5a0ai1
ad0bea0clb11a0e.com|

(๒๕๖๕). การสะกดนิ้ว, สืบค้นเมื่อ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕. จาก.
http://elearning.psru.ac.th/courses/274/%E0%B8%9A%
E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%883.pdf

กมลาไกรฤกษ์. 2496. แบบสะกดนิ้วมือไทย.กรุงเทพฯ: สมาคมคนหูหนวก
แห่งประเทศไทย. พจนานุกรมสารสนเทศภาษามือไทย[ออนไลน์]. เข้า
ถึงได้จาก :(http://pirun.ku.ac.th/~fhumalt/THSL/THSL/
THSLindex.html

ราชบัณฑิตยสถาน. 2542. หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน
แบบถ่ายเสียง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก(http://www.roin.go.th/th/
profile/index.php)

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๒๐

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

ภาคผนวก

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๒๑

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

ภาคผนวก

สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z

รูปที่ ๑ สื่อวงล้อพยัญชนะ A-Z

รูปที่ ๒ ภาษามือพยัญชนะภาษาอังกฤษ

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๒๒

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

ภาคผนวก

สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z

รูปที่ ๓ สื่อ วงล้อพยัญชนะ A-Z

รูปที่ ๔ สื่อวงล้อพยัญชนะ A-Z และตัวหนีบบัตรคำภาษาอังกฤษ

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๒๓

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

ภาคผนวก

รูปภาพของการทำสื่อ

รูปที่ ๑ การตัด และวัดขนาดวัสดุในการการทำสื่อ

รูปที่ ๒ การติดสื่อ การประกอบสื่อตามขั้นตอน

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๒๔

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

ภาคผนวก

รูปภาพของการทำสื่อ

รูปที่ ๓ การประกอบสื่อ และจัดทำสื่อ

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๒๕

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

คณะผู้จัดทำ

ที่ปรึกษา

ผศ.รักษิณา หยดย้อย
นางสาวพัชยากรณ์ พลูเกตุ
นางหทัยรัตน์ ศรีชัยชนะ
อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ผู้จัดทำ

นักศึกษาชั้นปีที่ ๑ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย
นักศึกษาชั้นปีที่ ๒ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คู่มือการใช้สื่อการสอน วงล้อพยัญชนะ A-Z กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ๒๖

โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

คู่มือการใช้สื่อการ
สอน วงล้อ

พยัญชนะ A-Z

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่าง
ประเทศ
โดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขา
วิชาการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทย

กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕


Click to View FlipBook Version