เตือนภัย! กินยาพาราเกินขนาด อันตรายที่คุณอาจคาดไม่ถึง

กินยาพาราเกินขนาด

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น “ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้” หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         ยาสามัญประจำบ้าน ที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวด ไม่ว่าจะปวดหัว ปวดท้อง รวมไปถึงสามารถลดไข้ได้นั้น และถือเป็นยาที่พบเจอได้ง่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่มีอันตรายและส่งผลเสียต่อร่างกายหากทานในปริมาณที่พอดี  นั่นคือ ยาพาราเซตามอน โดยตัวยามีกลไกการออกฤทธิ์ยับยั้งสารเคมีในสมอง เช่น สารพรอสตาแกลนดิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาการปวดที่เกิดขึ้น แต่ถ้ากินยาพาราเกินขนาดก็มีผลเสียได้ ซึ่งอันตรายอย่างไรนั้นไปดูกันเลย

สารบัญ

พาราเซตามอนเป็นยาอะไร ออกฤทธิ์ช่วยในเรื่องอะไรบ้าง

         มาทำความรู้จักกับยาสามัญประจำบ้าน พาราเซตามอน หรือ ยาพารา มีชื่อเรียกทางการว่าอะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) หรือ N-acetyl- para-aminophenol (APAP) ที่เรารู้จักกัน เป็นที่รู้กันดีว่าจัดเป็นยาในกลุ่มบรรเทาอาการปวด ในระดับเล็กน้อยไปจนถึงระดับปานกลาง เช่น ปวดเมื่อย ปวดหัว ปวดฟัน ปวดท้อง ปวดหลัง ปวดตามข้อต่าง ๆ แม้กระทั่งปวดประจำเดือน ยาพาราก็สามารถบรรเทาอาการลงได้เป็นอย่างดี

กินยาพาราเกินขนาด

         ซึ่งกลไกในการออกฤทธิ์ของยาพารานี้ จะเกี่ยวข้องกับการยับยั้งการสังเคราะห์พรอสตาแกลนดินในระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งจะส่งผลให้เรามีอาการปวดที่ลดลง แต่ถ้าหากกินยาพาราบ่อยหรือกินยาพาราเกินขนาดนั้น จะเป็นอันตรายต่อร่างกายและเกิดสารพิษในร่างกายขึ้นได้

ปวดหัวข้างขวา – ข้างซ้าย ปวดหัวจี๊ด ๆ อาการปวดหัวแบบไหนอันตราย เช็กด่วน!!!

กินยาพาราเซตามอนที่ถูกต้อง ต้องกินยังไง

         การกินยาพาราให้ถูกต้องเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทราบ เนื่องจากว่า ยาพาราเป็นยาสามัญประจำบ้านที่หาทานได้ง่ายและไม่ถูกควบคุมจำเพาะ เพราะไม่มีอันตรายต่อผู้ป่วย แต่หากกินยาพาราเกินขนาด อาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น วิธีการกินและปริมาณที่พอเหมาะ จึงเป็นสิ่งสำคัญ

กินพาราเกินขนาด

ปริมาณการกินยาพาราที่เหมาะสม

1.ปริมาณที่เหมาะสมสำหรับผู้ใหญ่

         โดยปกติแล้ว การกินยาพาราเกินขนาด จะเกิดในผู้ใหญ่เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นเพราะว่าร่างกายอาจถูกกระตุ้นด้วยสิ่งแวดล้อม มลภาวะต่าง ๆ รวมไปถึงพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย ยาพาราจึงเป็นอันดับแรกที่ผู้ใหญ่เลือกใช้

         ขนาดยาที่ปกติจะอยู่ที่ 650 – 1000 มิลลิกรัมต่อครั้ง โดยรับประทานทุก 4 – 6 ชั่วโมง สำหรับการให้ทางทวารหนักจะมีขนาดอยู่ที่ 650 มิลลิกรัมต่อครั้ง ในทุก 4 – 8 ชั่วโมงเช่นกัน หากรับประทานเกิดกว่านั่น จะเข้าสู่ภาวะกินยาพาราเกินขนาด ทำให้เกิดพิษต่อร่างกายขึ้นได้

กินยาพาราเกินขนาด

2.ปริมาณที่เหมาะสมสำหรับเด็ก

         สำหรับเด็กที่น้ำหนักตัวน้อยกว่า 60 กิโลกรัม สามารถกินยาพาราได้ในปริมาณ 10 – 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักหนึ่งกิโลกรัม ทุก 4 – 6 ชั่วโมง หากมีไข้ควรกินอยู่ที่สูงสุดไม่เกิน 75 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักหนึ่งกิโลกรัม กรณีที่น้ำหนักตัวมากกว่า 60 กิโลกรัม สามารถทานปริมาณยาเดียวกับผู้ใหญ่ได้ ในเด็กมักไม่ค่อยเกิดการกินยาพาราเกินขนาด เนื่องจากได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์และผู้ปกครอง จึงปลอดภัยมากกว่าในผู้ใหญ่

ลืมกินยา ทำอย่างไรดี? เกร็ดเล็ก ๆ เกี่ยวกับการกินยาที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน

กินยาพาราเกินขนาด อาการที่พบเป็นอย่างไร

         การกินยาพาราเกินขนาด จะทำให้เกิดกลไกความเป็นพิษภายในร่างกายขึ้น จากผลคำแนะนำขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาควบคุมและปรับลดการให้ยาพาราในแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 650 มิลลิกรัมต่อครั้ง และในหนึ่งวันไม่ควรทานเกิน 2400 มิลลิกรัม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดพิษและเป็นอันตรายต่อตับของผู้บริโภค และผลของการกินยาพาราเกินขนาดอื่นๆ มี 4 ระยะ ดังนี้

กินยาพาราเกินขนาด อาการ

ผลของการกินยาพาราเกินขนาด

  • ระยะที่ 1 ภายใน 24 ชั่วโมง จะเริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีเหงื่ออกตามร่างกาย
  • ระยะที่ 2 จะเกิดระหว่าง 24 – 48 ชั่วโมง อาจมีอาการปวดท้องบริเวณด้านขวา และจะพบค่าของเอนไซม์ทรานอะมิเนสสูงขึ้นผิดปกติ ในบางรายอาจมีอาการดีขึ้นเหมือนปกติ
  • ระยะที่ 3 ในเวลา 72 – 96 ชั่วโมง ผู้ป่วยกินยาพาราเกินขนาด อาการที่แสดงออกชัดเจนคือ ตัวเหลืองและตาเหลือง อาจมีอาการตับอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้
  • ระยะที่ 4 ในช่วง 4 – 14 วัน หลังกินยาราพาเกินขนาด ผู้ป่วยอาจหายเป็นปกติ หรือมีพยาธิสภาพเหลืออยู่บ้าง ตามความรุนแรงที่เกิดขึ้น
เครื่องวัดความดัน
ตาขาวเป็นสีเหลือง สัญญาณอันตราย เช็กด่วน! เกิดจากอะไร

วิธีแก้เบื้องต้นหากกินยาพาราเกินขนาด

         ถึงแม้ว่ายาพาราเป็นยาสามัญที่หาซื้อและรับประทานได้ง่าย แต่ก็มีข้อควรระวัง ที่ต้องปฏิบัติตาม คือไม่ควรทานเกินปริมาณที่กำหนด เพราะจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย แต่หากกินยาพาราเกินขนาด วิธีแก้เบื้องต้น สามารถทำได้ ดังนี้

กินยาพาราเกินขนาด วิธีแก้เบื้องต้น

วิธีแก้เบื้องต้นหากกินยาพาราเกินขนาด

  1. การทำให้ผู้ป่วยอาเจียน เพื่อให้ยาและของเหลวต่างๆ ออกจากร่างกายได้เร็วที่สุด ซึ่งเป็นวิธีที่ผู้ใกล้ชิดสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาเบื้องต้นได้
  2. การล้างกระเพาะหรือล้างท้อง วิธีนี้ต้องทำด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น โดยใส่ท่อทางปาก ให้ปลายสายยางอยู่ที่กระเพาะอาหาร แล้วทำการดูดสิ่งต่างๆ ขึ้นมา และใช้น้ำล้างกระเพาะอีกที

สรุป

         อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีการควบคุมและลดการให้ขนาดยาพาราลง เนื่องจากการกินยาพาราเกินขนาดทำให้เกิดพิษรุนแรงต่อการทำงานของตับ และส่งผลให้มีอันตรายถึงชีวิตหากยับยั้งการเกิดพิษไม่ทัน และด้วยยาพารานั้นเป็นยาสามัญที่ใกล้ตัวและหาซื้อได้ง่าย ทำให้จำนวนผู้ป่วยกินยาเกินขนาดพบเห็นได้บ่อย

         ในผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคตับอยู่แล้ว หากมีการกินยาพาราเกินขนาดจะมีความไวต่อการเกิดพิษได้มากกว่าคนปกติ และมีโอกาสถึงขั้นรุนแรงจนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้หากรักษาไม่ทัน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของเรา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมและกินยาพาราในขนาดที่เหมาะสมและไม่ถี่จนเกินไป

บทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

Website ของเรามีการเก็บ cookies เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน ... อ่านเพิ่มเติม นโยบายคุกกี้

Close Popup