ต้นฝาง



ฝาง ชื่อสามัญ Sappan หรือ Sappan tree

ฝาง ชื่อวิทยาศาสตร์ Caesalpinia sappan L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Biancaea sappan (L.) Tod.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

ต้นฝาง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง หรือเป็นไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มกึ่งไม้เถาผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-13 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและโค้งสั้น ๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเนื้อไม้หรือแก่นเป็นสีแดงเข้มและมีรสขมหวานจะเรียกว่า "ฝางเสน" แต่ถ้าแก่นไม้เป็นสีเหลืองส้มและมีรสฝาดขื่นจะเรียกว่า "ฝางส้ม" พรรณไม้ชนิดนี้เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย มักจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และตามเขาหินปูน

ฤทธิ์ทางเภสัชกรรม

1. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
สารสกัดจากแก่นฝาง ที่ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ staphylococcus aureus, shigella flexneri, vibrio cholerae และ parahaemolyticus สารสกัดจากแก่นฝางที่ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัม สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Dysenteriae และ Escherichia coli ได้

2. ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
สาร brazilin ที่สกัดได้จากแก่นฝาง มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนู Rat ที่ถูกทำให้เกิดการอักเสบที่เท้า (ฉีด Carageenin ในขนาด 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม)

3. ฤทธิ์ขยายหลอดเลือด
สารสกัดจากแก่นฝางที่ความเข้มข้น 10ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด aorta ได้

4. ฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์
สารสกัดจากแก่นฝางด้วยเมธานอล-น้ำ (1:1) และน้ำ สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวน human HT-1080 fibrosarcoma cell ได้

5. ฤทธิ์ยับยั้งการสะสมไขมันบริเวณหลอดเลือด
สาร hematein สกัดจากแก่นฝาง สามารถลดการสะสมของไขมันบริเวณผนังหลอดเลือดของกระต่ายได้

ที่มา : https://puechkaset.com/%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%87/

https://medthai.com/%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%87/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ต้นกระดุมไม้ใบเงิน

ต้นแสงเงินแสงทอง

ต้นเศรษฐีพันล้าน