ประวัติความเป็นมา

event th01

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ก่อตั้งขึ้นในปี พุทธศักราช 2500 เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำแหล่งโบราณคดีเมืองเชียงแสน ทำหน้าที่ในการเก็บรักษาและจัดแสดง โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่ได้จากการสำรวจ ขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานในเขตเมืองโบราณเชียงแสน ตลอดจนพื้นที่อื่น ๆ ในเขตจังหวัดเชียงราย สู่สาธารณชน โดยเป็นหน่วยงานในกำกับของกรมศิลปากร

about TH 01 
การจัดแสดงภายใน มุ่งเน้นการนำเสนอหลักฐานและข้อมูลที่เกี่ยวกับการตั้งหลักแหล่งของชุมชน ตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ เรื่อยมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ อาทิเช่น เครื่องมือหินกะเทาะ และเครื่องมือหินขัด ที่พบในบริเวณริมแม่น้ำโขง มีอายุราว 13,000-1,000 B.C. ซึ่งแยกออกเป็นสังคมล่าสัตว์ และสังคมเกษตรกรรม จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ที่พบหลักฐานตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา จำนวนมาก เช่น พระพุทธรูป ชิ้นส่วนประติมากรรมปูนปั้นประดับศาสนสถาน และศิลาจารึกที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษ 21-22 พื้นที่การจัดแสดงช่วงหลัง นำเสนอเรื่องราวของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองเชียงแสนและใกล้เคียง เช่น ชาวไทยวน ไทลื้อ อาข่า และเมี่ยน เป็นต้น
  about TH 02 
โบราณศิลปวัตถุชิ้นเอก ได้แก่ พระพุทธรูปศิลปะล้านนาที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16-23 ที่มีความงดงามและแสดงถึงเทคโนโลยีการหล่อโลหะของช่างในสมัยโบราณ เช่น พระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ จะใช้วิธีหล่อแยกส่วน แล้วนำมาประกอบเข้าด้วยกัน ก่อนทำการตกแต่งด้วยกรรมวิธีลงรักปิดทองจารึกที่มีเนื้อหากล่าวถึงการอุทิศถวายที่ดิน คน เงิน ทอง ให้วัดเก็บเกี่ยวผลประโยชน์และใช้แรงงาน เพื่อเป็นพุทธบูชาและสืบพระพุทธศาสนาที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 จารึกด้วยอักษรล้านนา
ชิ้นส่วนประติมากรรมปูนปั้นจากแหล่งโบราณคดีวัดป่าสัก สร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 19-22 เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเมืองเชียงแสนได้รับอิทธิพลรูปแบบทางศิลปกรรมจากอาณาจักรพุกาม อาณาจักรสุโขทัย แคว้นหริภุญไชย หรือจีน มาปรับปรุงจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และมีความหมายทางปรัญชา เช่น ประติมากรรมรูปหน้ากาล เป็นสัญลักษณ์ของกาลเวลาที่กัดกินทุกอย่างแม้แต่ตัวเอง นอกจากนั้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ยังให้บริการแก่สาธารณชน ในฐานะแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น การจัดอบรมศิลปะสำหรับเยาวชน การฝึกอบรมเยาวชนให้มีความรู้ในเรื่องของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จัดนิทรรศการพิเศษ และการดูและโบราณศิลปวัตถุที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นสมบัติของชาติแต่อยู่ในความดูแลครอบครองของวัดและเอกชนในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงรายอีกด้วย
  about TH 03 
วัดป่าสัก
ตั้งอยู่ด้านนอกกำแพงเมืองเชียงแสนทางด้านทิศตะวันตกมีหลักฐานปรากฏในชินกาลมาลีปกรณ์ว่าวัดป่าสักสร้างขึ้นขณะพญาแสนภูสร้างกำแพงเมืองเชียงแสนเสร็จสิ้นแล้ว 4 ปีสันนิษฐานว่าอยู่ในปี พุทธศักราช  1875 ได้มีภิกษุมาจากเมืองปาฏลีบุตรนำพระบรมสารีริกธาตุกระดูกตาตุ่มด้านขวามาถวาย พญาแสนภูจึงโปรดฯ ให้สร้างพระอารามขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่นอกกำแพงเมืองเชียงแสนด้านทิศตะวันตก เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุให้ปลูกต้นสักแวดล้อมพระอารามไว้ 300 ต้น ทรงแต่งตั้งภิกษุที่นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวายเป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ปลูกกุฎิเสนาสนะ อยู่ในวัดป่าสัก โบราณสถานสำคัญของวัดป่าสัก ได้แก่ เจดีย์ประธาน ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอด มียอด 5 ยอด ลวดลายปูนปั้นที่วัดป่าสักได้รับการยอมรับในเรื่องความงดงาม มีการประดับลวดลายปูนปั้นรูปครุฑ กินรี และลายกนก ลวดลายดอกไม้ที่สะท้อนอิทธิพลศิลปะจีน เช่น ลายเมฆ ลายช่องกระจก ลายบัวมีมีไส้ ลายดอกโบตั๋น และลายกลีบบัวขนาดใหญ่ เรียกว่าบัวฟันยักษ์ ที่เปรียบเทียบได้กับลายกลีบบัวของศิลปะอินเดียสมัยปาละ

วัดเจดีย์หลวง
ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองเชียงแสน เดิมเรียกว่าวัดพระหลวง ตำนานกล่าวว่าภายหลังจากเสร็จสิ้นพระราชภารกิจในการสร้างกำแพงเมืองเชียงแสน พญาแสนภูทรงสร้างเจดีย์องค์ใหม่ครอบไปบนเจดีย์ที่สร้างขึ้นโดยพญาศิริธรรมอโศกราชในวัดพระหลวงหลังจากนั้นอีก 3 ปี ทรงเล็งเห็นว่าวัดพระหลวงเป็นวัดสำคัญที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุกระดูกหน้าอกของพระพุทธเจ้าจึงโปรดฯ ให้สร้างพระวิหารวัดพระหลวง กว้าง 8 วา ยาว 17 วา และเจดีย์สูง 29 วา จากนั้นชินกาลมาลีปกรณ์ระบุว่ามีการบูรณะเจดีย์หลวง ในปี พุทธศักราช  2058 ในรัชสมัยของพระเมืองแก้ว โดยโปรดฯ ให้ขุดฐานเจดีย์ใหญ่ในมหาวิหารกลางเมืองเชียงแสน แล้วให้ก่อเจดีย์องค์ใหม่ ฐานกว้าง 15 วา 25 วา

กำแพงเมืองเชียงแสน
เอกสารประวัติศาสตร์ระบุว่าราว พุทธศักราช1871 พญาแสนภูทรงฟื้นฟูเมืองรอยเก่าริมแม่น้ำโขงด้านทิศตะวันตก โดยโปรดฯ ให้ขุดคูเมืองด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตกและทิศใต้ เว้นทิศตะวันออกเอาแม่น้ำโขงเป็นเขตแดน ก่อกำแพงเมืองทั้ง 4 ด้าน มีประตู 11 ประตู ปัจจุบันเหลือหลักฐานกำแพงเมืองด้านทิศเหนือยาว 950 เมตร ไม่ปรากฏหลักฐานแนวกำแพงด้านทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าถูกแม่น้ำโขงกัดเซาะพังทลายไป
ปัจจุบัน กำแพงเมืองเชียงแสนเหลือหลักฐานป้อมปากประตู 5 แห่ง คือ ป้อมปากประตูนางเซิ้ง ป้อมปากประตูหนองมูต ป้อมปากประตูเชียงแสนหรือป่าสัก ป้อมปากประตูทัพม่าน และป้อมปากประตูดินขอ เนื้อที่ภายในกำแพงเมืองเชียงแสนราว 2.5 ตารางกิโลเมตร จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่กำแพงเมือง เชียงแสน พบหลักฐานดังนี้
กำแพงเมืองสมัยที่ 1 พบแนวกำแพงก่ออิฐอยู่ภายในกำแพงเมืองเชียงแสนสมัยที่ 2
กำแพงเมืองสมัยที่ 2 สร้างครอบทับกำแพงเมืองสมัยที่ 1 โดยนำดินจากการขุดลอกคูเมืองพูนทับตัวกำแพงสมัยที่ 1 จากนั้นจึงก่อกำแพงอิฐครอบไว้อีกชั้นหนึ่ง กำแพงเมืองสมัยที่ 2 มีลักษณะพิเศษ คือ ผนังกำแพงด้านในเมืองก่ออิฐเป็นขั้นบันได รับกับพื้นเชิงเทินบนกำแพง ซึ่งมีประโยชน์ในการขนถ่ายกำลังทหารที่ประจำอยู่บนเชิงเทิน และเพื่อมิให้ดินที่เป็นโครงการแกนในกำแพงถูกชะล้างทำลายด้วยฝนหรือสิ่งอื่น ๆ ส่วนกำบัง (เสมา) มีการสร้างและซ่อมแซมหลายครั้ง จึงมีรูปแบบหลากหลายสะท้อนถึงการใช้งานที่ยาวนาน ผ่านศึกสงคราม รูปแบบของส่วนกำบังจำแนกได้ถึง 11 แบบ เอกสารประวัติศาสตร์กล่าวว่าพญาแสนภูทรงฟื้นฟูเมืองรอยโดยสร้างกำแพงเมื่อ พุทธศักราช  1871 จากการขุดค้นทางโบราณคดีในปี พุทธศักราช  2543 มีการนำอิฐของกำแพงเมืองเชียงแสนไปหาค่าอายุด้วยวิธีเทอร์โมลูมิเนสเซนส์ (TL:Thermoluminescence) ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ค่าอายุดินและอิฐของกำแพงเมืองเชียงแสนสมัยที่ 1 ที่ 1,400-1,600 ปีมาแล้ว (ราวพุทธศตวรรษที่ 10-12) และกำแพงเมืองเชียงแสนสมัยที่ 1 เกิดขึ้นในช่วงรอยต่อระหว่างยุคก่อนประวัติศาสตร์กับยุคประวัติศาสตร์
กำแพงเมืองสมัยที่ 1 คงถูกใช้ประโยชน์ในแง่การชลประทานส่วนกำแพงสมัยที่ 2 ถูกสร้างเพื่อประโยชน์ทางการทหาร การรับศึกสงครามเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การกำหนดค่าอายุดินและอิฐของกำแพงเมืองเชียงแสนความได้รับการทดสอบอีกหลายครั้งเพื่อหาค่ามาตรฐาน จากการขุดค้นแต่งกำแพงเมืองเชียงแสนพบโบราณวัตถุที่เป็นชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมปะปนอยู่ด้วยเป็นไปได้ว่าในช่วงสงครามอาจมีการนำอิฐจากศาสนสถานมาซ่อมแซมกำแพงเมือง

about TH 04 
หน้ากาล คือ ชิ้นส่วนประติมากรรมปูนปั้นประดับส่วนซุ้มจระนำเจดีย์ประธานวัดป่าสัก ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน หน้ากาลหรือเกียรติมุขมีที่มาจากตำนานเทพเจ้าฮินดู อสูรชลันธรต้องการฤทธิ์ปราบสามโลก จึงบำเพ็ญภาวนาขอพรจากพระศิวะ ซึ่งพระศิวะก็โปรดประทานให้ตามต้องการ เมื่อได้พรจากพระศิวะ อสูรชลันธรจึงอาละวาดไปทั้งสามโลก ไม่มีใครปราบได้ ด้วยความกำเริบใจ อสูรชลันธรจึงให้ราหูไปทูลพระศิวะให้มาต่อสู้กัน หากพระศิวะพ่ายแพ้ จะต้องยกพระนางอุมามเหสีของพระศิวะให้แก่อสูรชลันธร เมื่อพระศิวะทราบความจากราหู ก็บังเกิดความพิโรธขมวดพระขนง (คิ้ว) ทันใดนั้นเองอสูรน่าเกลียดตนหนึ่งก็บังเกิดขึ้นจากหว่างพระขนง เมื่อบังเกิดขึ้นแล้ว อสูรนั้นหิวโหยเกิดระงับจึงทูลถามพระศิวะขอของกิน พระองค์จึงให้อสูรนั้นกินตัวเอง อสูรก็กัดกินตนเองด้วยความหิวโหย พระศิวะเห็นดังนั้นจึงเวทนา จึงให้พระอสูรนั้นประจำศาสนสถานของพระศิวะ
การนำหน้ากาลมาประดับพุทธสถาน สันนิษฐานว่าล้านนาได้รับอิทธิพลด้านรูปแบบศิลปะมาจากพุกาม ซึ่งมีการประดับหน้ากาลไว้ตามส่วนประกอบสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนา นอกจากนั้นหน้ากาลยังเป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นว่ากาลเวลานั้นกัดกินทุกอย่างแม้แต่ตัวเอง

เมืองโบราณในพื้นที่
 พื้นที่ใกล้เคียงเมืองเชียงแสน ทั้งสองฝั่งแม้น้ำโขง ปรากฏร่องรอยเมืองโบราณหลายแห่ง ดังต่อไปนี้
1.เมืองโบราณเรียกว่าเวียงเชียงเมี่ยง ตั้งอยู่ในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ห่างจากเมืองเชียงแสนไปทางทิศเหนือ ประมาณ 10 กิโลเมตร มีวัดพระธาตุภูเข้าเป็นโบราณสถานสำคัญ
2.เมืองโบราณเชียงแสน
3.เมืองโบราณริมฝั่งแม่น้ำโขง บนแผ่นดินลาวตรงกันข้ามเมืองเชียงแสนน้อย ปัจจุบันถูกเรียกว่าเมืองสุวรรณโคมคำ
4.เมืองโบราณเชียงแสนน้อย ห่างจากเมืองเชียงแสนไปทางทิศตะวันตกประมาณ 8 กิโลเมตร ชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวว่า เมืองเชียงแสนน้อยเป็นเมืองที่พญาแสนภูประทับอยู่ระหว่างทรงฟื้นฟูเมืองเชียงแสนโบราณสถานสำคัญในพื้นที่ ได้แก่ โบราณสถานพระธาตุสองพี่น้อง
5.ทะเลสาบเชียงแสน พื้นที่ชุ่มน้ำโลก ตำนานระบุว่าพื้นที่นี้เคยเป็นที่ตั้งเมืองโบราณ ก่อนเมืองเชียงแสน ชื่อเมืองโยนกนาคพันธุ์สิงหนวัติ

ประวัติสังเขปเมืองเชียงแสน

about TH 05 
เมืองเชียงแสนตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงฝั่งตะวันตกในเขตอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีชุมชนบริวารหลายแห่งโดยรอบ อาทิเช่น เวียงห้วยไคร้ทางทิศตะวันออก เวียงเชียงเมี่ยงบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ เวียงพางคำในเขตพื้นที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เวียงปรึกษาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่เรียกในปัจจุบันว่าเวียงเชียงแสนน้อย เป็นต้น
นอกจากนั้นยังสำรวจพบเครื่องมือก่อนประวัติศาสตร์ คือ เครื่องมือหินกะเทาะและเครื่องมือหินขัดเป็นจำนวนมาก เอกสารโบราณระบุว่าเมืองเชียงแสนสร้างโดยพญาแสนภูแห่งราชวงศ์มังรายใน พุทธศักราช  1871 เมืองเชียงแสนเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขนาดใหญ่ มีการค้าขายแลกเปลี่ยนข้าวที่ผลิตในเมืองเชียงแสน แลกกับเกลือของคนต่างถิ่น
กระทั่ง พุทธศักราช  2101 เมืองต่าง ๆ ในบ้านนา ตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของพม่า ต่อมาในปี พุทธศักราช  2244 พม่าตั้งเมืองเชียงแสนเป็นมณฑลหนึ่งของพม่า มีอำนาจการปกครอง เมืองเชียงราย แพร่ น่าน ลำปาง และฝาง เป็นต้น เป็นระยะเวลาที่เมืองเชียงแสนมีความสำคัญขึ้นมาอย่างมาก เนื่องจากปริมาณการค้าทางบกของจีนกับรัฐไททางตอนบนเพิ่มมากขึ้น พม่าจึงให้เชียงแสนเป็นมลฑลพนึ่งของพม่า มีฐานเท่าเทียมกับเมืองเชียงใหม่.
ในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พุทธศักราช  2347 ได้มีการยกกองทัพมาขับไล่ทหารพม่าที่เมืองเชียงแสน จากนั้นเจ้านายฝ่ายเหนือได้รับเอาชาวเชียงแสนซึ่งเป็นชาวไทยวนบางส่วนกลับไปบ้านเมืองตน โดยมีชาวเชียงแสนกลุ่มใหญ่ถูกนำลงไปถวายรัชกาลที่ 1 ซึ่งพระองค์ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่จังหวัดสระบุรี และจังหวัดราชบุรี
เมืองเชียงแสนจึงถูกทิ้งร้างไปเป็นระยะเวลานาน กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงให้มีการฟื้นฟูเมืองเชียงแสนโดยแต่งตั้งเจ้าอินทวิไชย เจ้าเมืองลำพูน ขึ้นมาทำการฟื้นฟูเมืองเชียงแสน หลังจากนั้นในปีพุทธศักราช  2437 เมืองเชียงแสนถูกรวมเข้ากับมณฑลพายัพของไทย อีก 5 ปีต่อมาถูกยุบฐานะลงเป็นเพียงกิ่งอำเภอเชียงแสน ขึ้นกับอำเภอแม่จัน ภายหลังวันที่ 9 เมษายน พุทธศักราช  2500 จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จนถึงปัจจุบัน กรมศิลปากรได้เข้ามาดำเนินการทางโบราณคดีที่เมืองเชียงแสน ตั้งแต่ พุทธศักราช  2500 ถึงปัจจุบัน สำรวจแหล่งโบราณสถานภายในเขตกำแพงเมืองเชียงแสน 76 แหล่ง และแหล่งโบราณสถานนอกเขตกำแพงเมืองเชียงแสน 63 แหล่ง จากสภาพพื้นที่ของเมืองเชียงแสนที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำธรรมชาติจำนวนมาก เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ หากมีการสำรวจ น่าจะได้พบแหล่งโบราณสถานอีกเป็นจำนวนมาก

History

event en01

The Nation Museum of Chiang Saen was established in 2500 B.E. (1975 A.D.) for archeological sites in Chiang Saen, an ancient border town of Chiang Rai province in the North of Thailand. The museum is in the control of the Fine Arts Department

about EN 01 
The museum carries out the duties to reserve and display ancient objects; ancient art object, and artifacts, which received from surveys of the areas, excavations and restorations of the archeological sites, reconstructions of the ancient monument and  from donations. Besides an an ancient town of Chiang Seen, the museum’s responsibility includes the areas around Chiang Ria Province.
  about EN 02 
The display in the museum emphasizes on evidences and documents of communities' settlements since pre-historic to historic periods, such as; Hand Adzes, fragmented stone tools and polished stone tools, which are found beside Mae Khong River. These artifacts date around 13,000-1,000 B.C. They are both from the hunting and food gathering society and the village farming or agricultural society. The displayed objects of historic period date from around the 19th century B.E., for example; The Buddha images and fragments of molded lime sculptures for ancient buildings ornamentations, including the inscriptions made from the sandstone and bronze from the 21st - 22nd centuries B.E. (the 11th -18th centuries). The display at the far inside room, represents the ethnic communities of the Thai ethnic groups ; Tai Yuan and Tai Lue, and the Akha and Mien hill tribes at Chiang Saen and nearby area.
The eminent art objects preserved in the museum are the Buddha images of the Lãn-Nã art school, dated about the 16th -23nd centuries B.E. (the 11th -18th centuries). The Buddha images also expose the ancient craftsmen's technology of metal- molding
  about EN 03 
Wat Pa Sak
Wat Pa Sak locates outside off the main gate on the west side of the city wall. The temple, according to the Jinakalamali (northern Thai chronicle), was estabLlished in the reign of Phya Saen Phu (1325-1336), after he instructed to build the stupa for containing the Buddha's relic from Pataliputra in India. Furthermore, the king also instructed to plant 300 teak trees surrounded the temple of which is the name came from (Pa Sak means "teak forest'). The main stupa at the temple is considered to be one type of Prasat (a vertical square chamber with an arch for the Buddha image in each direction) with 5 spires on each arch. This stupa is decorated with different exquisite stucco designs, influence by Chinese and Pagan arts. The temple still remains its importance till present in terms of art history, history and archaeology of northern Thailand.

Wat Chedi Luang
Wat Chedi Luang is one of the main temples of Chiang Saen, locates inside the city wall near the main gate of the old city. The temple used to call 'Wat Pra Luang', according to the local chronicle, this temple also was built during the reign of Phya Saen Phu after finishing the city wall. According to the Chiang Saen Chronicle, the main stupa is believed to build covering an old stupa which was built by King Asoka (300 BCE) in which this belief was commonly for the people in this area say that most of the stupas and pagodas in southeast Asia were part of the 84,000 stupas which were built during King Asoka's reign to celebrate the Buddhism. After Phya Saen Phu had realized its importance, he then also instructed to build a new Vihara (main hall of the temple) in 16 meters wide and 34 meters long and renovated the stupa to 58 meters in height. According to Jinakalamali, the temple was also renovated in 1515 during the reign of Phra Muang Kaew, the eleventh king of Mangrai dynasty, who instructed to expand to size of the stupa to be 30 meters wide based and 50 meters in height which is the name came from ('Luang' means 'big' in northern Thai dialect).

The city wall of Chiang Saen
According to historical document, in 1328 A.D. Phya Seen Phu, he renovated the old city wall of ‘Mueang Roi’ by reestablishing and extending the length of the wall to 3,000 meters, included building more city gates. King Saen Phu had completed four sides of the city wall with all eleven gates and six forts.
Besides, the museum displays the ancient engraved stones, dated around the 21st - 22nd centuries B.E. (the 15th - 16th centuries). Their contents are about donations of lands, human, money and gold, to the temples. The donation intended to worship Buddhism, and to continue Buddhism perpetually. The language inscribed was often Thai in Lan-Na characters, and some inscriptions were in Pali using Dhrama Lãn-Nã characters.
Additionally, fragments of molded lime sculptures, made around the 19th- 22nd centuries B.E. (the 14th - 18th centuries), from the archeological site of Wat Pa Sak (Pa Sak temple), also give us to know more about the past. The evidences expose the influences of Pagan Kingdom (in Burma), Sukhothai and Haripunchai Kingdom (in Thai), including China art, on the art of Chiang Saen. However, Chiang Saen art school took the models, then adapted, finally formed its own identity and contained philosophical meaning, for instance Kala-Face sculpture. Kala-Face sculpture is a symbol of time, who devours everything even itself.
Besides, the National Museum of Chiang Saen gives a service to the local as a center of cultural learning. The museum provides art study programs for the youth, presents special exhibitions, registers and takes care of the ancient art objects that are in possession of temples and private individuals in Chiang Rai province, in order to save the national treasures.
The city wall now appears only the northern, western and southern side wall with five fort-gates which are Nang Soeng gate, Nong Mut gate, Chiang Saen or Pa Sak gate, Thap Man gate and Din Khoh gate. Northern side wall is 950 meters, southern side is 850 meters and the western side is 2,500 meters in length. Unfortunately, the wall of the east side disappears and it was supposedly destroyed by the river current. The area inside the city wall cover over 2.5 square meters. The pattern and plan of the city wall from archaeological evidence indicate; In the first period, earlier, archaeologists are unable to clarify the pattern and actual plan of the city wall in accordance with the physical geography of the city. However, after the excavation and restoration in 2000 of the Fine Art Department, Ministry of Culture, Thailand, reveals the trench of the wall of this period underneath the recent one. The exampled bricks found at this wall which was testified by the archaeological scientific dating or Thermo-luminescence (TL) is able to date this wall back to approximately 5th - 7th centuries.
Second period, the wall that appears today, was reconstructed cover the previous wall, the wall was possibly a pentagonal shape, unfortunately, the wall on the east side was destroyed by the river through time. The city wall now has only three sides; the north (950 meters), the south (850 meters) and the west (2,500 meters) and the height from the ground to the top is 4-5 meters. In this period, the wall was reconstructed by covering the previous wall by using the mud from the moat and lay the bricks cover the wall/ again. The archaeological scientific dating or Thermo-luminescence (TL) of an exampled bricks found at the wall of this period, probably dated to approximately 15th - 16th centuries.
For the notation, the construction style of the wall at Chiang Saen is quite unique, if comparing to other contemporary cities in northern Thailand. Inside of the wall was built into the steps or staircase form, 5-7 steps or more and on the top of the wall has almost square-shape-base lay on the diagonal position along the wall. The reason of building this construction is still on the scholarly debate, however, it is believed to build for the advantages of the warfare and water management of the city.
  about EN 04 
The Kala or the time. which is exhibited inside Chiang Saen National Museum, is the decorated stucco found on the arch at the stupa of Wat Pa Sak. The Kala or so called ‘Kiatmuk’ appears for the first times in Hindu mythology.
The Kala found in Buddhist temples here in Chiang Saen in supposedly had the influence from Pagan (Myanmar) where mostly found this  Kala face in almost every Buddhist temples. Furthermore, Kala face is also the symbol of the time in which it passes by or ideally it can consume everything even itself.

The Hisyroric City of Change Saen District
Beside the city of Chiang Saen, along the both bank of the Mae Khong river, a natural frontier between Thailand and Laos, three other ancient towns and one of the lost city are still situated on the area. The first one is the town on Doi Chiang Miang near the Golden Triangle, nsmed Muang Chiang Miang, about 10 kilometers to the north of Chiang Saen. Located in its area inside, Phra That Phoo Khao is the important temple of the town.
          The second one Not. Owing to its located, the town is assumed to be a portion of Chiang Saen Not, or Chiang Seen Chiang Saen Noi townscape expansion, perhaps.
        The third one named Chiang Saen Noi or Wiang Pruek Sa, about 8 kilometers to the south of Chiang Saen. The Chinnakarn Maleepakron chronicle written about this town was a temporary camp site for Phaya Saen Phoo to stay when he was constructing the city of Chiang Saen. The important temple of the town is Phra That Song Phee Nong.
         The last one is the Ancient Towns at Chiang Saen Lake, the chronicle written that is use to be a location of Nakkhaphan Singhonnawat city. Owing to an earthquake, the city later on was destructed and subside into the lake. However, the chronicle mentioned about the causation of the city destruction was the people eating a big white eel. Nowadays Chiang Saen lake is a Ramsar Site.

Chiang Saen : A brief history

about EN 05 
An ancient city of Chiang Saen recently locates on the west bank of Mekong River in the district of Chiang Saen, Chiang Rai province in Thailand.The area covers a number of ancient communities, for example, Wiang Huay Krai on the east side, Wiang Chiang Mieng in what is now the Golden Triangle area,Wiang Phang Kham in Mae Sai district and Wiang Prueksa on the southeastern side of the city which is now calls "Wiang Chiang Saen Noi'. The area also, according to the archaeological excavations and surveys, found a number of various stone tools including chopper-chopping tools and polished stone tools which indicate prehistoric cultures which emerged here approximately 10,000 B.P.
In historical perspective, according to the Chiang Saen Chronicle, the city was built during the reign of Phya Saen Phu, the third king of Mangrai dynasty in 1328. Chiang Saen, during that time, is believed to be a very diverse place and large commercial center of the Middle Mekong Region, especially salts and rice in which the latter was largely produced in Chiang Saen it self.
In 1558, many cities at that time were under the Burmese suzerainty in the reign of King Bayinnaung of Taungoo dynasty (1516-1581) included Chiang Saen. Later in 1701, Burmese authority had claimed and established Chiang Saen to be one of head provinces of Burma which governed Chiang Rai, Phrae, Nan, Lampang and Fang. During this period, Chiang Saen became an important city as same as Chiang Mai in accordance with an increasingly amount of commercial land route between China and upper Tai States.
In the reign of the King Ramal of Siam in 1804 (after the Burmese had been expelled from Chiang Saen), Chiang Mai Kings herded some Tai Yuan people who lived in Chiang Saen back to their home cities and also some of the people from Chiang Saen themselves were relocated to Bangkok and settled in what is recently Saraburi and Ratchaburi provinces of Thailand. For this reason, the city of Chiang Saen was abandoned for some time since then until in the reign of the King Rama V of Siam. The King instructed to reestablish the city by appointing Chao Inthawichai, Governor of Lamphun, to come and rehabilitate the city. In 1894, Chiang Saen was again reorganized to become a part of Payap County and became sub-district five years later under Mae Chan district administration. On April 9, 1957, Chiang Saen finally became one of the districts of Chiang Rai province since then.
From the year 1957, Chiang Saen has been the place for many historical and archaeological studies and surveys by many scholars including Fine Arts Department (FAD). The FAD has operated many archaeological projects in Chiang Saen including sites surveys and excavations. From these operations, we are able locate at least 76 archaeological sites inside the old city wall and 63 archaeological sites outside the city wall which most of them are Buddhist temples. From the evidence indicate that Chiang Saen has been the precious location for the ancient communities to settle in for centuries according to its prosperous natural resources and important trade routes.