Full Version ดอกไม้เทศและดอกไม้ไทยต้น 25.ผักบุ้งรั้ว

เว็บไซต์ ทองไทยแลนด์ ดอทคอม > Article

ดอกไม้เทศและดอกไม้ไทยต้น 25.ผักบุ้งรั้ว Date : 2017-04-04 08:15:43

ดอกไม้เทศและดอกไม้ไทย

ต้น 25.ผักบุ้งรั้ว

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

ชื่อพื้นเมือง  บ้องเลน (นครพนม) มันหมู (ตราด) Railway Creeper

ชื่อวิทยาศาสตร์  Ipomoea digitata ZL.) Sweet,1759

ชื่อวงศ์   CONVOLVULACEAE


ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์

         ในต่างประเทศ  พบทั่วไปในเขตร้อนอินเดีย ปารากวัย อุรุกวัย อาร์เจนตินืมาริเทียส เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว  

         ในประเทศไทย  พบทั่วไป ตามที่รกร้างหรือชายป่า หรือป่าเบญจพรรณ ถึงป่าดงดิบ มักขึ้นริมห้วยที่ชื้นแฉะ ตั้งแต่ที่ราบจนถึงภูเขาสูง อาจสูงได้ถึง 800 ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง


ลักษณะประจำพันธุ์

            ต้นไม้  เป็นไม้เถาล้มลุกขนาดเล็ก บอบบาง มียางสีขาว เลื้อยพันหลักหรืออิงอาศัยไม้หรือวัสดุอื่น ๆ หรือเลื้อยหรือแผ่คลุมดิน เถายาวไม่น้อยกว่า 5 ม.

            ใบ  ใบเดี่ยว รูปนิ้วมือ เรียงสลับออกเป็นรัศมีจากปลายก้านใบ กว้างและยาว 5 ซม. มี 5-7 แฉกลึกเกือบเป็นอิสระแก่กันและกัน รูปใบแต่ละแฉกโคนใบสอบเข้า แล้วผายกว้างออกเหมือนโป่งกลางหรือรูปขนมเปียกปูนเรียวสอบถึงปลายแฉก ๆ ทู่ ๆ ขนาดไม่เท่ากัน แฉกกลางใหญ่กว่าทุกแฉก เส้นแขนงใบในแต่ละแฉกใบมี 6 – 8 คู่ เป็นระเบียบ และเห็นได้ชัดทั้งสองด้าน ขอบใบเรียบ ใบสีเขียวเข้ม ก้านใบ ยาวประมาณ 2 – 4 ซม.


            ดอก  ออกเป็นช่อตามซอกใบ 1 – 3 ดอก ดอกตูมคล้ายดอกบัวตูม ดอกบานมีกลีบดอก โคนติดกันเป็นหลอด ยาว  5 – 6 ซม. ปลายแผ่ออกเป็นรูปปากแตร เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 – 5 ซม. มีเส้นแบ่งกลีบดอกเชื่อมติดกัน 10 กลีบ ออกดอกและเป็นผลตลอดปี

            ผล รูปไข่ ผลแก่ เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดมีขนสีขาว


สภาพที่เหมาะสมและการขยายพันธุ์  ชอบอากาศร้อน ชุ่มชื้น ดินระบายน้ำดี แสงแดดเต็มวัน  สามารถเพาะกล้าจากเมล็ดหรือปักชำเถาหรือแยกเหง้าใต้ดิน

บันทึกผู้เขียนและผู้ถ่าย     

           1.ด้านสมุนไพร  ส่วนที่ใช้เป็นสมุนไพรและสรรพคุณคือ รากหัว  เป็นยาบำรุง ขับน้ำเหลืองเสีย กระตุ้นความกำหนัด ขับน้ำนม ยารุ ขับน้ำดี แก้พิษแมลงป่อง ทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ   โทษ  เถา รับประทานทำให้คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ

            ข้อมูลการวิจัยที่สำคัญ  สารเคมี

                        Daucosterol ; scoparone ; scopolein ; β-sitosterol taraxerolacetate ; umbelliferone ; woodrosin I ; woodrosin II


            ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

                        กระตุ้นหัวใจ เพิ่มความดันโลหิต ลดความดันโลหิต กระตุ้นการหายใจ ทำให้หลอดเลือดหดตัว ทำให้หลอดลมหดตัว กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ คล้ายกล้ามเนื้อเรียบ บีบมดลูก ทำให้มดลูกคลายตัว ทำให้อุณหภูมิกายลดลง

                        การทดสอบความเป็นพิษ พบว่าการฉีดสารสกัดด้วยเอธานอล 50% เข้าช่องท้องขนาดที่ทำให้หนูถีบจักรตายร้อยละ 50 มากกว่า  1ก/กก ส่วนการฉีด paniculatin ซึ่งเป็น glycoside จากหัวผักบุ้งรั้วขนาด 867.4 มก/กก. เข้าช่องท้อง หนูถีบจักรจะทำให้หนูตายไปครึ่งหนึ่งภายใน 48 ชม.


            2.ด้านการเป็นไม้ประดับ  ความน่าสนใจของไม้เถาต้นนี้คือ เป็นไม้เถาล้มลุกขนาดเล็ก มีเถายาวเลื้อยพาดพันไปได้บนค้างหรือรั้วหรือสิ่งก่อสร้างใบเขียวสดตลอดปี รูปใบมีหยักเว้า 5 แฉกที่เด่นและสวยงาม ให้ดอกตลอดปี ดอกสีม่วงสวยสดใส ดอกดก ทนนานพอสมควรกว่าจะร่วงโรย ถือได้ว่าเป็น มอร์นิ่งกลอรี่ เมืองไทย สามารถปลูกประดับแบบขึ้นซุ้มได้อย่างดี

             จับมาตกแต่งซุ้มในป่าอนุรักษ์ประเภทอุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าได้

 

 

 


ความคิดเห็น