Full Version อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งราย

เว็บไซต์ ทองไทยแลนด์ ดอทคอม > Article

อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งราย Date : 2015-01-21 14:19:44

อนุสาวรีย์ พ่อขุนเม็งราย

ภาพ : นางสาวธนภรณ์  ท้วมเนตร

เรื่อง : นางสาวศรัณยา   ท้วมเนตร

                พ่อขุนเม็งรายได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้นบนดอยทอง จากรากฐานเดิมที่เคยเป็นเมืองมาก่อน เมื่อ พ.ศ.1805 ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์เม็งราย และรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าเป็นอาณาจักรล้านนาไทยจนเจริญรุ่งเรืองถึง ปัจจุบัน  กู่พระเจ้าเม็งราย ตั้งอยู่หน้าวัดงำเมือง บนดอยงำเมือง กู่นี้เป็นอนุสาวรีย์สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุอัฐิของพ่อขุนเม็งรายมหาราช

 

                ตามประวัติกล่าวว่าพระเจ้าไชยสงคราม ราชโอรสพระเจ้าเม็งราย เมื่อได้มอบราชสมบัติให้พระเจ้าแสนภูราชโอรสขึ้นครองนครเชียงใหม่แล้ว พระองค์ได้นำอัฐิพระราชบิดามาประทับอยู่ที่เมืองเชียงราย และได้โปรดเกล้าฯ สร้างกู่บรรจุอัฐิของพระราชบิดาไว้ ณ ดอยงำเมืองแห่งนี้

                อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งราย ตั้งอยู่บริเวณห้าแยกพ่อขุน ถ้าหากมาจากอำเภอพานจะไปอำเภอแม่สาย จะต้องผ่านห้าแยกพ่อขุนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรวมถึงคนใน จังหวัดเชียงรายล้วนเคารพนับถือและมักจะไม่พลาดที่จะมาสักการะ อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช อยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนก็จะมีผู้คนมาสักกาละไหว้ขอพรอย่างไม่ ขาดสาย

 

                 ลักษณะของอนุสาวรีย์คือ เป็นพระรูปของพระองค์หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดเท่าครึ่งทรงฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงพระมหากษัตริย์ล้านนาโบราณ ประทับยืนบนฐานสูงประมาณ 3 เมตร ทรงถือดาบด้วยพระหัตถ์ซ้ายแนบกับพระเพลา ทรงสวมมาลัยพระกร ทรงสวมธำมรงค์ที่พระหัตถ์ขวาตรงนิ้วนางและนิ้วก้อย ที่พระหัตถ์ซ้ายตรงนิ้วชี้และทรงฉลองพระบาท และที่ตรงฐานใต้พระบรมรูปมีคำจารึกว่า “พ่อขุนเม็งรายมหาราช พ.ศ.1782 – 1860 ทรงสร้างเมืองเชียงรายขึ้นเป็นเมืองแรกเมื่อ พ.ศ. 1805 ทรงสถาปนาอาณาจักรล้านนาไทยให้เป็นปึกแผ่น และทรงสร้างความสามัคคีระหว่างชนชาติไทย”ปัจจุบันมีตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติประดับอยู่ทางด้านหลังอนุสาวรีย์ซึ่งผู้ออกแบบได้ศึกษาและผสานความคิดสอดคล้องกันกับชาวเชียงรายผนวกกับความจงรักภักดี จึงมีความหมายและเกิดรูปแบบดังต่อไปนี้

 

                 ตุงผืนที่ ๑ ปรัชญาศรัทธาและสัญลักษณ์อันเปี่ยมด้วยความหมายของกษัตริย์แห่งจักรีวงศ์ โดยใช้รูปแบบของนารายณ์ทรงครุฑ นับได้ว่าเป็นงานรังสฤษฏ์ที่สมบูรณ์ด้วยรูปแบบ เปี่ยมด้วยความหมายทรงพลังและเข้มขลังด้วยศรัทธาความรัก

                 ตุงผืนที่ ๒ เป็นตุงแห่งความจงรักภักดีของชาวเชียงรายและปวงประชาไทยน้อมเกล้าถวายบูชา องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แสดงออกด้วยรูปแบบที่บ่งบอกถึง”จากแผ่นดิน – สู่แผ่นฟ้า” หมายถึง การปกครองด้วยทศพิธราชธรรม พระบารมีที่ปกป้องไพร่ฟ้าประชาชน  และแสดงถึงทรงเป็นนักปฏิบัติธรรมแตกฉานในพระธรรมอย่างลึกซึ้ง

                 ตุงผืนที่ ๓ แสดงออกถึงพลังแห่งความสงบนิ่งและมั่นคงพลังแห่งความจงรักภักดีพลังแห่งความเคารพศรัทธายิ่ง ของเหล่าพสกนิกรชาวไทย ที่น้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชเนื่องจากตุง หลวงเฉลิมพระเกียรติฯ นี้จะได้จัดสร้างไว้ที่จังหวัดเชียงราย เพื่อร่วมฉลองเมืองเชียงรายที่สถาปนามาได้ ๗๓๗ ปี ดังนั้น รูปแบบด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม จึงต้องคำนึงถึงหลักภูมิทัศน์ที่มีความสอดคล้องกลมกลืนอย่างสงบ มั่นคงและสง่างาม

 

                ทุกวันจะมีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาไหว้ขอพร จากท่านเยอะมากด้วยความศรัทธาและความหวัง ตอนไปไหว้ขอพร ก็แค่ดอกไม้ธูปเทียน ไปกล่าวคำขอจุดธูปเก้าดอก ขอในสิ่งที่เป็นไปได้ เนื่องจากความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ใครที่ขอพรแล้วสมหวัง ก็จะเอาช้าง ไข่ต้ม ไก่ต้ม หัวหมู สุรา ยาสูบ หมากพลู น้ำเปล่า น้ำหวาน ผลไม้  ดอกไม้ธูปเทียน จุดธูปเก้าดอก วางหน้าแท่น จุดธูปเทียน อธิษฐานแล้วปักธูปที่ของเซ่นสังเวยแล้วรอจนธูปไหม้หมด (ถ้าไม่รอกลับไปก่อน ธูปไหม้หมดจะมีคนมาเก็บให้เอง.โขยม)

 

 


ความคิดเห็น