http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 08/05/2024
สถิติผู้เข้าชม14,069,443
Page Views16,382,063
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

จากบทเพลงซึ้งจึงอยากให้เดินเที่ยวในสวนแล้วมองดอกไม้งาม โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

จากบทเพลงซึ้งจึงอยากให้เดินเที่ยวในสวนแล้วมองดอกไม้งาม โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

จากบทเพลงซึ้งจึงอยากให้เดินเที่ยวในสวนแล้วมองดอกไม้งาม

 โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

              จากบทเพลงซึ้งจึงอยากให้เดินเที่ยวในสวนแล้วมองดอกไม้งาม เพลงอะไรหรือ แน่นอนว่าถ้าบทเพลงหวานซึ้งตรึงใจในเรื่องดอกไม้ต้องเป็นเพลงเก่าเก๋ากึ๊กเพลงนี้แน่เลย

ลมฤดูร้อนแห่งเดือนเมษา ผ่านพัดมาพาให้ร้อนรน
ร้อนเหมือนลมหายใจแรงพ่น พรายพลิ้วมนต์ ของ รักมา


ในฤดูร้อนก่อนเคยได้ฝัน ฝากสัมพันธ์คำมั่นสัญญา
รักร้อนแรงแฝงลมชมหล้า   อนิจจา..อ่อนใจ

ปากคอ คิ้วคางหว่างทรวง  ล่วงล้ำเลย อกเอ๋ย  พี่เชยชมทั่วไป
ดั่งลอยคล้อยชมวิมานฟ้าไกล กอดกายไว้เคียงใกล้ไม่ยอมห่าง

ในฤดูร้อนแห่งคืนคิมหันต์  ใต้แสงจันทร์งามทั่วทุกทาง
รักร้อนรน หาคนคลอร่าง  ดับร้อนพลาง ดื่มฝัน



                                                  ดอกกัลปพฤกษ์งดงามเหลือแสน

           เสน่ห์แห่งเสียงเพลงเพลงนี้ตราตรึงใจมิวาย แม้ว่าเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่ร้อนระอุ ซึ่งความจริงร้อนมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธุ์ผ่านความร้อนแรงมากขึ้นในเดือนมีนาคม และร้อนเร่าได้ใจในเดือนเมษายน ผมเดินย่ำไปในมหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ กำแพงแสน แล้วเหลียวมองดอกไม้งามอย่างน่าทึ่ง ร้อนจนแทบไม่มีใบไม้เหลืออยู่ แต่ยังมีต้นไม้ที่ผลิดอกออกละออตาให้ชมเชย

           ต้นแรกที่ผมเริ่มเห็นเป็นดอกไม้ที่ทิ้งใบเกลี้ยงต้น อันเป็นลักษณะประจำพันธุ์ของเขาไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่สูง อากาศเย็นเพียงใด เป็นต้นไม้พันธุ์ไทยแท้(ถิ่นกำเนิด) ถ้าเกิดอยู่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางกว่า 1,000 เมตร สีดอกจะออกชมพูจัดไปทั้งต้น และก็ออกดอกก่อนฤดูร้อนจะย่างกรายเข้ามาถึง ซึ่งมีเฉพาะภาคเหนือเท่านั้น

           (อยู่ข้างๆสถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถานอ.นาน้อยจ.น่านระดับ 1,600เมตร)

   

          แต่ต้นที่ผมเห็นอยู่นี้อยู่ในพื้นที่ราบ อากาศร้อนช่วงเดือนกุมภาพันธุ์(ปลายๆ) แล้วก็เปล่งประกายดอกสวยอยู่จนถึงมีนาคมและต้นเมษายน สอดคล้องต้องอารมณ์เพลงของสุเทพ วงศ์กำแหง เสียจริง เป็นไม้ดอกดกถี่ยิบไปทั้งกิ่งก้าน ยิ่งมีกิ่งก้านมากเท่าใดก็ยิ่งผลิตาดอกมากเท่านั้น ดอกทนอยู่นาน ดอกตูมสีชมพูเรื่อๆ เมื่อผลิบานกลับมีสีสวยละมุนตา

ดอกกาฬพฤกษ์ก็งามอยู่

          มีข้อน่าคิดคือ ถ้ามีการจัดการที่ดี ไม้ต้นนี้สามารถนำไปปลูกได้ในป่าอนุรักษ์(ถิ่นกำเนิดอยู่ในไทย) ประเภทอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยปลูกให้หนาแน่นอย่างมีศิลปะและเพิ่มการตัดแต่งกิ่งก้านให้ดูอลังการ เมื่อออกดอกบานสะพรั่งจะให้ความงดงามตระการตาชนิด ซากุระเมืองญี่ปุ่นก็เถอะ ไม่หนีกันหรอก แถมออกดอกในฤดูร้อนที่แทบไม่มีใครอยากย่างกรายออกไปยังที่โล่งแจ้ง นักท่องเที่ยวจะได้ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกกันอย่างสะใจ

          ไม้ต้นนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า กัลปพฤกษ์ มีชื่ออื่นๆอีกแต่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cassia bakeriana Craib อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIODEAE ส่วนประโยชน์ทางสมุนไพรนั้นมีในต้นไม้ทุกต้นสนใจก็ค้นคว้าต่อนะครับ สำหรับประเด็นนี้ เขียนให้เห็นทางไม้ประดับยืนต้นสวยงามตามฤดูกาลนะจ๊ะ

           ผมเดินไปอีกทิศหนึ่ง ได้พบต้นไม้ที่มีทั้งชื่อและทรงต้นใกล้เคียงกับต้นกัลปพฤกษ์ ชื่อว่าต้นกาฬพฤกษ์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า cassia grand L.f. อยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่เป็นต้นไม้ต่างถิ่นกำเนิดเกิดมาจากต้นพันธุ์ต่างประเทศ ในประเทศไทยไม่เคยมี มีก็แต่ถูกนำมาปลูก ความแตกต่างอยู่ที่ สีของดอกและรูปดอก ต้นนี้ออกดอกช้ากว่าต้นแรกนิดหนึ่ง

          ช่อดอกสั้นๆ ดอกรูปดอกถั่วคตล้ายๆกัน และมีสีออกชมพูส้ม มีขนสั้นๆหนาแน่น แต่โดยรวมต้นกาฬพฤกษ์ก็เป็นต้นไม้ที่ออกดอกหลังจากผลัดใบทิ้งจนเกลี้ยงต้น มองดูมีความงดงามแบบหวานๆ ฝักมีขนาดใหญ่กว่าต้นแรกและฝักตรงสั้นๆ ต้นไม้ต้นนี้ปลูกไม่ได้ในผืนป่าอนุรักษ์ประเภทอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ต้นไม้ต้นนี้ก็ใช้ปลูกประดับเพื่อความงดงามเป็นหลัก เนื้อไม้ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างไม่ได้เช่นกัน ทำฟืน เผาถ่าน พอได้ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากต้นระเกะระกะ 



           หักมุมกันสักนิด เมื่อเดินต่อไปแถวๆหลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ได้พบต้นเสลาใบใหญ่ กำลังออกดอกบานสะพรั่ง ต้นเป็นพุ่มกลม แต่ถ้าปล่อยให้เติบใหญ่เช่นในธรรมชาติก็มีขนาดกว่าคนโอบทีเดียว ต้นนี้ก็นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันมาก 

           ต้นเสลาเปลือกหนามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lagerstroemia villosa Wall.ex Kurz  อยู่ในวงศ์ LYTHRACEAE  เปลือกนอกหนา ดูยับย่น กว้านเนื้อดูเห็นวงสีม่วงใต้เปลือกชั้นล่างชัดเจน ใบค่อนข้างเล็ก แตกตรงข้าม ปลายคู่ มีขนสั้นๆ ใบอ่อนสีสนิมเหล็ก ใบแก่สีเขียวขุ่นๆ ออกดอกช่วงต้นฤดูร้อน ดอกสีม่วงเมื่อแก่ใกล้โรยสีขาวซีด  ปลูกประดับกันทั่วไป แต่ในป่าอนุรักษ์ไม่มีการนำไปปลูกให้เป็นผืนใหญ่ๆ ซึ่งจะให้สีสันสวยอลังการมากๆ 

           เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยพันธุ์แท้ การนำเข้าไปจัดการในป่าอนุรักษ์จึงไม่ผิดหลักการ แต่มีข้อควรคำนึงคือปลูกได้ในระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร ดอกไม้อะไรก็ตาม หากปลูกอย่างมีศิลปะจะนำมาซึ่งความสวยงามอย่างน่าพิศวง เสลาเปลือกหนาก็เป็นต้นไม้ไทยอีกต้นหนึ่งที่ให้สีสันสวยงาม ได้ตามอารมณ์เพลงยามร้อนในเดือนเมษายนเหมือนกัน 

ดอกเสลาเปลือกหนาสีหวานซึ้ง   

        ต้นสุดท้ายที่อยากเสนอให้พิจารณาหน้าร้อนคือต้นราชพฤกษ์ หรือต้นคูน ที่ปลูกกันมากมายไปทั่วประเทศ บางถนนหนทางปลูกเรียงหนึ่งบางถนนปลูกระยะห่างมากๆ แต่ในป่าอนุรักษ์ก็มองข้ามไปเช่นกัน ปลูกกันตามประสานิดๆหน่อยๆ ไม่ให้ความสวยงามชนิดที่เรียกว่า ยิ่งใหญ่อลังการ ขอนแก่นจัดงานวันดอกจาน(ทองกวาว)บาน ด้วยว่ามันขึ้นไปทั่วทุ่ง 

           อย่างไรก็ตามต้นราชพฤกษ์ต้นนี้เป็นไม้ป่าเมืองไทยพันธุ์แท้ ผมเคยเห็นเขาอยู่ในป่าทุ่งใหญ่นเรศวร บนภูเขาสูงมาก เหลืองโดดเด่นทีเดียว แต่ก็ไม่ยักกะมีใครทุ่มตัวปลูกกันให้หนาแนน หรือให้เต็มไปทุกตารางนิ้ว พอถึงฤดูร้อนแล้ง เข้าไปในป่าแล้วได้เห็นดอกไม้บานสะพรั่งก็น่าจะช่วยให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างแน่นอน ไม่มากก็น้อย เอ้า! 

           มีต้นไม้เชื้อชาติไทยอีกหลายต้นที่ถ้าปลูกกันมากๆ ปลูกในที่ที่เหมาะสม เขาจะให้ดอกและความสวยงามตามฤดูกาลได้อย่างมหัศจรรย์ ทั้งนี้และทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์หรือความมุ่งมั่นของแต่ละคน ราชพฤกษ์หรือคูน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cassia fistula L. อยู่ในวงศ์  LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE ประโยชน์ทางยามีเยอะ แต่ไม่อยากเล่า อะ  

ดอกราชพฤกษ์ห้อยระย้า

           ลมฤดูร้อนแห่งเดือนเมษา ผ่านพัดมาพาให้

ที่ราบหรือลาดเนินในป่าโปร่ง ชื่อของมันคือ ต้นกุ่มบก ตรงข้ามกับต้นกุ่มน้ำ แสดงว่ามันขึ้นอยู่บน

บกมากกว่าในน้ำ ใบประกอบ 3 ใบคล้ายกันแต่รู้ใบมนกว่า  

กุ่มบกต้นใหญ่ทิ้งใบเกลี้ยง จึงมีแต่ดอก

           ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crateva adansonii DC. subsp. odorata jacobs  อยู่ในวงศ์ CAPPARACEAE ใบอ่อนและช่อดอกอ่อนนิยมนำไปดองเกลือกินเป็นผักแกล้มจิ้มน้ำพริก ดอกออกเป็นช่อ กลีบดอกสีเหลือง สีม่วง สีขาว ผามกันบนดอกเดียว โตได้เต็มที่สูงถึง 15 เมตร มีเรือนยอดกลม ก่อนออกดอกทิ้งใบเกลี้ยงต้น ดอกจึงดูหนาแน่นเป็นพิเศษ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ     



                                   ดอกกุ่มบก เกสรสีม่วง กลีบดอกขาวแล้วเหลือง

 

Tags : วันเดียวเที่ยวที่ไหนดี One day trip

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view