พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
พระเครื่อง จ.ลำปาง

พระผงพิมพ์ใหญ่/ฝังตะกรุด. "พระพุทธศรีชุมฉัตรเพชรวัฒนา" วัดศรีชุม เมืองลำปาง โบราณสถานศิลปะพม่าที่ใหญ

(ปิดการประมูลแล้ว)

พระผงพิมพ์ใหญ่/ฝังตะกรุด. "พระพุทธศรีชุมฉัตรเพชรวัฒนา" วัดศรีชุม เมืองลำปาง โบราณสถานศิลปะพม่าที่ใหญ


พระผงพิมพ์ใหญ่/ฝังตะกรุด. "พระพุทธศรีชุมฉัตรเพชรวัฒนา" วัดศรีชุม เมืองลำปาง โบราณสถานศิลปะพม่าที่ใหญ

ชื่อพระ :
 พระผงพิมพ์ใหญ่/ฝังตะกรุด. "พระพุทธศรีชุมฉัตรเพชรวัฒนา" วัดศรีชุม เมืองลำปาง โบราณสถานศิลปะพม่าที่ใหญ
รายละเอียด :
 

พระผงพิมพ์ใหญ่/ฝังตะกรุด. "พระพุทธศรีชุมฉัตรเพชรวัฒนา" วัดศรีชุม เมืองลำปาง โบราณสถานศิลปะพม่าที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย ออกแบบสวยงาม สภาพสวย

 
ราคาเปิดประมูล :
 60 บาท
ราคาสูงสุด ขณะนี้ :
 60 บาท
ราคาที่ต้องเพิ่มขึ้น ขั้นต่ำ :
 20 บาท

เงื่อนไขการรับประกัน :
 รับประกันแท้ คืนเต็ม

ผู้ตั้งประมูล :
 จำลอง พินทิสืบ
ที่อยู่ :
 119/633 ถ.ลำปาง-แม่ทะ ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง 52000 ไทย

เบอร์โทรติดต่อ :
  0914789992, 0914789992
E-mail :
 ่jamlong_2009@hotmail.com

ชื่อบัญชี :
 กสิกรไทย
เลขที่ บัญชี :
 8672109877
ประเภท บัญชี :
 ออมทรัพย์
ธนาคาร :
 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
สาขา :
 เซ็นทรัลพลาซ่า ลำปาง

วันที่ :
 Tue 29, Apr 2014 21:16:11
โดย : ภาสะลอง    [Feedback +35 -1] [+12 -0]   Tue 29, Apr 2014 21:16:11
 




 

วัดศรีชุม  วัดศิลปะพม่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ตั้งอยู่บนถนนศรีชุม เป็นวัดศิลปะพม่าที่งดงามและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และ เคยเป็นสถานที่ถ่ายทำละครประวัติศาสตร์ชื่อดัง กษัตริยา สวยเด่นด้วยวิหาร ครึ่งตึกครึ่งไม้ ปราสาทหลังคาเครื่องไม้ยอดแหลมตามแบบศิลปะพม่า บานประตู ไม้แกะสลักฉลุลวดลายโปร่งงดงามเพดานเป็นไม้จำหลักโปร่งหลายชั้นประดับกระจก สี เสาแต่ละต้นลงรักปิดทอง หัวเสาประดับด้วยกระจำสี ใต้หลังคาเรือนเจ็ด ยอด 7 ชั้น เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปบัวเข็มบนฐานชุกชีที่เป็นไม้จำหลัก แผ่นใหญ่งดงาม ภาพจิตรกรรมฝาผนังมีเรื่องพุทธประวัติและพระพุทธรูปศิลปะ พม่า วิหารหลังนี้เคยถูกไฟไหม้เมื่อ พ.ศ. 2535 แต่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ให้คืนสู่สภาพเดิม นอกจากนี้ ยังมีประอุโบสถและพระธาตุเจดีย์เป็นที่บรรจุ พระบรมสารีรักธาตุฐานทรงกลมก่ออิฐถือปูนแบบพม่าทั้งสามพุธสถานได้ขึ้น ทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2524
  ความเป็นมาของโบราณสถานศิลปะพม่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
วัดศรีชุมสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2433 โดย จองตะก่า อู โย พื่อเลี้ยง อู หม่อง ยี และแม่เลี้ยงป้อมบริบูรณ์ คหบดีชาวพม่าที่อาศัยอยู่ใน ลำปาง ครั้งเมื่อบริษัทของชาวอังกฤษเข้ามาทำสัมปทานไม้ที่ลำปาง โดยมีความ ประสงค์จะเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชนชาติไต (ที่เราเรียกว่า ไทย ใหญ่ หรือ เงี้ยว) ให้เป็นที่รวมใจ ศรัทธา และเพื่ออุทิศกุศลให้แก่บรรดาผี สาง เทวดา นางไม้ที่สิงสถิตอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ เพื่อเป็นการขอลุโทษพร้อมกับ อัญเชิญให้คุ้มครองตนเองด้วย  วัดศรีชุมจึงเป็นวัดที่วิจิตรเลิศหรู ซึ่ง แสดงถึงความร่ำรวยและมั่งคั่งของผู้สร้าง การสร้างวัดในครั้งนั้นได้นำช่าง ฝีมือมาจาก มัณฑะเลย์ เมืองแห่งเจดีย์ทางตอนเหนือของประเทศพม่ามาเป็นช่าง ก่อสร้างวัดศรีชุมนี้นับว่าเป็นวัดที่มีศิลปะแบบไตปนพม่าที่สวยงามที่สุด เท่าที่มีอยู่ในภาคเหนือทั้งวิหารปราสาทหอสวดมนต์ ปละอุโบสถมณฑปจตุรมุขทรง พระยาธาตุ มีรูปทรงและศิลปะการสลักลวดลายประดับประดาเรครื่องไม้ ปิดทอง ประดับกระจก ที่นับว่าเป็นศิลปะชั้นเสิศแห่งหนึ่งของภาคเหนือ จึงได้รับโปรด เกล้าจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาเยี่ยมชม  สำนักงานศิลปากร ที่ 8 จังหวัดเชียงใหม่ (เดิมชื่อสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่ง ชาติที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่) สังกัดกรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนวิหาร ปราสาทหอสวดมนต์ทรงหระยาธาตุ และอุโบสถมณฑปห้ายอดทรงจตุรมุขเป็นโบราณสถานใน ปี พ.ศ. 2524 ตามข้อเท็จจริงในการสร้างวัดที่ระบุอยู่ในรายละเอียดของการ ขึ้นทะเบียนโบราณสถานในภาคเหนือ ของกรมศิลปากรระบุว่าเป็นวัดพม่า ซึ่งหมาย ถึง คหบดีชาวพม่าเป็นผู้สร้างวัด พระที่จำพรรษาในวัดมีทั้งพระพม่า และ ไต ส่วนประชาชนที่เข้ามาทำบุญในละแวกนั้น ซึ่งเป็นชาวไตเป็นส่วนใหญ่ผสมกับ ชาวไทยล้านนาในจังหวัดลำปางกิจกรรมทางศาสนาและประเพณีเป็นกิจกรรมแบบชาว ไต ดังนั้นจึงรับการจัดให้วัดศรีชุมเป็นวัดไต ที่มีลักษณะที่อลังการที่สุด เท่าที่เคยปรากฏในประเทศไทย   วัดศรีชุม เคยเป็นที่ตั้งของวัดเก่ามา ก่อน แต่เดิมนั้นมีเพียงศาลาหลังหนึ่ง บ่อน้ำ และต้นศรีมหาโพธิ์ เท่า นั้น ไม่มีกุฏิ ไม่มีพระสงฆ์ เนื่องจากต้นศรีมหาโพธิ์ล้อมรอบวัดอยู่หลาย ต้น จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านเรียกว่า    วัดศรีชุม   ต้นศรีมหาโพธิ์นี้เรียก ตามภาษาไทยล้านนาว่า   ศรี   ส่วนคำว่า  ชุม  มีความหมายว่า ชุมนุม  ล้อม รอบ  ดังนั้นเมื่อมีความหมายดังกล่าว จึงเรียกชื่อวัดตามภาษาพม่าว่า  หญ่อง ไวง์จอง  ในสถานที่ซึ่งเคยเป็นวัดเก่ามาก่อนนี้เอง  จองตะก่า  อู  โย  กับ พ่อเลี้ยง  อู  หม่อง  ยี  และแม่เลี้ยงป้อม  ได้กูลเกล้าฯ ขอกราบพระราช ทานอนุญาตจากเจ้าผู้ครองนครสมัยนั้น (เจ้าหลวงนรนันทชัยชวลิต พ .ศ. 2430 - 2440) แล้วจึงสร้างวัดศรีชุมนี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง  ใน ปี 2433 วิหารปราสาทหอสวดมนต์ หลังกลางของวัด จองตะก่า  อู  โย  ได้สร้าง ขึ้นเป็นกุฏิไม้ก่อนในปี 2443 ต่อมาพ่อเลี้ยง  อู  หม่อง  ยี  ผู้เป็นลูก เขยได้สร้างขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยเปลี่ยนจากกุฏิไม้มาเป็นกุฏิตึก ก่อด้วยอิฐ ถือปูน แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2444   วิหารปราสาทหอสวดมนต์หลังนี้สร้างขึ้นด้วย ฝีมือสถาปัตยกรรมของชนชาติไต ซึ่งได้ช่างมาจากมัณฑะเลย์ประเทศพม่า มาเป็น ช่างสร้าง ทำเป็นไม้แกะสลักลวดลายวิจิตรพิศดาร มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ลงรัก ปิดทอง  เรื่องพุทธประวัติและภาพจำลองแผนผังของวัด เพดานเป็นไม้จำหลักโปร่ง หลายชั้นประดับกระจกสี ลวดลายเพดานแต่ละช่อง ออกแบบแตกต่างกันไป ประตูเป็น แบบ 2 ชั้น ด้านในเป็นกระจกสีใส บันใดทางขึ้นมีซุ้มคลุมบันไดประดับด้วย ฝีมือช่างแกะสลักสาหร่ายรวงผึ้งจำหลักพันธุ์พฤกษาและเทพดารวมทั้งมีตุ๊กตา คิวปิด อย่างของฝรั่งด้วย หลังคาซ้อนกันขึ้นไปหลายชั้น แบบยอดปราสาท พระราชวังในประเทศพม่า แต่ละชั้นลดหลั่นกันถึง 7 ชั้น ขึ้นไปหายอดเรือนที่ เรียกว่า ทรงพระยาธาตุ ชั้นบนสุดประดับด้วยฉัตรทองคำงามระยับตา   พระพุทธ รูปซึ่งเป็นพระประทานในวิหารเป็นพระพุทธรูปโลหะสำริดประทับนั้งขังสมาธิ เพชร ปางมารวิชัย ภูมิส ปรศ มุทรา ศิลปะแบบพม่า พระพักตร์เหลี่ยมสำเร็จด้วย ทองคำแท้ มีไรพระศกหน้าระหว่างพระนลาฏและพระเกศา ครองจีวรหม่เฉียง ทำริ้ว จีวรอย่างชัดเจน ที่ไหล่ขวาซึ่งลดผ้า มีผ้าจีวรจากด้านหลังดึงขึ้นมาปิดไหล่ เพื่อกันหนาวด้วย หากไม่สังเกตจะดูเป็นหม่คลุมไหล่ซึ่งไม่ถูกต้อง พระพุทธ รูปประดิษฐานที่อยู่ในวัดจะต้องห่มเพื่อเป็นการเคารพต่อศาสนสถาน   น่า เสียดายว่า วิหารประสาทหอสวดมนต์หลังนี้ ได้ถูกไฟไหม้เมื่อกลางดึกของวัน ที่ 16 มกราคม 2535 สาเหตุของการไหม้เกิดจากเจ้าอาวาสรูปที่ 6 ได้เสียบเตา ที่เป็นขดลวดไฟฟ้าแล้วตั้งกาต้มน้ำไว้ข้างบน ขณะนั้นอากาศหนาวเย็น ผ้าห่ม ที่เจ้าอาวาสห่มอยู่ได้พาดไปที่เตาที่เป็นขดลวดไฟฟ้า จึงเกิดไฟไหม้ ขึ้น หลังจากเพลิงไหม้ที่ยังเหลืออยู่มีเพียงหลังคา หรือซุ้มคลุมบันไดทาง ขึ้น ด้านหน้าทั้งสองฝั่งที่เป็นไม้แกะสลักฉลุโปร่งลวดลายพรรณพฤกษา อันทรง คุณค่าเท่านั้น กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ โดยการถ่ายแบบจาก ของเดิมทุกประการ แต่ก็อาจจะงดงามเทียบกับของเดิมไม่ได้ ส่วนอุโบสถมณฑปจรุ รมุขทรงพระยาธาตุ สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2544 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของวัดมีกำแพงแก้วล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ซุ้มกำแพงแกวทางเข้า ก่ออิฐถือปูนห ลังคาประดับลวดลายปูนปั้นซ้อนกัน 3 ชั้น ลักษณะของอุโบสถมีผังเป็นรูปสี่ เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม และมีจตุรมุข หลังคาห้ายอดส่วนที่เป็นศูนย์กลางของ จักรวาล ซ้อนกัน 7 ชั้น ตั้งอยู่บนเสาไม้สักโบราณขนาดใหญ่ 4 ต้น ส่วนยอด ประดับฉัตรทอง เชิงชายของหลังคาแต่ละชั้นตกแต่งด้วยโลหะฉลุลวดลายในส่วนของ มุขทั้งสี่ก็ทำหลังคาซ้อนกัน 5  ชั้น ลดหลั่นกันไป ที่ประตูทางเข้ามีลวดลาย ประดับกระจกสี เป็นลายเครือเถาภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปแกะสลักขึ้นมา จากไม้สักทั้งต้นเป็นแบบพม่า ปางเสกผลไม้ (ไกษัชย คุรุ - บรมครูเภสัชหงาย ฝ่ามือซ้ายวางไว้บนหน้าตัก มียาสมุนไพรวางอยู่บนฝ่ามือ) นั่งขัดสมาธิ เพชร   ลำตัวจะก้มมาข้างหน้าเล็กน้อย หงายฝ่าเท้าทั้งสองข้างขึ้น ส่วนมือ ขวาแตะแผ่นดินขอให้แม่ธรณีมาเป็นพยานว่า ได้บำเพ็ญเพียรทำบุญมาร้อยชาติพัน ชาติแล้ว และได้หยาดน้ำไปให้แม่ธรณีรับทราบทุกครั้ง ทันใดนั้นแม่ธรณีก็บีบ มวยผมทำให้น้ำหยดนั้นไหลท่วมท้น พวกมารทั้งหลายทานกระแสแห่งบุญบารมีมิ ได้ จึงต้องพ่ายแพ้ไป (ภูมิส ปรศ มุทรา - ขอ ให้แม่ธรณีเป็นพยาน) คือ อย่าง ไทยเรียกว่า ปางมารวิชัย หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก นับว่าพระพุทธรูปนี้ สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง ซึ่งเสกให้มีตลาดผลไม้อยู่หน้าวัดได้    การ ประดับลวดลายภายในอุโบสถแห่งนี้ ส่วนใหญ่เป็นงานประดับกระจกสี เช่นการ ประดับซุ้มประตูทางเข้า ซึ่งเป็นกรอบซุ้มสามเหลี่ยม ทำลวดลายแจกันดอกไม้ที่ เรียกว่า บูรณฆฏ  หมายถึงความเต็มสมบูรณ์แห่งสรรพสิ่งทั้งปวง ตอนล่างมี จารึกนามผู้สร้างเป็นภาษาพม่า การประดับกรอบประตูและเสาติดผนังด้านหน้า ประดับกระจกสีเป็นลวดลายดอกไม้ยกลอยขึ้นอย่างปราะณีตบรรจงยิ่ง ลายประดับ เพดานอุโบสถเป็นการประดับประดาด้วยกระจกสีเต็มพื้นที่ โดยการแบ่งเพดานออก เป็นช่องสี่เหลี่ยม ระหว่างช่องทำเป็นรูปดอกไม้ ติดกระจกสีที่เป็นลูกกลม คล้ายดวงไฟสีต่าง ๆ ภายในช่องสี่เหลี่ยมประดับเป็นรูปดอกกลม และดอกสี่ กลีบ เป็นความหมายถึงดวงดาวที่มีอยู่ถึง 9 ดวง เพดานเหนือพระประทานทำเป็น ช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าซ้อนกัน  3  ชั้น ภายในรูปวงรี การประดับกระจกสีทั้ง เพดานเป็นลวดลายพรรณพฤกษาล้านก้านต่อดอกไม้ต่าง ๆ ด้วยการใช้กระจกสี ต่าง ๆ อย่างสวยงาม นับว่าเป็นศิลปะชั้นเลิศแห่งหนึ่งของภาคเหนือ ศิลปกรรม ของอุโบสถนี้นับว่าเป็นฝีมือช่างโบราณที่วิจิตรบรรจงยิ่ง  สภาพของอุโบสถ เป็นอาคารก่อตึก มีเสาหน้านางหนือเสานางเรียงรายรับหลังคาที่ยื่นออกมารอบ อาคารด้วย ซึ่งเป็นลักษณะของอาคารแบบพม่าโดยเฉพาะ (หากเป็นอาคารแบบไทยล้าน นาหรือภาคกลาง จะมีท้าวแขน/คันทวยหรือนาคทัณฑ์ มารับหลังคาส่วนที่ยื่นมารอบ อาคารนี้) ส่วนหลังคาอุโบสถ เป็นเครื่องไม้ทั้งหมดอยู่ในสภาพแข็งแรงดี ซุ้ม กำแพงแก้วของอุโบสถเป็นซุ้มปูนปั้นทรงยอดแหลมทำเป็นชั้น ๆ ลวดลายซุ้มกำแพง แก้วเป็นลายดอกไม้รวมทั้งด้านหลังซุ้มด้วย ภายในซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปไม้ สักพันปี แบบพม่าแท้ ๆ ซึ่งแกะสลักมาจากไม้สักทั้งต้นปางมารวิชัย หรือ ภู มิส ปรศ มุทรา ขอให้แม่ธรณีมาเป็นพยาน สังเกตดูว่าพระพุทธรูปพม่า แท้ ๆ เมื่อเอามือขวาแตะพื้นดิน ปางภูมิส ปรศ มุทรา แสดงอาการของให้แม่ธรณี มาเป็นพยาน  คือ ลำตัวจะก้มไปข้างหน้าเล็กน้อยและพระพักตร์จะมองลงไปข้าหน้า ประมาณ 45 องศา แตกต่างไปจากพระพุทธรูปของไทยที่ประทับนั้งตัวตรง พระพักตร์ ตรง มีแต่พระเนตรเท่านั้นที่มองลงไปข้างหน้า 45  องศา  ด้านหน้าของซุ้ม กำแพงแก้วของพระพุทธรูปไม้สักพันปีนี้ ประดับด้วยปฏิมากรรมรูปสิงห์คู่ หนึ่ง ในท่านั้งบนขาหลังยืดขาหน้าและหัวตั้งขึ้น เป็นเอกลักษณ์ของสิงห์แบบ พม่ามัณฑะเลย์ที่แท้จริง ด้านหลังอุโบสถมีพระบรมสารีริกธาตุเดีย์ สร้าง โดย ฮู สัน ลิน (นายอัมรินทร์  ศิริประยงค์) ลักษณะเป็นทรงกลมก่ออิฐถือปูน แบบมอญ - พม่า ที่มีขนาดสัดส่วนสัมพันธ์กับขนาดของอุโบสถรอบคอระฆังมัลวดลาย ปูนปั้น ซึ่งเป็นลักษณะของเจดีย์แบบพม่าโดยเฉพาะ และที่ส่วนย่อมุมหรือยกมุม ซึ่งส่งองค์เจดีย์ให้สูงขึ้นนั้น ประดับลวดลายผักขูดหรือผักวงช้างสวยงาม ยิ่ง ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากประเทศพม่าเมื่อ ปี พ.ศ. 2449                 

 
โดย : ภาสะลอง    [Feedback +35 -1] [+12 -0]     [ 2 ] Tue 29, Apr 2014 21:18:01





 

เลือกโอนได้ครับ แจ้งชื่อบัญชีด้วยยิ่งดี

โอนแล้วแจ้งในกล่องข้อความ  หรือโทร โทร 081 - 2877508

จะได้จัดส่งรวดเร็ว

เชิญคลิกที่  ภาษะลอง   มีรายการตั้งประมูล ที่น่าสนใจครับ

 
โดย : ภาสะลอง    [Feedback +35 -1] [+12 -0]     [ 1 ] Tue 29, Apr 2014 21:16:38

 
ประมูล พระผงพิมพ์ใหญ่/ฝังตะกรุด. "พระพุทธศรีชุมฉัตรเพชรวัฒนา" วัดศรีชุม เมืองลำปาง โบราณสถานศิลปะพม่าที่ใหญ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.