สาระน่ารู้ » น้ำดื่ม สมุนไพร ฝาง

น้ำดื่ม สมุนไพร ฝาง

11 มกราคม 2018
1044   0

ชื่อพื้นเมือง :  ฝาง (ทั่วไป)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

 

ไม้ต้นขนาดเล็ก (ST) สูงประมาณ 3-10 เมตร เมื่อโตเต็มที่มักจะทอดไปพาดต้นไม้อื่น ตามลำดับและกิ่งมีหนามแข็ง ซึ่งโคนหนามมีลักษณะพองคล้ายกับฐานนม

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยจำนวนมากลักษณะใบรูปขอบขนานปลายใบมนเว้าเล็กน้อย โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ ใบมีสีเขียวเข้ม มีลักษณะคล้ายใบหางนกยูง

ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งตรงส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองตรงกลางดอกเป็นสีแดง กลีบดอก 5 กลีบ

ผล เป็นฝักรูปสี่เหลี่ยมแบน กว้าง 2 ซม. ยาวประมาณ 7-12 ซม. แข็ง เมื่อแก่สีน้ำตาลเข้ม และที่ผิวฝักจะมีลายจุด ๆแต้มอยู่ ปลายฝักเป็นจะงอย มีเมล็ดภายใน 2-4 เมล็ด ฝักของฝางนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือชนิดแก่นสีเหลือง เรียกว่า “ฝางส้ม” และแก่นสีแดง เรียกว่า “ฝางเสน”

เมล็ด มีขนาดกลมเล็ก และแข็ง สีเหลือง จำนวนมาก

นิเวศวิทยา

เป็นไม้กลางแจ้ง ที่เกิดขึ้นเป็นกลุ่มตามเขาหินปูนและชายป่าดิบแล้งทั่วไป

การปลูกและขยายพันธุ์

เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย สามารถให้ร่มเงาได้ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง

ประโยชน์

รสและสรรพคุณในตำรายา

แก่นหรือเนื้อไม้ รสขมฝาด ต้มเอาน้ำดื่ม บำรุงโลหิต แก้ปอดพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ริดสีดวงทวาร แก้กำเดา แก้เสมหะ ฝนทาแก้โรคผิวหนังบางชนิด และฆ่าเชื้อโรคได้

วิธีและปริมาณที่ใช้

แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงโลหิต โดยใช้แก่นที่ตากแห้งแล้ว 10-20 กรัม ต้มในน้ำเดือด 10-15 นาที กรองเอาน้ำดื่มวันละ 3 เวลา เป็นประจำ

วิธีการต้มน้ำดื่มสมุนไพรฝาง

ขั้นตอน  นำฝางไม้ตากแห้งห่อใส่ผ้าขาวบางแล้วมาใส่น้ำต้มเดือดประมาณ ๑๐-๑๕ นาที แล้วเติมน้ำตาลและเกลือ ตามใจชอบ ทิ้งไว้ประมาณ ๑๐นาทีแล้วถึงจะปิดเตาแก๊ส จะทานแบบอุ่นหรือเติมน้ำแข็งก็ได้

ดาวน์โหลดแผ่นพับ  คลิกที่นี่