<< Go Back


      เวลาแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นสม่ำเสมอ เช่น น้ำ อากาศ แท่งพลาสติกใส หรือสุญญากาศ แสงจะเคลื่อนที่เป็นแนวตรง แต่ถ้าแสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุต่างชนิดกันและเป็นวัตถุทึบแสงที่มีผิวขัดมัน แสงจะเปลี่ยนทิศการเคลื่อนที่ ณ ตำแหน่งบนผิวที่แสงตกกระทบ และเคลื่อนที่ย้อนกลับในตัวกลางเดิม เรียกการเปลี่ยนทิศการเคลื่อนที่ของแสงนี้ว่า การสะท้อน


ที่มารูปภาพ http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=76010

      ตามปกติเมื่อแสงตกกระทบวัตถุใด วัตถุส่วนมากจะดูดกลืนแสงไว้ส่วนหนึ่งและแสงส่วนที่เหลือจะสะท้อนที่ผิววัตถุ สำหรับวัตถุที่เป็นกระจกเงา แสงจะสะท้อนเกือบทั้งหมดโดยทั่วไปลักษณะการสะท้อนของแสงขึ้นกับลักษณะของผิวของวัตถุ สำหรับวัตถุระนาบที่มีผิวเรียบเป็นมัน เช่น กระจกเงา ผิวน้ำนิ่งในสระ รังสีสะท้อนทุกรังสีจะไปในทิศเดียวกัน ดังรูป  ก. แต่สำหรับวัตถุที่มีผิวขรุขระ เช่น ผ้า กระดาษ แผ่นไม้ที่ไม่ได้ขัด รังสีสะท้อนจะมีทิศต่างๆ กัน ดังรูป ข.ถ้าให้รังสีของแสงตกกระทบที่ผิวราบ ผิวโค้ง และผิวโค้งนูน ดังรูป การสะท้อนของแสงที่แต่ละผิว ให้ผลเช่นเดียวกัน คือ รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อนและเส้นแนวฉากจะอยู่บนระนาบเดียวกัน นอกจากนี้ มุมตกกระทบ i และมุมสะท้อน r ในแต่ละกรณีก็มีค่าเท่ากัน


ที่มารูปภาพ http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=76010

     เมื่อพิจารณาบริเวณเล็กๆ ของผิวขรุขระ ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นผิวเรียบ เพราะผิวขรุขระประกอบด้วยผิวเรียบจำนวนมากโดยที่ผิวเรียบเหล่านั้น วางตัวทำมุมต่างๆ กัน ดังนั้น ถ้าให้แสงตกกระทบวัตถุที่ผิวขรุขระ มุมตกกระทบที่ผิวเรียบเล็กๆ เหล่านั้นจะมีค่าต่างๆ กัน ถึงกระนั้นมุมตกกระทบ ก็จะเท่ากับมุมสะท้อน ณ ตำแหน่งที่แสงตกกระทบเสมอ ดังนั้น แสงที่สะท้อนออกมาจึงมีทิศทางต่างๆ กัน

จึงสรุปเป็น กฎการสะท้อนของแสง ที่ผิววัตถุใดๆ ได้ดังนี้

1.ณ ตำแหน่งที่แสงตกกระทบรังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นแนวฉาก อยู่ในระนาบเดียวกัน
2.มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน

ภาพในกระจกเงาราบ
     เมื่อวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงาราบ เราสามารถเห็นทั้งวัตถุและภาพของวัตถุในกระจกเงาราบได้ เพราะมีแสงจากวัตถุมาเข้าตา แต่การเห็นภาพ
ของวัตถุนั้นเกิดจากที่แสงจากวัตถุไปตกกระทบผิวของกระจกเงาราบแล้วสะท้อนกลับมาเข้าตาเราตามปกติแสงจากวัตถุจะกระจายออกไปทุก
ทิศทางและจะตกกระทบเต็มพื้นที่ผิวของกระจกเงาราบถ้าพิจารณาแสงจากวัตถุเป็นรังสีจะมีรังสีของแสงจำนวนมากมายจากวัตถุตกกระทบผิว
ของกระจกเงาราราบ ทำให้สามารถแสดงที่มาของภาพในกระจกเงาราบได้ด้วยการใช้กฎการสะท้อนของแสงเขียนรังสีตกกระทบ รังสีสะท้อนและเส้นแนวฉากจากนั้นต่อ แนวรังสีไปทางด้านหลังของกระจกเงาราบ จากสมบัติเชิงเรขาคณิตของแสง อาจแสดงได้ว่ารังสีเหล่านี้ เสมือนออกมาจากจุดจุดหนึ่ง ซึ่งก็คือตำแหน่ง ภาพของวัตถุนั่นเอง ดังรูป ก. ระยะที่วัตถุอยู่ห่างจากผิวกระจกเรียกว่า ระยะวัตถุ ระยะที่ภาพอยู่ห่างจากผิวกระจกเรียกว่า ระยะภาพ ตามรูป จุด P' เป็นภาพของ P โดยมี PA เป็นระยะวัตถุและ P'A เป็นระยะภาพ


ที่มารูปภาพ http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=76010

     สำหรับวัตถุที่มีขนาดเพราะประกอบด้วยจุดหลายๆ จุด ดังนั้น ภาพของจุดเหล่านี้จึงรวมกัน จะเป็นภาพของวัตถุซึ่งอาจหาได้โดยการเขียนรังสีต่างๆ โดยใช้วิธีของรูป ก. และได้ภาพดังแสดงในรูป ข.


ที่มารูปภาพ http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=76010

     เพื่อความสะดวกในการหาตำแหน่งภาพจะใช้รังสีตกกระทบจากจุดหนึ่งๆ ของวัตถุเพียง 2 รังสี ดังนั้น การแสดงการเห็นภาพของวัตถุในกระจกเงา ราบอาจแสดงได้ดังรูป  โดยวางตาในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อรับรังสีสะท้อน ตำแหน่งดังกล่าวอยู่ด้านหน้ากระจกเงาราบและอาจมีได้หลายตำแหน่ง รูป ก. และ ข. แสดงตำแหน่งการเห็นภาพในกระจกเงาราบ 2 ตำแหน่ง
แสดงการหาระยะภาพ P เป็นวัตถุทีเป็นจุด ถ้า PB เป็นรังสีจากวัตถุที่ตกกระทบกระจกเงาราบและ BQ เป็นรังสีสะท้อนต่อ QB ไปตัดส่วนต่อของ PA ที่จุด P' ตามรูป  ก. P' เป็นภาพของ P


ที่มารูปภาพ http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=76010

http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=76010

<< Go Back