คำอธิบาย: C:\Users\Pui\Desktop\gff.jpg

     

                สิ่งแวดล้อม (Environment) คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ

    สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ
  • สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร
  • สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม

ประเภทของสิ่งแวดล้อม
2.1 สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ (Natural Environment) คือสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติ แบ่งย่อยได้เป็น 2 ชนิด คือ
            1) สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environment) ได้แก่สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า มนุษย์ ฯลฯ
            2) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่ไม่มี ชีวิต ได้แก่ ภูเขา ดิน ลมฟ้า
                 อากาศ อุณหภูมิ ฯลฯ
2.2 สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made Environment) คือสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต หรือเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และเป็น แบบแผนในการดำเนินชีวิต แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
            1) สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม (Physical-Feature Environment) คือสิ่งแวดล้อมที่ มีลักษณะทางกายภาพ
                 มองเห็นได้ชัดเจน ได้แก่ บ้านเรือน ถนน ฯลฯ
            2) สิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Abstract Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดมา จากความคิด และมีการ
                 แสดงออกมาให้รับรู้ได้โดยการกระทำหรือการประพฤติปฏิบัติ นับเป็นสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นมา
                 เพื่อความเป็นระเบียบของการอยู่ ร่วมกันในสังคม ได้แก่ กฎหมาย ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี
                 วัฒนธรรม ความเชื่อ การเมือง ระบบเศรษฐกิจ ฯลฯ

คุณสมบัติของสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
         1) สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ต้นไม้จะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่าง จากสิ่งอื่น เช่น แตกต่างจากน้ำ
              แตกต่างจากโบราณสถาน
         2) สิ่งแวดล้อมจะไม่อยู่โดดเดี่ยว แต่อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอื่น และอยู่ร่วมกันเป็นสังคม เช่น มนุษย์กับที่อยู่อาศัย ต้นไม้กับ
              ดินและน้ำ ปลากับน้ำ
         3) สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ด้วยเสมอ เช่น พืชต้องการน้ำ และดิน สัตว์ต้องการอากาศหายใจ
         4) สิ่งแวดล้อมทั้งหลายมีความสัมพันธ์โยงใยกันและกัน ดังนั้น เมื่อสิ่งแวดล้อมหนึ่งถูกทำลาย จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
              อื่น ๆ ด้วย เช่น การตัดไม้ทำลายป่าทำให้ดินพังทลาย เกิด ความแห้งแล้งหรือเกิดอุทกภัยได้
         5) สิ่งแวดล้อมแต่ละชนิดมีความทนทานและเปราะบางต่อการถูกกระทบกระเทือนแตกต่าง กัน บางชนิดคงทน บางชนิดเสื่อม
              สลายง่าย
         6) สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น ต้นไม้ สัตว์ มนุษย์ เมื่อเกิดมาเติบโตแล้ว ตายไป วัสดุสิ่งของเครื่องใช้
              เมื่อเก่าจะเสื่อม ต้องแก้ไขหรือทิ้งไป
         7) สิ่งแวดล้อมมีการวนเวียนเป็นวัฏจักร เช่น วัฏจักรของชีวิตมนุษย์ พืชหรือสัตว์ วัฏจักรของ แม่น้ำหรือภูมิประเทศแบบต่าง ๆ

ภาพแสดงสิ่งแวดล้อมโดยรอบ
ที่มา : http://www.senate.go.th/w3c/senate/comm.php?comm_id=69

ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
           มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิดและพึ่งพาอาศัยกันตลอดเวลา สิ่งแวดล้อม อำนวยประโยชน์ให้แก่มนุษย์อย่างมหาศาล เช่น
              1) เป็นปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ แหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยา รักษาโรค
              2) เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ดิน น้ำ แร่ธาตุ ป่าไม้ พลังงาน ฯลฯ ประเทศใดมี ทรัพยากรมาก
                  หรือมีความสามารถในการผลิตสูง ก็ทำให้สามารถขยายตัวทางด้าน อุตสาหกรรมจากการมีทรัพยากรเป็นวัตถุดิบ 

ขอขอบคุณ :
                 1. http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi1/envi1-1.htm
                 2. http://www.nkatc.svec.go.th/pictures/e-learning/key/k2.HTML