วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

กระจาดลูกกวาง ของดีเมืองพะเยา

กระจาดลูกกวาง ของดีเมืองพะเยา

กระจาด ลูกกวาง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผักตบชวา เดิมผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือน โดยนำผักตบชวานำมาจักสาน หรือใช้จ่ายตลาดในหมู่บ้าน อำเภอเมื่อผู้คนพบเห็นมีความสนใจและอยากได้สินค้านำไปใช้ ปัจจุบันได้ผลิตในหลายรูปแบบตามสมัยนิยม


     กระจาดลูกกวางนับว่าเป็นสินค้าที่มีความสวยงาม ผลิตจากวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เลิกใช้สามารถย่อยสลายไปตามกาลเวลาไม่เหมาะแก่การลดโลกร้อนเป็นอย่างมาก

ปริมาณการผลิต

2000 ชิ้นต่อเดือน

ราคา

50 บาทขึ้นไป

สถานที่จำหน่าย

- 88 หมู่ที่ 1 ต.บ้านต๊ำ อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา 054-485903

สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
กลุ่มจักสานผักตบชวา บ้านห้วยเคียนเหนือ 88 หมู่ที่ 1 ต.บ้านต๊ำ อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา

เครื่องปั้นดินเผาประดับด้วยผ้าพื้นเมือง นันทรินทร์

เครื่องปั้นดินเผาประดับด้วยผ้าพื้นเมือง นันทรินทร์ ประวัติความเป็นมา
นาง สาวกฤษณา อนุยูร ปัจจุบันอายุ 53 ปี จบคุรุศาสตร์บัณฑิตจากวิทยาลัยครูนครสวรรค์ เอกภาษาไทย อายุราชการ 31 ปี จึงได้ลาออกมาช่วยพี่ชายทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาประดับด้วยผ้าพื้น เมือง เริ่มตั้งแต่ปี 2545-2548 โดยใช้ทุนส่วนตัวและจากสมาชิกในครอบครัว

ต่อ มาสมาชิกในครอบครัวก็ระดมความคิดกันว่าจากการที่มีผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดิน เผา ผลิตออกสู่ตลาดอย่างมากมายและส่วนใหญ่ก็เป็นสีเหมือนกันคือ เป็นสีของเครื่องปั้นดินเผาปกติ ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นคุณค่าของเครื่องปั้นดินเผาเท่าไรนัก

     ฉะนั้นเราจึงได้นำแนวคิดจากการที่ได้ไปเห็นเครื่องลายคราม และเครื่องเบญจรงค์ ซึ่งมีสีสันสวยงาม ดังนั้นจึงได้นำสิ่งที่ได้พบเห็นมาเพิ่มคุณค่าให้กับเครื่องปั้นดินเผา โดยใช้ลวดลายไทย และผ้าพื้นเมืองต่าง ๆ มาประดับตกแต่ง ซึ่งก็ทำให้เครื่องปั้นดินเผามีความสวยงาม มีความประณีต มีหลากหลายสี มีคุณค่า มีราคา มีความทันสมัย เพื่อแสดงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ดูแลรักษาง่ายใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้านเรือน สถานที่ต่าง ๆ เป็นของที่ระลึก ปลอดภัยต่อผู้ใช้ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

     การนำลายไทยและผ้าพื้นเมืองมาประยุกต์ใช้ เพื่อแสดงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย และการเพิ่มคุณค่าให้กับเครื่องปั้นดินเผา

ปริมาณการผลิต
1,000-2,000 ชิ้น/เดือน

ราคา

50-2,000 บาท/หน่วย

สถานที่จำหน่าย
- เลขที่ 527 หมู่ที่ 4 ต.นิคมเขาบ่อแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 06-2150321,01-5147455
สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

คุณ กฤษณา อนุยูร บ้านเลขที่ 527 หมู่ที่ 4 ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โทร 06-2150321,01-5147455 หรือติดต่อข้อมูลได้ที่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

เปลือกส้มโอเชื่อม กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรท่าข้าวโพด

เปลือกส้มโอเชื่อม กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรท่าข้าวโพด
อดีตกาลรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย เคยเห็นแต่การนำเปลือกส้มโอเชื่อมที่เป็นชิ้นใหญ่ สีขาว มีความหวานอย่างเดียว กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรท่าข้าวโพดได้รักษาภูมิปัญญาเพื่ออนุรักษ์ขนมไทยๆ แต่ได้มีการพัฒนารูปแบบ สีสรร รสชาด ให้เป็นที่ถูกปาก ถูกใจผู้บริโภค


     โดยทำเป็นชิ้นเล็กๆ แต่พอคำ พร้อมเติมสมุนไพรที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รสชาดดี ด้วยสมุนไพรที่ผสมอยู่ มีความหวานพอเหมาะ สามารถทำเป็นอาหารว่างและเป็นของฝาก ของขวัญได้เป็นอย่างดี

     ที่สำคัญมีการใช้เปลือกส้มโอขาวแตงกวาซึ่งเป็นวัตถุดิบท้องถิ่นในการผลิต พร้อมผสมสมุนไพรที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กระเจี๊ยบ ใบเตย เป็นต้น รสหวานพอเหมาะ ขนาดพอคำ สามารถเป็นของฝาก ของขวัญได้เป็นอย่าง

ปริมาณการผลิต
500 กิโลกรัมต่อเดือน

ราคา

ราคาขายส่งกล่องละ 30 บาท ราคาขายปลีก 35 บาท ขายส่งถุงละ 20 บาท ขายปลีกถุงละ 25 บาท

สถานที่จำหน่าย

- 205 หมู่ที่ 2 ต.บ้านกล้วย อ.เมือง จ.ชัยนาท 0-5641-4785 / 0-9269-1191
- ร้านค้าชัยนาท CEO 3 สาขา คือ 1. ข้างศาลากลางจังหวัดชัยนาท 2. หน้าสวนนกชัยนาท 3. ศูนย์บริการทางหลวง กิโลเมตรที่ 185
สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรท่าข้าวโพด 205 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท โทร.0-5641-4785 / 0-9269-1191

น้ำปลาตราแม่บ้านดอนยาง

น้ำปลาตราแม่บ้านดอนยาง พื้นที่ตำบล ดอนยางและปากคลองเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้ชายทะเล หลาย ๆ ครัวเรือนมีแพปลา (โรงเค็มสมัยก่อน) ครัวเรือนดังกล่าวทำน้ำปลาไว้เพื่อบริโภค และแลกเปลี่ยนของในครัวเรือน

     โดยส่วนใหญ่จะใช้วิตถุดิบท้องถิ่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีโปรตีนสูง และไม่มีสารเจือปน เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรแปรรูป (Q) จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ปริมาณการผลิต
ขวดใหญ่ 750 ซี.ซี. 2,000 ขวด / เดือน ขวดเล็ก 200 ซี.ซี. 1,500 ขวด / เดือน ขวดใหญ่น้ำปลาผสม 750 ซี.ซี. 1,000 ขวด/ เดือน

ราคา
ขวดใหญ่ 260 บาท/โหล ขวดเล็ก 120 บาท/โหล ขวดใหญ่น้ำปลาผสม 120บาท/โหล

สถานที่จำหน่าย
                                สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
                                126/1 ม.10 ต.ดอนยาง อ.ปะทิว จ.ชุมพร 86160

ผ้าฝ้ายจกไหม จ. อุทัยธานี

ผ้าฝ้ายจกไหม จ. อุทัยธานี
การทอ ผ้าฝ้ายเพื่อใช้สอยในครัวเรือน เป็นวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาว “ลาวครั่ง” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ที่อพยพมาจากสาธารณรัฐประชาชนลาว เมื่อประมาณ 300 ปีก่อน


    ปัจจุบันชาวบ้านบึงยังคงรักษาประเพณีการทอผ้าแบบดั่งเดิม แต่ได้เพิ่มลวดลายและตกแต่งโดยใช้ไหม เรียกว่า “ผ้าฝ้ายจกไหม” ซึ่งมีเอกลักษณ์การทำลวดลาย จากจินตนาการ สิ่งแวดล้อมรอบตัว วิถีชีวิตความเป็นอยู่ เช่น รูปดอกไม้ รูปสัตว์ รูปดวงดาวบนท้องฟ้า ใครได้สวมใส่หรือมีไว้ในครอบครองจัดเป็นผู้มีความร่มเย็น สงบสุข ตามลวดลายที่เลือก

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
ลวดลายมีเอกลักษณ์/มีความประณีตสวยงาม และมีคุณภาพได้มาตรฐาน

ปริมาณการผลิต
ประมาณ 2 ชิ้น/เดือน

ราคาตั้งแต่ 2,500 – 5,000 บาท

สถานที่จำหน่าย - 73 หมู่ที่ 1 ต.บ้านบึง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
โทรศัพท์ 0-5654-6125

งาช้างหินอ่อน ของดีจังหวัดกำแพงเพชร

งาช้างหินอ่อน ของดีจังหวัดกำแพงเพชร

งา ช้างหินอ่อน นับว่าเป็นสินค้าระดับ 5 ดาว ของจังหวัดกำแพงเพชร เนื่องจากงาช้างเป็นสิ่งที่หายากและมีผู้นิยมนำไปประดับในบ้านและตามหิ้ง บูชาพระ จึงมีการคิดที่จะนำหินอ่อนมาประดิษฐ์เป็นงาช้างเพราะหินอ่อน บางชนิดมีสีขาวเหมือนงาช้าง และสามารถหาวัตถุดิบในท้องถิ่น จึงผลิตออกจำหน่าย มีผู้สนใจสั่งซื้อจำนวนมาก

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ : มีความขาวสวย เหมือนงาช้าง แข็งแรง ทนทาน เหมาะสำหรับประดับตกแต่งบ้านและสถานที่สำคัญ

ปริมาณการผลิต : 30-40 คู่/อาทิตย์

ราคา
300-10,000 บาท

สถานที่จำหน่าย
- 15 หมู่ที่ 19 ถนนหนองตากล้า ต.ถ้ำกระต่ายทอง อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร
สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายวิชิต เอี้ยงปาน 15 หมู่ที่ 9 ต.ถ้ำกระต่ายทอง อ.พรานกระต่าย โทรศัพท์ 055761745
ที่มา http://www.otop5star.com/

อัจฉราไข่วิจิตร

อัจฉราไข่วิจิตร
ผลิตภัณฑ์ ของอัจฉราไข่วิจิตรเป็นงานหัตถศิลป์ ที่ทำจากไข่เปลือกแข็งทุกชนิด ได้แก่ ไข่เป็ด , ไข่ไก่ , ไข่ห่าน , ไข่นกกระทา , ไข่นกกระจอกเทศ , ไข่นกเลิฟเบิร์ด , ไข่นกอีมู ไข่จรเข้ ฯลฯ ซึ่งจะทำการใช้เทคนิคพิเศษที่ทำให้ไข่มีความแข็งแรงคงทน มากกว่าปกติ ผลิตภัณฑ์หลักของเราเป็นของขวัญขอลที่ระลึกที่เหมาะกับทุกโอกาสและทุก สถานการณ์ แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 3ประเภท ตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้


     1.ใช้ประดับตกแต่งบ้าน , โชว์ในตู้ เช่น งานพุทธศิลป์

     2.เป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเป็นการเคลื่อบผิวทั้งด้านในและด้านนอกให้แข็งแรงคงทนต่อการใช้งานได้ จริง เช่น กระเป๋าราตรีจากไข่ห่าน ไข่นกอีมู และไข่นกกระจอกเทศ , กล่องใส่แหวน , ที่เสียบปากกา , กล่องใส่นามบัตร , ที่ใส่ไม้จิ้มฟัน , เชิงเทียนบนโต๊ะอาหาร , โคมไฟ

     3.เครื่องประดับสตรี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไข่นกกระทา , ไข่นกเลิฟเบิร์ด , ไข่เต่านา ซึ่งมีขนาดเล็ก มาตกแต่งเป็นเข็มกลัดติดเสื้อ , ต่างหู , จี้ , สร้อยข้อมือ , กิ๊บติดผม ทั้งนี้มีจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ได้รับการออกแบบที่มีรูปแบบหลากหลายสามารถตอบ สนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้กว้างขวาง

ซึ่งแบ่งลักษณะการออกแบบหลักออกเป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม

     1.แบบไทยโบราณ ซึ่งได้นำหัตถศิลป์งานช่างสิบหมู่ของไทยโบราณมาประยุกต์ใช้หลายแขนง ทุกขั้นตอนทำด้วยมือ ใช้วัสดุจากธรรมชาติ และต้องใช้ช่างผู้ชำนาญงานช่างสิบหมู่โดยเฉพาะ

- แบบประดับลายลงรักปิดทอง โดยการประดิษฐ์มีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การแกะหินสบู่หรือหินอ่อนเป็นแม่พิมพ์ลายไทยแบบต่างๆ ใช้วัสดุพิเศษกดลายทีละตัว ลงรักปิดทอง ประดับแวว ลงยาสี ฯลฯ ทุกขั้นตอนต้องใช้ช่างผู้ชำนาญ ทั้งฝีมือ และมีความรู้เฉพาะทาง

-การ ปักด้วยดิ้นเงิน ดิ้นทองบนเปลือกไข่ เป็นการปักโยการใช้เข็มเย็บผ้าปักลวดดลาย ด้วยดิ้นเงิน และดิ้นทอง ตามลายแบบลายไทยสมัยโบราณ เช่น ลายดาว , ลายเถา ฯลฯ

     2. แบบไทยประยุกต์ เป็นการออกแบบทางศิลปวัฒนธรรมของไทย ซึ่งแสดงถึงวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมประเพณีของความเป็นไทย

-การ เขียนเส้นลายไทยแบบต่าง ๆ ลงบนเปลือกไข่ เป็นลายไทยแบบต่าง ๆ เป็นการเขียน และวาดด้วยพู่กันลงบนผิวเปลือกไข่ เกี่ยวกับวรรณคดีไทย กีฬาไทย การละเล่นของ ไทย และ ตามเทศกาลต่างๆ ที่สำคัญของไทย

-การประดับ ด้วยปีกแมลงทับ ซึ่งเป็นการนำเอาเครื่องมือของไทยสมัยโบราณมาตัดปีกแมลงทับ โดยต้องใช้ความประณีตในการตัดปีกแมลงทับทีละชิ้นและนำมาตกแต่งทีละ ชิ้นลงบนเปลือกไข่ให้สวยงาม

-การประดับด้วยดอกไม้ดินปั้นปิดทองคำ เป็นการนำเอาดินมาปั้นเป็นดอกไม้ต่าง ๆ หลายขนาด เช่น ดอกกล้วยไม้, เอื้องคำ, เอื้องหม่อนไข่, ช้างกระ, ดอกเข็ม, ดอกแก้ว, ดอกกุหลาบ ฯลฯ

3.แบบไทยสากล เน้นการออกแบบที่เป็นธรรมชาติ มีอิสระ นำศิลปะของชาติต่างๆ มาผสมผสานให้มีความสวยงาม

-การ เดินเส้นลวดลายต่าง ๆ ทำอีนาเมลผิวให้เกิดความแข็งแรงคงทน และคงความสวยงาม เลียนแบบหินอ่อน หรือเป็นการอีนาเมลโดยใช้เศษผงพลอยที่เหลือจากการเจียแล้ว นำมาลงเป็นลวดลายต่าง ๆ หินอัญมณีที่ใช้ เช่น หยก , ทับทิม , ไพลิน , อะมีทีสต์ , ควอร์ท ฯลฯ

-ทำแบบตามเทศกาล เช่น คริสต์มาส , วาเลนไทน์ , อีสเตอร์ , ฮาโลวีน , ตรุษจีน , วันเกิด, แต่งงาน, ฉลองการเลื่อนยศ , รับปริญญา ฯลฯ

-การ ประดับด้วยใบไม้และดอกไม้ธรรมชาติ เป็นการนำดอกไม้สดมาทำแห้ง แล้วตัดทีละดอกมาตกแต่งเป็นช่อๆ ให้สวยงาม ใช้ดอกไม้หลายชนิด เช่น ดอกมินิแคสเปียร์,ดอกยิปซี,ดอกเข็ม,ใบเฟิร์นก้านดำ ฯลฯ

- การเพ้นท์ด้วยพู่กันตามแบบธรรมชาติต่างๆ เหมือนจริง เช่นนกพันธุ์ต่างๆของไทย สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆของไทย

919/1 Silom Galleria Bldg. FL.3 Opposite Central Silom Silom Rd. Bangkok Thailand กรุงเทพมหานคร ไทย
โทรศัพท์: 02-6303485 แฟกซ์: 02-3361016 มือถือ: 06-7765325
เว็บไซต์:
http://www.designingegg.com/

หัตถกรรมจักสานแม่บ้าน "พนมไพร"

หัตถกรรมจักสานแม่บ้าน "พนมไพร"
ผลิตภัณฑ์ จักสานฝีมืออันประณีตของกลุ่มแม่บ้านพนมไพร อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด โดยการนำของ นางศิรินภา ไพรสุวรรณ ประธานกลุ่ม วัย 41 ปี นอกจากจะเป็นการสร้างเงินสร้างงานให้กับสมาชิกไม่ต่ำกว่าเดือนละ 4,000 บาท และสร้างรายได้เข้ากลุ่มหักค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่าเดืนละ 3 หมื่นบาทแล้ว ปัจจุบันยังสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง หลังมีการรวมกลุ่มเปิดตลาดส่งสินค้าหัตถกรรมขายไกลถึงต่างแดน

     ก่อนจัดตั้งเป็นกลุ่มเครือข่ายหัตกรรมจักสานและศิลปะประดิษฐ์พื้นบ้านนั้น นางศิรินภา เล่าว่า เริ่มจากเหล่าแม่บ้านและผู้เฒ่าผู้แก่ทอผ้ามัดหมี่ขาย แต่กลับประสบปัญหาเรื่องตลาด เนื่องจากขายได้ยาก เพราะผ้ามัดหมี่ทอมือนั้นราคาสูง ต้นทุนก็สูงด้วย กระทั่งปี 2536 พัฒนาชุมชนจึงเข้ามาดูแลเรื่องการรวมกลุ่ม และหนุนให้ชาวบ้านจักสานโดยเน้นวัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่

     ประธานกลุ่มเสริมอีกว่า ครั้งแรกกลุ่มมีสมาชิก 40 คน ไปตัดต้นกกที่มีตามปลายนามาสานเป็นตะกร้า ขณะที่บางคนก็จับมีดตัดไผ่หลังสวนมาผ่าเป็นซีกๆ แล้วบรรจงเหลา กระทั่งได้เส้นตอกสำหรับสานกระติบข้าวเหนียว และประยุกต์เป็นรูปแบบอื่นๆ จนกลายเป็นของฝากและสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกกลุ่มอย่างพออยู่พอกิน

     จากการประยุกต์ชิ้นงานอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้กลุ่มจักสานของหมู่บ้านพนมไพร ถูกผลักดันให้เข้ารวมตัวกับเครือข่ายหัตถกรรมจักสานและศิลปะประดิษฐ์ จ.ร้อยเอ็ด ที่รวมตัวเอาสมาชิกกลุ่มจักสานจากหมู่บ้านต่างๆ อีก 2 อำเภอ คือ อ.อาจสามารถ และกิ่ง อ.หนองฮี ยิ่งทำให้เกิดความหลากหลายและความเข้มข้นในการพัฒนาชิ้นงานอย่างต่อเนื่อง

    "ทุกวันนี้กลุ่มโตขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเรื่องจำนวนสมาชิกและเรื่องชิ้นงานที่วางขาย ซึ่งในกลุ่มมีสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์จักสานมากมาย ทั้งกระเป๋าไม้ไผ่ กระติบข้าวจากกกไหล ที่ได้รับคัดเลือกเป็นสินค้าโอท็อประดับ 2 ดาว และที่ขึ้นชื่อสร้างรายได้มากที่สุด คือ แจกันไม้มะม่วง ที่ได้รับคัดเลือกจากจังหวัดเป็นสินค้าระดับ 4 ดาว" ประธานกลุ่ม เผย และว่า


    ในส่วนกระเป๋าไม้ไผ่ และแจกันไม้มะม่วงนั้น จะมีออเดอร์สั่งจากประเทศเยอรมนีทุกเดือน โดยแต่ละเดือนจะมีรายได้หักค่าใช้จ่ายแล้วกว่า 3 หมื่นบาท ขณะที่แม่บ้านก็จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 4,000 บาท อย่างไรก็ตาม ประธานกลุ่มเสริมว่า ที่เป็นปัญหามากคือ แจกันไม้มะม่วง ซึ่งลูกค้าต่างชาติต้องการมาก ออเดอร์สั่งแต่ละครั้ง 1-2 แสนบาท แต่กลุ่มไม่สามารถทำส่งให้ทันได้ เพราะไม่สามารถหาไม้ได้

    ประธานกลุ่มเครือข่ายหัตถกรรมจักสานและศิลปะประดิษฐ์พนมไพร บอกอีกว่า เนื่องจากทุกวันนี้สินค้าเป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้วัสดุเริ่มจะหมดไป บางครั้งต้องออกไปซื้อจากที่อื่น ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว กลุ่มจึงสนับสนุนให้ชาวบ้านหันมาปลูกพืชวัตถุดิบอย่าง กก ไม้ไผ่ ไปพร้อมกัน ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

    สำหรับใครก็ตามที่สนใจใคร่เรียนรู้ นางศิรินภา ย้ำว่า แวะชมได้ที่กลุ่มเครือข่ายหัตถกรรมจักสานและศิลปะประดิษฐ์พื้นบ้าน ซึ่งตั้งอยู่ข้างที่ว่าการอำเภอพนมไพร จ.ร้อยเอ็ด สมาชิกกลุ่มทุกคนพร้อมต้อนรับเสมอ เพราะงานหัตถกรรมอันหลากหลายนี้ นอกจากจะพิสูจน์ให้เห็นถึงภูมิปัญญาปู่ ย่า ตา ยายแล้ว ประธานกลุ่มบอกว่า ถือเป็นความภาคภูมิใจที่สินค้าเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติ ซึ่งไม่เฉพาะเยอรมนีเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายประเทศที่ติดต่อเข้ามา
สนใจติดต่อ
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนประดิษฐกรรมไม้
บ้านชะโด
ติดต่อ : คุณวิเศษ ศรีชุติโยทัย
โทร : 043 591167, 08 9840 7157

หนังปลาเกาะยอเป็นหนึ่งด้วยรสชาติ

หนังปลาเกาะยอเป็นหนึ่งด้วยรสชาติ
"ทะเลสาบ สงขลา"ในจังหวัดสงขลาเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงพลอยก่อให้เกิดทรัพยากรหลากหลายตามไปด้วย แหล่งน้ำที่ทะเลสาบแห่งนี้ยังคงถือได้ว่ามีความสมบูรณ์สูง อาชีพของชาวบ้านที่รายล้อมอาศัยอยู่รอบบริเวณทะเลสาบจึงหนีไม่พ้นการทำประมง เพื่อการยังชีพ
     เนื่องมาจากสภาพของน้ำที่มีทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ที่นี้จึงได้รับสมญาว่า "เมือง2ทะเล 3น้ำ" ความพิเศษของทะเลสาบแห่งนี้เป็นที่เลื่องลือกันว่า เนื้อปลามีรสหอมหวานกว่าที่อื่น


     นอกจากนี้ยังมีสัตว์น้ำกร่อยที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจทั้ง กุ้งหัวมัน กุ้งหัวแข็ง กุ้งก้ามกราม กุ้งแชบ๊วย กุ้งกุลาดำ ปลากะพงขาว ปลากระบอก ฯลฯ มีชุกชุมจับได้ทั่วไปไม่ว่าส่วนไหนของทะเลสาบ และคุณภาพก็ยอดเยี่ยม ทั้งอ้วน หวาน มัน ราคาแพง กว่ากุ้งปลาจากแหล่งน้ำอื่นๆ

     โดยเฉพาะปลากระบอกและปลากะพงขาว สำหรับปลากระบอกนั้นชาวบ้านนิยมนำมาทำเป็นแกงส้ม แต่สำหรับปลากะพงขาวนั้นมีความพิเศษแตกต่างออกไปเนื่องจากได้มี กลุ่มเกษตรกรกลุ่มผลิตและแปรรูปอาหารทะเลสาบสงขลา ซึ่งชาว "เกาะยอ"ได้เล็งเห็นคุณค่าจากหนังปลา โดยได้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเพื่อการค้า พร้อมมีการรวมกลุ่มกันขึ้น โดยหนังปลาที่นำมาใช้นี้จะเป็นหนังปลาที่นำมาจากทะเลสาบสงขลาเท่านั้น

     พงศ์สวัสดิ์ ยอดสุรางค์ ในฐานะผู้ก่อตั้งได้เล่าให้ฟังว่า หนังปลาทอดกรอบ เกาะยอเกิดขึ้นเพื่อจุดประสงค์ที่จะให้เป็นรายได้เสริมแก่ชาวบ้านในยามว่าง เมื่อปีพ.ศ.2532 ด้วยจำนวนสมาชิก 15 คน ในปัจจุบันมีกำลังผลิตได้ 500 ถุงต่อวัน แต่มีการสั่งซื้อจากประเทศจีนกว่า2ล้านตัน

     เมื่อไม่สามารถเสาะหาวัตถุดิบให้ได้จึงต้องบอกปฏิเสธไป ด้วยสาเหตุที่ว่าหนังปลากะพงขาวนี้จะมีมากในบางช่วงฤดูเท่านั้นจะเอาหนังปลา จากที่อื่นไปขายให้ก็ไม่กล้าเพราะถ้าเป็นลูกค้าประจำจะรู้ทันทีว่าอันไหนของ แท้ของเทียม

     สำหรับคนชอบกินหนังปลาไม่ควรพลาดการลิ้มลองหนังปลาเกาะยอ เพราะนอกจากรสชาติชวนกินแล้วยังมีคุณสมบัติ เฉพาะของหนังปลาที่มีไขมันปลา เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ร่างกายของมนุษย์สามารถย่อยได้ ให้สารDHAและโอเมก้า3 ที่ช่วยบำรุงสมองให้ฉลาด

     นอกจากนี้ให้กระบวนการผลิตยังใส่ใจต่อพี่น้องชาวมุสลิม ด้วยกรรมวิธีการทำที่มีการล้างหนังปลาตามหลักศาสนาอิสลาม พร้อมกันนี้ยังมีระบบการทอดที่สะอาดปลอดภัยด้วยเครื่องสลัดน้ำมันอีกด้วย

     สนใจติดต่อผลิตภัณฑ์หนังปลากะพงขาว (แห้ง,ทอดกรอบ) กลุ่มเกษตรกรกลุ่มผลิตและแปรรูปอาหารทะเลสาบสงขลา ได้ที่ 18/1 หมู่ 4 ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลาโทร. 0-7445-0023 โทรสาร :0-7433-2238

ที่มา http://www.manager.co.th/

บายศรีจากดิน OTOP 5 ดาว เมืองสองแคว

บายศรีจากดิน OTOP 5 ดาว เมืองสองแคว
สิ่ง สำคัญสำหรับใช้ในพิธีหรืองานมงคลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานบวช งานแต่ง งานไหว้ครู งานแสดงความยินดี หรือแม้กระทั่งพานพุ่มที่ตั้งอยู่บนหิ้งพระ สิ่งที่ขาดไม่ได้นั่นก็คือ บายศรีจากกระทง
     และถ้าจะย้อนถามถึงที่มาและความสำคัญของบายศรี ก็อาจกล่าวได้ว่า บายศรีกับสังคมความเชื่อของคนไทยนั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมานานจนไม่สามารถ แยกจากกันได้ ส่วนในด้านของความหมายนั้น ตามที่ระบุอยู่ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่าบายศรีไว้ว่า ข้าวอันเป็นสิริ ขวัญข้าวหรือภาชนะที่จัดตกแต่งให้สวยงามเป็นพิเศษ ด้วยใบตองและดอกไม้สด เพื่อเป็นสำรับใส่อาหารคาวหวานในพิธีสังเวยบูชา


     และพิธีทำขวัญต่างๆ ซึ่งสันนิษฐานว่า ศิลปะการทำบายศรีนี้น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิพราหมณ์ ซึ่งเข้ามาทางเขมร เพราะคำว่า “บาย” ในภาษาเขมร แปลว่า ข้าวสุก ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า จับต้อง สัมผัส ส่วนคำว่า “ศรี” มาจากภาษาสันสกฤต ตรงกับ ภาษาบาลีว่า “สิริ” แปลว่า มิ่งขวัญ ดังนั้นคำว่า “บายศรี” จึงแปลได้ว่า ข้าวขวัญ หรือสิ่งที่น่าสัมผัสกับความดีงาม

     ด้วยเห็นความสำคัญของบายศรีที่เป็นสิ่งจำเป็นและเกี่ยวเนื่องกับพิธีมงคล ต่างๆ จึงมีผู้ที่คิดค้นปรับเปลี่ยนวัสดุที่เคยใช้แต่เดิมคือใบตองมาเป็นวัสดุ อย่างอื่น ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความทนทานในการใช้งานให้มากยิ่งขึ้น และโดยเฉพาะเพื่อนำสิ่งที่เหลือใช้ในชุมชนมาทำให้มีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งวัสดุที่ว่านั้นก็คือ “ดิน”

     คุณนงลักษณ์ ทรัพย์เจริญ ประธานกลุ่มงานศิลป์ดินไทย ผู้สร้างสรรค์บายศรีจากดิน ได้เปิดเผยให้ฟังถึงแนวคิดที่มาของทำบายศรีจากดินเหนียวว่า เดิมทีเธอก็มีอาชีพเป็นแม่บ้านเหมือนกับคนอื่นๆ แต่เมื่อมีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์หรือ OTOP ซึ่งภาครัฐมีการสนับสนุนให้แต่ละชุมชนสร้างงานจากภูมิปัญญาที่แต่ละชุมชนมี ความถนัด เธอจึงรวมตัวกับคนในชุมชนจำนวนหนึ่ง ตั้งเป็นกลุ่มเพื่อสร้างงานของชุมชนขึ้น

     “ตอนนั้นเป็นช่วงประมาณปี พ.ศ. 2546 ภาครัฐเขามีการสนับสนุนให้คนในชุมชนผลิตงานออกมา หรือที่เราเรียกกันว่า โอทอป ดิฉันก็เลยรวมกลุ่มกับเพื่อนแม่บ้านจำนวนหนึ่งตั้งเป็นกลุ่มงานศิลป์ดินไทย ขึ้นมา เพราะตอนนั้นเรามองกันว่า ดินเหนียวที่คนโบราณใช้ปั้นหม้อ ปั้นชาม ปั้นอะไรต่อมิอะไรน่าจะนำมาสร้างเป็นชิ้นงานเพื่อเพิ่มมูลค่าได้ เราก็เลยตั้งธงไว้ว่าจะสร้างงานจากดินเหนียวขึ้น แต่ช่วงเริ่มแรกนั้นก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะทำอะไร”

     หลังจากที่มีจุดมุ่งหมายว่าจะสร้างงานจากดินเหนียว แต่ยังไม่รู้จะทำอะไร จากนั้นคุณนงลักษณ์และเพื่อนในกลุ่มจึงลองผิดลองถูกสร้างชิ้นงานออกมา หลายอย่าง แต่เมื่อทำไปซักระยะก็เริ่มรู้ถึงความต้องการของตลาดว่า ผู้บริโภคซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทยนั้นเขาต้องการอะไร

     “แม้งานที่กลุ่มงานศิลป์ดินไทยสร้างสรรค์ในช่วงแรกๆ จะไม่มีความหลากหลายทั้งทางด้านรูปแบบและชนิดของชิ้นงาน แต่การได้เริ่มต้นทำและการได้ฝึกฝีมือก็เป็นการเพิ่มทักษะ ความประณีต ความละเอียดให้สมาชิกในกลุ่มให้มีมากขึ้น รวมถึงยังทำให้มองเห็นลู่ทางความต้องการของตลาดมากขึ้นด้วย

     “กลุ่มเราลองผิดลองถูกอยู่หลายเดือน ซึ่งจากที่เคยทำเพียงดอกไม้ กลุ่มเราก็ได้พัฒนาลองสร้างชิ้นงานในรูปแบบอื่นๆ ขึ้น ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่เราได้พัฒนา ก็คือ ดินปั้นรูปบายศรีที่เขาใช้ในงานมงคลต่างๆ ซึ่งเมื่อทำออกมาปรากฏว่ามันขายดีกว่าดินปั้นรูปดอกไม้ จากนั้นไม่นานเราก็เลยลองส่งประกวดในโครงการ OTOP ปรากฏว่าครั้งแรกเราได้โอทอประดับ 3 ดาว ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าตอนนั้นมันยังใหม่อยู่ ฝีมือความประณีตก็คงยังไม่เข้าขั้น

     จนกระทั่งในปีต่อมา คือปี 2547 และ 2549 เราก็ได้รับการยอมรับให้เป็นโอทอประดับ 5 ดาว ซึ่งการได้รับการยอมรับตรงนี้เองที่ทำฐานลูกค้าเราขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จนเราต้องรับสมาชิกในกลุ่มเพิ่ม ซึ่งปัจจุบันเรามีสมาชิกทั้งหมดกว่า 30 คน ซึ่งในจำนวนนี้ก็มีทั้งคนพิการ ผู้หญิงในชุมชน รวมถึงคนที่ว่างงานในชุมชนก็มาทำกับกลุ่มเราด้วย ส่วนเรื่องรายได้เฉลี่ยก็ตกประมาณเดือนละ 4,000 บาท/คน ซึ่งถ้ามองถึงตรงนี้ก็นับว่าคุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง เพราะอย่างน้อยสิ่งที่เราได้ก็คือ คนที่ว่างงานในชุมชนเขามีงานทำ และเหนือกว่านั้นก็คือเขามีรายได้ไปเลี้ยงตัวเองและครอบครัว”

     ขั้นตอนวิธีการทำคุณนงลักษณ์ อธิบายให้ฟังว่า งานการทำบายศรีจากดินเหนียวเป็นงานที่ต้องอาศัยความละเอียดและความประณีต ค่อนข้างสูง เริ่มตั้งแต่การหาดินจะต้องเป็นดินเม็ดละเอียด เกาะกันแน่น จากนั้นก็นำดินมานวด เมื่อนวดจนได้ที่จึงนำสีมาผสม ซึ่งขั้นตอนการผสมสีนี้ต้องเอาวัสดุที่จะทำมาเปรียบเทียบเพื่อให้สีของดินมี ความเหมือนจริงมากที่สุด เช่น ถ้าเป็นดินที่จะนำไปปั้นเป็นใบตองเราก็จะเอาสีของใบตองมาเปรียบเทียบ อย่างนี้เป็นต้น จากนั้นก็จะนำไปขึ้นรูปตามแบบที่เราจะปั้น แล้วก็ใช้อุปกรณ์สลักลวดลาย หรือที่เรียกกันว่าการแต่งลายตามที่เราต้องการ จากนั้นก็ปล่อยทิ้งให้แห้งเป็นอันเสร็จ แต่กระบวนการทั้งหมดสมาชิกในกลุ่มเราจะแบ่งหน้าที่กันทำ เช่น แผนกนวดดิน ก็จะนวดดิน แผนกตกแต่งแกะสลักก็จะมีอีกแผนกหนึ่ง ซึ่งเหตุที่แบ่งลักษณะงานออกเช่นนี้ก็เพราะแต่ละคนจะมีความถนัดหรือมีฝีมือ ที่แตกต่างกัน

     ปัจจุบันชิ้นงานปั้นบายศรีของกลุ่มงานศิลป์ดินไทย ถือเป็นงานโอทอประดับ 5 ดาวของจังหวัดพิษณุโลก ที่มียอดจำหน่ายอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี ซึ่งราคาที่จำหน่ายแต่ละชิ้นงานก็จะแตกต่างกันออกไปมีตั้งแต่ 40-90,000 บาท/ชิ้นงาน เลยทีเดียว และนี่น่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความสำเร็จของกลุ่มงานประดิษฐ์ระดับ ชุมชน ซึ่งคุณนงลักษณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า งานที่กลุ่มผลิตนอกจากจะเป็นบายศรีซึ่งมักนำไปใช้ในพิธีมงคลต่างๆ แล้ว ชิ้นงานที่ใช้สำหรับการตกแต่งบ้านทางกลุ่มก็ยังมีการผลิตจำหน่ายด้วยเช่นกัน

     สนใจงานศิลป์ผลิตจากดิน ทั้งบายศรีขนาดต่างๆ ชุดเชี่ยนหมา หรือชิ้นงานสำหรับตกแต่งบ้าน ประเภทแจกันหรือโมบาย ลองติดต่อไปได้ที่ “กลุ่มงานศิลป์ดินไทย” โทรศัพท์ 0-5530-3399, 0-5530-3400 หรือที่คุณนงลักษณ์ ทรัพย์เจริญ โทร. 08-1441-7546

ตะกร้าพลาสติกบ้านม่วงไข่

ตะกร้าพลาสติกบ้านม่วงไข่
กลุ่ม วิสาหกิจชุมชนสานตะกร้าพลาสติกบ้านม่วงไข่ เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาทำเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากแต่เดิมนั้นตะกร้าพลาสติกมีการทำจำหน่ายกันเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะ ท้องที่จึงไม่เป็นที่นิยมกันแพร่หลายนัก
     ในปัจจุบันเริ่มมีการใข้ตะกร้าพลาสติกมากขึ้น เนื่องจากมีการพัฒนารูปแบบให้มีความหลากหลาย รูปแบบและมีสีสันสวยงามน่าใช้ สะดวกแก่การใช้สอย เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

    โดยคุณสมบัติของตะกร้าพลาสติก ทำจากเส้นพลาสติก คงทน พัฒนารูปแบบสวยงาม ทันสมัย สีมีทุกสีตามที่ลูกค้าต้องการ


ตัวอย่างผลิตภัณฑ์


ติดต่อ
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสานตะกร้าพลาสติกบ้านม่วงไข่ 11 หมู่ 2 บ้านม่วงไข่
ตำบลนิคมคำสร้อย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร 49130
ติดต่อ : นางเสนอ อามาตรมนตรี โทร : 08-72201465