วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประวัติอำเภอเชียงแสน


อำเภอเชียงแสน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีซากโบราณสถานของเมืองเชียงแสนเก่าอยู่ในบริเวณตัวอำเภอ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวและท่าเรือขนส่งสินค้าที่สำคัญในภาคเหนือ นอกจากนี้เชียงแสนมีพื้นที่ซึ่งเรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ ในพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านสบรวก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย อันเป็นบริเวณที่บรรจบกันของชายแดนสามประเทศ คือ ไทย ลาว และพม่า
 ในปี พ.ศ. 2413 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (พระเจ้านครเชียงใหม่) ได้ทรงส่งใบบอกข้อราชการไปยังกรุงเทพมหานครว่า มีชาวพม่า ไทลื้อ และไทเขิน จากเมืองเชียงตุงประมาณ 300 ครอบครัวได้อพยพลงมาอยู่เมืองเชียงแสนและตั้งตนเป็นอิสระไม่ยอมอยู่ใต้การปกครองของสยามและล้านนา จึงแต่งคนไปว่ากล่าวให้ถอยออกจากเมือง ถ้าอยากจะอยู่ ให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเมืองเชียงรายและนครเชียงใหม่ แต่ก็ไม่ได้ผล ไม่มีใครยอมออกไป
 ในปี พ.ศ. 2417 พระเจ้านครเชียงใหม่จึงทรงเกณฑ์กำลัง 4,500 คน จากเมืองต่าง ๆ ยกทัพจากนครเชียงใหม่มาเมืองเชียงรายและ เมืองเชียงแสน ไล่ชนเหล่านั้นออกจากเมืองเชียงแสน จึงทำให้เชียงแสนกลายเป็นเมืองร้าง
จนถึงปี พ.ศ. 2423 ได้ทรงให้เจ้าอินต๊ะ พระโอรสในพระเจ้าลำพูนไชย เป็นพระยาเดชดำรง เจ้าเมืองเชียงแสนองค์แรก และให้พระเจ้าผู้ครองนครลำพูนทรงเกณฑ์ราษฎรจากหลาย ๆ เมืองประมาณ 1,500 ครอบครัว ขึ้นมาตั้งรกราก "ปักซั้งตั้งถิ่น" อยู่ที่เมืองเชียงแสนจวบจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 ทางราชการได้ย้ายศูนย์การปกครองเมืองไปอยู่ที่ตำบลกาสา เรียกชื่อว่า อำเภอเชียงแสน ส่วนบริเวณเมืองเชียงแสนเดิมถูกยุบลงเป็น กิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง ขึ้นกับอำเภอเชียงแสน และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กิ่งอำเภอเชียงแสน ในปี พ.ศ. 2482 (โดยอำเภอเชียงแสนซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลกาสานั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอแม่จันแทน) จนกระทั่งได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอเชียงแสน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา


แผนที่อำเภอเชียงแสน

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเชียงแสน




พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงแสน

ตั้งอยู่ติดกับวัดเจดีย์หลวงทางด้านทิศตะวันตก พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500  เป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุที่ขุดพบในบริเวณเมืองเชียงแสนและพื้นที่ใกล้เคียง และจัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเกี่ยวกับการตั้งชุมชน  นอกจากนี้ยังมีแบบจำลองการตั้งถิ่นฐานของชุมชนกลุ่มต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เชียงแสน
ค่าธรรมเนียมเข้าชม ท่านละ 10 บาท

เปิดทำการตั้งแต่เวลา  09.00 – 16.00   ทุกวัน  ยกเว้นวันจันทร์  อังคาร  และวันหยุดนักขัตฤกษ์

วัดพระธาตุเจดีย์หลวง

 เป็นธรรมเนียมของการสร้างเมืองจะต้องมีเจดีย์ประจำเมือง เจดีย์หลวงคือเจดีย์ประจำเมืองเชียงแสนที่สร้างขึ้นมาในช่วงต้นของการสร้างเมืองเชียงแสน การสร้างนั้นสร้างตามหลักการสร้างวัดตามโบราณคือ มีเจดีย์ประธานอยู่กลาง มีเจดีย์รายล้อมรอบทั้ง 4 มุม และมีพระอุโบสถอยู่ด้านทิศตะวันออกของเจดีย์

เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงระฆังฐานสูงแปดเหลี่ยม เป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดของเมืองเชียงแสน ทัวร์ดอยพานักท่องเที่ยวไปสถานที่นี้อยู่บ่อยๆ เจดีย์หลวงสร้างราวปี พ.ศ.1887  ต่อมามีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา เจดีย์อง
ปัจจุบันที่อยู่ในสภาพดีนั้นเป็นเจดีย์ที่ก่อขึ้นมาใหม่บนฐานเดิมเมื่อปี พ.ศ. 2058

สถานที่ตั้งและการเดินทาง    วัดเจดีย์หลวงอยู่ในภายในกำแพงเมืองเชียงแสน จากสามแยกเชียงแสนริมแม่น้ำโขง เลี้ยวขวามาตามเส้นทางสาย 1016 ประมาณ 300 เมตรก็ถึง วัดเจดีย์หลวงอยู่ทางซ้ายมือ




วัดป่าสัก

         ตั้งติดกับกำแพงเมืองด้านนอกฝั่งทิศตะวันตก พื้นที่วัดมีบริเวณกว้างขวางวางขนานไปกับคูเมืองตั้งแต่ป้อมประตูเมืองเชียงแสน จนถึงป้อมประตูหนองมูต  ภายในวัดมีโบราณสถาน 7 แห่ง แต่ละแห่งล้วนเป็นฮิฐส่วนฐานของสิ่งปลูกสร้างกับแนวอิฐที่บ่งบอกแนวสิ่งก่อสร้างนั้นๆ มีอยู่สิ่งเดียวที่ยังคงสมบูรณ์ที่สุดคือเจีดย์ประธานทรงปราสาทยอดทรงระฆังแบบห้ายอด มีลวดลายปูนปั้นที่สวยงาม เจดีย์นี้สร้างโดยพญาแสนภู เมื่อ พ.ศ. 1883 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระพุทธโฆษาจารย์ได้อัญเชิญมาจากอินเดีย  หลังจากสร้างวัดแล้วได้ปลูกต้นสักล้อมรอบกำแพงจำนวน 300 ต้น จึงได้เรียกชื่อว่าวัดป่าสัก
ค่าธรรมเนียมในการเข้าชม   ท่านละ 10 บาท

การเดินทาง จากตัวเมืองเชียงแสนใช้เส้นทางสาย 1016  จนกระทั่งออกนอกกำแพงเมืองให้เลี้ยวขวาก็ถึงแล้ว






วัดพระเจ้าล้านทอง


         ตั้งอยู่กลางเมืองเชียงแสน เยื้องขึ้นมาจากวัดเจดีย์หลวงประมาณ 400 เมตร ด้านหน้าเป็นพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระประธาน ซึ่งเรียกว่า พระเจ้าล้านทอง วัดนี้ตามตำนานระบุว่าสร้างราว พ.ศ. 2032 โดยพระยาศรีรชฎเงินกอง พระโอรสของพระเจ้าติโลกราชกษัตริย์เชียงใหม่ เมื่อสร้างวัดขึ้นแล้วได้เททองหล่อพระประธานเป็นพระพุทธรูปสำริดหนัก 1,200 กิโลกรัม เรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่าพระเจ้าล้านทอง เป็นที่มาของชื่อวัดพระเจ้าล้านทอง  ปัจจุบันพระอุโบสถกำลังซ่อมแซมจึงยังไม่เห็นความงดงามและไม่สามารถเข้าไปในพระอุโบสถได้  ด้านหลังเป็นเจดีย์





วัดพระธาตุผาเงา


         ตั้งอยู่กลางเมืองเชียงแสน เยื้องขึ้นมาจากวัดเจดีย์หลวงประมาณ 400 เมตร ด้านหน้าเป็นพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระประธาน ซึ่งเรียกว่า พระเจ้าล้านทอง วัดนี้ตามตำนานระบุว่าสร้างราว พ.ศ. 2032 โดยพระยาศรีรชฎเงินกอง พระโอรสของพระเจ้าติโลกราชกษัตริย์เชียงใหม่ เมื่อสร้างวัดขึ้นแล้วได้เททองหล่อพระประธานเป็นพระพุทธรูปสำริดหนัก 1,200 กิโลกรัม เรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่าพระเจ้าล้านทอง เป็นที่มาของชื่อวัดพระเจ้าล้านทอง  ปัจจุบันพระอุโบสถกำลังซ่อมแซมจึงยังไม่เห็นความงดงามและไม่สามารถเข้าไปในพระอุโบสถได้  ด้านหลังเป็นเจดีย์
ตั้งอยู่นอกเมืองเชียงแสนไปตามเส้นทางเลาะแม่น้ำโขงสายเชียงแสน - เชียงของ ห่างจากตัวเมือง
เชียงแสน 4 กิโลเมตร  หากไปจากตัวเมืองเชียงแสน วัดพระธาตุผาเงาตั้งอยู่ทางด้านขวามือประมาณหลักกิโลเมตรที่ 48 และ 49 จุดเด่นของวัดพระธาตุผาเงาคือองค์พระธาตุผาเงาที่ตั้งประดิษฐานอยู่บนก้อนหินหลังพระอุโบสถ ลักษณะเดียวกับเจดีย์พระธาตุอินแขวนของพม่า  ด้านหน้าของพระธาตุเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถเป็นพระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่แทนหลังเดิมที่เก่าพุพัง ในการสร้างได้ขุดพบพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะแบบเชียงแสนที่มีความงดงาม ปัจจุบันพระพุทธรูปดังกล่าวตั้งประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ วัดนี้ไม่มีบันทึกว่าสร้างเมื่อใดและใครเป็นผู้สร้าง  พระอุโบสถหลังใหม่ที่สร้างขึ้นมีลวดลายวิจิตรงดงามด้วยศิลปะแบบล้านนาเชียงแสนประยุกต์  ด้านหลังพระอุโบสถเป็นบรรไดนาคขึ้นไปสู่พระธาตุเก่าบนยอดเขาซึ่งตอนนี้เหลือแต่เพียงฐานศิลาแลง เป็นพระธาตุศักดิ์สิทธ์ที่คนแถวนี้นับถือ ผมขึ้นไปทีไรเห็นมีคนท้องถิ่นแถวนี้เอาเครื่องถวายต่างๆ มาไหว้อยู่เป็นประจำ ชื่อพระธาตุอะไรจำไม่ได้แล้ว



สามเหลี่ยมทองคำ

         เป็นจุดบรรจบกันของ 3 ประเทศ คือ ไทย ลาว พม่า ระหว่างลาว-พม่า มีแม่น้ำโขงกั้น  ระหว่างไทย-พม่า มีแม่น้ำรวกกั้น  จุดบรรจบกันของทั้งสามประเทศมีตะกอนทรายทับถามอยูกลางน้ำ จุดนี้เป็นจุดชมวิวแม่น้ำโขงที่สวยงาม วิวฝั่งลาวมีแต่ป่าไม่มีชุมชน  ฝั่งพม่ามีอาคารหลังใหญ่ซึ่งเป็นบ่อนคาสิโนที่นักลงทุนไทยไปทำไว้เพื่อความสร้างความเพลิดเพลินให้นักท่องเที่ยว  ฝั่งลาวถัดไปทางด้านท้ายน้ำมีเกาะของลาวเกาะหนึ่งชื่อว่าเกาะดอนซาว นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปเที่ยวได้โดยเสียค่าขึ้นเกาะ 20 บาท บนเกาะเป็นแหล่งขายสินค้าปลอดภาษี ไม่น่าแวะขึ้นให้เสียเวลา   นับแต่ปีท่องเที่ยวนี้เป็นต้นไป ( 2548 ) สามเหลี่ยมทองคำมีจุดท่องเที่ยวเพิ่มจากเดิมคือมีการสร้างพระพูทธรูปองค์ใหญ่อยู่บนเรือนาวา และสร้างตุงทองขนาดใหญ่ และสร้างอีกหลายเชือก และมีอนุเสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายด้วย  นอกจากจุดนี้จะเป็นจุดชมวิวแล้วที่นี่ยังมีเรือหางยาวให้บริการพานักท่องเที่ยวนั่งเรือชมวิวสามประเทศ โดยเรือจะพาอ้อมเลาะฝั่งพม่า ขากลับเลาะริมฝั่งลาว แล้วพาวนไปชมวิวแถวเกาะดอนซาวของลาว สนใจติดต่อเรือให้บริการได้ที่ท่าเรือริมแม่น้ำโขง


หอฝิ่นอุทยานสามเหลี่ยมทองคำ

            หอฝิ่นอุทยานสามเหลี่ยมทองคำ ตั้งอยู่ในพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ ห่างจากอำเภอเชียงแสนประมาณ 10 กิโลเมตร ตัวอาคารล้อมรอบด้วยสวนอันสวยงาม เป็นศูนย์นิทรรศการแสดงประวัติความเป็นมาของฝิ่นเมื่อสมัยที่มีการใช้กันอย่างถูกกฏหมายและผลกระทบของการเสพติดฝิ่น อีกทั้งยังทำหน้าที่ศูนย์ข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัยและการศึกษาต่อเนื่องในหัวข้อฝิ่น สารสกัดจากฝิ่นในรูปแบบต่างๆและยาเสพติดอื่นๆ หอฝิ่นเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์ ระหว่างเวลา 08.30-16.00 น. ค่าเข้าชมบุคคลทั่วไป ต่างชาติ 300 บาท คนไทย 200 บาท ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 50 บาท เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี 50 บาท (เฉพาะคนไทย)เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ฟรี


วัดพระธาตุภูเข้า 


       ตั้งอยู่บนดอยเชียงเมี่ยง บริเวณสบรวก ห่างจากเชียงแสนผ่านไปทางสามเหลี่ยมทองคำประมาณ 11 กิโลเมตร สร้างประมาณปี พ.ศ. 1302  ในสมัยพระยาลาวเก้าแก้วมาเมือง กษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งแคว้นหิรัญนครเงินยาง ภายในวัดมีวิหารที่ตกแต่งด้วยลาดลายปูนปั้นที่สวยงาม ด้านหลังวิหารเป็นที่ตั้ง

 

วัดพระธาตุสองพี่น้อง



         เชียงแสนมีวัดเยอะครับ วัดเล็กวัดน้อยล้วนเก่าแก่พุพังอยู่เป็นจำนวนมากเที่ยวกันไม่หมดแต่วัดนี้อยู่บนเส้นทางผ่านที่จะไปเชียงของเลยจากวัดพระธาตุผาเงาไปประมาณ 1 กิโลเมตรในวัดมีเจดีย์ประธานทรงปราสาทวัดนี้พญาแสนภูสร้างขึ้นก่อนสร้างเมืองเชียงแสนปัจจุบันยังมีร่องรอยของกำแพงเมืองให้เห็น





พระบรมธาตุพุทธนิมิตรเจดีย์

  เป็นเจดีย์สีขาวตั้งเด่นอยู่บนภูเขาลูกเตี้ยๆ ทางด้านทิศตะวันออกของตัวเมืองเชียงแสน  เจดีย์องค์ปัจจุบันเป็นพระธาตุองค์ใหม่ที่สร้างคล่อมพระธาตุองค์เดิม พระบรมธาตุพุทธนิมิตรเจดีย์ที่สร้างใหม่มีขนาดใหญ่ภายในเป็นห้องโถง กึ่งกลางเจดีย์เป็นฐานของพระธาตุเก่าที่พุพัง  บริเวณผาผนังเป็นภาพเขียนบอกเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติการสร้างเมืองเชียงแสน  บนเจดีย์นี้เป็นจุดชมวิวแม่น้ำโขงที่สวยงามมาก

ทะเลสาบเชียงแสน

          ทะเลสาบเชียงแสนหรือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบ่งคาย มีชื่อเสียงในหมู่นักดูนกเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำและนกทุ่งจำนวนมาก ในฤดูหนาวจะมีนกอพยพจากต่างถิ่นจำนวนมหาศาล รวมทั้งนกพันธุ์หายากมากมาย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีกิจกรรมให้ได้สนุกเพลิดเพลินกันทั้งครอบครัว หรือถ้าหากมากันเป็นคู่ก็โรแมนติกเหลือประมาณ ทั้งผืนน้ำ ผืนป่า และม่านหมอกในฤดูหนาว  
  ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เป็นหนองน้ำเล็กๆ แต่ต่อมามีการสร้างฝ้ายกั้นน้ำทำให้น้ำ
ล้นกลายเป็นทะเลสาบ ได้รับการดูแล ถือเป็นเขตอนุรักษ์ภายใต้การดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ทะเลสาบแห่งนี้อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงแสนมาทางทิศใต้เพียง 5 กิโลเมตร บรรยากาศสงบ ร่มรื่น เหมาะที่จะมาพักผ่อน บริเวณรอบทะเลสาบเป็นเนินเตี้ยๆ มีรีสอร์ทให้บริการที่พัก ให้เช่าจักรยาน และเรือแคนูให้พายเล่นรับลมในทะเลสาบ นอกจากนี้ยังสามารถกางเต็นต์ค้างคืนได้ริมน้ำเพื่อตกปลา หรือรอชมภาพพระอาทิตย์ดวงโตสีแดงตกคล้อยลงไปตามเส้นขอบฟ้าตัดกับผืนน้ำ สวยงามน่าประทับใจ อีกทั้งยังมีสะพานไม้เป็นทางเดินศึกษาธรรมชาติ และจุดที่โดดเด่นที่สุดคือ ได้เฝ้าดูนกทุ่งและนกน้ำนานาชนิด โบยบินไปมาเป็นฝูง จิกหาอาหารตามพื้นดิน หรือทอดตัวอยู่ในน้ำนิ่งของทะเลสาบ ที่นี่เป็นแหล่งรวมของนกเป็ดน้ำที่มีหลากสายพันธุ์และมีจำนวนมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตัวอย่างนกที่พบเจอได้ที่นี่ เช่น นกโปชาดหลังขาว เป็ดดำหัวสีน้ำตาล เป็นต้น ช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยมที่จะมาเยือนทะเลสาบเชียงแสนคือ ฤดูหนาวเมื่ออากาศเย็นสบาย มีลมมรสุมจากทางตอนเหนือของประเทศ จะมีฝูงนกมากมายบินมาอาศัยอยู่ที่นี่หลบลมหนาว เช่น เป็ดไบคาล เป็ดหัวเขียว เป็ดพม่า เป็ดปากสั้น เป็ดเทาพันธุ์อินเดีย เป็นต้น ซึ่งหลายชนิดหายากและมีสีสันสวยงาม เปิดให้บริการทุกวัน ไม่เสียค่าใช้จ่าย
    การเดินทาง: เริ่มจากสถานีขนส่งจังหวัดเชียงรายใช้เส้นทางหลวง
หมายเลข 1 เมื่อถึงทางแยกไปอำเภอเชียงแสน ระยะทาง 33 กิโลเมตร ให้เปลี่ยนเส้นทางไปทางหลวงหมายเลข 1016 อำเภอแม่จัน  อำเภอเชียงแสน ถึงกิโลเมตรที่ 27 ณ บ้านกู่เต้า เปลี่ยนไปใช้เส้นทาง ร.พ.ช. สายบ้านกู่เต้า  ดอยงาม ขับประมาณ 2 กิโลเมตรจะถึงเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย รวมระยะทางทั้งหมด จากจังหวัดเชียงราย  เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย ราวๆ 62 กิโลเมตร มีป้ายขนาดใหญ่หน้าทางเข้าสังเกตง่าย






ศิลป วัฒนธรรมและประเพณีเชียงแสน
การแต่งการตามประวัติศาสตร์แลกโบราณคดี


    สมัยเชียงแสน (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 – 24) 
เชียงแสน” ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ปัจจุบันนักวิชาการนิยมเรียกรัฐ เชียงแสนว่า รัฐล้านนา ซึ่งมีอารยธรรมและวัฒนธรรมเป็นแบบหนึ่งโดยเฉพาะ (คณะอนุกรรมการ แต่งกายไทย, 2543: 91) เชียงแสนมีดินแดนต่อกับดินแดนทางภาคเหนือของอาณาจักรสุโขทัยชาวเชียงแสนมีความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรมและวิทยาการต่างๆ โดยได้รับอิทธิพลทางศิลป จากอินเดียสมัยราชวงศ์ปาละ ผ่านทางมาทางประเทศพม่า และได้พัฒนาให้มีลักษณะของตัวเอง จนกลายเป็นรูปแบบของศิลปไทยแท้ในยุคแรก  มีหลักฐานกล่าวถึงผ้าหลายชนิดทั้งที่ทอขึ้น เป็น ของตัวเองและทอขึ้น เพื่อเป็นสินค้าขายให้แก่อาณาจักรใกล้เคียง เช่นผ้าสีจันทร์ขาว ผ้าสีจันทร์ แดง ผ้าสีดอกจำปา แสดงว่ามีการย้อมสีจากธรรมชาติ (โอม รัชเวทย์, 2543: 40) ทางด้านการ แต่งกายจึงเป็นการแต่งกายเป็นการผสมผสานระหว่าง พม่า และขอมลักษณะการแต่งกาย โดยทั่วไปมีดังนี้

ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง 
- ผม ผมทรงสูง เกล้าผมไว้ตรงกลาง
- เครื่องประดับ สวมเครื่องประดับศีรษะ มีรัดเกล้า สวมสร้อยสังวาล รัดแขน กำไลมือ กำไลเท้า ใสตุ้มหู
- เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าถุงยาวแบบต่ำที่ระดับใต้สะดือ มีผ้าคาดทิ้งชายยาว ปล่อยชาย พกห้อยออกมาที่ด้านหน้าเป็นแฉก ไม่สวมเสื้อ มีสไบแพรบางสำหรับรัดอกให้กระชับขณะทำงาน

ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย 
- ผม ไว้ผมทรงสูง สวมเครื่องประดับศีรษะ 

- เครื่องประดับ สวมกรองคอ สร้อยสังวาล กำไลมือ และกำไลเท้า 
- เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าสองชาย จับจีบลงมาเกือบถึงข้อเท้า ด้านหน้าซ้อนผ้าหลายชั้น รัดชายออกเป็นปลีทางด้านข้างคล้ายชายไหวชายแครง มีผ้าข้าวม้าเคียนเอว หรือพาดบ่า อากาศ หนาว จะสวมเสื้อแขนยาว



การฟ้อนเชียงแสนหรือระบำเชียงแสน




ระบำ เชียงแสน เป็นระบำชุดที่ ๔ ประดิษฐ์ขึ้นตามแบบศิลปะ และโบราณวัตถุสถานเชียงแสน นักโบราณคดีกำหนดสมัยเชียงแสน  อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗  ๒๕  ซึ่งได้เผยแพร่ไปทั่วดินแดนภาคเหนือของประเทศไทย  ในสมัยโบราณเรียกว่าอาณาจักรลานนา  ต่อมามีนครเชียงใหม่เป็นนครหลวงของอาณาจักร และเป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนาฝ่ายหินยานอันเจริญรุ่งเรือง จนถึงมีพระเถระไทยผู้เป็นนักปราชญ์สามารถ
แต่งตำนาน และคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาบาลีขึ้นไว้หลายคัมภีร์ อาทิ คัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ และมังคลัตถทีปนี เป็นต้น ศิลปะแบบเชียงแสนได้แพร่หลายลงมาตามลุ่มแม่น้ำโขงเข้าไปในพระราชอาณาจักรลาว สมัยที่เรียกว่าลานช้าง หรือกรุงศรีสัตนาคนหุต แล้วแพร่หลายเข้าในประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้วยเช่น พระพุทธรูปบางชนิดที่นักโบราณคดีบางท่านบัญญัติเรียกว่า พระพุทธรูปเชียงแสนแบบลาว หรือพระลาวพุงขาว  ด้วยเหตุนี้ระบำเชียงแสน จึงมีลีลาท่ารำ และกระบวนเพลงแบบสำเนียงไทยภาคเหนือ ลาว และแบบไทยภาตะวันออกเฉียงเหนือปนอยู่ด้วย

ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
ใช้วงพื้นเมืองภาคเหนือ เครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่จุ่ม แคน สะล้อ ซึง ตะโพน ฉิ่ง ฉาบใหญ่ และฆ้องหุ่ย
เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ เพลงเชียงแสน (เที่ยวช้า และเที่ยวเร็ว)
เครื่องแต่งกาย
เครื่องแต่งกายของระบำเชียงแสน ประกอบด้วย
๑. เสื้อรัดอกสีเนื้อ 
๒. เสื้อลูกไม้สีเหลือง ติดริมด้วยแถบผ้าตาดสีทอง 
๓. ซิ่นเชิงแบบป้ายข้างแถวหนึ่งสีแดง อีกแถวหนึ่งสีตอง
๔. เครื่องประดับประกอบด้วยเข็มขัดมีเชือกห้อยทิ้งชายพู่ลงมาด้านหน้าทั้งสองข้าง สร้อยคอ ต่างหู กำไลข้อมือ และกำไลข้อเท้า 
๕. แต่งทรงผมตั้งกระบังหน้าประดับขดโลหะสีเงิน เกล้าผมมวยไว้ด้านหลัง ติดดอกกล้วยไม้ข้างหูซ้าย










 ศิลปะเชียงแสนหรือล้านนาไทย

     ศิลปะเชียงแสนมีความเกี่ยวพันกับศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท เมื่อเราย้อน
ไปดูศิลปะขอมหรือลพบุรีได้อิทธิพลด้านรูปแบบจากขอมในเขมรเพราะเชื้อ
ชาติ ภูมิศาสตร์และการปกครองซึ่งอยู่ใกล้ชิดกัน ในทำนองเดียวกันศิลปะล้านนาหรือที่เดิมเรียกว่าเชียงแสน เป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะพม่า สมัยราชธานีพุกามค่อนข้างมากด้วยเหตุผลด้านภูมิศาสตร์และการเมืองการปกครองเช่นกัน เดิมเรามักเรียกศิลปะยุคนี้ว่าเชียงแสนด้วยเข้าใจว่าเมืองเชียงแสนมีความเก่าแก่ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และมีความสำคัญว่าเป็นเมืองหลักแต่ภายหลังพบว่าความสำคัญไม่เก่ากว่าก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙และเมืองอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียงก็มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่าเชียงแสนการเรียกว่าศิลปะล้านนาจึงจะครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า อย่างไรก็ตามกับพระพุทธรูปก็ยังนิยมเรียกว่าพระเชียงแสนอยู่ดี
งานประเพณีเชียงแสน

งานประเพณีสงกรานต์และแข่งเรือเมืองเชียงแสน

     วันที่จัดงาน: 13 – 18 เมษายน ของทุกปีสถานที่จัดงาน: อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

วันปีใหม่ไทยเป็นประเพณีดั้งเดิมที่สืบเนื่องกันมาอย่ายาวนาน อำเภอเชียงแสนมีการจัดกิจกรรมปีใหม่ 4 ชาติ (ไทย ลาว จีน และพม่า)ภายในงานมีการแข่งเรือ 3 ชาติ (ไทย ลาว-พม่า) ชมการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพมากมาย รวมถึงการประกวดธิดาสามเหลี่ยมทองคำ ขวบพาเหรดได้ถูกจัดอย่างสวยงามพร้อมกับที่ประชาชนได้สรงน้ำพระพุทธรูปพระเจ้าลานทอง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมแข่งเรือและการแสดงพื้นบ้าน เมืองเชียงแสนถือเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศารสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอณาล้านนาจักรโบราณ ประเพณีสงกรานต์ได้จัดอย่างยิ่งใหญ่ในทุกวันที่ 13-18 เมษายนของทุกปี ซึ่งถือเป็นการสืบสานประเภทเพณีอันดีงามของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาวและจีนไว้อย่างเป็นเอกลักษณ์ เชียงแสนเป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายไปทางตอนใต้ระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร มีโรงแรมและรีสอร์ทตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำโขงและเมืองโบราณมีทิวทัศน์ที่สวยงามโดยเฉพาะยามเช้าที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอก ปัจจุบันพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาและมีชื่อเสียงคือ สามเหลี่ยมทองคำ เป็นพรมแดนรอยระหว่างสามประเทศได้แก่ อำเภอเชียงแสน ประเทศไทยแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาวและทาขี้เหล็ก ประเทศพม่า เป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญเนื่องจากเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีนและลาว วัดศูนย์กลางของเมืองเชียงแสน เป็นศาสนสถานที่สำคัญสำหรับชาวพุทธเพื่อนมัสการพระพุทธรูปศักสิทธ์เป็นที่เคารพชองชุมชน ในวันปีใหม่ของทุกปี ชาวบ้านจะนำพระพุทธรูปออกจากบ้านมาเพื่อสรงน้ำพระในวัด ในตอนเย็น มีการปิดถนนสายหลักของเมืองเพื่อทำการตั้งร้านค้าขายจำนวนมากให้ผู้คนและนักท่องเที่ยวสามารถเดินชม เลือกของสวยงาม สองข้างทางเต็มไปด้วยสินค้าที่วางขายเช่น ของพื้นเมือง งานหัตถกรรมและเทศการอาหาร ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเพลิดเพลินกับอาหารมื้อค้ำในแบบล้านนานที่เรียกกันว่าขันโตกและชมความบันเทิงพื้นบ้าน การละเล่นต่างๆมากมาย

งานลอยกระทงเชียงแสน



 

                           
        ภายในงานจะมีมหรสพ ดนตรี การละเล่นพื้นบ้าน การจำหน่ายสินค้าโอทอป มีการประกวดนางนพมาศ การประกวดกระทง การประกวดโคมลอยหรือว่าวไฟ การประกวดโคมแขวน  การแข่งขันชกมวยไทย และมีการขายและเล่นประทัดตลอดทั้งงานและที่ขาดไม่ได้เลยก็คือวันเปิดงานจะมีการแห่ขบวนกระทงทั้งเล็กและใหญ่ที่ตกแต่งอย่างสวยงาม คนที่มาร่วมเดินขบวนก็จะแต่งกายแบบย้อนยุคหรือแบบล้านนามาร่วมเดินขบวน ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดเมืองเชียงแสนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม ไหว้พระ ชมเมืองโบราณ ลอยกระทงในแม่น้ำโขง และการปล่อยโคมลอยทั้งมดนี้จะทำให้ได้สัมผัสกับอากาศหนาวๆ บรรยากาศดีๆที่ผืนน้ำเต็มไปด้วยแสงไปจากกระทงท้องฟ้าเต็มไปด้วยแสงไปอันสว่างจากโคมลอย