ธรรมชาติแห่งผืนป่า by Ronnachit Khampibal

 Mr. Ronnachit  Khampibal, B.Sc.
faculty of agriculture(animal science) khon kean university 
FB:Ronnachit Khampibal
(กล้วยไม้หวายน้อยภูหลวง)
เป็นกล้วยไม้ที่อยู่ในสกุลหวาย แต่ลำต้นมีขนาดเล็ก และข้อสั้นมาก เจริญเติบโตในบริเวณที่มีความชื้นสูง ออกดอกในช่วงฤดูหนาว ปัจจุบันมีโอกาสพบได้น้อยมาก จากภาพพบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จ.เลย


(เอื้องแพน)
ลักษณะทั่วไปของพืชชนิดนี้คือมีใบเรียวแหลมคล้ายมีดดาบ ดอกมีสีเหลืองเป็นช่อขนาดเล็ก สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพอากาศ พบเจอได้ตามป่าดิบเขา ป่าสนผสมรวมทั้งเบญจพรรณบางแห่งอีกด้วย
จากภาพพบที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จ.เลย



(สิงโตนิพล)
เป็นกล้วยไม้ขนาดเล็ก ลำต้นกลม ใบมีลักษณะคล้ายพายแต่เล็กมากมีเพียงหนึ่งใบเท่านั้น เจริญเติบโตได้ดีในป่าที่มีความชื้นอากาศสูง จึงมักจะพบสิงโตจำพวกนี้ตามยอดเขาและป่าดิบเชิงเขาทางภาคเหนือหรืออีสานตอนบน



(สิงโตปากนกกระจิบ หรือทับทิมภูหลวง)
บางทีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ผู้คนที่ผ่านไปมาอาจไม่สังเกตุและไม่ให้ความสนใจ แต่ถ้าเรารู้จักที่จะใส่ใจชีวิตเล็กๆเหล่านี้ มันอาจทำให้เรามุมมองที่แปลกใหม่ ซึ่งเป็นสีสันอีกแบบหนึ่งที่ทำให้การเดินป่าศึกษาธรรมชาติน่าเข้าไปค้นหามากขึ้น และนี่ก็เป็นพืชขนาดเล็กอีกชนิดหนึ่ง มีชื่อว่าทับทิมภูหลวง เป็นกล้วยไม้ในกลุ่มของสิงโต เจริญเติบโตด้วยการอิงอาศัยต้นไม้ใหญ่ ต้องการความชื้นอากาศมากจึงมักพบบริเวณที่สูงเช่น ป่าดิบเขา เป็นต้น
จากภาพพบที่ ภูหลวง จ.เลย 



(ข้าวเย็นเหนือ)
ข้าวเย็นเหนือเป็นไม้เลื้อย เมื่อมีอายุหน่อยเถาและลำต้นจะจะมีสีน้ำตาล มีเหง้าเนื้อแข็งอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดียวมีร่องกลางใบหลายร่องชัดเจน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย จึงพบเห็นได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบต่างๆ พบมากที่ภาคเหนือของไทย ปัจจุบันได้นำพืชชนิดนี้มาขึ้นทะเบียนในสมุนไพรไทยเนื่องจากมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสรรพคุณ ซึ่งสามารถต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งได้



(สิงโตปากนกแก้ว)
จัดเป็นกล้วยไม้ในกลุ่มของสิงโตอีกชนิดหนึ่ง ลักษณะเด่นของปากนกแก้วคือจะมีเยื่อบางๆ เหมือนตาข่าย ล้อมรอบลำต้น ใบมีลักษณะที่หนาเป็นแผ่นเดียว เจริญเติบโตได้ดีในที่สูงหรือมีความชื้นอากาศมาก จากภาพพบในเขตภูหลวง จ.เลย



(เอื้องเทียนหนู)
เป็นกล้วยไม้ขนาดกลาง อิงอาศัยอยู่ตามต้นไม้ที่มีเปลือกหนาเพื่อที่รากจะสามารถยึดเกาะและเก็บน้ำได้ เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่สูง
จากภาพภาพ พบที่ภูหลวง จ.เลย


(ดอกเข้าพรรษาเหลือง)
เป็นไม้ล้มลุกในวงษ์ขิง มีเหง้าได้ดิน จะพบต้นและดอกในช่วงฤดูฝน ดอกมีลักษณะเป็นพวงแทงออกมาจากปลายยอด 
"พบที่อุทยานแห่งชาติตาดหมอก"จ.เพชรบูรณ์

(ต้นพัดนางชี)
พบที่อุทยานแห่งชาติตาดหมอก

(ว่านนกคุ้มหรือเปราะใหญ่)
พบที่เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว





(หน่อไม้ป่า)
หน่อไผ่จะแตกหน่อเพื่อขยายพันธุ์ในช่วงฤดูฝน ซึ่งในช่วงนี้ไผ่จะเจริญเติบโตได้ดีมาก เพราะปัจจัยต่างๆมีความพร้อมและเหมาะสมทั้งเรื่องของสภาพแวดล้อมและปริมาณน้ำที่เพียงพอ
-ข้อมูลจำเพาะเกี่ยวกับไผ่ ไผ่คือพืชในตระกูลหญ้า มีอายุประมาณ5-7ปี เมื่อไผ่จะตาย จะมีการสร้างดอกออกมาเต็มต้นหรือที่เรียกว่าไผ่ขุย มีเมล็ดลักษณะเหมือนข้าวสาร
"พบในเขตวนอุทยานน้ำตกธารทิพย์"


(ต้นเปราะหอม/เปราะป่า)
พบในช่วงฤดูฝนที่น้ำตกตาดฮ้อง เขตอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน





(ดอกเข้าพรรษาขาว)
พบในช่วงฤดูฝนที่น้ำตกพลาญทอง เขตอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน




(เปราะลาย)
ลักษณะทั่วไปเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดินใบจะเป็นใบเดี่ยว ประมาณ2-3ใบ แผ่ราบไปกับพื้นโดยเปราะชนิดนี้จะมีใบลายจุดเกือบเต็มใบ ออกดอกในช่วงฤดูฝน 
พบในเขตรอยต่อภูกระดึง


(ว่านดอกทองมหาอุดม)
เป็นพืชที่มีลำต้นแท้หรือหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน ส่วนสีเขียวเหนือพื้นดินที่เจอในช่วงฤดูฝนคือลำต้นเทียมที่สร้างขึ้นเพื่อสังเคราห์แสงในช่วงสภาพอากาศที่เหมาะสมและมีน้ำมากพอ พอถึงช่วงฤดูแล้งจะพักหัวในดิน พบที่บริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติ 
"เขตอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง"จ.ระยอง


(กล้วยไม้ดินนางอั้ว)
กล้วยไม้ดินถ้าจัดตามสังคมพืชแล้ว จะอยู่ในสังคมชั้นล่างสุด มีรากที่เป็นรากดินต้นนางอั้วมีลักษณะทั่วไปคือใบจะเป็นแผ่นกว้างแผ่ราบไปกับพื้น หลังใบมีลายนิดหน่อย จะออกดอกในช่วงฤดูฝนพบได้ในป่าที่มีดินอุดมสมบูรณ์ มีเศษอินทรีย์วัตถุค่อยข้างเยอะซึ่งจะเหมะกับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ชนิดนี้ พบที่ป่าเบญจพรรณ "เขตศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าห้วยกุ่ม "จ.ชัยภูมิ

(ว่านนางพญาลิ้นงู)
เป็นพืชหัวพบได้ทั่วไปในป่าแดงภาคอีสาน และพื้นที่เนินดอนน้ำถ่วมไม่ถึง ลักษณะทั่วไปเป็นพืชที่มีหัวและลำต้นใต้ดินเหมือนหัวหอม จะลงหัวในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมเช่น ฤดูแล้งจะไม่พบพืชชนิดนี้ พอถึงฤดูฝนมีน้ำและสารอาหารที่เพียงพอจึงจะสร้างใบให้เห็นอีกครั้งเพื่อสังเคราห์แสง ในปัจจุบันนิยมนำมาปลูกเลี้ยงเป็นว่านมงคลเพื่อป้องกันสัตว์มีพิษต่างๆเข้าใกล้เขตที่พัก และยังมีการนำมาใช้เป็นสมุนไพรในการถอนพิษแมลงและสัตว์ด้วย พบที่เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าห้วยกุ่ม จ.ชัยภูมิ




(ต้นกระทือป่า)
เป็นไม้ในวงษ์ขิง มีเหง้าได้ดินติดกันเป็นแผ่นใหญ่คล้ายขิง ข่า แต่มีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย ลักษณะดอกเป็นดอกช่อ จะสามารถพบเห็นหน่อหรือลำต้นได้ในช่วงฤดูฝน ส่วนในช่วงแล้งกระทือจะพักหัวหรือสะสมอาหารไว้ในเหง้าใต้ดินเพื่อรอสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและมีน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโตจึงจะแท่งหน่อขึ้นมาอีกครั้ง พืชชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีอินทรียวัตถุสูงและน้ำท่วมไม่ถึง ต้องการแสงปานกลางจึงจัดเป็นสังคมพืชชั้นล่างของป่า  พบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขาและป่าแดง ในภาคอีสานและพื้นที่อื่นๆของไทย
จากภาพ พบในช่วงฤดูฝนที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าห้วยกุ่ม จ.ชัยภูมิ


(เฟรินชายผ้าสีดา)
เป็นเฟรินชนิดหนึ่ง ที่พบได้บอยตามป่าโดยจะพบทั้งป่าแล้งและป่าชื้น 
พบที่ วนอุทยานน้ำตกตาดสูง จ.กาฬสินธุ์




(มอส)
มอสจัดอยู่ในkingdomplant แต่เป็นพืชชั้นต่ำที่สุดในอาณาจักรพืช เนื่องจากว่าพืชชนิดนี้ไม่มีท่อลำเลียง และรากยังเป็นรากเทียม สร้างขึ้นเพื่อใช้ยึดเกาะ มอสจะเจริญเติบโตในบริเวณที่มีความชื้นสูง พบเห็นได้เยอะสุดในป่าดิบชื้น
จากรูป พบที่วนอุทยานน้ำตกตาดสูง จ.กาฬสินธุ์




(เห็ด)

เห็ดจัดเป็ดเชิ้อราที่มีบทบาทสำคัญในธรรมชาติ สถานะของเห็ดในนิเวศวิทยาคือทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลาย โดยสิ่งมีชีวิตชนิดนี้จะทำการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์เพื่อใช้ดำรงชีวิตและธาตุอาหารจะเกิดการหมุนเวียนในดิน ซึ่งจะสร้างประโยชน์แก่ต้นพืชน้อยใหญ่ต่างๆ นับว่าเป็นว่าเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กแต่สำคัญต่อพัฒนาการของป่าสู่ความอุดมสมบูรณ์ เชื้อราแทบจะทุกชนิดต้องอาศักความชื้นค่อนข้างสูงในการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ดังนั้นเรามักจะเจอเห็ดต่างๆ ในช่วงฤดูฝนตามป่าดิบและป่ารกทึบแสงแดดส่องถึงปริมาณน้อย 
จากภาพพบที่ วนอุทยานน้ำตกตาดสูง จ.กาฬสิน





(ต้นลิ้นมังกร)
เดินป่าฤดูฝนอย่าลืมสังเกตุสิ่งรอบข้างดีๆนะครับ เดี๋ยวไปเหยียบเด็กๆพวกนี้ ที่เห็นในภาพคือกล้วยไม้ดินขนาดเล็ก มีชื่อว่าลิ้นมังกร ลักษณะทั่วไปคือ ลำต้นไม่สูงบางต้นก็เสมอกับระดับพื้นดิน ใบบางคล้ายหญ้าปักกิ่งขึ้นสลับกัน ระบบรากเป็นรากดิน ดอกจะออกในช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นลิ้นมังกรพัฒนาลำต้นได้อย่างเต็มที่เนื่องจากมีน้ำที่เพียงพอ รวมทั้งความชื้นอากาศด้วย พืชชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีอินทรียวัตถุสูง จึงมักพบตามป่าชื้นหรือป่าดิบต่างๆที่แสงแดดส่องถึงไม่มากเกินไป
จากภาพพบที่ วนอุทยานน้ำตกตาดสูง จ.กาฬสินธุ์


(กระทือป่าดอกเขียว)
เป้นไม้วงษ์ขิง มีเหง้าใต้ดิน พบดอกช่วงฤดูฝน
พบที่ สถานีวิจัยเกษตร มข.เขื่อนจุฬาภรณ์




(ไพลดำ)
ไพลดำหรือไพลม่วง จัดเป็นพืชสมุนไพรมากประโยชน์อยู่คู่กับคนไทยมานาน ลักษณะทั่วไปของพืชชนิดนี้คือมีส่วนสะสมอาหารที่เรียกกันว่าแงงเป็นแผ่นยาวคล้ายแงงขิงและกระทือ เจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน แต่ไม่ชอบน้ำท่วมขังเพราะจะทำให้แงงเน่าได้ ปัจจุบันนิยมนำมาปลูกเพื่อให้สรรพคุณทางยาและเป็นว่านป้องกันสิ่งไม่ดีต่างๆจะเข้ามาในบ้านเรือน




(ว่านไก่ขัน)
ลำต้นและดอกคล้ายกับกระเจียว แต่ใบเรียวและเล็กกว่ามาก พืชชนิดนี้มีการพักตัวในช่วงฤดูหนาวและฤดูแล้ง จะเริ่มสร้างหน่อหรือลำต้นใหม่ในต้นฤดูฝนต่อไป เริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย พบมากทางภาคอีสานตามพื้นที่ป่าโคก ป่าแดงน้ำท่วมไม่ถึง
จากภาพในช่วงฤดูฝน เขตป่าชุมชน อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น




(ว่านมหาอุดมแดง)
ว่านมหาอุดมแดงจัดเป็นพืชในกลุ่มเดียวกันกับกระเจียว ซึ่งจะมีลำต้นจริงอยู่ใต้ดินทำหน้าที่สะสมอาหารเพื่อให้ต้นมีชีวิตรอดในช่วงพักตัวฤดูหนาวและฤดูแล้ง ใบมีลักษณะคล้ายพายแล้วแต่ชนิด เส้นกลางใบสีแดงดอกจะออกในช่วงเริ่มเข้าฤดูฝนลักษณะคล้ายกระเจียวแต่ก้านชูดอกไม่สูงมากจะโผล่พ้นดินแค่นิดเดียวเท่านั้น ปัจจุบันนิยมกันมากในวงการนักเล่นว่าน ซึ่งว่านชนิดนี้ให้คุณทางด้าน เมตตา มหานิยม มหาเสน่ห์ จากภาพพบในเขตป่าชุมชนบ้านใหม่ อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น




(ว่านมหาอุดมเขียว)
เป็นหนึ่งในว่านที่อยู่ในกลุ่มของดอกกระเจียวเช่นกัน ลักษณะของว่านชนิดนี้คือใบและก้านใบมีสีเขียวทั้งหมด ดอกมีสีขาวแกมเหลืองออกช่วงต้นฤดูฝน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายตามเนินดอนน้ำท่วมไม่ถึง ปัจจุบันใช่เป็นว่านมหาเสน่ห์หายาก


(ข้าวตอกฤาษี)




(หยาดน้ำค้าง)
เป็นพืชที่พบในที่สูง มากกว่า1000เมตรจากระดับน้ำทะเล ลักษณะทั่วไปคือเป็นไม้ล้มลุกกินแมลงมีอายุประมาณหนึ่งปี  ใบจะมีขนที่เป็นต่อมผลิตน้ำที่เหนียวคล้ายน้ำหวานเพื่อล่อจับแมลง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินที่ไม่เก็บน้ำมากเกินไปเช่นดินทรายหรือดินร่วนปนทราย เราจึงมักจะพบพืชชนิดนี้ในช่วงฤดูฝนตามภูเขาหินทรายต่างๆและทุ่งหญ้าในพื้นที่สูง
จากภาพพบที่ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย



(หม้อข้าวหม้อแกงลิง)
นี่ก็เป็นพืชอีกหนึ่งชนิดที่มีเสน่ห์และสร้างสีสันให้นักเดินป่า หม้อข้าวหม้อแกงลิงมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวจึงทำให้ง่ายต่อการจดจำ รูปร่างและสีของใบมีความสวยงาม หม้อสีต่างๆที่เราพบเห็นจริงๆแล้วมันไม่ใช่ส่วนของดอกหรือผล แต่นั้นคือส่วนที่พัฒนามาจากใบ เพื่อใช้ในการล่อแมลง ภายในหม้อจะผลิตน้ำย่อยที่มีกลิ่นคล้ายกับน้ำหวาน เมื่อแมลงหรือสัตว์ขนาดเล็กตกลงไปก็จะทำการย่อยเพื่อสร้างอาหารเสริมให้ลำต้น พืชชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นอากาศค่อนข้างสูง ดินร่วนปนทราย จึงมีกพบตามที่ราบสูงและป่าหญ้าบนยอดเขา
จากภาพพบที่ ยอดภูกระดึง จ.เลย



(เอื้องคำหิน)




(กระดุมเงิน)





(เฟรินข้าหลวงหลังลาย)





(หญ้ารีแพร)

พืชล้มลุกตระกุลไผ่ มีอายุหลายปี พบได้ทั่วไปทุกภาคของไทยตามป่าเบญจพรรณ ลักษณะของต้นหญ้ารีแพรเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบเรียงสลับกัน ส่วนดอกเป็นช่อแขนงปัจจุบันมีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายทั้งเป็นสมุนไพรในรักษาปัญหาเรื่องสุขภาพเพศหญิงและผลิตเครื่องสำอาง
จากภาพพบที่ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย




(รองเท้านารี)
สำหรับภาพนี้ผมก็จะอธิบายภาพรวมของกล้วยไม้รองเท้านารีนะครับ สำหรับการจำแนก





(เมล็ดต้นบุก)

ต้นบุกจัดเป็นไม้ล้มลุก อายุนานหลายปี ช่วงฤดูฝนเราถึงจะสามารถมองเห็นลำต้นสีเขียวเหนือพื้นดิน ซึ่งถูกสร้างมาจากหัวของบุกที่มีลักษณะคล้ายกับฟักทองอยู่ใต้ดินทำหน้าที่สะสมอาหารในช่วงที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมหรือฤดูแล้ง เพื่อรอสร้างต้นใหม่ในช่วงที่เหมาะกับการเจริญเติบโต จากนั้นจะสร้างดอกเพื่อให้ผลในการขยายพันธุ์ จากการสังเกตุและเรียนรู้พืชชนิดนี้ ผมเองมองว่าเป็นพืชที่มีการปรับตัวและการกระจายพันธุ์ที่ดีมาก สามารถพบพืชชนิดนี้ได้ทั่วไปตามป่าเชิงเขารวมทั้งป่าโคก ป่าแดงน้ำท่วมไม่ถึงในเขตภาคอีสาน เนื่องจากการปรับตัวที่ดีและสามารถเจริญเติบโตได้ทุกสภาพดิน ปัจจัยที่มีส่วนในการขยายและแพร่พันธุ์อีกอย่างที่สำคัญ คือสัตว์ป่าและนกต่างๆ ผลของบุกมีสีแดงสดมองเห็นระยะไกล เป็นแหล่งอหารที่ดีของสัตว์ป่าจากนั้นเมล็ดก็จะติดไปกับมูล เมื่อได้รับปัจัยที่จำเป็น ทั้งน้ำและแสงก็จะงอกเจริญพันธุ์ต่อไป จากภาพเป็นผลที่สุกเต็มที่ของบุก พบที้ อุทยานแห่งชาติ ภูกระดึง จ.เลบ



(รากสามสิบ)



(ต้นต้างหรือโฮย่า)





(กล้วยไม้ป่ากะเรกะร่อน)
เป็นกล้วยไม้ป่าชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปทุกพื้นที่ทั้งบริเวณที่ลุ่มและที่สูง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่มีความชื้นค่อนขางสูง ภาษาถิ่นบางพื้นที่เรียกกล้วยไม้ผี ลำต้นมีสีเขียวอ่อนคล้ายต้นหญ้าแต่ในอวบน้ำแลกหนามาก ดอกมีสีน้ำตาลอมแดงลาย ส่วนรากเป็นรากแบบกึ่งอากาศ พบในเขตอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย





(กล้วยไม้ดินม้าวิ่ง)
เป็นกล้วยไม้ดินชนิดหนึ่ง มีใบที่หนาสีเขียวอมแดงหรือบางครั้งอาจมองเห็นเป็นสีเขียว ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ดอกมีสีชมพูหรือขาวแล้วสายพันธุ์ อาศัยอยู่ตามลานหินหรือหน้าผา โดยจะใช้รากที่เป็นรากแบบกึ่งอากาศยึดเกาะกับเศษอินทรียวัตถุต่างๆ เพื่อหาอาหารและขยายกอในการเจริญเติบโต โดยทั่วไปเป็นพืชที่ค่อนข้างทนแล้ง สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามป่าแดง ป่าเต็งรังหรือป่าเบญจพรรณที่มีลานหินหรือโขดหินหรือแม้กระทั่งตามพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ จากภาพพบในช่วงฤดูหนาว ในเขตภูกระดึง จ.เลย


(เอื้องหมายนา)

(เฟรินกระแตไต่ไม้)



(กล้วยไม้ดินเอื้องน้ำต้น)

(ดอกหรีด)



(ต้นกล้าของสน)





(ฟรุสตี้ไลเคน)
ฟรุสตี้ไลเคน หรือที่เรารู้จักและเรียกกันว่า ฝอยลม เป็นดัชนีวัดความบริสุทธิ์ของอากาศ ซึ่งจะพบในพื้นที่สูง เช่น ป่าดิบเขา ป่าสน เป็นต้น จากภาพพบที่ลานป่าสนบริเวณหลังแป ภูกระดึง จ.เลย




(ว่านสาวหลง)
เป็นพืชที่พบได้ค่อนข้างยากในปัจจุบัน ปกติจะเจอตามป่าที่มีดินอุดมสมบูรณ์ ลักษณะทั่วไปของว่านสาวหลงเป็นไม้ที่มีลำต้นแท้หรือหัวอยู่ใต้ดิน ส่วนลำต้นสีเขียวที่เราเห็นเหนือพื้นดินคือลำต้นเทียม ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสังเคราะห์แสงสะสมอาหารในฤดูฝนหรือช่วงที่สภาพแวดล้อมเหมาะแก่การเจริญเติบโต ใบจะมีลักษณะคล้ายกับต้นข่า แต่จะเรียวแหลม และใต้ใบจะมีข่น จากภาพพบในเขตป่าดิบที่ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง


(ว่านค้างคาวดำ)




(ฟองหิน)





(หญ้าร้อยชู้)
ลักษณะทั่วไปของต้นคือ โคนใบมีสีแดงเลือดหมู ส่วนแผ่นใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม ใบหนา รากจะอวบน้ำและมีขนาดใหญ่ พบที่ ป่าชุมชนบ้านใหม่ อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น


(หัวอากาศ ว่านพระฉิม)
เป็นไม้เถาเลื้อยตามต้นไม้ใหญ่ โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ เถามีสีเขียว มีหัวสะสมอาหารได้ดินมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ขึ้นอยู่กับสภาพดินและอายุของพืช บริเวณซอกใบมีผลหรือหัวอากาศ สามารถนำไปขยายพันธุ์ ให้ต้นใหม่ในฤดูถัดไปได้ สามารถพบเห็นไก้ตามป่าโปร่งตามภาคอีสานและบริเวณที่น้ำถ่วมไม่ถึง ปัจจุบันเป็นที่นิยมของผู้สะสมว่านเพราะมีสรรพคุณทางยาเด่นในเรื่องรักษาเชื้อราตามผิวหนัง นอกจากนี้ยังใช้เป็นว่านมงคลทางเมตตามหานิยมและป้องกันสิ่งไม่ดีต่างๆด้วย จากภาพเป็นหัวอากาศของว่านพระฉิม พบที่เส้นทางศึกษาธรรมชาติ โครงการอนุรักษ์อนุกรมวิธานพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เขตมหาวิทยาลัยขอนแก่น





(กล้วยไม้สิงโต)
การแยกกล้วยไม้สกุลที่คล้ายคลึงกันอย่างสิงโตและเอื้อง มีหลักการคือถ้ามีใบเพียงหนึ่งใบ ระบบรากแบบกึ่งอากาศ ลำต้นสั้นค่อนข้างกลมจะจำแนกอยู่กลุ่มของสิงโต ส่วนลักษณะใกล้เคียงกันแต่มีมากกว่าสองใบเราจะเรียกเอื้อง



(เห็ดขอนไม้)
สามารถพบเจอได้บ่อยๆในป่าดิบ ความชื้นสูง ส่วนถ้าเป็นป่าโคกป่าแดงหรือป่าแล้งต่างๆจะพบได้ในช่วงฤดูฝน






(เห็ดหิ้ง)


(ว่านจูงนาง)
ว่ายจูงนางเป็นไม้ดอกที่นิยมปลูกมาอย่างยาวนานตั้งแต่โบราณ เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มนักเล่นว่าน จัดอยู่ในกลุ่มกล้วยไม้ดินชนิดหนึ่ง ลักษณะทั่วไปของพืชชนิดนี้ คือมีลำต้นแท้หรือหัวอยู่ใต้ดินทำหน้าที่สะสมอาหารในช่วงฤดูแล้ง และจะสร้างหน่อและใบในช่วงฤดูฝน เพื่อสังเคราะห์แสงและออกดอกสืบพันธุ์ พื้นที่ที่พบส่วนใหญ่จะขึ้นตามป่าเบญจพรรณและเต็งรังที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ จากภาพพบที่ ห้วยกุ่ม จ.ชัยภูมิ


(ต้นสามร้อยยอด)
เป็นพืชไร้ดอก มีลำต้นขนาดเล็ก ลำต้นมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง ไม่มีเนื้อไม้ มีใบขนาดเล็กหนาแน่นมากตามกิ่งมีลักษณะเรียวลู่ขึ้นด้านบนไปตามกิ่ง ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ พบตามพื้นที่ราบสูงหรือตามหลังเขาที่มีความชื้นสูง เจริญได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ จากภาพพบที่ หลังแป ภูกระดึง จ.เลย


(เฟรินก้านดำ)


(ต้นเอนอ้า)




(เอื้องคำ)



(กล้วยไม้รองเท้านารีปีกแมลงปอ)
ลักษณะทั่วไปของพืชชนิดนี้คือ มีระบบรากดิน รากมีขนเล็กน้อย ใบเป็นรูปตัววีมีลายจุดด่างตลอดลำต้น เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีอินทรียวัตถุสูงและต้องการความชื้นมากจะพบเห็นได้ตามป่าชื้นต่างๆ และป่าดิบเขา
เป็นหนึ่งในกล้วยไม้ดินที่หายาก บางชนิดใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่มีคนนิยมปลูกเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ตลาดทั้งในและต่างประเทศต้องการสูง จึงทำให้มีการลักลอบนำสายพันธุ์จากป่าออกไปขาย อีกอย่างกล้วยไม้ชนิดนี้ถ้านำมาขยายพันธุ์ทางเทคโนโลยีการเกษตรเช่น เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และเพาะเมล็ด จะได้ผลผลิตน้อยเติบโตยากจึงทำปัจจุบันยังมีการหาจากป่าออกมาขาย ซึ่งด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้จำนวนรองเท้านารีในธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็ว 
จากภาพพบที่ ป่าดิบเขาในเขตภูหลวง




(โด่มิรู้ล้ม)


(สิงโตงาม)
เป็นหนึ่งในพันธุ์กล้วยไม้ ที่หายากอีกชนิดหนึ่งจะออกดอกในช่วงฤดูฝน ลักษณะทั่วไปของสิงโตชนิดนี้ใบจะตั้งตรง ลำต้นเรียว สีเขียวอมเหลือง เจริญเติบโตได้ดีในความชื้นอากาศค่อนข้างสูง พบตามป่าสนเขาหรือป่าดิบเขา จากภาพพบในเขตภูหลวง จังหวัดเลย


(สิงโตดอกคำสร้อย)


(เอื้องแซะดอยปุย)


(ผักกูด)


(เอื้องสีตาล)
เป็นกล้วยไม้ดินชนิดหนึ่ง ช่วงฤดูหนาวจะทิ้งใบเพื่อลดการคลายน้ำ จะเหลือไว้เพียงลำต้นสีม่วงเข้ม เพื่อสร้างดอกในการเจริญพันธุ์ ดอกออกช่วงฤดูหนาว มีสีน้ำตาลอมเขียว เมื่อถึงช่วงที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมถึงจะสร้างหน่อหรือลำต้นขึ้นมาใหม่เพื่อสังเคราห์แสงเก็บสะสมอาหารต่อไป กล้วยไม้ชนิดนี้พบได้ในบริเวณที่มีความชื้นอากาศสูง และดินมีอินทรียวัตถุสูง เช่นป่าดิบเชิงเขา หรือตามพื้นที่สูง จากภาพพบในช่วงฤดูหนาวที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จ.เลย


(โพริโอสไลเคน)



(ต้นตาเหินไหวหรือข่าโคม)



(กกกันดาร)




(หญ้าขนตาช้าง)




(เตยป่า)



(เอื้องพวงหยก)



(เอื้องสร้อยระย้า)



(กล้วยไม้ดินน้ำเต้าฤาษี)


(เอื้องต่อเหลี่ยม)


(เอื้องนิ่ม)


(สิงโตขาแมงมุม)


(เอื้องสำเภางาม)


(ตะขาบขาว)


(เตยหนาม)


(เอื้องลำต่อกลม)


(สิงโตใบพาย)


(เอื้องผึ้ง)


(ส้มแปะ)


(หญ้าปราบดอย)

(ต้นก๊อกหม่อง)
เป็นพืชอิงอาศัย เกาะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ในพื้นที่สูง เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีความชื้นอากาศค่อนข้างมาก ดอกมีสีชมพูแกมขาว ออกดอกให้เราเห็นได้ในช่วงฤดูหนาว จากภาพพบ ที่ภูหลวง จังหวัดเลย


(เฟิร์นตีนตะขาบ)


(สิงโตรังแตนหรือสิงโตรวงข้าวเล็ก)


(กล้วยไม้นิ้วมือนาง)


(รองเท้านารีอินทนนท์)


(ประทัดดอยหรือประทัดจีน)


(ทำทานหรือดอกไม้เงิน)


(หญ้าข้าวก่ำ)
ถ้าพูดถึงทุ่งหญ้าอันโล่งกว้าง หลายคนอาจจะคิดว่ามีแต่ความแห้งแล้งไม่สวยงาม แต่ถ้าเราออกไปสัมผัสกับมันจริงๆจะทำให้รู้ว่าแต่ล่ะพื้นที่ก็มีเสน่ห์เฉพาะตัวแตกต่างกันไป  ดั่งภาพที่เห็นก็เป็นพันธุ์พืชที่มีเอกลักษณ์มีความสวยงาม ซึ่งจะพบเจอได้ตามที่โล่งแจ้งหรือป่าหญ้าที่มีความชื้นอากาศสูง เช่นป่าหญ้าตามยอดเขาหรือลานหินสูง ลักษณะทั่วไปของหญ้าข้าวก่ำคือ ใบเหนาแข็งเรียงซ้อนกันเหมือนใบสัปรด ปลายใบมีหนามแหลมคม ส่วนดอกมีสีม่วงเข็มสวยงาม
พบที่ ป่าหญ้าในเขตภูหลวง จ.เลย


(สิงโตก้านหลอด)


(เอื้องน้ำต้น)


(ครั่งแสด)


(สิงโตสยาม)
นี่ก็เป็นหนึ่งในกล้วยไม้ในกลุ่มของสิงโต ลักษณะทั่วไปคือมีลำต้นขนาดเล็กรูปร่างกลม ใบมีเพียงใบเดียวเป็นแผ่นแข็ง ดอกมีสีเหลืองนวลมีลายน้ำตาลแทรกตามกลีบดอก ออกดอกในช่วงฤดูหนาว พืชชนิดนี้สามมรถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ ที่มีความชื้นในอากาศค่อนข้างสูงเช่น ป่าดิบเขา เป็นต้น
จากภาพพบที่ ภูหลวง จ.เลย


(สิงโตขยุกขยุย)


(สนทรายหรือสนหอม)


(เอื้องพลายงาม)


(เอื้องตาเหิน)


(กล้วยไม้แววมยุรา)


(เอื้องมัจฉานุ)


(ดอกสร้อยระย้า)


(เอื้องหมาก)


(เอื้องสีเที่ยงหรือกระเจียง)


(กล้วยไม้หนวดพราหมณ์เผือก)


(ดอกงิ้วแดง)
ลักษณะทั่วไปของพืชชนิดนี้ คือลำต้นมีสีเทา ลำต้นและกิ่งมีหนามเป็นจำนวนมาก เจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน ทนแล้งได้เป็นอย่างดี จึงมักจะเห็นต้นงิ้วแดงได้ทั่วไปตามป่าโคกป่าแดงหรือแม้แต่ตามไร่นา ส่วนในธรรมชาติจะพบตามป่าเบจญพรรณเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันนิยมนำไปทำยาสมุนไพรและนำไปประกอบอาหารทางภาคเหนือ ที่คุ้นเคยหรือรู้จักกัน เช่น ส่วนของเกสรและก้านชูในดอกเอามาทำขนมจีนน้ำเงี้ยว เป็นต้น


(ว่านช้างผสมโขลง)
การลงไปเก็บข้อมูลพืชชนิดนี้ ผมเองได้เดินฝ่าดงหนามเข้าไปลึกมาก กว่าจะเข้าไปเจอหน่อของว่าน ที่ได้ผลัดใบทิ้งจนหมดในช่วงฤดูแล้ง สำหรับว่านช้างผสมโขลง ได้จัดเป็นกล้วยไม้ดินชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะทั่วไปคือลำต้นคล้ายกับหน่อไม้มีสีเขียว ดอกมีสีขาวแกมชมพูด้ายหลังกลีบดอกสีน้ำตาล ก้านดอกจะแทงออกมาจากตาข้างที่อยู่บริเวณข้อปล้องของลำต้น ระบบรากจะเป็นรากดิน ในช่วงฤดูฝนว่านช้างผสมโขลงจะแตกหน่อใหม่จากต้นแม่ที่เจริญเติบโตในช่วงฤดูฝนในปีก่อน จากนั้นก็จะพัฒนาลำต้นสะสมอาหารไปเรื่อยๆ จนถึงช่วงฤดูแล้งสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต พืชชนิดนี้จะทิ้งใบเพื่อลดการคลายน้ำและจะสะสมอาหารในลำต้นที่ไร้ใบเพื่อเป็นต้นแม่ในฤดูถัดไป จากการลงไปเก็บข้อมูลพืชชนิดเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีเศษกิ่งไม้ใบไม้ทับซ้อนกันเป็นจำนวนมาก ต้องการความชื้นอากาศที่ไม่สูงมากนัก จึงสามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามป่าโคกป่าแดง และบริเวณที่มีอินทรียวัตถุอื่นๆ ที่น้ำท่วมไม่ถึง ปัจจุบันมีการนำมาใช้ในตำรับยารักษาฝีต่างๆ และยังเป็นว่านมงคลให้คุณด้านเมตตามหานิยมอีกด้วย จากภาพพบในช่วงฤดูแล้งที่ ป่าโคกในเขตบ้านโสกหาด อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น


(เห็ดนิ้วมือดำ)


(ต้นโกงกาง)


(ดอกยางนา)


(รากอากาศของต้นแสม)


(กล้วยไม้เข็ม)


(เห็ดหูหนู)


(เอื้องกุหลาบ)


(เขากวางอ่อน)



(ดอกต้นเบญจรงค์)
ต้นเบญจรงค์เป็นหนึ่งในพืชที่มีดอกสวยงามและมีหลากหลายสีสันที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามป่าโปร่งในภาคอีสาน พืชชนิดนี้จัดเป็นพืชล้มลุก ลำต้นไม่สูงมาก บางครั้งจะเห็นในลักษณะเถาเลื้อย เจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน ใบเป็นใบเดี่ยว ส่วนดอกมีหลายสีขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ ปัจจุบันนิยมนำมาประกอบอาหารและยังมีสรรพคุณในด้านสมุนไพรด้วย จากภาพคือเบญจรงค์ขาว พบในศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ จ.ขอนแก่น


(เห็ดหลินจือแดง)


(ต้นปรงป่า)


(พลับพลึงป่า/กระเทียมช้าง/ว่านสบู่หยวก)
กระเทียมช้างจัดเป็นไม้หัวในกลุ่มของพลับพลึง ลักษณะทั่วไปคือมีลำต้นและหัวสะสมอาหารใต้ดินคล้ายกับหัวหอม ใบเรียงสลับ ดอกมีสีขาวบางสายพันธุ์มีสีชมพูแทรกตามกลีบดอก เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย พบมากตามป่าโคกป่าแดงและป่าเบญจพรรณทุกๆภูมิภาคของไทย พืชชนิดนี้มีการพักหัวสะสมอาหารใต้ดินในช่วงสภาพอากาศไม่เหมาะสมอย่างเช่นในระหว่างฤดูหนาวและฤดูแล้ง เมื่อถึงฤดูฝนมีน้ำที่เพียงพอก็จะสร้างใบโผล่พ้นดินเพื่อการเจริญและสะสมอาหารต่อไป
จากภาพพบที่ ป่าชุมชน อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น


(กล้วยไม้ช้างกระ)
กล้วยไม้ช้างกระเป็นกล้วยไม้ขนาดใหญ่ในสกุลช้าง ลักษณะทั่วไปคือมีการเรียงกันของใบสองข้างเป็นรูปตัววี ใบหนามีลายตามแผ่นใบจากโคนถึงปลาย ระบบรากเป็นรากอากาศซึ่งเป็นรากขนาดใหญ่ปลายรากมีสีเขียวซึ่งเป็นส่วนของคลอโรฟิลล์สามารถสังเคราะห์แสงได้ และดอกจะออกเป็นช่อยาวมีสีขาวลายชมพูกลิ่นหอมฉุน ปัจจุบันถือว่าเป็นพืชที่หายากมากเนื่องจากมีราคาที่แพง จึงทำให้มีคนลักลอบนำออกจากป่ามาขาย



(เห็ดมันปู)
นี่ก็เป็นเชื้อราอีกชนิดหนึ่ง ที่สร้างสีสันให้ธรรมชาติ และสร้างเสน่ห์ให้นักเดินป่าที่ได้พบเห็น สามารถพบเห็ดชนิดนี้ในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเจริญเจิบโตได้ดีในบริเวณที่มีความชื้นสูง จากภาพพบที่วนอุทยานน้ำตกตาดสูง จ.กาฬสินธุ์



(เห็ดแชมเปญ)
พบในช่วงฤดูฝนที่ อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น จังหวัดสระบุรี



(ต้นขันหมากเศรษฐี)


(เห็ดฟาน)




(กุหลาบพันปี)


(ทองพันดุล)


เพิ่มคำอธิบายภาพ



(ครัสโตสไลเคน)
เป็นไลนเคนชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเฉพาะคือเป็นฝุ่นอัดแน่นจนไม่สามารถแยกจากหินได้
พบทั่วไปตามป่าชนิดต่างๆ 
จากภาพพบที่ อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ จ.อุบลราชธานี




(ว่านกลิ้งกลางดง)


(เฟิร์นต้น)

(เฟิร์นกระแตไต่ไม้)

(คัสโตสไลเคนสีส้ม)


(ต้นมณเฑียรทอง)


(ผักหวานป่า)



(เห็ดแชมเปญ)


(ดอกเข้าพรรษาขาว)


(หญ้ารีแพร์)


(ว่านธรณีเย็น)


(ว่านเพชรกลับแดง)




(เฟิร์นก้านเขียว)




(เห็ดขอนแดง)




(ต้นแนบอุรา/ตีนตุ๊กแกยักษ์)





(ข่าป่า)​
ถ้าใครได้มีโอกาสไปสัมผัสกับธรรมชาติที่เขาใหญ่​ อาจจะเห็นผ่านๆตากันบ้างกับพืชชนิดนี้​  ข่าป่าหรือภาษาถิ่นอาจจะเรียกข่าลิง​เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี  มีลำต้นใต้ดิน(เหง้า)​  ความสูงของลำต้นประมาณ​ 1.5-2.5เมตร​ ใต้ใบมีขนเล็กน้อยหลังไปเรียบมัน​  ดอกเป็นลักษณะดอกช่อสีขาวกลีบในสัสมแดงสวยงาม​ ลักษณะดินที่พืชชนิดนี้นี้เจริญได้ดีจะเป็นดินร่วนตามเนินดอนน้ำท่วมไม่ถึง​ พบบ่อยตามป่าดิบต่างๆ​เช่น​ ป่าดิบเขา​ ป่าดิบชื้น​เป็นต้น​
จากภาพพบที่น้ำตกเหวสุวัต​  อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่​  จ.นครราชสีมา





(พูพอน)​








(เห็ดชามแดง)​



(เห็ดหางไก่งวง)​




(เห็ดหูหนู)​




(เห็ดพายทอง)













































ความคิดเห็น

  1. สวยจังเลยค่ะ ติดตามผลงานอยู่นะคะ 😘😘

    ตอบลบ
  2. สวยงาม น่าติดตาม ค่ะ
    ข้อมูล เอาให้อ้างอิงได้
    ภาพ ดอกยางนา เปลี่ยนเป็น ผลยางนา ( ลูกยางนา )นะคะ
    ในรูป ไม่ใช่ดอกค่ะ

    ตอบลบ
  3. ชอบมากๆ ได้ความรู้ใหม่ๆเยอะมากเลย ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  4. Betfair - MapyRO
    Betfair 남원 출장안마 is 청주 출장샵 a gambling company that offers some of the finest betting odds for every sport and 오산 출장샵 markets. Read more 춘천 출장마사지 than 울산광역 출장샵 3,200 reviews, see Betfair - MapyRO

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น