nongview

nongview

นอกจากนี้ วัดพระฝางยังมีอุโบสถมหาอุด (มีประตูทางเข้าบานเดียว) อยู่ด้านทิศตะวันตกของกลุ่มโบราณสถาน ตัวอุโบสถมีสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
โบสถื ที่ประดิษฐานพระฝาง(องค์จำลอง)

21 August 2010 at 07:22:45 PM

nongview

nongview

เดิมภายในอุโบสถเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระฝาง พระฝาง (จำลอง)

21 August 2010 at 07:24:40 PM

nongview

nongview

คาถาบูชาพระฝาง คำบูชาพระฝาง

21 August 2010 at 07:27:05 PM

nongview

nongview

ปัจจุบันตัวอุโบสถยังคงมีบานประตูไม้และหน้าบันแกะสลักศิลปะสมัยอยุธยาอันสวยงามอยู่ แต่เป็นบานจำลอง ประตูโบสถ์วัดพระฝาง

21 August 2010 at 07:29:26 PM

nongview

nongview

พระฝางและโต๊ะหมู่ ภายในอุโบสถ พระฝาง

21 August 2010 at 07:36:37 PM

nongview

nongview

ด้านทิศตะวันออกของกลุ่มโบราณสถานมีพระวิหารหลวง เดิมเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปเชียงแสน ปัจจุบันในพระวิหารหลวงมีบานประตูไม้แกะสลักวัดพระฝาง (เป็นบานประตูบานจำลอง สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2551 เพื่อนำมาติดตั้งแทนที่บานประตูเดิมที่ได้นำไปเก็บรักษาที่ วัดธรรมาธิปไตย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494) บานประตูเก่าวิหารวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ เดิมนั้นอยู่วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ แต่เนื่องจากวิหารชำรุดทรุดโทรมมาก อีกทั้งวัดพระฝางในขณะนั้นไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษา พระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช) เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้นจึงได้ขออนุญาตกรมศิลปากรนำมาเก็บรักษาไว้ที่ อาคารธรรมสภา วัดธรรมาธิปไตย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 ทิ้งไว้แต่ตัววิหารปล่าว ปราศจากบานประตูอันวิจิตรตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ประตูวัดพระฝาง (จำลอง)

21 August 2010 at 07:41:29 PM

nongview

nongview

พระประธานในวิหาร พระประธานในวิหารหลวง สภาพดูเหมือนเพิ่งได้รับการปรับปรุงทั้งตัววิหาร ประตูและองค์พระ แต่ว่า...ผมดูแล้วสกปรกมาก ขาดความเอาใจใส่ดูแลเรื่องความสะอาด เช่น น้ำเลอะ เฉอะแฉะ ขึ้นกพิราบเต็มพื้นและเพดาวิหาร ไม่เหมาะแก่ผู้มาเยือน เกรงว่าจะติดเชื่อโรดได้โดยง่าย ไม่สมกับเป็นวัดที่เคยความรุ่งเรื่องในอดีต (ขอติเพื่อปรับปรุงนะครับ) พระพุทธรูปเชียงแสน (วัดพระฝาง)

21 August 2010 at 07:49:19 PM

nongview

nongview

ประวัติ วัดพระฝางปรากฏชื่ออยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 2 ซึ่งได้กล่าวถึงพระมหาเถรศรีศรัทธา ซึ่งเชื่อว่าเป็นหลานของพ่อขุนผาเมือง ว่าก่อนที่ท่านจะเดินทางไปจาริกแสวงบุญที่ลังกา ในสมัยพญาเลอไท ได้แวะมานมัสการพระธาตุวัดพระฝาง แล้วจึงเดินทางต่อไปยังเมืองแพร่ ลำพูน และลงเรือที่อ่าวเมาะตะมะไปลังกา นอกจากนี้ในศิลาจารึกหลักที่ 3 ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1900 ก็ได้ปรากฏชื่อเมืองฝางอยู่ด้วยเช่นกัน ในจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ุ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์นในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ( พ.ศ. 2230 ) ก็ได้กล่าวถึงความศรัทธาของคนสยามต่อพระทันตธาตุเมืองพระฝางไว้เช่นเดียวกัน แสดงถึงความสำคัญของพระบรมธาตุเมืองฝางในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี ด้านข้างวิหารใหญ่

21 August 2010 at 07:53:19 PM

nongview

nongview

ในปี พ.ศ. 2310 ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพระฝางมีความสำคัญมาก คือ เป็นศูนย์กลางของชุมชนพระฝาง ซึ่งมี เจ้าพระฝาง (เรือน) เป็นหัวหน้าสามารถขยายอาณาเขตกว้างขวางจากทิศเหนือ ถึงเมืองแพร่ เมืองน่าน ทิศใต้ถึงเมืองพิษณุโลก ทิศตะวันออกถึงลาว และทิศตะวันตกถึงเมืองศรีสัชนาลัย เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง และเป็นชุมนุมสุดท้ายที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงรวบรวมเป็นอาณาเขตเดียวกันกับกรุงธนบุรี โบสถ์หลวงพ่อเชียงแสน (ปัจจุบันถูกขโมยไป)

21 August 2010 at 07:57:16 PM

nongview

nongview

เมื่อ พ.ศ. 2313 วันที่ 25 ต.ค. พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้เสด็จฯ มาสักการะวัดพระฝาง ปรากฏข้อความในพระราชนิพนธ์ของพระองค์ตอนหนึ่งว่า เมื่อถึงหน้าเมืองฝางก็มีหาดโต เมืองนั้นตั้งอยู่ฝั่งตะวันออก มีพระวิหารกลางใหญ่ มีลายประตูเป็นลายสลักก้านขดหน้าสัตว์ต่างๆ เช่น บานวัดสุทัศน์ แต่เด่นออกมามากกว่าวัดสุทัศน์ ทำงามดีมาก พระฝางเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช ศิลปะสมัยอยุธยาวัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 1 ศอก 1 คืบเศษ สร้างขึ้นสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยาประมาณ พ.ศ. 2280 มีพุทธลักษณะที่งดงาม เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญของแผ่นดินไทยอีกองค์หนึ่ง สันนิษฐานว่าผู้สร้างคือเจ้าพระฝาง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระฝาง เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัดพระฝางหรือวัดสว่างคบุรีมุนีนาถ พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยกทัพหลวงมาตีชุมนุมพระฝางได้ และโปรดเกล้าฯ ให้รับละครขึ้นมาสมโภชพระพุทธรูปองค์สำคัญนี้ ที่วัดพระฝางถึง 3 วัน เท่ากันกับการสมโภชพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ซึ่งนับว่าเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองไทยองค์หนึ่ง ในรัชสมัยของสมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่5) ได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระฝางไปประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตรฯจนถึงปัจจุบัน พระมหาธาตุวัดพระฝาง

21 August 2010 at 07:58:40 PM

nongview

nongview

เจดีย์พระธาตุวัดพระฝาง ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เจดีย์พระธาตุ

21 August 2010 at 08:06:27 PM

nongview

nongview

ด้านหลังวิหารเป็นองค์พระธาตุ มีกำแพงล้อมรอบ หลังองค์พระธาตุเจดีย์ มีกำแพงล้อมรอบ

21 August 2010 at 08:09:51 PM

nongview

nongview

บริเวณหลังสุดมีพระอุโบสถเก่าอยู่อีกหลังหนึ่ง สภาพโดยทั่วไปชำรุดทรุดโทรมมาก เดิมมีบานประตูแกะสลักสวยงาม แต่ก็ได้ถูกขโมยไปแล้วเช่นกัน พระอุโบสถ

21 August 2010 at 08:11:33 PM

nongview

nongview

จากหลักฐาน แสดงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งการบูรณะพระบรมธาตุสวางคบุรี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พอประมวลได้ดังนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2410 โปรดเกล้า ฯให้พระยามหาอำมาตยาธิบดีเป็นแม่กองสักเลข หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นไป ตั้งอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก และโปรดให้พระยาอุตรดิตถาภิบาล ผู้สำเร็จราชการเมืองอุตรดิตถ์เป็นแม่กองรับจ่ายเลข ข้าพระโยมสงฆ์ตามหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทำการปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดพระธาตุในเมืองสวางคบุรีที่เรียกกันว่า เมืองฝาง พระเจดีย์นั้นชำรุดมาก ต้องรื้อลงมาถึงชั้นทักษิณที่สาม เมื่อรื้ออิฐเก่าที่หักพังออกก็พบแผ่นเหล็กเป็นรูปฝาชีหุ้มผนึกไว้แน่น เมื่อตัดแผ่นเหล็กออกจึงพบผอบทองเหลือง บนฝาผอบมีพระพุทธรูปองค์เล็กบุทองคำฐานเงินอยู่องค์หนึ่ง ในผอบมีพระบรมธาตุขนาดน้อยสีดอกพิกุลแห้ง 1,000 เศษ แหวน 2 วง พลอยต่างสี 13 เม็ด เมื่อพระยาอุตรดิตถาภิบาลมีใบบอกมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดเรือม่านทองให้ข้าหลวงขึ้นไปรับ เชิญพระบรมธาตุมาขึ้นที่กรุงเก่า เชิญขึ้นไว้ที่พระตำหนักวังป้อมเพชร แล้วจัดเรือพระที่นั่งสยามอรสุมพลมีปี่พาทย์ แตรสังข์ รับเชิญลงมากรุงเทพ ฯ เชิญขึ้นไว้ ณ พระตำหนักน้ำ ทำการสมโภชแล้วเชิญไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงมีพระราชดำริว่าควรที่จะส่งพระบรมธาตุคืน ให้ไปบรรจุไว้ตามที่ดังเก่าบ้าง แบ่งไว้สักการะบูชา ณ กรุงเทพ ฯ บ้าง จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ช่างหลวงทำกล่องทองคำเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุชั้นใน แล้วใส่กล่องเงินเป็นชั้นที่สอง ใส่ในพระเจดีย์กาไหล่เงินเป็นชั้นที่สาม แล้วใส่ในพระเจดีย์ทองเหลืองเป็นชั้นที่สี่ แล้วใส่ครอบศิลาตรึงไว้แน่นหนา ให้เจ้าพนักงานเชิญพระบรมธาตุใส่พระเสลี่ยงน้อยกั้นพระกรด ไปตั้งบนบุษบกที่พระตำหนักน้ำ พร้อมเครื่องสักการะบูชา มีเรือกรมการและราษฎรเมืองนนทบุรี แห่เป็นกระบวนขึ้นไปส่งถึงเมืองปทุม แล้วผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการตั้งแต่เมืองปทุมธานีขึ้นไป จัดแจงทำสักการะบูชา แล้วจัดเรือแห่มีปี่พาทย์ฆ้องกลองเล่นสมโภชตามมีรับส่งต่อ ๆ จนถึงเมืองสวางคบุรี

21 August 2010 at 08:17:34 PM

nongview

nongview

เจดีย์ราย รอบองค์พระธาตุ เจดีย์ราย

21 August 2010 at 08:27:40 PM

nongview

nongview

ศาลา ศาลา

21 August 2010 at 08:29:10 PM

nongview

nongview

ด้านหลังของโบสถ์มีต้นมะม่วงไข่กายืนต้นขนาดใหญ่ มะม่วงไข่กา

21 August 2010 at 08:33:55 PM

nongview

nongview

ปัจจุบันภายในวัดพระฝางยังมีปรากฏหลักฐานเป็นหมู่โบราณสถานอยู่ในบริเวณวัด มีพระวิหารหลวงกับองค์เจดีย์ประธานตั้งอยู่แนวทิศตะวันออก ทิศตะวันตกมีกำแพงด้านหน้า กำแพงแก้วล้อมรอบวิหารและเจดีย์โดยตลอด ด้านหลังเจดีย์เป็นกุฏิพระสังกัจจายณ์ซึ่งปฏิสังขรณ์ใหม่ แต่ยังรักษาเค้าโครงเดิมอยู่ภายนอกกำแพงแก้วออกมาข้างพระเจดีย์ด้านทิศใต้มีศาลาพระพุทธบาทอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมาก เป็นอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ แบบช่างพื้นบ้านทั่วไป ส่วนโบสถ์ที่นับว่าสำคัญมากอยู่เยื้องทิศตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากวิหารหลวงประมาณ 50 เมตร ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปพระฝางทรงเครื่อง เป็นศิลปะแบบกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ด้านหลังของโบสถ์มีต้นมะม่วงไข่กายืนต้นขนาดใหญ่ และ บริเวณ หน้าพระวิหารหลวง เป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณของวัดพระฝาง ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมวัตถุโบราณที่ขุดพบในชุมชนบ้านพระฝาง และวัตถุโบราณที่ค้นพบได้จากบริเวณวัดและบริเวณหาดแม่น้ำน่านในปัจจุบัน โดยปัจจุบันมีพระมหาณรงค์ กิตติสาโร เป็นเจ้าอาวาส มีพระลูกวัดทั้งสิ้น 15 รูป โดยในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี ทางวัดพระฝางจะได้จัด ปฏิบัติธรรมพระอยู่ปริวาสกรรม และ ก่อนเข้าพรรษา 20 วัน โดยมีพระภิกษุ จากทั่วทุกภาคของประเทศไทย มาร่วมอยู่ปฏิบัติธรรมอยู่ปริวาสกรรม เป็นจำนวนมากทุกปี

21 August 2010 at 08:35:23 PM