วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประเพณีของจังหวัดพะเยา

ประเพณีไหว้สาพระเจ้าตนหลวง  จัดทุก ๆ ปี เดือนพฤษภาคม เดือน 8 ของภาคเหนือ มีประเพณีแปดเพ็ง หมายถึง วันเพ็ญเดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันวิสาขบูชา ตำนานเล่าถึงวันแปดเป็งที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าตนหลวงตั้งแต่เริ่มสร้างจนกระทั่งเสร็จ จึงมีการจัดประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวงขึ้น ประเพณีแปดเป็งพระเจ้าตนหลวงเป็นงานประเพณีของ จ.พะเยา ซึ่งจัดว่ายิ่งใหญ่ที่สุดและสำคัญอย่างยิ่งของ จ.พะเยาหรืออาจจะกล่าวๆได้ว่าสำคัญและยิ่งใหญ่ในล้านนาก็ว่าได้ เนื่องจากมีการจัดงานสืบทอดกันมาอย่างยาวนานนับร้อยปี เมื่อถึงเทศกาลประเพณีดังกล่าว ผู้คนจากทั่วสารทิศจะเดินทางมาสู่ จ.พะเยาเพื่อกราบนมัสการขอพรจากองค์พระเจ้าตนหลวง พระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองล้านนาและสร้างธรรมบารมีให้กับตนเองอย่างไม่ขาดสาย เบียดเสียดกันเพื่อเข้าไปกราบพระเจ้าตนหลวง ทั้งคนใน จ.พะเยา และต่างจังหวัด เช่น ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย ฯลฯ ในอดีตต่างประเทศ เช่น เชียงตุง ประเทศพม่า สินสองปันนา ประเทศจีนตอนใต้ และประชาชนจากหลวงพระบาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก็เดินทางมาเพื่อแสวงบุญกันอย่างล้นลาม 



เวียนเทียนกลางน้ำกว๊านพะเยา หนึ่งเดียวในโลกที่กว๊านพะเยา 1 ปี มีเพียง 3 ครั้ง คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และ วันอาสาฬหบูชา สำหรับกิจกรรมนั้นจะลงเรือไปกราบสักการะหลวงพ่อศิลาพระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 500ปี ประดิษฐานอยู่ ณ วัดติโลกอารามกลางกว๊านพะเยา พร้อมนั่งเรือเวียนเทียน 3 รอบ



งานสักการะบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง    ชาวพะเยาพร้อมใจร่วมพิธีบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง รำลึกถึงเจ้าผู้ครองเมือง ผู้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ 1 ใน 3 อาณาจักรใหญ่ชนเผ่าไทยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นการรำลึกถึงพ่อขุนงำเมือง กษัตริย์ที่ครองเมืองพะเยา ซึ่งในช่วงที่พระองค์ครองราชย์ บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข และได้ทรงร่วมกับพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพ่อขุนเม็งรามหาราช สาบานเป็นพระสหายต่อกันที่เมืองพะเยา งานจัดขึ้นทุกวันที่ 5 มีนาคม ที่บริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองสวนสมเด็จย่า 90 โดยมีพิธีบวงสรวงแบบพราหมณ์ มีขบวนสักการะเทิดพระเกียรติ และการแสดงวัฒนธรรมล้านนา ประวัติกล่าวไว้ว่า พ่อขุนงำเมืองเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนมิ่งเมือง กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาว หรือเมืองพะเยาในปัจจุบัน พ่อขุนงำเมืองเป็นกษัตริย์ผู้ทรงอานุภาพ เล่ากันว่าเสด็จไปทางไหน “แดดก็บ่ฮ้อน ฝนก็บ่ฮำ”จะทำให้แดดออกก็ได้ จะให้ฝนตกก็ได้ พ่อขุนงำเมืองปกครองเมืองภูกามยาวจนเจริญเป็นอาณาจักรใหญ่ 1 ใน 3 อาณาจักรของชนเผ่าไทยแถบนี้ นั่นคือ อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรพะเยา

ประเพณีลอยกระทง (ประเพณียี่เป็ง)   เป็นประเพณี “ลอยกระทง”ที่ยึดถือเป็นธรรมเนียนปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ช้านาน จะตรงกับวันเพ็ญ เดือนยี่เหนือ (เดือนพฤศจิกายน) ในแถบล้านนาจะยึดถือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ หรือ “วันยี่เป็ง” เป็นวันสำคัญในวันนี้จะเป็นวันขอขมาต่อแม่น้ำคงคาและพระแม่คงคา ที่ได้กระทำสิ่งไม่ดีต่อแม่น้ำลำคลอง ในช่วงเช้าจะมีการทำบุญตักบาตร และมีเทศน์มหาชาติฉบับล้านนา ตั้งแต่เช้ามืดจนถึงกลางคืน มีการปล่อยโคมลอยขึ้นบนท้องฟ้า ซึ่งชาวล้านนาถือว่า การลอยโคมนี้เป็นการปล่อยเคราะห์ ปล่อยโศก บ้างเชื่อว่า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสวรรค์ นอกเหนือจากการลอยกระทง ที่กระทำเพื่อขอขมาต่อแม่น้ำและเพื่อลอยเคราะห์ลอยโศกออกจากตัวเราเช่นกัน

งานสืบสานตำนานไทยลื้อ จัดขึ้นในช่วงต้นเดือนมีนาคม เพื่อส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไท ลื้อ ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของอำเภอเชียงคำ ในงานมีขบวนแห่วัฒนธรรมที่สวยงาม ในเขตเทศบาลเชียงคำ มีการจำหน่ายอาหารไทลื้อการสาธิตพิธีกรรม ต่างๆเวลากว่า 200 ปี ที่ชาวไทลื้อเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย ระยะเวลาที่ยาวนานอีกทั้งวัฒนธรรมที่หลากหลาย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น