วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน



ความสำคัญ   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสนเป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ของแคว้นล้านนา เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงแสนเชียงแสนเป็นเมืองโบราณบริเวณภาคเหนือตอนบนที่สำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์ของแคว้นล้านนา  มีแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ปรากฎอยู่มากพระเจ้าแสนภู พระราชนัดดาของพระเจ้าเม็งรายทรงสร้างเมืองเชียงแสนขึ้นปี พ.ศ. 1871 เพื่อเป็นที่มั่นในการควบคุมดูแลหัวเมืองต่างๆ ในแคว้นโยนก และเป็นปากประตูเพื่อติดต่อกับบ้านเมืองภายในผืนทวีปตามเส้นทางแม่น้ำโขง มีร่องรอยโบราณสถานให้เห็นอยู่ถึงปัจจุบันเมื่อมีการจัดตั้งหน่วยศิลปากรขึ้นปี พ.ศ. 2500 เพื่อดูแลรักษาโบราณสถานในเมืองเชียงแสน  จึงได้มีการตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้น ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504  เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมและจัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจขุดแต่งโบราณสถานเมืองเชียงแสน และบริเวณใกล้เคียง จัดแสดงให้ประชาชน นักศึกษา ชม และศึกษาหาความรู้  โดยใช้ศาลาหลังเก่าของวัดเจดีย์หลวงเป็นอาคารจัดแสดงหลังแรก  ต่อมาได้มีการสร้างอาคารทรงไทยล้านนาประยุกต์ และปรับปรุงเรื่อยมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน อย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2540พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือ ตั้งอยู่ในตัวเมืองเชียงแสน เลขที่ 702 ถนนพหลโยธิน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุที่ได้มาจากบริเวณเมืองโบราณเชียงแสนและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ลวดลายปูนปั้นฝีมือล้านนา พระพุทธรูปและศิลาจารึกจากเชียงแสนและจากจังหวัดพะเยา พร้อมทั้งให้ข้อมูลทางด้านวิชาการเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี การตั้งถิ่นฐานของชุมชน และประวัติการสร้างเมืองเชียงแสน นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงศิลปะพื้นบ้านของชาวไทยใหญ่ ไทยลื้อและชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่น เครื่องเขิน เครื่องดนตรี เครื่องประดับ เป็นต้น
โบราณวัตถุพบในเมืองเชียงแสน ได้แก่
ศิลปะล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 ได้จากวัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมื่อ พ.ศ. 2500เป็นชิ้นส่วนลายปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรมเจดีย์ประธานวัดป่าสัก บริเวณส่วนมุม ลักษณะเป็นรูปใบหน้ากึ่งมนุษย์กึ่งสัตว์สวมกระบังหน้า เหนือเศียรเป็นลายกนก ปากคายลายกนกออกมาทั้งสอบข้าง มีมือยึดลายกนกไว้ริมฝีปากล่างหักหายไป
เปลวรัศมี
ประติมากรรมรูปพระฤาษีกัมมะโล
ศิลปะล้านนา พ.ศ. 2147 พบที่วัดพระธาตุดอยตุง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 25 หัวเปี๊ยะทำเป็นรูปหัวช้าง มีงวง มีหูกางใช้เป็นที่พาดสายทั้ง 2 ข้าง ส่วนปลายด้ามทำเป็นปลอกสำหรับเป็นที่เสียบแกนไม้ เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของล้านนา ที่มีประวัติพัฒนาการที่ยาวนาน
1. บริการข้อมูลทางวิชาการให้แก่ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ตลอดจนให้ยืมสื่อการเรียนการสอน
แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน 
1. อาคารจัดแสดงหลักชั้นล่าง แบ่งออกเป็น ๕ หัวเรื่อง ได้แก่ เรื่องภูมิสถานเมืองเชียงแสน ประวัติศาสตร์และการตั้งถิ่นฐานของเมืองเชียงแสน วัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์ในสังคมล่างสัตว์และสังคมเกษตรกรรม เรื่องลวดลายปูนปั้นจากวัดป่าสัก เรื่องจารึกที่พบในเมืองเชียงแสนและพื้นที่ใกล้เคียง และเรื่องพัฒนาการของเครื่องถ้วยล้านนาในจังหวัดเชียงราย ซึ่งนับเป็นแหล่งศักษาค้นคว้าเครื่องถ้วยล้านนาที่ผลิตจากแหล่งเตาในจังหวัด เชียงรายที่สำศัญแห่งหนึ่ง
2. อาคารจัดแสดงหลักชั้นลอย แบ่งออกเป็น ๒ หัวเรื่อง ได้แก่ เรื่องโบราณสถานที่สำศัญในเมืองเชียงแสนและเรื่องโบราณวัตถุที่ได้จากการขุด ค้นและขุดแต่งทางโบราณคดีตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐-ปัจจุบัน ทั้งในเมืองเชียงแสน และพื้นที่อื่นๆ ในจังหวัดเชียงราย อาทิ พระพุทธรูป เครื่องประดับเจดีย์ แผ่นอิฐที่จารึก และเครื่องสำริด เป็นต้น
3. อาคารส่วนขยาย จัดแสดงเกี่ยวกับชาติพันธุ์วิทยา แบ่งออกเป็น ๓ หัวเรื่อง ได้แก่ เรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชนแถบลุ่มน้ำโขง อาทิ เครื่องมือ ที่ใช้ในการทำมาหากินในชีวิตประจำวัน เครื่องดนตรีพื้นเมือง ดาบและอาวุธต่างๆ เรื่องเมืองเชียงแสนในอดีกล่าวถึงพัฒนาการของเมืองเชียงแสนในสมัย รัตนโกสินทร์เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าๆให้ชาวลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ เข้าไปอาศัยอยู่ในเมือง เชียงแสน และฟื้นฟูเมืองขึ้นใหม่ การเข้ามาของกลุ่มชนต่างๆ เช่น ไทยลื้อ ไทยใหญ่ รวมทั้งชาวเขาเผ่าต่างๆ โดยได้รวบรวมเครื่องเขินของพม่าแบบต่างๆ มากที่สุด จึงนับได้ว่าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสน เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่น่าสนใจที่สุดแห่งหนึ่งในภาคเหนือ และเรื่องศาสนาและความเชื่อโดยจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องในศาสนา ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชนชาวเชียงแสน เช่น ตุง เครื่องตั้งธรรมหลวง หีบธรรม และเจดีย์จำลอง เป็นต้น
การจัดแสดง 
·         เครื่องมือหินกะเทาะ สมัยก่อนประวัติศาสตร์
·         ชิ้นส่วนลายปูนปั้น ลายเครือเถาและดอกไม้ ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 18 ทำจากปูนปั้น
·         พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 19-20 ทำจากสำริด
·         ศิลาจารึกวัดบ้านยางหมากม่วง ศิลปะล้านนา พ.ศ. 2022 ทำจากหินทราย
โบราณวัตถุได้จากการขุดค้น ขุดแต่ง ได้แก่
·         พระพิมพ์ ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 22-23
·         ผอบ ศิลปะล้านนา
·         แผ่นอิฐดินเผา ศิลปะล้านนา
เครื่องถ้วยในจังหวัดเชียงราย
·         ซุ้มพระพุทธเคลือบใส ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21-22
·         แม่พิมพ์กล้องยาสูบ ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 22-23
·         เครื่องถ้วยที่พบในจังหวัดเชียงราย
วิถีชีวิตชาวบ้าน
·         ผ้าซิ่นไทยลื้อ อายุประมาณ 30 - 50 ปีมาแล้ว
·         เครื่องเขินล้านนา
·         เหล็กสัก พื้นบ้านล้านนา
·         บอกเฝ่า สำหรับบรรจุดินปืน
วิถีชีวิตชาวเขา
·         เทวภาพแห่งลัทธิเต๋าของเผ่าเย้า ภาพวาดบนกระดาษ
·         เก้ง เครื่องดนตรีของม้ง
·         แคนน้ำเต้าของอาข่า
·         บุงผ้า (กระบุงใส่ผ้า) ไทยใหญ่ พุทธศตวรรษที่ 25
ศาสนา
·         กรรมวาจา (พระคัมภีร์) ศิลปะล้านนา พ.ศ. 2468 ทำจากกระดาษและไม้
·         พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา พ.ศ. 2462 ไม้ทาสี
·         ตุงเงิน ศิลปะล้านนา ทำจากเงิน
·         ขันแก้วทั้งสาม ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 25

โบราณวัตถุที่สำคัญ 
หน้ากาล


ศิลปะล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 พบที่วัดเจดีย์หลวง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย แล้วนำไปที่วัดมุมเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
เปลวรัศมี คือ สัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้หล่อด้วยสำริด ภายในกลวง ลักษณะเป็นเปลวรัศมี 9 แฉก แต่ยอดตรงกลางหักหายไป มีช่องสำหรับใส่หินมีค่าเพื่อประดับตกแต่ง ฐานด้านล่างมีกลีบบัวหงายรองรับและมีเดือยสำหรับสวมลงบนเศียรพระพุทธรูป



ประติมากรรมรูปบุคคลนั่งศรีษะเกล้ามวยสูง ใบหน้ายิ้ม นุ่งห่มหนังสือ สองมือพนมสูงเสมออก ชันเข่าทั้งสองข้างขึ้นในลักษาการที่เรียกว่า "ประคองอัญชลี" บนที่นั่งด้านขวามีภาชนะรูปร่างคล้ายคนโทใส่น้ำ ด้านซ้ายมีภาชนะรูปทรงคล้ายขันหรือชามกับกล่องใส่ของ ฐานล่างมีภาพบุคคลกำลังแสดงความเคารพรูปกวาง มีภาพของเครื่องมือเครื่องใช้ สันนิษฐานว่าเป็นเครื่องใช้ของฤาษี ซึ่งเครื่องใช้เหล่านี้พบประกอบลายปูนปั้นกลีบขนุนปรางค์ในสมัยลพบุรี
สาระสำคัญของจารึกบนฐานพระฤาษีกัมมะโลกล่าวถึงการสร้างพระธาตุดอยตุง โดยพระเจ้าอชุตราชเป็นผู้นำในการสร้างถวายแด่พระฤาษีกัมมะโล เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้ฉลองพระธาตุ มีการสร้างตุง (ธง) ขนาดใหญ่ จึงเป็นที่มาของชื่อ "ดอยตุง" และมอบหมายให้ชาวลัวะเป็นผู้ดูแล

พิณเปี๊ยะ

การบริการ

2. บริการนำชมและบรรยายให้แก่นักเรียน นักศึกษา และแขกของทางราชการที่ทำหนังสิอขอเข้าชมเป็นหมู่คณะ ทั้งในและนอกสถานที่
3. จำหน่ายหนังสือทางวิชาการด้านศิลปโบารณคดีและประวัติศาสตร์ โปสการ์ด หนังสือนำชม สินค้าและหัตถกรรมพื้นบ้านของจังหวัดเชียงราย และของที่ระลึกอื่นๆ
4. บริการฉายสไลด์และวีดิโอให้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม : ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น