วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ทุ่งดอกบัวตองดอยหัวแม่คำ


ทุ่งดอกบัวตองดอยหัวแม่คำ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง ห่างจากบ้านเทอดไทย 35 กม.เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่า อาข่าและลาหู่ ตั้งอยู่บนสันเขา ตะเข็บชายแดนไทย-พม่า มีทิวทัศน์สวยงาม พื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ ในเขตวนอุทยานดอยหัวแม่คำ เมื่อลมหนาวมา เยือนทุ่งดอกไม้สีทองเหลืองอร่าม ทุ่งดอกบัวตองก็เร่ิมบานสะพรั่งงดงามไปทั่วทั้งขุนเขาเหนือดอยสูงใครจะเชื่อว่า ที่ ดอยหัวแม่คำนี้ ยังมีชีวิตที่งดงาม แบบง่ายๆ และสงบเป็นสีสัน ที่เบ่งสี อวดสวยคู่ไปกับบัวตอง อย่างไม่เคยเปลี่ยนแปลง  ณ. ที่แห่งนี้ ทุ่งดอกบัวตอง ดอยหัวแม่คำในขณะที่ ดอยแม่อูคอของแม่ฮ่องสอน,uชื่อเสียงในความสวยงามของดอกบัวตองที่เชียงราย เองก็มี ดอยหัวแม่คำ ซึ่งจะบานไล่เลี่ยกับที่ดอยแม่อูคอแม่ฮ่องสอนในเดือนพฤศจิกายนอาจจะล่าช้ากว่าบ้าง ดอกบัวตองนี้มี มากมาย ขึ้นสลับกันระหว่างบ้านชาวเขา มีอาณาเขตบริเวณกว้างความสวยงามยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อมาชมยามพระอาทิตย์ขึ้นจาก ขอบฟ้า ส่องแดดสีอ่อน ผ่านไอหมอกอบอวลในหุบเขายังมีกลุ่มทะเลหมอคลอเคลียและยังสามารถขับรถตามสันเขาเพื่อชม ดอกบัวตองได้โดยสะดวกที่มีดอกบัวตองบานสะพรั่งไปทั้งดอยสลับแซมกับหมู่บ้านชาวเขา ที่อาศัยอยู่กับดอกบัวตองอย่างกลม กลืนดูสวยงามจนได้รับยกย่องให้เป็น 1 ใน Unseen Thailand 



ดอกบัวตองบานเพียงปีละครั้ง โดยจะเริ่มบานในช่วง ต้นเดือน พ.ย. เป็นต้นไป และจะเริ่มบานเต็มที่สวยงามใน ช่วงกลางเดือน พ.ย. ในนี้จะมีการจัดงานเทศกาลดอยบัวตองบาน ณ ดอยหัวแม่คำ ซึ่งจะคึกคักเป็นพิเศษ ซึ่งชาวเขาจะแต่งชุดประจำเผ่าที่สวยงาม รวมทั้งมีการแสดงของ เผ่าต่างๆ ด้วย หากพ้นช่วงเทศกาลไปแล้วจะ ค่อนข้างเงียบเล็กน้อยประมาณปลายเดือนพ.ย. ดอกบัวตองก็จะเริ่มโรยรา

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจบนดอยหัวแม่คำ

1.หมู่บ้านหัวแม่คำ
เสน่ห์ของดอยหัวแม่คำก็คือการที่หมู่บ้านชาวเขาอยู่สลับกับท้องทุ่งดอกบัวตอง สามารถเดินเที่ยวชมวิถีชีวิตได้ มีทั้งชาวม้ง ลีซอ และอาข่า อยู่รวมกัน โดยยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและเอกลักษณ์ของตนไว้อย่าง เหนียวแน่นระหว่างเดือน ธ.ค.-ม.ค. จะตรงกับการจัดงานปีใหม่ของแต่ละเผ่าชาวเขาจะแต่งชุดประจำเผ่าที่ี่สวยงาม




เด็กชาวเขาดอยหัวแม่คำ





2.วนอุทยานดอยหัวแม่คำ
ซึ่งเป็นที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่ความสูงประมาณ 1300 เมตรอยู่ห่างจากหมู่บ้านหัวแม่คำไปประมาณ 2 ก.ม. เป็นจุดชมวิวสูงสุด ของดอยหัวแม่คำ  เป็นจุดชมวิวที่มีทิวทัศน์สวยงามเป็นวิวภูเขาสูงสลับซับซ้อนเรียงรายกัน สวยงามมากในช่วงเช้าสามารถ เห็นทะเลหมอกไปปกคลุมอยู่ทั่วภูเขา จากหมู่บ้านไปวนอุทยานต้องใช้รถขับเคลื่อนเท่านั้น

ทุ่งดอกบัวตองบนวนอุทยานดอยหัวแม่คำ



ทะเลหมอกยามเช้า ณ วนอุทยานดอยหัวแม่คำ



3.ศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงหัวแม่คำ 
ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงดอยหัวแม่คำ เป็นศูนย์ฯที่ส่งเสริมให้ชาวบ้านสร้างรายได้โดยการปลูกไม้เมืองหนาว ที่เหมาะสมกับการปลูกบนพื้นที่สูง อีกทั้งยังเป็นการถ่ายทอดเทคนิคการปลูกไม้ดอกเมืองหนาวไปสู่เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวและใกล้เคียง ไม้ดอกเมืองหนาวที่ทดลองกันอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ กล้วยไม้ เยอบีร่า มิกกี้เม้าท์ คาราลิลลี่ สนหอม ยูคาประดับ คาร์เนชั่น ทิวลิป ส่วนไม้กระถางก็มีลิลลี่กระถาง กุหลาบพันปี 

อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ได้ชื่อว่าเป็นอำเภอเดียวของประเทศไทย ที่มีประชากรทั้งอำเภอเป็นชาวไทยภูเขาทั้งหมด ด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง และชาวเขาเหล่านี้ต่างเคยมุ่งบุกเบิกป่าเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกพืชสารเสพติด ที่เป็นปัญหากับประเทศมาช้านาน 
แต่ปัจจุบันพวกเขาเหล่านี้กำลังได้รับการพัฒนาในการประกอบอาชีพ เพื่อให้เข้ารูปการเกษตรที่เกิดประโยชน์กับตนเองและประเทศชาติ อย่างเช่นบริเวณดอยหัวแม่คำ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง กรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีการจัดสรรพื้นที่บางส่วนให้ภาคธุรกิจเอกชน เข้าไปดำเนินการทดลองผลิตไม้ดอกเมืองหนาวบนพื้นสูง โดยอาศัยแบบอย่างมาจากการผลิตไม้ดอกเมืองหนาว จากประเทศไต้หวัน โครงการที่ว่านี้ ก็เพื่อทดลองสายพันธุ์ไม้ดอกเมืองหนาว ที่เหมาะสมกับการปลูกบนพื้นที่สูง อีกทั้งยังเป็นการถ่ายทอดเทคนิคการปลูกไม้ดอกเมืองหนาวไปสู่เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวและใกล้เคียง นอกจากนั้นยังเป็นการจัดหาช่องทางจำหน่ายไม้ดอกให้ครบวงจร ประการสำคัญคือช่วยลดจำนวนการนำเข้าไม้ดอกเมืองหนาวที่ประเทศไทยต้องเสียเม็ดเงินไปปีหนึ่งๆจำนวนมหาศาล ไม้ดอกเมืองหนาวที่ทดลองกันอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ กล้วยไม้ เยอบีร่า มิกกี้เม้าท์ คาราลิลลี่ สนหอม ยูคาประดับ คาร์เนชั่น ทิวลิป ส่วนไม้กระถางก็มีลิลลี่กระถาง กุหลาบพันปี 






4.น้ำตกหัวแม่คำใหญ่
วนอุทยานน้ำตกหัวแม่คำ อยู่ในท้องที่ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำแม่คำ ป่าน้ำแม่สลอง ป่าน้ำแม่จันฝั่งซ้าย มีเนื้อที่ประมาณ 3,500 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2541
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นเทือกเขาสูงสลับกันเป็นทอด ๆ มีเทือกเขาสูงซึ่งเป็นจุดแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับสหภาพพม่า สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,300-1,700 เมตร มีความลาดชันเฉลี่ยทั่วพื้นที่ประมาณ 35-45 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่เป็นภูเขาที่มีดินอยู่ชั้นบนและมีหินโผล่ สำหรับบริเวณน้ำตกจะมีหินขนาดใหญ่บางเล็กบ้างซ้อนทับกันอย่างสวยงาม
ลักษณะภูมิอากาศ
เป็นแบบมรสุมเมืองร้อนคือ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝนและลมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือฤดูร้อน มีลักษณะร้อนชื้นในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ฤดูฝน มีลักษณะที่ฝนตกแล้วมีลมกรรโชกแรงอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน ฝนจะตกมากในช่วงเดือนกรกฎาคม สิงหาคม ไปจนถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาวมีลักษณะถึงหนาวจัด อยู่ในระหว่างเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
เป็นป่าดิบเขา บริเวณบนภูเขาได้ผ่านการทำการเกษตรมาแล้วหลายปีมีต้นไม้ขึ้นไม่หนาแน่น ส่วนบริเวณที่เป็นที่โล่งจะมีดอกบัวตองขึ้นอยู่เต็มพื้นที่ สำหรับบริเวณหุบเขาซึ่งมีลำห้วยและมีน้ำไหลตลอดปีจะมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ทั้งยืนต้นและไม้ชั้นล่าง เช่น เฟิร์น ไลเคน บอน มะหูด หญ้าชนิดต่าง ๆ รวมถึง ลูกไม้ ชนิดพันธุ์ไม้ยืนต้นที่พบได้ ก่อแป้น แดงน้ำ เสี้ยวดอกขาว ก่อเดือย มะไฟป่า ไผ่ป่า มะหลอด ประดู่ กาสลองคำ เงาะป่า ปอเลียง มะขามป้อม แคหางค่าง ตะแบกใหญ่ ตะเคียนทอง มะเดื่อ ข่อย ปอกระสา กระพี้จั่น ทองหลาง 
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ อีเห็น กระต่าย และนกชนิดต่างๆ เป็นต้น





ที่มา
http://www.paiduaykan.com/76_province/north/chiangrai/doihuamaekam.html
http://www.chiangraifocus.com/travel/show.php?id=106&travel=11
http://www.phudoilay.com/north/chiangrai/doihuamaekham.php


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น