กุหลาบเมาะลำเลิง

กุหลาบเมาะลำเลิง 





          กุหลาบเมาะลำเลิง หรือ กุหลาบเทียม (อังกฤษ: Rose cactus; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pereskia grandifolia Haw) เป็นพืชพื้นเมืองของบราซิลทางตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้เป็นพืชสมุนไพร และใบรับประทานได้ แม้ว่าจะเป็นพืชกลุ่มเดียวกับกระบองเพชร แต่แตกกิ่งเป็นพุ่มเล็ก ๆ สูง 2-5 เมตร มีลำต้นสีน้ำตาลอมเทาหนา 20 เซนติเมตร หนามสีดำหรือน้ำตาล ใบยาว 9-23 เซนติเมตร ช่อดอกเกิดที่ปลายกิ่ง มี 10-15 ดอก ดอกมีรูปร่างคล้ายกุหลาบ


          กุหลาบเมาะลำเลิงมีหลายพันธุ์ พันธุ์ grandifolia มีริ้วประดับสีเขียวและดอกสีชมพู เป็นไม้พื้นเมืองของบราซิลตะวันออกและแพร่หลายไปทั่วเขตร้อนของทวีปอเมริกา พันธุ์ violacea มีสีม่วงอมชมพูหรือสีม่วง เป็นพืชพื้นเมืองของเอสปิริโต ซันโต และมินาส เฆราอิส




ลักษณะของกุหลาบเมาะลำเลิง

ชนิดไม้ : ไม้พุ่มเตี้ย 

สีดอก : พันธุ์นี้จะมีกลีบดอกเป็นสีเฉดแดง หรือสีเฉดส้ม

ขนาดต้น : ค่อนข้างเล็ก สูงไม่เกิน ๓ เมตร มักแตกหน่อขึ้นเป็นกกเป็นกอ ออกใบดก เนื้อใบบางและยับย่น

ใบ : ใบสีเขียวเข้มรูปใบหอกแหลมสอบเรียวไปทางโคนใบ

ขนาดใบ : ยาวได้ตั่งแต่ ๘ - ๓๐ เซนติเมตร


ขนาดดอก : ดอกเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกซ้อนสองชั้น เป็นสีส้มหรือสีเฉดแดง ขนาดดอกบานเต็มที่กว้าง ๔ - ๖ เซนติเมตร

นิเวศวิทยา :  มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง อเมริกาใต้

ขยายพันธุ์ :  โดยการปักชำกิ่ง


บทเพลงที่เกี่ยวกับกุหลาบเมาะลำเลิง

เพลง กุหลาบเมาะลำเริง
ขับร้องโดย : รุ่งเพชร แหลมสิงห์
คำร้อง/ทำนอง : จำรัส ศรีวิเชียร

แต้เอย เกาชันพูดสำเนียงรามัญ
แปลว่าฉันรักเธอไม่นึกเลย จะมาเจอ
แล้วหลงรักเธอกุหลาบเมาะลำเลิง
อยากทักถามว่าอ๋อเตะอาล่อเกริ่ง

เม้ยเจิงน้องไปไหนมา เม้ยเจิงน้องไปไหนมา
บ้านขมิ้น และบางไส้ไก่สาวมอญสมัยใหม่
งามวิไลบาดตาใบหน้าโสภี
สาวมอญบ้านหมี่ปากลัดโพธาราม
ล้วนงามเกินกว่าหาคำเสกสรรพบกันวันสงกรานต์เมษายน

แต้เอย เกาชันคิดถึงเธอทุกวัน
ใจผูกพันแต่หน้ามนนั่งรถเมล์ผ่านเมืองนนท์
ก็ยังได้ยลกุหลาบมอญที่นั่นแต้เอยนายเอย
โอ๊ยแม่เม้ยรามัญรักกันกับพี่ได้ไหมขวัญใจสาวชาวบ้านมอญ





อ้างอิง

ITIS 19685
Edward F. Anderson, The Cactus Family (Timber Press, 2001), pp. 568-569

Beat Leuenberger, Pereskia (Cactaceae) , Memoirs of the New York Botanical Garden 14 (1986) pp. 111-118

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น