เกี่ยวกับสำนักงาน

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

ประวัติอำเภอแม่สอด
จากข้อความบนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  “ เมืองฉอด ” ปรากฏชื่อเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าเป็น “ อำเภอแม่สอด ” ในปัจจุบันหรือบริเวณใกล้เคียง มีซากโบราณสถานหลายแห่งบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเมย เมืองฉอดเป็นชุมชนคนไทยที่เป็นปึกแผ่น มีความเจริญทัดเทียมกับเมืองสุโขทัย โดยมีพ่อขุนสามชน  เจ้าเมืองฉอด ขุนศึกผู้เชี่ยวชาญในเชิงยุทธ์และมีน้ำพระทัยโอบอ้อมอารีเป็นเจ้าเมือง แม่สอดเคยเป็นพื้นที่อยู่อาศัย และทำกิจกรรมของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์  ทั้งนี้เพราะมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศเหมาะสม เป็นเมืองหุบเขาเหมือนอยู่ก้นกระทะมีน้ำเมยไหลผ่านเป็นทางยาวไปตามแนวเขา ด้วยความเหมาะสมหลายๆ ด้าน เป็นทั้งเมืองชายแดนที่มีภูมิประเทศสวยงาม มีทรัพยากรธรรมชาติมาก ภูมิอากาศเหมาะสม แม่สอดจึงกลายเป็นเส้นทางการค้าของคนหลายเชื้อชาติและเป็นที่ตั้งรกรากในเวลาต่อมา แรกเริ่มเดิมทีพวกพ่อค้าต่างชาติเพียงแค่เดินทางผ่านเข้าออกแม่สอดเท่านั้น ยังไม่มีการตั้งรกรากแต่อย่างใด ในขณะที่พวกกะเหรี่ยงเริ่มเข้ามาตั้งบ้านเรือนกันแล้ว มีเพียงไม่กี่หลังคาเรือน เรียกว่า “บ้านพะหน่อเก” ในเวลาถัดมาพวกพ่อค้าเริ่มพักแรมที่แม่สอดยาวนานขึ้น จึงเริ่มมีการตั้งถิ่นฐาน ฉะนั้นพวกเจ้าถิ่นในแม่สอดยุคแรกจึงเป็นชาวต่างชาติเสียส่วนใหญ่
ปัจจุบันแม่สอดยังคงเป็นตลาดชายแดนที่สำคัญ  เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเงินบาทและเงินจ๊าดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ สินค้าที่ผ่านเข้าออกแม่สอดกับพม่านับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเมืองของพม่าเป็นสำคัญ และยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรมการผลิตและการท่องเที่ยวอีกด้วย เนื่องจากมีสาธารณูปโภคและสาธารณูปการครบครัน แม่สอดตั้งเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2441 เดิมชื่อพระหน่อเก่ ตัวเมืองอยู่ในที่ราบระหว่างภูเขา ส่วนหนึ่งเป็นเทือกเขาในฝั่งประเทศไทย อีกส่วนหนึ่งเป็นเทือกเขาฝั่งประเทศพม่า ประชากรมีทั้งชาวเขาและคนที่อพยพจากต่างอำเภอเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ รวมทั้งชาวพม่าที่มีบุตรและภรรยาเป็นคนไทย

สภาพภูมิศาสตร์
อำเภอแม่สอดตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดตากไปทางทิศตะวันตก ระยะทาง 87 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 513 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
ทิศใต้ ติดต่อ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก ติดต่อ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
ทิศตะวันตก ติดต่อ จังหวัดเมียวดี ประเทศสหภาพเมียนมาร์



ลักษณะภูมิประเทศ
          อำเภอแม่สอดมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,986 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะพื้นที่ราบประมาณร้อยละ 20 นอกนั้นเป็นพื้นที่ภูเขาสูง มีลำห้วยแม่สอดไหลผ่าน และมีแม่น้ำเมยเป็นเส้นกั้นอาณาเขตชายแดนระหว่างอำเภอแม่สอดกับจังหวัดเมียวดี ประเทศสหภาพเมียนมาร์ นอกจากนั้นยังมีอ่างเก็บน้ำที่สำคัญ 2 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำ  หัวฝายและอ่างเก็บน้ำห้วยลึก สามารถส่งน้ำให้พื้นที่เพื่อทำการเกษตรกรรมได้

ลักษณะภูมิอากาศ
          แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล ฤดูฝนยาวนานที่สุดและตกชุกตลอดฤดู เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคมของทุกปี

สภาพทางเศรษฐกิจ
          ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่  ทำไร่  ทำนา  และค้าขาย

สภาพการปกครอง
          อำเภอแม่สอดแบ่งการปกครองออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1.    การบริหารส่วนภูมิภาค ประกอบด้วยส่วนราชการประจำอำเภอ จำนวน 19 ส่วนราชการ
2.    การบริหารส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบล 8 แห่ง และเทศบาล 4 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลนครแม่สอด เทศบาลตำบลแม่กุ เทศบาลตำบลแม่ตาว และเทศบาลตำบลท่าสายลวด
มีพื้นที่ 10 ตำบล และ 90 หมู่บ้าน

ข้อมูลประชากร และหลังคาเรือน
ข้อมูลประชากร
             -จำนวนประชากรคนไทย (ทะเบียนราษฎร์)                          148,413         คน
             -จำนวนประชากรคนต่างด้าวทั้งหมด                                  232,069         คน

วัดและศาสนสถาน
          อำเภอแม่สอด มีศาสนสถาน จำนวน  104 แห่ง ดังนี้
* วัด 57      แห่ง
* สำนักสงฆ์ 35      แห่ง
* โบสถ์คริสต์ 12      แห่ง

โรงเรียนและสถานศึกษา
* โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัด สพป.ตาก เขต 2 41      แห่ง
* โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัด อปท. 10      แห่ง
* โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัด ตชด.   2      แห่ง
* โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัด เอกชน   4      แห่ง
* โรงเรียนมัธยมศึกษา สพม.เขต 38   4      แห่ง
                    * ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 39      แห่ง
ข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข
1,สถานบริการสาธารณสุข
   * โรงพยาบาลทั่วไป (ขนาด 365 เตียง) 1 แห่ง
   * โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล                                     22 แห่ง
   * สถานบริการสาธารณสุขชุมชน+สุขศาลา                              3 แห่ง
   * ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อที่นำโดยแมลง (ศตม.)                          1 แห่ง
   * หน่วยควบคุมโรคติดต่อที่นำโดยแมลง (นคม.)                        3 แห่ง
   *  อาสาสมัครสาธารณสุขอำเภอแม่สอด                           2,257 คน
   *  อาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ (อสต.)                           734 คน
2.สถานบริการของเอกชน
   * โรงพยาบาลเอกชน                                                     2      แห่ง
   * คลินิกแพทย์                                                           17      แห่ง
   * ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                                              22      แห่ง
3. บุคลากรและอัตรากำลัง
ตารางแสดง  จำนวนบุคลากรสาธารณสุข แยกรพ.สต. และสสอ. ปี 2560
ลำดับ
บุคลากร
จำนวน
รพ.สต.
สสอ.
หมายเหตุ
1
นักวิชาการสาธารณสุข
22
14
8

2
พยาบาลวิชาชีพ
18
18
0
3
เจ้าพนักงานสาธารณสุข
22
21
1
4
เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข
5
5
0
5
แพทย์แผนไทย
2
2
0
6
ลูกจ้างชั่วคราว(นวก.สส.+จพ.สส.)
39
37
2
7
นวก.การเงินฯ+จพ.การเงินฯ
2
0
2
รวม
110
97
13
ที่มา : จากการสำรวจจำนวนบุคลากร ปี 2560  (ข้อมูล ณ มิถุนายน 2560)
          จากตาราง  พบว่าบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สอด จำนวน 110 คน ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 39 คน รองลงมาคือ ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข และเจ้าพนักงานสาธารณสุข
จำนวน
22 คน และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 18 คน ตามลำดับ