สถานที่


      สถานปฏิบัติธรรม-มณฑป หลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ ตั้งอยู่ชานเมืองลำปาง ตามทางสายลำปาง - แจ้ห่ม ประมาณ กิโลเมตร ไปเส้นทางเดียวกับวัดเจดีย์ซาวหลัง แต่ถึงก่อนประมาณ 500 เมตร เมื่อไปถึงจะพบรูปปั้นหลวงพ่อเกษมขนาดใหญ่ที่สังเกตเห็นได้จากถนน ภายในบริเวณมีมณฑปลักษณะเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ มีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งของหลวงพ่อเกษม เขมโก เกจิอาจารย์ ซึ่งมีผู้เคารพนับถือเป็นจำนวนมาก นั่งขัดสมาธิขนาดเท่ารูปจริง เพื่อให้ประชาชนเคารพสักการะ และบริเวณหน้ามณฑปมีสถานที่เช่าพระเครื่อง ส่วนกุฏิของหลวงพ่อเกษมอยู่ด้านข้างมณฑป



            สถานปฏิบัติธรรมหลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือนอกตัวเมืองลำปาง ตามถนนประตูม้า เส้นทางเดียวกันกับวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ตรงไปอีกประมาณกิโลเมตรเศษๆ เป็นถนนขยาย แลน มีเกาะกลางถนนด้านขวามือมีรูปเหมือนหลวงพ่อเกษม เขมโกขณะยืน สูงเด่นตระหง่านมองเห็นแต่ไกล เป็นอันว่ามัวแต่ดูรูปเหมือนหลวงพ่อขับเลยช่องทางเข้าสถานปฏิบัติธรรมซะแล้ว ต้องไปกลับรถแล้วมาเลี้ยวเข้าด้านข้างมีประตูเข้าไปลานจอดรถขนาดใหญ่ สิ่งที่อยู่ในบริเวณลานจอดรถก็คือฌาปณสถานหรือเมรุขนาดใหญ่ แต่เดิมสถานที่บริเวณนี้คงมีเพียงเมรุอย่างเดียวเท่านั้น และหลวงพ่อเกษม เขมโก มาปลีกวิเวกอยู่ที่นี่จึงได้เรียกกันว่าสุสานไตรลักษณ์ หลังหลวงพ่อเกษม เขมโก มรณภาพแล้วลูกศิษย์จึงได้สร้างรูปเหมือนและมณฑปนี้ขึ้นมาเพื่อระลึกถึงพระจริยวัตรที่งดงาม ในฐานะพระบูรพจารย์รูปหนึ่ง




      มณฑปหลวงพ่อเกษม เขมโก ชาวบ้านประชาชนทั่วประเทศรู้จักหลวงพ่อเกษม เพราะเป็นพระภิกษุผู้ดำเนินอยู่ในสายพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ใดเดินทางมาลำปางส่วนมากจะแวะเข้ามาสักการะหลวงพ่ออยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวภาคเหนือผู้ใกล้ชิดกับหลวงพ่อมากกว่าใคร สังขารหลวงพ่อเกษม เก็บรักษาเอาไว้ในโลงแก้วในห้องกระจกบนมณฑปหลังนี้
                        


      ไหว้สังขารหลวงพ่อเกษม สังขารร่างกายของหลวงพ่อเก็บไว้ในโลงแก้ว ในห้องกระจกเพื่อรักษาสภาพ หน้าห้องมีป้ายบอกไว้ให้ไหว้เพียงอก 1 ครั้ง ห้ามกราบลงพื้น คำไหว้ศพหลวงพ่อให้กล่าวว่า
อนิจจา วาตะ สังขารา สังขารทั้งหลายเป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้นไม่เที่ยงหนอ
อุปาทะ วะระธัมมิโน มีเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา
อายุกุชยัง สังฆังวันทามื (กล่าว 3 ครั้ง)





      บรรณศาลาศิตยาถวาย เป็นศาลาหลังเล็กๆ สร้างขึ้นคล้ายกับกุฎิหลวงพ่อเกษม กำแพงและผนังจะมีคำสั่งสอนของหลวงพ่อเขียนเอาไว้ มีรูปของหลวงพ่อสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่หลายรูป







             ตามตำนานทางพระพุทธศาสนา เชื่อกันว่า ในอดีตชาติ ท้าวเวสสุวรรณ เคยเป็นพราหมณ์ เปิดโรงงานค้าขายหีบอ้อยจนร่ำรวย ด้วยความใจบุญจึงได้นำเงินทองไปบริจาคให้ผู้ยากไร้ และด้วยกุศลผลบุญที่ ท้าวเวสสุวรรณ บำเพ็ญมานับหลายพันปี พระพรหม และ พระอิศวร จึงให้พรแก่ ท้าวเวสสุวรรณ ให้เป็นอมตะ และเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติทั่วปฐพี เป็นเทพแห่งความร่ำรวย ดังนั้นผู้คนจึงนิยมจำหลักรูป ท้าวเวสสุวรรณ ไว้เคารพบูชาเพื่อความมั่งคั่งอีกหนึ่งประการ ตรงตามความหมายของชื่อ "ท้าวเวสสุวรรณ" คือ คำว่า "เวส" แปลว่า พ่อค้า  จึงหมายถึงพ่อค้าอันมีทรัพย์ ได้แก่ ทองคำ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น