วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สกุลกล้วยไม้ที่ปลูกเป็นไม้มงคล

1. แพฟิโอเพดิลั่ม                : Paphiopedilum Slipper orchid
        ชื่อวิทยาศาสตร์           : Paphiopedilum sp.
         วงค์                           : ORCHIDACEAE
         ชื่ออื่น                        : รองเท้านารี

กล้วยไม้รองเท้านารี (Lady’s Slipper) เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต ในภาษามาเลเซีย อันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอก หรือที่เรียกว่า “กระเป๋า” มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
กล้วยไม้รองเท้านารี มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทยซึ่งพบกล้วยไม้รองเท้านารีขึ้นอยู่ในป่าทั่วๆ ไป บางชนิดเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวกที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหินที่มีต้นไม้ใบหญ้าเน่าตายทับถมกัน เจริญงอกงามในที่โปร่ง ไม่ชอบที่รกทึบ แสงแดดส่องถึง
รองเท้านารี เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอเช่นเดียวกับ หวาย คัทลียา และซิมบิเดียม ต้นที่แท้จริงเรียกว่า ไรโซม (เหง้า) ต้นหนึ่งหรือกอหนึ่งจะประกอบด้วยต้นย่อยหลายต้น รากออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักจะทอดไปทางด้านราบมากกว่าหยั่งลึกลงไป หน่อใหม่จะแตกจากตาที่โคนต้นเก่า มีลำต้นสั้นมาก แต่ไม่มีลำลูกกล้วย ใบมีขนาดรูปร่างต่างกันไป บางชนิดมีใบยาว บางชนิดใบตั้งชูขึ้น บางชนิดใบทอดขนานกับพื้น บางชนิดใบมีลาย บางชนิดใบไม่มีลายแต่เป็นสีเดียวเรียบๆ การออกดอกจะออกที่ยอด มีทั้งชนิดออกดอกเป็นดอกเดี่ยว และออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกชั้นนอกกลีบบนมีขนาดใหญ่สะดุดตา ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะเชื่อมติดกันและมีขนาดเล็กลงจนส่วนปากบังมิดหรือเกือบมิด กลีบคู่ในซึ่งมีลักษณะเหมือนกันกางออกไปทั้ง 2 ข้างซ้ายขวาของดอก ส่วนกลีบในกลีบที่ 3 จะเปลี่ยนเป็น “กระเปาะ” คล้ายรูปรองเท้า กระเปาะนี้มีหน้าที่รับน้ำฝนตกลงไปเพื่อชะล้างเกสรตัวผู้ไปตัดกับแผ่นเกสรตัวเมีย กล้วยไม้สกุลนี้จะมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน แต่จะมีเส้าเกสรแตกต่างจากกล้วยไม้ทั่วๆ ไป คือ ที่ปลายสุดของเส้าเกสร แทนที่จะเป็นอับเรณูกลับเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งทางพฤกษาศาสตร์ถือเป็นเกสรที่เปลี่ยนรูปร่างไปใช้การไม่ได้ เรียกส่วนนี้ว่า “สตามิโนด” สำหรับเกสรตัวผู้ที่ใช้การได้มีอยู่ 2 ชุด โดยจะอยู่ถัดต่ำลงมาทั้ง 2 ข้างของเส้าเกสรข้างละ 1 ชุด ในแต่ละชุดจะมีอับเรณูลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ 2 อัน ถัดต่ำลงมาจากส่วนนี้อีกจะเป็นยอดเกสรตัวเมียซึ่งเป็นแอ่งลึกลงไปยึดติดกับเส้าเกสร (ปกติส่วนนี้จะถูกหูกระเป๋าโอบหุ้มเอาไว้จนมิด) ภายในมีน้ำเมือกเหนียวสำหรับยืดเกสรตัวผู้ที่ตกลงไปในแอ่ง รังไข่อยู่ตรงส่วนของก้านดอก ภายในรังไข่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นไข่อ่อน จนกระทั่งผสมเกสรแล้วจึงเกิดไข่อ่อนในรังไข่ รังไข่จะกลายเป็นฝักเมื่อฝักแก่จะแตกเมล็ดสามารถเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ได้
กล้วยไม้รองเท้านารี (Lady’s Slipper) เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต ในภาษามาเลเซีย อันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอก หรือที่เรียกว่า “กระเป๋า” มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
กล้วยไม้รองเท้านารี มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทยซึ่งพบกล้วยไม้รองเท้านารีขึ้นอยู่ในป่าทั่วๆ ไป บางชนิดเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวกที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหินที่มีต้นไม้ใบหญ้าเน่าตายทับถมกัน เจริญงอกงามในที่โปร่ง ไม่ชอบที่รกทึบ แสงแดดส่องถึง
รองเท้านารี เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอเช่นเดียวกับ หวาย คัทลียา และซิมบิเดียม ต้นที่แท้จริงเรียกว่า ไรโซม (เหง้า) ต้นหนึ่งหรือกอหนึ่งจะประกอบด้วยต้นย่อยหลายต้น รากออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักจะทอดไปทางด้านราบมากกว่าหยั่งลึกลงไป หน่อใหม่จะแตกจากตาที่โคนต้นเก่า มีลำต้นสั้นมาก แต่ไม่มีลำลูกกล้วย ใบมีขนาดรูปร่างต่างกันไป บางชนิดมีใบยาว บางชนิดใบตั้งชูขึ้น บางชนิดใบทอดขนานกับพื้น บางชนิดใบมีลาย บางชนิดใบไม่มีลายแต่เป็นสีเดียวเรียบๆ การออกดอกจะออกที่ยอด มีทั้งชนิดออกดอกเป็นดอกเดี่ยว และออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกชั้นนอกกลีบบนมีขนาดใหญ่สะดุดตา ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะเชื่อมติดกันและมีขนาดเล็กลงจนส่วนปากบังมิดหรือเกือบมิด กลีบคู่ในซึ่งมีลักษณะเหมือนกันกางออกไปทั้ง 2 ข้างซ้ายขวาของดอก ส่วนกลีบในกลีบที่ 3 จะเปลี่ยนเป็น “กระเปาะ” คล้ายรูปรองเท้า กระเปาะนี้มีหน้าที่รับน้ำฝนตกลงไปเพื่อชะล้างเกสรตัวผู้ไปตัดกับแผ่นเกสรตัวเมีย กล้วยไม้สกุลนี้จะมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน แต่จะมีเส้าเกสรแตกต่างจากกล้วยไม้ทั่วๆ ไป คือ ที่ปลายสุดของเส้าเกสร แทนที่จะเป็นอับเรณูกลับเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งทางพฤกษาศาสตร์ถือเป็นเกสรที่เปลี่ยนรูปร่างไปใช้การไม่ได้ เรียกส่วนนี้ว่า “สตามิโนด” สำหรับเกสรตัวผู้ที่ใช้การได้มีอยู่ 2 ชุด โดยจะอยู่ถัดต่ำลงมาทั้ง 2 ข้างของเส้าเกสรข้างละ 1 ชุด ในแต่ละชุดจะมีอับเรณูลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ 2 อัน ถัดต่ำลงมาจากส่วนนี้อีกจะเป็นยอดเกสรตัวเมียซึ่งเป็นแอ่งลึกลงไปยึดติดกับเส้าเกสร (ปกติส่วนนี้จะถูกหูกระเป๋าโอบหุ้มเอาไว้จนมิด) ภายในมีน้ำเมือกเหนียวสำหรับยืดเกสรตัวผู้ที่ตกลงไปในแอ่ง รังไข่อยู่ตรงส่วนของก้านดอก ภายในรังไข่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นไข่อ่อน จนกระทั่งผสมเกสรแล้วจึงเกิดไข่อ่อนในรังไข่ รังไข่จะกลายเป็นฝักเมื่อฝักแก่จะแตกเมล็ดสามารถเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ได้

2. คัทลียา                        : Cattleya
         ชื่อวิทยาศาสตร์         : Cattleya hybrids.
         วงค์                        : ORCHIDACEAE
         ชื่ออื่น                     : ราชินีกล้วยไม้

แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ เนื่องจากแคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่มีดอกขนาดใหญ่ที่สุดและสีสวยงามที่สุดบางชนิดมีกลิ่นหอม และถือกันว่าแคทลียาเป็น ราชินีแห่งกล้วยไม้ และเป็นสัญลักษณ์สากลของกล้วยไม้ทั่วไป
แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ตอนเหนือ เป็นกล้วยไม้ที่เจริญเติบโตและมีรูปทรงแบบซิมโพเดี้ยล คือมีเหง้าแนบไปตามเครื่องปลูก เหง้าอาจจะมีทั้งยาวและสั้น มีรากงอกเจริญจากเหง้า ไม่มีรากแขนง เป็นระบบรากกึ่งอากาศดูดอาหารจากอากาศและเครื่องปลูก แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วย มีหลายลักษณะ บางชนิดลำลูกกล้วยเป็นข้อปล้อง รูปทรงของลำป่องตรงกลางหรือค่อนไปข้างบนของลำเล็กน้อย มีหน้าที่เก็บสะสมอาหาร เหนือข้อที่โคนลำจะมีตา 2 ตา คือตาซ้าย และตาขวา เป็นตาแตกลำใหม่ง่ายที่สุด บางชนิดที่ลำลูกกล้วยอ้วนป้อม บางชนิดเป็นรูปทรงกระบอกหรือบิดเป็นเกลียวเล็กน้อย ผิวพื้นของลำอาจเกลี้ยงหรือเป็นร่องตามความยาวของลำ เมื่อกล้วยไม้เจริญเติบโต ลำที่ 1 หรือเรียกว่าลำหลัง จะแตกตาออกแล้วเจริญเป็นลำที่ 2 หรือเรียกว่าลำหน้า เมื่อลำที่ 2 เจริญดีแล้วก็จะแตกตาออกเป็นลำที่ 3 และที่ 4 ออกไปเรื่อยๆ บางครั้งตาแตกออกเป็น 2 ทางเรียกว่า ไม้ 2 หน้า จึงทำให้ดูเป็นกอใหญ่ โดยมีเหง้าเป็นส่วนที่เชื่อมโยงของลำลูกกล้วยลำต่อลำ และเป็นส่วนของลำที่เจริญออกจากลำเดิม
แคทลียามีใบเกิดที่ส่วนปลายลำลูกกล้วยเท่านั้น ในลำใหม่ที่กำลังเจริญใบส่วนมากแบน แต่บางชนิดใบกลมรูปทรงกระบอก ใบอาจมีหรือไม่มีกาบ รูปลักษณะค่อนข้างหนาแข็ง แต่ไม่เปราะ ลำลูกกล้วยลำหนึ่งอาจจะมีใบเพียงใบเดียวหรือสองใบก็ได้ ลักษณะของใบใช้ในการแบ่งประเภทของกล้วยไม้สกุลแคทลียา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  • ประเภทใบเดี่ยว เป็นแคทลียาประเภทที่ปลายลำลูกกล้วยมีใบเพียงใบเดียวเท่านั้น แคทลียาประเภทนี้มักออกดอกน้อย ช่อหนึ่งอาจมีเพียง 1 หรือ 2 ดอกเท่านั้น ลักษณะดอกใหญ่ ช่อดอกสั้น
  • ประเภทใบคู่ เป็นแคทลียาประเภทที่ลำลูกกล้วยมี 2 ใบ อาจจะมีใบถึง 3 ใบก็ได้ แคทลียาประเภทนี้จะออกดอกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีหลายดอก ดอกเล็กช่อยาว
แคทลียาออกดอกที่ปลายลำลูกกล้วย เมื่อออกดอกจะออกลำหน้าซึ่งเมื่อมีลำหน้าหลายลำเวลาออกดอกจะออกดอกทีละมากๆ บางครั้งอาจมีถึง 10 ช่อ การออกดอกในแต่ละช่อ ช่อดอกหนึ่งๆ อาจมีดอกเพียง 1 ดอก, 2 ดอก, 3 ดอก หรือบางชนิดอาจมีถึง 10 ดอกก็ได้ ลักษณะของกลีบดอกมีกลีบนอก 3 กลีบ อยู่ข้างบน 1 กลีบ ข้างล่าง 2 กลีบ ขนาดเท่าๆ กัน กลีบในมี 3 กลีบ กลีบใน 2 กลีบบนมีรูปร่างเหมือนกัน โดยปกติมีขนาดใหญ่กว่ากลีบนอก กลีบในที่ 3 อยู่ที่ตอนล่างมีรูปร่างไม่เหมือนกับกลีบในบน กลีบจะม้วนทั้ง 2 ข้างเรียกว่า ปาก หรือ กระเป๋า ปากมีหูกว้าง ริมปากหยักเป็นคลื่นและมีสีเข้มกว่าส่วนอื่นๆ ภายในปากมีเส้นเกสรค่อนข้างยาวและโค้งเล็กน้อยยื่นออกมา แคทลียามีเกสรตัวผู้อยู่ตอนปลายเส้าเกสรเป็นคู่มี 2 คู่ เกสรตัวเมียอยู่ตอนล่าง เส้าเกสรนี้เป็นที่รวมของอวัยวะตัวเมียซึ่งมีรังไข่อยู่ติดกับเส้าเกสรด้านล่างเห็นเป็นลักษณะคอดเล็กยาวชัดเจนเมื่อติดฝัก ซึ่งฝักนี้จะมีเมล็ดเป็นผงเล็กมากอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก เมื่อแก่จัดฝักก็จะแตกและเมล็ดจะแพร่กระจายปลิวไปตกยังที่ต่างๆ เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะงอกเจริญเป็นต้นใหม่และขยายพันธุ์ต่อไปตามวงจรชีวิตธรรมชาติ

3. แวนด้า                           : Vanda
         ชื่อวิทยาศาสตร์          : Vanda Teres.
         วงค์                           : ORCHIDACEAE
         ชื่ออื่น                        : ฟ้ามุ้ย เอื้องโมกข์

ในปี 1795 แวนด้า (Vanda) ได้ใช้เป็นชื่อสกุลของกล้วยไม้สกุลแวนด้าเป็นครั้งแรก ซึ่งตั้งเพื่อเป็นเกียรติ์แด่นักวิจัยชื่อ Sir William Jones ที่ศึกษาเกี่ยวกับทวีปเอเชีย คำว่าแวนด้ามีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต ที่เรียกไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นเกาะอยู่บนต้นไม้ใหญ่ในแถบประเทศอินเดีย ต่อมาในปี 1820 Dr. Robert Brown ได้ใช้คำว่าแวนด้าเป็นชื่อของสกุล (Genus) กล้วยไม้ในกลุ่มแวนด้า ซึ่งใช้อธิบายชนิดของกล้วยไม้ที่มีลักษณะเดียวกันกับ Vanda tessellata (สามปอยอินเดีย)
กล้วยไม้ในสกุลแวนด้ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ประเทศกลุ่มอินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และแถบตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย โดยทั่วไปแล้วในธรรมชาติกล้วยไม้ในกลุ่มแวนด้า (Vandaceous) มักจะพบอยู่ในเขตร้อนชื้น (Topical) และอยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 1,700 ฟุต (500 เมตร) แต่ก็มีกล้วยไม้อีกหลายชนิดในกลุ่ม Vandaceous ที่สามารถเจริญเติบโตได้ในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส กล้วยไม้ในกลุ่มของแวนด้าหรือ Vandaceous เช่น Aerides, Angraecum, Ascocentrum, Euanthe, Gastrochilus, Neofinetia, Papilionanthe, Plectrelminthus, Renanthera, Rhynchostylis, Saccolabium, Sarcanthus, Trichoglottis, Vanda, Vandopsis รวมไปถึงกล้วยไม้ลูกผสมสกุล Aranda, Ascocenda และ Mokara เป็นต้น   
 กล้วยไม้ในสกุลแวนด้า จะมีลำต้นเดี่ยวและเจริญเติบโตออกทางยอดหรือที่เรียกว่าโมโนโพเดียม (Monopodial) โดยลำต้นจะแตกใบออกสองข้างตรงข้ามกันและยอดจะเจริญขึ้นข้างบนไปไม่มีที่สิ้นสุด มีช่อดอกตั้งหรือค่อนข้างตั้ง ก้านช่อดอกยาวและแข็ง ส่วนมากดอกค่อนข้างใหญ่และมักบานทน กลีบดอกชั้นนอกและชั้นในมีขนาดไล่เลี่ยกัน แผ่นกลีบดอกโตแต่โคนกลีบคอด ปากมีเดือยสั้นๆ การจำแนกแวนด้า อาจอาศัยรูปร่างลักษณะของใบเป็นหลัก ซึ่งจำแนกได้เป็น 4 ประเภทคือ 
                1. แวนด้าใบกลม (Terete leaved) แวนด้าประเภทนี้จะมีใบกลมยาวทรงกระบอก ต้นสูง ข้อห่าง เช่น เอื้องโมก (V. teres) แวนด้าฮุกเกอเรียนา (V. hookeriana) ไอ้หนวด (V. tricuspidata) ส่วนลูกผสมของแวนด้าใบกลม เช่น แวนด้า โจคิม (V. Miss Joaquim) เป็นลูกผสมระหว่าง แวนด้า ฮุกเกอเรียนา กับเอื้องโมก นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก เพราะเลี้ยงง่าย ออกดอกเก่ง
2. แวนด้าใบแบน (Strap leaved) แวนด้าประเภทนี้มีใบแผ่แบนออก หน้าตัดของใบจะเป็นรูปตัววี มีข้อถี่ ปล้องสั้น จะเห็นใบซ้อนชิดกัน ปลายใบมักจะโค้งลงมา และปลายใบจะมีจักเป็นแฉก เช่น
- ฟ้ามุ่ย (Vanda coerulea)
- ฟ้ามุ่ยน้อย (Vanda coerulescens)
- สามปอยนก (Vanda brunnea ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น V. liouvillei)
- สามปอยชมพู (Vanda bensonii)
- สามปอยดินเดีย (Vanda tessellata)
- สามปอย (Vanda denisoniana) ซึ่งชนิดนี้ดอกมีสีแตกต่างกันไป จึงเรียกต่างกันไปคือ
        สามปอยขุนตาล ดอกมีสีเหลืองนวล เหลืองอมเขียว หรือขาวอมเขียว
        สามปอยดง ดอกมีพื้นสีน้ำตาล หรือมีลายร่างแห สีน้ำตาล
        สามปอยหลวง ดอกมีสีเหลืองหรือเหลืองอมน้ำตาล มีลายร่างแหและมีกลิ่นหอม
- แวนด้าแซนเดอเรียนา (Vanda sanderiana)
- เข็มขาว (Vanda lilacina)
- เข็มเหลือง (Vanda testacea)
- สะแล่ง (Vanda pumila)
3 . แวนด้าก้างปลา (Semi-terete leaved) เป็นแวนด้าที่มีรูปทรงของใบและลำต้น กึ่งใบกลมกับใบแบน พบในธรรมชาติน้อยมาก เท่าที่พบมี 2 ชนิด ได้แก่ แวนด้า อะเมสเซียนา (Vanda amesiana) และแวนด้า คิมบาลเลียนา (Vanda kimballiana) ซึ่งกล้วยไม้สองชนิดนี้เป็นหมัน เข้าใจว่าน่าจะเป็นลูกผสมป่า (natural hybrid) ไม่ใช่ชนิดแท้ (species)  
อย่างไรก็ตามแวนด้าก้างปลามนุษย์ก็ได้นำแวนด้าใบกลมผสมกับแวนด้าใบแบน ได้สายพันธุ์ใหม่ เช่น
- แวนด้า เอ็มมา แวน ดีเวนเตอร์ (Vanda Emma van Deventer) เป็นลูกผสมระหว่าง V. tricolor กับเอื้องโมก
- แวนด้า มาเจสติก (V. Magestic) ลูกผสมระหว่างฟ้ามุ่ยกับเอื้องโมก
- แวนด้า โจเซฟิน แวน เบอโร (Vanda Josephine van Brero) ลูกผสมระหว่าง V. insignis กับเอื้องโมก
4 . แวนด้าใบร่อง (Quarter-terete leaved) เป็นแวนด้าที่มีรูปทรงของใบและลำต้นค่อนข้างไปทางแวนด้าใบแบน ไม่พบในธรรมชาติ ที่ปลูกเลี้ยงกันเป็นลูกผสมทั้งหมด โดยนำแวนด้าก้างปลามาผสมกับแวนด้าใบแบน ตัวอย่างเช่น
- แวนด้า เจ้าพระยา (Vanda Chao Phraya) ลูกผสมระหว่าง แวนด้า เอมมา แวน ดีเวนเตอร์ กับแวนด้า อะลิเซีย โอโน
- แวนด้า ทีเอ็มเอ (Vanda T.M.A.) ลูกผสมระหว่างแวนด้าโจเซฟิน แวน เบอโร กับ แวนด้าแซนเดอเรียนา
- แวนด้า บลูมูน (Vanda Blue Moon) ลูกผสมระหว่างแวนด้าโจเซฟิน แวน เบอโร กับฟ้ามุ่ย
- แวนด้า หว่อง โป นี (Vanda Wong Poh Nee) ลูกผสมระหว่างแวนด้าโจเซฟิน แวน เบอโร กับสามปอยอินเดีย
- แวนด้า ตันชยัน (Vanda Tan Chay Yan) ลูกผสมระหว่างแวนด้าโจเซฟิน แวน เบอโร กับแวนด้าเดียริไอ

4. เด็นโดรเบี้ยม                 : Dendrobium
         ชื่อวิทยาศาสตร์          : Dendrobium.
         วงค์                           : ORCHIDACEAE
         ชื่ออื่น                        : หวาย

กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งในทวีปเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหมู่ประมาณ 20 หมู่ และรวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้วได้ประมาณ 1,000 ชนิดพันธุ์
กล้วยไม้สกุลหวาย มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบซิมโพเดียล คือ มีลำลูกกล้วย เมื่อลำต้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะแตกหน่อเป็นลำต้นใหม่และเป็นกอ ใบแข็งหนาสีเขียว ดอกมีลักษณะทั่วไปของกลีบชั้นนอกคู่บนและคู่ล่างขนาดยาวพอๆ กันโดยกลีบชั้นนอกบนจะอยู่อย่างอิสระเดี่ยวๆ ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะมีส่วนโคน ซึ่งมีลักษณะยื่นออกไปทางด้านหลังของส่วนล่างของดอกประสานเชื่อมติดกับฐานหรือสันหลังของเส้าเกสร และส่วนโคนของกลีบชั้นนอกคู่ล่างและส่วนฐานของเส้าเกสรซึ่งประกอบกันจะปูดออกมา มีลักษณะคล้ายเดือยที่เรียกว่า เดือยดอกสำหรับกลีบชั้นในทั้งสองกลีบมีลักษณะต่างๆ กันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้นั้นๆ
กล้วยไม้หวายป่าของไทยมีสีสวยงาม ก้านช่อสั้น สำหรับกล้วยไม้สกุลหวายที่เป็นกล้วยไม้อยู่ในป่าของไทย มีหลายชนิดอันได้แก่พวก เอื้องต่างๆ เช่น  เอื้องผึ้ง  เอื้องม่อนไข่, เอื้องม่อนไข่ใบมน  เหลืองจันทบูร  พวงหยก, หวายปม  เอื้องช้างน้าว, เอื้องคำตาควาย  เอื้องมัจฉาณุ  เอื้องเงินหลวง  เอื้องเงิน  เอื้องเงินแดง  เอื้องมะลิ, แส้พระอินทร์  เอื้องสายประสาท, เอื้องสายน้ำผึ้ง  เอื้องเก๊ากิ่วแม่สะเรียง, เอื้องไม้ตึง  เอื้องแปรงสีฟัน  เอื้องสายหลวง, เอื้องสาย  เอื้องครั่ง  เอื้องคำ  แววมยุรา
 5. แอริดิส                           : Aerides
         ชื่อวิทยาศาสตร์          : Aerides
         วงค์                           : ORCHIDACEAE
         ชื่ออื่น                        :เอื้องกุหลาบ หนวดพราหมณ์

กล้วยไม้ชนิดนี้ มีชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่ เอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด เอื้องกุหลาบป่า เอื้องกุหลาบพวง เอื้องด้ามข้าว และเอื้องปากเป็ด เอื้องกุหลาบเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ และป่าชายหาด ลำต้นค่อนข้างยาว ใบแคบยาว เรียงสลับซ้ายขวาของต้นปลายใบหยักเว้าไม่เท่ากัน รากยาวเกาะแนบต้นหรือกิ่งของต้นไม้ที่อาศัย ยอดมีการเจริญต่อไปได้เรื่อยๆ ส่วนโคนที่แก่ค่อยๆ ตายไป มีการสร้างกิ่งใหม่ไกลจากยอด ช่อดอกออกจากซอกใบ ช่อห้อยลง ดอกเรียงสลับเป็นจังหวะ ค่อนข้างโปร่งทั้งช่อยาว ๒๐-๓๐ ซม. ดอกบานจากโคนช่อไปสู่ปลายช่อ ดอกบานในหน้าร้อนประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม สีขาวอมชมพูม่วง กลีบปากส่วนปลายกว้าง ขอบด้านข้างมักจะม้วนลง เส้าเกสรคล้ายส่วนหัวของนก ปลายเป็นจงอยแหลม
เอื้องกุหลาบเป็นกล้วยไม้ที่มีกลิ่นหอมเย็นคล้ายกุหลาบ มีช่วงดอกบานประมาณ ๑ อาทิตย์ ออกดอกปีละครั้ง เป็นกล้วยไม้ที่สวยงาม ปลูกเลี้ยงได้ง่าย ให้ดอกได้ดีในทุกภาคของประเทศ  ในธรรมชาติมักพบขึ้นเป็นกอบนคาคบไม้ใหญ่  ถ้าปลูกเลี้ยงให้น้ำอุดมสมบูรณ์ ต้นมักจะยาวและห้อยลง
เอื้องกุหลาบอีกชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอมคล้ายกัน คือ เอื้องกุหลาบกระเป๋าปิด (Aeridesodorata Lour.) มีลักษณะต่างจากชนิดแรกตรงปลายกลีบปาก ซึ่งมีขนาดเล็ก และพับกลับไปจรดกับขอบปีกของกลีบปาก คลุมส่วนของเส้าเกสร เอื้องกุหลาบชนิดนี้มีสีขาว หรือขาวอมชมพูเล็กน้อย
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น