วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

มาดูประวัติของผ้าไหมไทยกันเถอะ

                    ผ้าไหมไทย


 ประวัติ

ผ้าไหมมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและประเทศอินเดีย การทอผ้าไหมมีขึ้นราว 2,640 ปี ก่อนคริสตกาล พ่อค้าชาวจีนได้เผยแพร่ผ้าไหมสู่พื้นที่อื่นในแถบเอเชีย สำหรับประเทศไทยนักโบราณคดีพบหลักฐานที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงซึ่งบ่งชี้ว่ามีการใช้ผ้าไหมเมื่อ 3,000 ปีก่อน

การทอผ้าไหมในประเทศไทยในอดีตมีการทำกันในครัวเรือนเพื่อใช้เอง หรือทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธี เช่น งานบุญ งานแต่งงาน ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ส่งเสริมให้ใช้ผ้าไหม ส่วนการปลูกหม่อนเพื่อเลี้ยงไหมได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น แต่การดำเนินงานของโครงการก็ทำได้เพียงระยะหนึ่งมีอันต้องหยุดไป เนื่องจากเกษตรกรไทยยังคงทำในลักษณะแบบเดิมเพราะความเคยชิน ไม่ตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่แบบใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากความช่วยเหลือของญี่ปุ่น

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของผ้าไหมไทยขึ้น โดย เจมส์ แฮร์ริสัน วิสสัน ทอมป์สัน ชาวสหรัฐอเมริกาหรือที่คนไทยรู้จักในนามว่า จิม ทอมป์สัน ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความสนใจผลงานด้านศิลปะ ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย รวมทั้งลาว และเขมร จิม ทอมป์สัน ได้ซื้อผ้าไหมไทยลวดลายต่างๆ เก็บสะสมไว้ และทำการศึกษาลวดลายผ้าไหมในหมู่บ้านที่เป็นแหล่งการผลิตผ้าไหม พร้อมกับเสาะแสวงหาช่างทอผ้าไหมฝีมือดี ในที่สุดได้พบช่างมีฝีมือถูกใจที่กรุงเทพมหานคร บริเวณชุมชนบ้านครัว (หลังโรงแรมเอเชีย เขตราชเทวีในปัจจุบัน)
ชุมชนแห่งนี้เดิมเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายเขมร อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีความชำนาญในการทอผ้าไหม ซึ่ง จิม ทอมป์สัน ได้เข้ามาสนับสนุนให้ชาวบ้านในชุมชนทอผ้าไหม สามารถสร้างรายให้ชาวบ้านมากขึ้น หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงผ้าไหมไทยโดยใช้หลักการตลาด การผลิต เพื่อขยายตลาด และทำการบุกเบิกผ้าไหมของไทยไปสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และแพร่เข้าสู่วงการภาพยนตร์ของชาติตะวันตก และ ละครบรอดเวย์
ในปี พ.ศ. 2502 นักออกแบบชาวฝรั่งเศสได้ใช้ผ้าไหมไทยทำการออกแบบและตัดเย็บฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ครั้งเสด็จเยือนประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ ถือได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสผ้าไหมของไทยสู่ตลาดต่างประเทศ

ระดับคุณภาพ

ในปัจจุบันมีการนำเข้าวัตถุดิบเส้นไหม และเส้นใยสังเคราะห์จากต่างประเทศ ทั้งมีการนำเข้าถูกกฎหมายและลักลอบนำเข้าแบบผิดกฎหมาย ทำให้วัตถุเส้นไหมจึงมีทั้งคุณภาพได้มาตรฐานและคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานทำให้ผ้าไหมไทยมีคุณภาพต่ำลง กระนั้นผู้ผลิตก็ยังคงใช้ตราสัญลักษณ์ว่า "ผ้าไหมไทย" หรือ "Thai Silk" เพื่อการค้า ยังผลให้ผู้ซื้อทั้งของประเทศไทยและตลาดต่างประเทศไม่มั่นใจในคุณภาพของผ้าไหมไทย จากปัญหาดังกล่าวสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงมีกระแสพระราชดำรัสให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปดำเนินการวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางการแก้ไข
ปี พ.ศ. 2545 หน่วยงานซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับผ้าไหมไทย เช่น กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (หน่วยงานเดิมของกรมหม่อนไหม) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถร่วมกันจัดสัมมนาหาแนวทางแก้ไขจนได้ข้อสรุปเป็นมาตรการคุ้มครองไหมไทยและออกข้อบังคับในการผลิตผ้าไหมไทยโดยออกตราสัญลักษณ์รับรองคุณภาพผ้าไหมไทยไว้เป็นระดับต่างๆ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญลักษณ์นกยูงไทย ให้เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพสำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยไว้ 4 ชนิด
  • นกยูงสีทอง (Royal Thai Silk) เป็นผ้าไหมชึ่งผลิตจากวัตถุดิบ เส้นไหม กระบวนการผลิตแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยอย่างแท้จริงและใช้เส้นไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านเป็นทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน เส้นไหมจะต้องสาวเส้นด้วยมือผ่านพวงสาวลงภาชนะ การทอด้วยกี่ทอมือแบบพื้นบ้านชนิดพุ่งกระสวยด้วยมือ ย้อมด้วยสีธรรมชาติ หรือสีเคมีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และต้องผลิตในประเทศไทย
  • นกยูงสีเงิน (Classic Thai Silk) เป็นผ้าไหมซึ่งผลิตขึ้นแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านผสมผสานกับการประยุกต์ใช้เครื่องมือและกระบวนการผลิตในบางขั้นตอน ใช้เส้นไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านหรือที่ได้รับการปรับปรุงจากพันธุ์ไทยเป็นเส้นพุ่งหรือเส้นยืน เส้นไหมต้องผ่านการสาวด้วยมือ หรืออุปกรณ์ที่ใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนขนาดไม่เกิน 5 แรงม้า การทอต้องทอด้วยกี่ทอมือชนิดพุ่งกระสวยด้วยมือหรือกี่กระตุก และต้องทำการผลิตในประเทศไทย
  • นกยูงสีน้ำเงิน (Thai Silk) เป็นผ้าไหมซึ่งผลิตด้วยภูมิปัญญาของไทยโดยการประยุกต์เทคโนโลยีการผลิตให้เข้ากับสมัยนิยมและทางธุรกิจธุรกิจ ใช้เส้นไหมแท้เป็นเส้นพุ่งและเส้นยืน ย้อมสีด้วยสีธรรมชาติ หรือสีเคมีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทอด้วยกี่แบบใดก็ได้ และต้องผลิตในประเทศไทย
  • นกยูงสีเขียว (Thai Silk Blend) เป็นผ้าไหมซึ่งผ่านกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาไทย เช่น ลวดลาย สีสัน ใช้เส้นใยไหมแท้กับเส้นใยอื่นที่มาจากวัสดุธรรมชาติ หรือเส้นใยสังเคราะห์ต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน หรือตามความต้องการของผู้บริโภค เส้นไหมแท้เป็นองค์ประกอบหลัก มีเส้นใยอื่นเป็นส่วนประกอบรอง สัดส่วนการใช้เส้นใยชนิดอื่นประกอบต้องระบุให้ชัดเจน ทอด้วยกี่ชนิดใดก็ได้ ย้อมสีด้วยสีธรรมชาติ หรือสีเคมีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และต้องผลิตในประเทศไทย
  • การส่งออก

    มูลค่าการส่งผ้าไหมไทยไปต่างประเทศในปี พ.ศ. 2553 มูลค่าการส่งออกผ้าไหมของไทยมีประมาณ 683 ล้านบาท ตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดผ้าไหมใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของผ้าไหมไทย
  •       
  •              ตัวอย่างผ้าไหมชนิดต่างๆ
  • ผ้ายก
    เป็นผ้าไหมที่ทอยกลายในตัว โดยใช้เส้นพุ่งพิเศษเป็นดิ้นเงินดิ้นทอง ทอกันแพร่หลายในภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูนและภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่รู้จักกันแพร่หลายในชื่อของ “ไหมพุมเรียง” 

          
    ผ้ายกลำพูน
    ผ้าไหมลายนี้มาจากจังหวัดลำพูนที่ทำขึ้นมาเพื่อให้พันรอบเอวเป็นผ้าถุงที่เรียกว่า “นานาง” ซึ่งใช้สวมใส่ประเพณีในราชวงศ์สยามรูปแบบนี้มีใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาในศตวรรษที่ 14 ในระหว่างการทอผ้านี้จะใช้ทั้งไหม และทองมาทอร่วมกัน

          
    ผ้ายกพุมเรียง
    ใช้เป็นผ้าถุงจับจีบรอบเอวในยุคศตวรรษที่ 14 ที่เรียกว่า “นานาง” ผ้าไหมที่ทำขึ้นมาจากตำบลภูมิเรียง จังหวัดสุราษฏร์ธานีทอด้วยไหมสีทองหรือเงิน เป็นสีพื้น ซึ่งทำให้มองดูแล้วโดดเด่นมีความรู้สึกที่มีค่า ลวดลายสลับซับซ้อนที่ทำขึ้นนั้นใช้สัดส่วนของเส้นไหมน้อยลง

        
    ผ้ายกเมืองนคร
    ผ้าไหมลายนี้มาจากจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ทำขึ้นมาเพื่อให้พันรอบเอวเป็นผ้าถุงที่เรียกว่า “นานาง” ซึ่งใช้สีทองทอเป็นลายดอกเป็นรูปแบบโบราณ เทคนิคในการออกแบบขอบด้านล่างเป็นทรงกรวย และมีรายละเอียดที่ซับซ้อนและปราณีต


     ผ้าจก 
    เป็นผ้าที่ใช้วิธีการเก็บและทอเช่นเดียวกับผ้าขิด แต่มีการทำลวดลายด้วยการเพิ่มเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปเป็นช่วงๆไม่ติดต่อกันทำให้สามารสลับสีและลวดลายได้ต่างๆกัน ลักษณะผ้าจึงมีสีสันและลวดลายมากกว่าผ้าที่มีการทำขิดแหล่งผลิตผ้าจกที่มีชื่อเสียง ได้แก่ สุโขทัย เชียงใหม่ ราชบุรี อุตรดิตถ์ ผ้าที่มีการทำขิดหรือจกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก เช่น ผ้ากาบบัว ซึ่งเป็นผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี 

          
    ผ้าตีนจกลาวครั่ง
    ผ้าซิ่นตีนจกลาวครั่งที่เห็นนางแบบสวมใส่อยู่นั้นมาจากคนลาวครั่งที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี         ภาคกลางของประเทศ ซึ่งลักษณะของผ้าตีนจกลาวครั่งจะเต็มไปด้วยสีสันลวดลายทรงเรขาคณิตผ้าไหมตีนจกลาวครั่งเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของเนื้อผ้าที่ใช้กรรมวิธีแบบจก

          
    ผ้าตีนจกไทยวน
    แสดงลักษณะดั้งเดิมของผ้าตีนจกไทยวนจากหมู่บ้านคูบัว จังหวัดราชุบรี สีที่โดดเด่นจะเป็นโทนสีแดงเข้มสลับด้วยสีของเส้นไหมแนวนอน เช่น สีขาว, เหลือง,ส้ม และดำ ทำให้เป็นผ้าลายตีนจกที่สวยงาม

          
    ผ้าตีนจกลาวพรวน
    ผ้าไหมตีนจกจากลาวพรวนที่ทำกันในจังหวัดอุตรดิตถ์ และสุโขทัยเป็นผ้าไหมตีนจกที่ทอขึ้นด้วยความประณีต ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญอย่างมากบริเวณด้านบนของผืนผ้าใช้จะใช้ทอด้วยไหมสีดำ และแดง ในขณะที่เนื้อผ้าส่วนใหญ่จะทอกลับไป-มา ที่เรียกทางเทคนิคว่า “ยกมัก” บริเวณส่วนปลายผ้าไหมจะทำเป็นลวดลายเรียกว่าจก โดยใช้ไหมสีเหลืองทอง

          
    ผ้าตีนจกไทยวน
    เป็นลายผ้าที่จัดทำขึ้นของคนเมือง กลุ่มไทวน จังหวัดเชียงใหม่ ผ้าซิ่นตีนจกตกแต่งไปด้วยลวดลายแบบต่างๆไหมที่ใช้ทอจะใช้ทอผสมผสานกับสีทอง-เงิน ผ้าไหมลายนี้จะใช้งานพิธีทางศาสนา ลักษณะพิเศษของผ้าลายนี้จะทอเป็นลวดกราฟฟิคโดยแนวนอนจะทอเป็นแถบๆตัดกับสีพื้นสีแดง


     ผ้าแพรวา 
    เป็นผ้าทอที่มีลักษณะลวดลายผสมกันระหว่างลายขิดและจกบนผืนผ้า “แพรวา” หมายถึง ผ้าที่มีความยาวประมาณวา เพื่อใช้เป็นสไบแพรวาเป็นผ้าซึ่งใช้ในงานพิธีต่างๆ ตามวัฒนธรรมของชาวภูไท เอกลักษณ์ดั้งเดิมจะมีสีแดงเป็นพื้นปัจจุบันได้มีการดัดแปลงลักษณะของผืนผ้าทั้งความกว้างและความยาวและใช้สีสันตามสมัยนิยม

          

    ผ้าแพรวาภูไท
    เป็นผ้าไหมจากปีนัง คนภูไทจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ทอขึ้นเรียกว่าผ้าไหมแพรวา ซึ่งใช้เป็นผ้าคลุมไหล่ โดยอาศัยเทคนิคผสมผสานกัน 3 รูปแบบในผืนผ้าที่ทำขึ้นเป็นลายผ้าทรงเรขาคณิต ผ้าไหมแพรวาที่มีคุณภาพจะมีความแตกต่างกันในแต่ละส่วนสีของเส้นไหมที่ใช้เป็นสีส้ม, ดำ และสีขาว ซึ่งจะติดกับสีแดงที่เป็นสีสันของผ้า 

     ผ้ามัดหมี่ 

    มีกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การมัดหมี่แพร่หลายทั่วไปทั้งภาคกลางและภาคเหนือ ส่วนใหญ่ผ้ามัดหมี่จะมัดเฉพาะเส้นไหมพุ่ง
    ผ้ามัดหมี่ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ผ้าหางกระรอก ผ้าโฮล ผ้าปูมผ้ามัดหมี่ แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ผ้า 2 ตะกอ และผ้า 3 ตะกอ มีลักษณะผ้าเนื้อแน่นและด้านหน้าเงางามกว่าด้านหลัง 

          
    ผ้ามัดหมี่อีสานเหนือ
    ผ้าไหมมัดหมี่เป็นลายผ้าที่ทำขึ้นแตกต่างกันไป ไหมเส้นยืนจะย้อมสีด้วยสีโทนเข้ม เป็นลายผ้าของคนไทยทางภาคอีสานเหนือ ลวดลายที่เฉพาะเป็นพวกสัตว์ป่าขึ้นอยู่กับแต่ละสภาพพื้นที่

           
    ผ้ามัดหมี่อีสานใต้
    เป็นผ้าไหมของคนอีสานใต้ ซึ่งสีส่วนใหญ่ออกโทนเข้มดำ ด้วยลายรูปทรงเขาคณิต ลักษณะของการทอเป็นลายมัดหมี่ลวดลายที่ทำขึ้นอยู่บนพื้นฐานของธรรมชาติในท้องถิ่นนั้น เป็นลายต้นไม้ หรือลายที่ออกแบบทางสถาปนิกเป็นคนขี่ม้า เป็นต้น

          
    ผ้าเบี่ยงขิด
    ผ้าสไบไหมหรือผ้าเบี่ยง(ผ้าพาดบ่า) เป็นผ้าไหมที่ทำขึ้นของคนภูไทที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุดรธานี และร้อยเอ็ด ลักษณะลายผ้าเป็นรูปทรงเรขาคณิตโดยทำเป็นแถบคู่ขนานกัน คุณภาพที่ดีที่สุดของผ้าสไบที่ออกแบบมานั้นจะไม่มีการทำซ้ำกัน


          
    ผ้าไหมเกาะหรือล้วง
    เป็นลายผ้าไหมที่ทอจากคนไทยลือที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ เช่น จังหวัดน่าน และพะเยา ลักษณะลายผ้า เรียกว่า ลายน้ำไหล ซึ่งหมายถึงเป็นลักษณะของสายน้ำไหล ลวดลายเรียบง่าย แต่ทำได้ยากยิ่ง ทำด้วยเทคนิคพิเศษที่สืบทอดกันมา ซึ่งอาศัยเวลานานการทำลวดลายโดยจะมีแถบลายแคบๆ บริเวณกึ่งกลางของผ้า


    ผ้าไหมพื้น  
    เป็นผ้าไหมที่ทอลายขัดโดยใช้เส้นยืน และเส้นพุ่มธรรมดาตลอดกันทั้งผืน ผ้าที่ออกมาจะเป็นผ้าสีพื้นเรียบไม่มีลายโดยใช้เส้นยืนและเส้นพุ่งเป็นสีเดียวกันหรือใช้สีต่างกันก็ได้ เป็นผ้าที่นิยมใช้กันทั่วไป ซึ่งผ้าไหมไทยที่ส่งออกต่างประเทศ

                               วิธีดูแลรักษาผ้าไหม



ผ้าไหมที่ซื้อมาใหม่

    ก่อนจะนำผ้าไหมไปตัดควรจะนำไปแช่น้ำหรืออบไอน้ำก่อนเพื่อให้ผ้าไหมอยู่ตัว

การตัดเย็บ                                                       
  ขั้นแรกให้จุ่มผ้าไหมลงในน้ำร้อน เพื่อไล่สีที่หลงเหลือหรือสีที่ไม่สามารถจับติดในเนื้อผ้าไหม
ให้ออกไป นอกจากนี้แล้วยังทำให้มีความงามเป็นประกายดีขึ้น หลังจากนั้นรีดผ้าไหมทางด้านหลังด้วยไฟอ่อน ๆ โดยพ่นน้ำเพียงเล็กน้อยก่อนรีดบาง ๆ เท่านั้น อย่าถึงกับให้เปียกเพราะถ้าเปียกอาจทำให้ผ้าเกิดเป็นจุดที่ไม่สวยงาม หลังจากนั้นแล้วจึงจัดเส้นลายผ้าให้ตรง แล้วจึงทำการตัดและเย็บด้วยเข็มและด้ายที่เหมาะสมกับคุณภาพของผ้า

การซักผ้าไหม 
   การทำความสะอาดผ้าไหมให้ใหม่อยู่เสมอ ควรซักด้วยน้ำยาซักแห้ง ชนิดอ่อน ถ้าเป็นน้ำยาซักแห้งที่ใช้กับผ้าไหมจะดีมาก ไม่ควรซักด้วยเครื่องซักผ้า เพราะจะทำให้ผ้าไหมยับและ รีดยาก ควรซักผ้าไหมด้วยมือด้วยความนุ่มนวล และไม่ควรขยี้หรือบิดผ้าแรงๆ เพราะจะทำให้ผ้าเสียทรง ไม่ควรแช่ไว้นานโดยเฉพาะ ผ้าสีสด หลังจากซักเสร็จแล้วควรสลัดผ้าไหมให้คลายตัวและไม่ย่นก่อนนำไปตาก เมื่อผ้าแห้งจะทำให้รีดผ้าไหมได้ง่ายขึ้น
การตากผ้าไหม
   การตากผ้าไหมควรตากในที่ร่ม หรือแดดอ่อนๆ เพื่อป้องกันสีซีดเนื่องจากถูกแดดจัดก่อนตากควรสลัดให้ผ้าคลายตัวก่อน จะทำให้ง่ายต่อการรีดมากยิ่งขึ้น
การรีดผ้าไหม
     
ใช้น้ำยารีดผ้าที่ใช้ได้กับผ้าไหม ฉีดพรมให้ทั่ว ผ้าไหมทั่วไปให้ใช้ความร้อนพอเหมาะ สำหรับผ้าไหมพิมพ์ให้ลดความร้อนลงจากปกติประมาณ 1-2 ระดับ 

สำหรับผ้าไหมที่ยับมาก
      
ฉีดน้ำยาหมาดๆ แล้วพับให้เรียบร้อยใส่ถุงพลาสติก นำเข้าช่องแช่แข็งในตู้เย็นประมาณ 10 นาทีแล้วจึงนำออกมารีด จะทำให้รีดได้เรียบและง่ายกว่าเดิม เนื่องจากใยผ้ามีความชื้นอยู่ภายในอย่างสม่ำเสมอ

การระมัดระวังและเก็บรักษา                                                         
   หลังจากสวมใส่ทุกครั้งให้ตรวจสอบสิ่งสกปรกที่ติดอยู่อย่างระมัดระวัง ผึ่งให้เสื้อผ้าคงรูปเดิมในที่ ๆ มีการถ่ายเทอากาศที่ดีปราศจากฝุ่นละออง ถ้าเสียรูปร่างหรือรอยยับให้ใช้เตารีด รีดให้เรียบ การเตรียมการเก็บรักษา ก่อนเก็บเสื้อผ้าต้องอยู่ในสภาพเรียบไม่มีรอยยับแห้งและสะอาดอยู่เสมอ อย่าเก็บในที่มีความชื้นและต้องปราศจากแมลงหรือราที่จะทำอันตรายกับผ้าไหมควรเก็บใส่ถุงที่มีอุณหภูมิต่ำและสะอาด อาจเก็บในถุงผ้า หรือถุงพลาสติกก็ได้ การตากผ้าควรทำในที่มีการถ่ายเทอากาศ มีความชื้นต่ำในระหว่างเวลา 10.00 - 14.00 น. เป็นระยะเวลาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามในฤดูฝนความชื้นสูงควรทำการป้องกันแมลง และเชื้อราต่าง ๆ ที่อาจทำอันตรายกับผ้าไหมได้


                            ขอบคุณแหล่งข้อมูล

http://siam-fabric.com/
: http://board.postjung.com/565203.html
https://sites.google.com/site/beautythaisilk/home/chnid-pha-him
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
youtube.
                     


10 ความคิดเห็น:

  1. มีเเต่สวยๆทั้งนั้นเลยย ได้ความรู้เรื่องผ้าไหมเยอะขึ้นมากๆเลยย

    ตอบลบ
  2. ผ้าไหมมีหลายชนิดมากเลย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ใช่ๆๆสวยๆทั้งนั้นเลยเนอะๆ

      ลบ
  3. ผ้าไหมมีหลายชนิดมากเลย

    ตอบลบ
  4. ผ้าไหมไทยสวยๆทั้งนั้นเลย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ใช่จ้า สวยทั้งนั้นเลยเนอะๆ

      ลบ
  5. สวย ผ้าไหมไทยไม่แพ้ชาติไหนจริงๆ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ใช่จ้าๆ มีแต่สวยๆทั้งนั้นเลยยย

      ลบ