วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ชายผ้าสีดา



ชายผ้าสีดา


ชื่อที่เรียก ชายผ้าสีดา


ชื่ออื่นๆ ภาคใต้เรียก "ชายผ้าสีดา" ภาคอีสาน เรียก "กระเช้าสีดา" หรือ"สไบสีดา" และภาคเหนือเรียก "ห่อข้าวสีดา" หรือ "หัวเฒ่าย่าบา" เฟินชายผ้าสีดา กระเช้าเขากวาง

หมวดหมู่ทรัพยากร พืช

ลักษณะ เป็นเฟินเกาะอาศัย ที่ดูแปลกตา แตกต่างจากเฟินทั่วไป ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีทั้งชนิดที่เจริญเติบโตเป็นต้นเดี่ยว และเป็นกลุ่ม ทั้งต้นประกอบด้วยแผ่นใบหนา เจริญซ้อนทับและประสานกันเป็นกลุ่มก้อน หรือเป็นหัวกระเช้า ทั้งยังมีใบอีกแบบงอกออกมาจากจุกตาบนหัวกระเช้า ในบางชนิดใบงอกออกมาชูตั้งขึ้น บางชนิดเป็นใบห้อยย้อยลงมา หรือใบกึ่งตั้งและปลายห้อยลงมา ก็มี

ประโยชน์ ปลูกเป็นพืชประดับให้สวยงามเป็นที่นิยมนำมาปลูกประดับสถานที่ กำแพงบ้าน หรือกระถางแขวน กระเช้าแขวน หรือเกาะบนต้นไม้ใหญ่ในสวน
แหล่งที่พบ    นายูง  ตำบลนายูง  อำเภอนายูง   จังหวัดอุดรธานี
ชื่อสามัญ Stag,sHornFern
ชื่อวิทยาศาสตร์ Platyceriumcoronarium,Desv.
ชื่อวงศ์ POLYPODIACEAE







ตา (Bud)

ปกคลุมด้วยขนหรือเป็นส่วนที่ทำให้พืชเจริญเติบโตหากตาถูกทำลายไม่ว่าโดยเชื้อโรค แมลง หรืออุบัติเหตุ เฟินชายผ้าสีดาต้นนั้นก็จะตายและอาจใช้เวลานานกว่าส่วนต่างๆของต้นจะเหนี่ยวแห้งไปหมด แต่หากเป็นชนิดที่แตกหน่อได้และมีหน่อใหม่แล้ว หน่ออื่นๆจะสามารถเจริญต่อไปได้

เหง้า (Rhizome)

ตาที่เจริญขึ้นจะค่อยๆงอกยาวเป็นลำต้นหรือเหง้าที่ห่อหุ้มอยู่ภายในใบกาบ เหง้าของเฟินชายผ้าสีดาชนิดที่ไม่สามารถแตกหน่อใหม่ได้จะมีความสำคัญต่อพืชมาก ตัวอย่างเช่น P.ridleyi หรือเขากวางตั้งจากป่า เป็นเฟินที่เลี้ยงให้รอดยาก ทั้งนี้อาจเพราะเหง้าหักอยู่ในใบกาบระหว่างการเก็บหรือการขนย้าย ทำให้พืชค่อยๆตายอย่างช้าๆ

ใบกาบหรือใบโล่ (Shield Fronds,Base Fronds)

เจริญจากตาแผ่หุ้มเหง้าและรากซึ่งยึดเกาะอยู่กับแหล่งอาศัย ใบกาบที่เกิดขึ้นใหม่จะซ้อนทับใบเก่าไปเรื่อยๆจนเป็นชั้นหนา ช่วยควบคุมความชุมชื้น ปกป้องเหง้าและรากไว้ภายใน ใบกาบของเฟินชายผ้าสีดาแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ กลุ่มที่ปลายใบห่อแนบหุ้มต้นจนมิด ได้แก่ P.alcicorneP.ellisiiP.madagascariense และ P.ridleyi ใบกาบช่วยป้องกันไม่ให้พืชที่อยู่ในแหล่งกำเนิดที่มีฝนตกชุกได้รับน้ำมากเกินไป ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งปลายใบจะเผยอตั้งขึ้นเพื่อรองรับน้ำฝนและเศษซากใบไม้ที่ร่วงหล่นลงมาทับถมเป็นอาหาร ได้แก่ P.andinumP.bifurcatumP.coronarium,P.elephantotisP.grandeP.holttumiiP.quadridichotomum,P.stemariaP.suprebumP.veitchiiP.wallichiiP.wandae และ P.willinckii เฟินชายผ้าสีดาในธรรมชาติมักเริ่มผลิใบกาบใหม่ซ้อนทับใบกาบเดิมตั้งแต่ช่วงต้นฤดูฝน บางชนิดเมื่อใบกาบเจริญเต็มที่จะหมดอายุกลายเป็นสีน้ำตาลแนบติดอยู่กับต้นไม่หลุดร่วงไปแต่สำหรับกลุ่มเฟินชายผ้าสีดาต้นเดี่ยว ส่วนมากใบกาบจะมีอายุนานเป็นสีเขียวอยู่จนกระทั่งผลิใบกาบใหม่ออกมาอีกครั้ง

ใบชายผ้า (Fertile Fronds, Foliage Fronds)

เจริญจากตาในลักษณะตั้งขึ้นหรือห้อยย้อยลงมา ส่วนมากปลายใบชายผ้าจะหยักเว้าลักษณะต่างๆกัน ยกเว้น P.elephantotis (หูช้างแอฟริกา) ที่ปลายใบแผ่กว้างโค้งมนจนเป็นที่มาของชื่อ ใบชายผ้าของต้นที่เจริญเต็มที่จะสร้างแถบอับสปอร์เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป
ทั้งใบกาบและใบชายผ้าของเฟินชายผ้าสีดาปกคลุมด้วยขนรูปดาวสีขาว บางครั้งแซมสีน้ำตาล เห็นได้ชัดเจนเมื่อเป็นใบอ่อน บางชนิดเมื่อเจริญขึ้นขนจะบางลงจนดูผิวใบเรียบเป็นมัน บางชนิดก็มีขนหนาปกคลุมผิวใบตลอดช่วงอายุ

ราก (Roots)

แตกแขนงออกจากเหง้า แทรกอยู่ในใบกาบที่ซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ เฟินชายผ้าสีดาพันธุ์ต่างประเทศหลายชนิดสามารถแตกหน่อใหม่จากตาที่รากได้ คือ P.bifurcatum แต่มี 2 ชนิด คือP.madagascariense และ P.ellisii ที่แตกรากน้อยและกระจุกอยู่บริเวณรอบๆเหง้า ไม่แผ่คลุมสลับกับใบกาบจนเป็นชั้นหนาเหมือนฟองน้ำเช่นเดียวกับชนิดอื่นๆทำให้เก็บน้ำไว้ได้ไม่มาก
การขยายพันธ์ชายผ้าสีดา
การขยายพันธุ์เฟินชายผ้าสีดาทำได้ 3 วิธีคือ แยกหน่อ เพาะสปอร์ และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สำหรับการปลูกเลี้ยงในประเทศไทยนิยมใช้เพียง2วิธีแรก ส่วนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ ซึ่งการผลิตเฟินเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีช่องทางการตลาดกว้างมาก

1.การแยกหน่อ

เฟินชายผ้าสีดาสายพันธุ์ต่างประเทศหลายชนิดแตกหน่อจากตาที่ปลายรากได้ สามารถแยกหน่อมาปลูกโดยมีขั้นตอนดังนี้
  1. เลือกหน่อที่เหมาะสมกับการแยกปลูกควรมีขนาดใหญ่กว่า 3 นิ้ว ถ้าหน่อใหม่เริ่มผลิใบชายผ้าจะช่วยให้แข็งแรงมากขึ้น
  2. ใช้มีดหรือกรรไกรที่คมและสะอาดเฉือนหน่อออกมาอย่างระมัดระวัง
  3. ต้องเฉือนให้ลึกถึงราก ถ้าเฉือนตื้นเกินไปอาจได้แต่ชั้นของใบกาบซึ่งไม่สามารถเจริญต่อไปได้
  4. หากปลูกแบบแขวน ให้นำต้นมาประกบกับซากกระเช้าขนาดพอเหมาะ และใช้วัสดุที่เหนียวทนมัดให้แน่นแล้วมัดติดกับวัสดุเมานท์อีกทีหนึ่ง
  5. หากปลูกในกระถาง ใช้สแฟกนัมมอสส์เป็นวัสดุปลูกจะเก็บความชื้นได้ดี ช่วยให้รากเจริญเร็ว อาจใช้โฟมหรือกาบมะพร้าวสับรองก้นกระถางเพื่อลดการอุ้มน้ำ
  6. สำหรับต้นแม่หากรอยตัดไม่ใหญ่มาก ไม่นานเฟินจะสร้างใบกาบคลุมทับปิดรอยเองหรืออาจใช้วัสดุปลูกเสริมแทนส่วนที่เฉือนออกไปก็ได้ โดยตัดแต่งซากกระเช้าให้มีขนาดพอดีกับรอยเฉือนแล้วมัดด้วยลวดหุ้มพลาสติกหรืออาจใช้ไม้เสียบเพื่อยึดติดกันให้แน่นแทนการใช้ลวดมัด
หลังปลูกควรใช้โฮร์โมนเร่งรากหรือสารกระตุ้นผสมน้ำรดให้ชุ่ม เพื่อกระตุ้นให้เฟินแตกรากใหม่และฟื้นตัวเร็วขึ้น อาจใช้สารป้องกันโรครดทั้งหน่อและต้นเพื่อนรดการติดเชื้อบริเวณรอยตัด พร้อมเขียนป้ายชื่อเฟินติดไว้ทุกครั้ง โดยเฉพาะเฟินพันธุ์ปลูกที่มีความคล้ายคลึงกัน จากนั้นนำไปวางหรือแขวนในที่ร่มรำไร ค่อยระวังอย่าให้วัสดุปลูกแห้งเมื่อเริ่มผลิใบใหม่แล้วจึงค่อยย้ายไปรับแสงแดดมากขึ้น


2.การเพาะสปอร์

การขยายพันธุ์เฟินด้วยสปอร์ได้ผลผลิตมากกว่าการแตกหน่อเหมาะที่จะทำเป็นการค้า นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้ลูกไม้ที่มีลักษณะแปรผันหรือกลายพันธุ์ค่อนข้างง่าย แถบอับสปอร์ของเฟินชายผ้าสีดามีลักษณะเป็นแผ่นใหญ่แตกต่างอย่างเด่นชัดจากเฟินชนิดอื่นๆปกคลุมด้วยขนรูปดาวจำนวนมาก เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกออก ปลดปล่อยสปอร์ให้ล่องลอยไปในอากาศ วัตถุลักษณะเป็นขุยสีน้ำตาล คือเยื่อหุ้มอับสปอร์ที่หลุดออกมาพร้อมกัน ส่วนสปอร์ที่มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีน้ำตาลเข้ม (ยกเว้น P.Wallichiiที่สปอร์เป็นสีเขียว) หากคัดแยกออกจะพบว่าสปอร์มีปริมาณน้อยกว่าเยื่อที่เป็นขุย
ประโยชน์
เฟิร์นชายผ้าสีดาเหมาะสำหรับใช้เป็นไม้ประดับในการติดตามกำแพงบ้านหรือตามต้นไม้ใหญ่ สรรพคุณทางยาใช้ในการบรรเทาปวด ลดไข้ โดยเอาใบมาต้มน้ำอาบผสมสมุนไพรในการแก้ไข้สูง ชาวเขาบางเผ่าใช้ใบของชายผ้าสีดาในการต้มน้ำดื่มเพื่อรักษาอาการอ่อนเพลีย หรือบ้างก็นำส่วนชายผ้าสีดามาลวกให้สุกแล้วกินจิ้มกับน้ำพริก

อ้างอิง
 ตามศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ ปรับปรุง 18 ก.พ. 2545
กระโดดขึ้น ↑ fernsiam: ชายผ้าสีดา
กระโดดขึ้น ↑ ภัทรา แสงดานุช เฟินชายผ้าสีดา Platycerium กรุงเทพฯ:บ้านและสวน,2554
กระโดดขึ้น ↑ ประโยชน์ชายผ้าสีดา[1]

            http://th.wikipedia.org/wiki/



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=7mok2TWhacw



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น