พืชที่ให้สีคราม



               ครามดอย


    วงศ์: LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
Indigofera cassioides Rottl.ex DC.
 ชื่อสามัญ : เสียดเครือ (เลย) ; ครามดอย(ภาคเหนือ)

        ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร   เป็นไม้พุ่ม (shrub) อายุหลายปี ต้นสูง 3-4 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 19.21-40.03 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd-pinnate) ใบเรียงตรงข้ามกัน (opposite) บางกิ่งใบเรียงแบบสลับ (alternate) รูปร่างใบย่อยแบบรูปไข่ (oval) ใบยาว 1.76-2.14 เซนติเมตร กว้าง 0.85-1.22 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 12.45-16.29 เซนติเมตร หน้าใบ หลังใบมีขนละเอียดสั้น ๆ ปกคลุมจำนวนมาก ก้านใบมีขนคลุมปานกลาง ใบสีเขียวอ่อน ผิวใบค่อนข้างหยาบเล็กน้อย เส้นใบ (vein) ปลายโค้งจรดกัน (anastomosing) ขอบใบสีเหลือง เรียบ (entire) ปลายใบ (apex) มีติ่งเป็นเส้นยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร หูใบ (stipnle) แบบหนาม (spinous) สีเขียวอมน้ำตาล ลำต้นสีเขียวปนสีน้ำตาล ไม่มีขนคลุม ออกดอกเดือน สิงหาคม เมษายน ช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ชูขึ้น ช่อดอกออกที่ปลายยอดและตาข้าง มีดอกพร้อมกันเต็มลำต้น ช่อดอกยาว 7.69-11.65 เซนติเมตร ดอกรูปดอกถั่วมี 12-30 ดอกต่อช่อ กลีบดอกกลาง (standard) สีชมพูสดอมม่วงอ่อนด้านในมีแถบสีขาวตรงกลาง กลีบคู่ข้าง (wing) สีชมพูเข้มกว่า กลีบคู่ล่าง (keel) สีชมพูมีแถบขาวตรงกลาง ก้านเกสรตัวเมีย (stigma) สีเขียวตองอ่อน อับเรณู (anther) สีเหลืองอ่อนแกมสีเขียวตองอ่อน ฝักขนาดเล็กรูปกลม ปลายยอดมีติ่งเป็นเส้น สั้น ๆ ขนาดฝักยาว 2.48-3.62 เซนติเมตร กว้าง 0.23-0.31 เซนติเมตร มี 19-30 ฝักต่อช่อ ฝักแก่ไม่แตก
แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นอยู่พื้นที่ป่าโปร่งเต็ง รัง ป่าละเมาะ ดินร่วนทราย เช่น เขตตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย (PC 195)
            คุณค่าทางอาหาร   ส่วนใบรวมก้านใบย่อยมีค่าโปรตีน 12.78เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.91 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 14.22 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรท (NFE) 46.31 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน ADF 34.21 เปอร์เซ็นต์ NDF 43.47 เปอร์เซ็นต์ เฮมิเซลลูโลส 9.26 เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน 10.33 เปอร์เซ็นต์
            การใช้ประโยชน์   เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับแทะเล็มของโค-กระบือ


 ครามเครือ


    
วงศ์ LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
Indigofera hendecaphylla Jacq.
ชื่อสามัญ   ครามเครือ (เชียงใหม่) ; จ๊าผักชี (เชียงใหม่) ; โสนนก
(นครสวรรค์)



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร   เป็นไม้พุ่ม (shrub) อายุหลายปี ต้นสูง 3-4 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น
19.21-40.03 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd-pinnate) ใบเรียงตรงข้ามกัน (opposite)
บางกิ่งใบเรียงแบบสลับ (alternate) รูปร่างใบย่อยแบบรูปไข่ (oval) ใบยาว 1.76-2.14 เซนติเมตร กว้าง 0.85-1.22 เซนติเมตร
 ก้านใบรวมยาว 12.45-16.29 เซนติเมตร หน้าใบ หลังใบมีขนละเอียดสั้น ๆ ปกคลุมจำนวนมาก ก้านใบมีขนคลุมปานกลาง
 ใบสีเขียวอ่อน ผิวใบค่อนข้างหยาบเล็กน้อย เส้นใบ (vein) ปลายโค้งจรดกัน (anastomosing) ขอบใบสีเหลือง เรียบ (entire)
ปลายใบ (apex) มีติ่งเป็นเส้นยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร หูใบ (stipnle) แบบหนาม (spinous) สีเขียวอมน้ำตาล ลำต้นสีเขียวปน
สีน้ำตาล ไม่มีขนคลุม ออกดอกเดือน สิงหาคม เมษายน ช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ชูขึ้น ช่อดอกออกที่ปลายยอดและ
ตาข้าง มีดอกพร้อมกันเต็มลำต้น ช่อดอกยาว 7.69-11.65 เซนติเมตร ดอกรูปดอกถั่วมี 12-30 ดอกต่อช่อ กลีบดอกกลาง
 (standard) สีชมพูสดอมม่วงอ่อนด้านในมีแถบสีขาวตรงกลาง กลีบคู่ข้าง (wing) สีชมพูเข้มกว่า กลีบคู่ล่าง (keel)
สีชมพูมีแถบขาวตรงกลาง ก้านเกสรตัวเมีย (stigma) สีเขียวตองอ่อน อับเรณู (anther) สีเหลืองอ่อนแกมสีเขียวตองอ่อน
 ฝักขนาดเล็กรูปกลม ปลายยอดมีติ่งเป็นเส้น สั้น ๆ ขนาดฝักยาว 2.48-3.62 เซนติเมตร กว้าง 0.23-0.31 เซนติเมตร มี 19-30 ฝัก
ต่อช่อ ฝักแก่ไม่แตก แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นอยู่พื้นที่ป่าโปร่งเต็ง รัง ป่าละเมาะ ดินร่วนทราย เช่น
 เขตตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย (PC 195)
         คุณค่าทางอาหาร   ส่วนใบรวมก้านใบย่อยมีค่าโปรตีน 12.78เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.91 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 14.22 เปอร์เซ็นต์
คาร์โบไฮเดรท (NFE) 46.31 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน ADF 34.21 เปอร์เซ็นต์ NDF 43.47 เปอร์เซ็นต์ เฮมิเซลลูโลส 9.26
เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน 10.33 เปอร์เซ็นต์
        การใช้ประโยชน์   เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับแทะเล็มของโค-กระบือ





 ครามใหญ่



                       


     
วงศ์ PAPILIONOIDEAE
 Indigofera suffruticosa Mill.
    ชื่อสามัญ ครามผี , ครามเถื่อน ( เชียงใหม่ ); ครามใหญ่ ( อุบลราชธานี )
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก (shrub) อายุหลายปี
ต้นสูง 129.81- 192.19 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 18.02- 26.04 มิลลิเมตร 
  ลักษณะใบ
           ใบ  เป็นประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd pinnately) ใบเรียงตรงข้ามกัน (opposite) รูปร่างใบย่อยแบบรูปรี (elliptic)
 โคนใบรีกลม ปลายใบแหลมติ่ง (cuspidate) ใบยาว 1.9- 2.7 เซนติเมตร กว้าง 0.75- 0.95 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว
0.67- 0.83 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 6.74- 8.96 เซนติเมตร หน้าใบมีขนสีขาวสั้นๆยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตรปกคลุมปา
นกลาง หลังใบมีขนสีขาวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตรปกคลุมอยู่หนาแน่น ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบค่อนข้างนุ่ม เส้นกลางใบ
 (mid rib) ด้านหน้าเป็นร่องจากโคนใบถึงปลายใบเห็นชัดเจน เส้นใบ (vein) ไม่ชัดเจน ขอบใบหยักแบบขนครุย (ciliate)
 มีขนสีขาวสั้นๆ
ลักษณะดอก
              ดอก จะออกช่วงเดือนพฤษภาคม ช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ออกที่ตาข้างจำนวนมาก ช่อดอกยาว 3.75- 10.49
 เซนติเมตร ดอกเดี่ยวรูปดอกถั่ว สีชมพู ดอกตูมมีสีเขียวอ่อนอมครีม เมื่อดอกเริ่มบานจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมชมพูขาวแต่ละ
ดอกประกอบด้วยกลีบดอก 4 กลีบ เกสรตัวผู้ 10 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน ก้านดอกสั้นประมาณ 1 มิลลิเมตรมี 14-36 ดอกต่อช่อ
 ผล หรือ ฝัก อยู่รวมกันเป็นช่อฝักรูปกลมโค้งงอคล้ายรูปเคียวมีรอยคอดระหว่างข้อตื้นๆปลายยอดฝักชี้ลง มี 12-34 ฝักต่อช่อ
 ฝักยาว 0.18- 1.52เซนติเมตร กว้าง 0.19- 0.29 เซนติเมตร
 ลักษณะลำต้น มีสีน้ำตาลอมม่วงมีขนสีขาวคลุมบางๆประกอบด้วยข้อและปล้องมีตาและตาดอกเกิดขึ้นบบริเวณข้อ
ลำต้นแล้วเกิดเป็นช่อดอกในภายหลัง    
  ราก ระบบรากเป็นระบบรากแก้ว
เมล็ด มีขนาดเล็กสีครีมอมเหลืองและสีน้ำตาล
มีน้ำหนักเฉลี่ย 3.35 - 16.14 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด
ขยายพันธุ์ โดยใช้เมล็ด
       แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์   พบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่โล่ง ดินร่วนปนเหนียว พื้นที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้ง
แต่ 35 เมตร เช่นเขตตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช (SN 198)
      คุณค่าทางอาหาร  เฉพาะส่วนใบ มีค่า โปรตีน 25.69 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน
ADF 27.73 เปอร์เซ็นต์ NDF 35.21 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 2.26 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.35 เปอร์เซ็นต์ โปแตสเซียม 2.25 เปอร์เซ็นต์ แทนนิน 0.38 เปอร์เซ็นต์
      การใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของโค
กระบือ แพะ และสัตว์ป่า สรรพคุณ ใบ รสเย็นฝาดเบื่อ ดับพิษ แก้ไข้ตัวร้อน เปลือกต้น รสเย็นฝาดเบื่อ แก้พิษฝี แก้พิษงู ฆ่าพยาธิ แก้โลหิต น้ำมันจากเมล็ด ทาแก้หิด สารสำคัญใบ มี rutin และ rutinoid ประมาณ 0.65-0.80 เปอร์เซ็นต์ มีไนโตรเจนสูง เหมาะใช้ทำปุ๋ย ทำยาฆ่าแมลง ( วงศ์สถิตย์และคณะ , 2543)
 
ชะคราม
  

    วงศ์ PAPILIONOIDEAE
Indigofera galegoides DC.
   ชื่อสามัญ ชะคราม ( ภาคกลาง ); ช้าคราม ( สุโขทัย ); ส่ามะขามเครือ( จันทบุรี)



          ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก อายุหลายปี ต้นสูง 145.87- 174.63 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 1.2- 1.6 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd pinnate) ใบเรียงตรงข้ามกัน รูปร่างใบย่อยแบบรูปรี โคนใบโค้งมน ปลายใบแบบติ่งหนามสั้น (mucronulate) ใบยาว 1.57- 2.05 เซนติเมตร กว้าง 0.6- 0.88 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 2.46- 4.44 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร หน้าใบมีขนละเอียดสีขาวสั้นๆแนบติดกับแผ่นใบหนาแน่น หลังใบมีขนคลุมน้อยกว่าหน้าใบ ก้านใบมีขนปกคลุมหนาแน่น แผ่นใบด้านหลังนูนโค้งเล็กน้อย ใบสีเขียวนวล ผิวใบหยาบเล็กน้อย เส้นกลางใบด้านหลังเป็นสันนูนขึ้นยาวจากโคนถึงปลายใบ เส้นใบ (vein) แตกแบบขนนก(pinnate) ขอบใบหยักแบบขนครุย (ciliate) มีขนสีขาว หูใบ (stipule) รูปหนาม (spinous) ยาว 5- 8 มิลลิเมตร ลำต้นค่อนข้างเหนียว ผิวลำต้นด้านในสีเขียว ด้านนอกสีน้ำตาลแดง มีขนละเอียดสั้นๆขึ้นคลุมหนาแน่น ออกดอกเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ออกที่ปลายยอดและตาข้าง ช่อดอกยาว 2.3- 7.4 เซนติเมตร ดอกเดี่ยวรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีชมพูอมม่วง มีก้านดอกยาว 2- 3 มิลลิเมตร มี 8-16 ดอกต่อช่อ ฝักรูปฝักถั่ว แบน มีขนคลุมหนาแน่น ปลายยอดมีติ่งหนามยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ฝักยาว 3.29- 3.83 เซนติเมตร กว้าง 0.36- 0.54 เซนติเมตร มี 2-16 ฝักต่อช่อ มีรอยคอดแบ่งข้อตื้นๆ ฝักแก่แตกเป็นสองซีก เมล็ดแก่สีน้ำตาล รูปกลม แบน กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร
      แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์   พบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่โล่ง ริมชายป่าละเมาะ ดินเหนียว เช่นเขตพื้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ( PC 003 )
     คุณค่าทางอาหาร  ส่วนใบรวมก้านใบ มีค่า โปรตีน 15.41 เปอร์เซ็นต์เยื่อใย 28.89 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2.35 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 6.48 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรท (NFE) 46.87 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน ADF 35.1 เปอร์เซ็นต์ NDF 48.87 เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน 7.44 เปอร์เซ็นต์
     การใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของโค กระบือ ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้โรคเมื่อย หรือทำสีย้อมผ้า ( จิรายุพินและคณะ , 2542 )



หิ่งเม่น

                          



         ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร   เป็นพืชล้มลุก (annual) ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งย่อย ต้นสูง 98.74-125.48 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 9.06-17.4 มิลลิเมตร การเรียงตัวของใบประกอบแบบเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ (trifoliate-pinnately) รูปร่างใบย่อยแบบรูปไข่กลับ (obonate) โคนใบสอบ ปลายใบโค้งเว้าบุ๋ม (retuse) ปลายยอด (apex) มีติ่งเป็นเส้นสั้น ๆ หน้าใบไม่มีขน หลังใบมีขนสีขาวปกคลุมหนาแน่น สีใบเขียวเข้ม ด้านหลังใบสีเขียวอ่อนกว่าหน้าใบ ผิวใบค่อนข้างนุ่ม เส้นใบ (vein) ปลายโค้งจรดกัน (anastomosing) ขอบใบหยักแบบขนครุย (ciliate) หูใบแหลม (filiform) เล็กสั้นสีม่วงแดง ก้านใบรวมยาว 3.88-4.54 เซนติเมตร ก้านใบข้างยาว 2-2.5 มิลลิเมตร ก้านใบมีขนละเอียดคลุมหนาแน่น ลำต้นสีเขียว มีสีน้ำตาลอ่อน ๆ ด้านที่รับแสงและมีขนละเอียดคลุมอย่างหนาแน่น ออกดอกเดือน เมษายน-ธันวาคม ดอกออกที่ปลายยอดแบบช่อกระจะ (raceme) ชูขึ้น ช่อดอกยาว 12.23-19.21 เซนติเมตร ดอกรูปดอกถั่วมี 27-44 ดอกต่อช่อ ดอกเดี่ยวเรียงตรงกันข้ามกันบนแกนช่อดอก และมีก้านยาว 2-2.5 มิลลิเมตร กลีบดอกด้านในสีเหลืองเข้ม กลีบดอกด้านนอกสีเหลืองมีลายเส้นสีม่วงแดงผ่านตามยาว ฝักรูปทรงกระบอกโค้งงอออกเล็กน้อย ปลายยอดฝักมีติ่งเป็นเส้นยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร เส้นกลางฝักด้านนอกเป็นแนวยาวลึกลง ฝักยาว 3.65-4.11 เซนติเมตร กว้าง 0.64-0.74 เซนติเมตร มี 7-16 ฝักต่อช่อ ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาลดำมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ฝักแก่แตก
        แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์   พบขึ้นอยู่ทั่วไปในสภาพพื้นที่โล่ง ชายป่า ดินร่วนปนเหนียวดินเหนียวที่มีเนื้อดินละเอียด เช่น พื้นที่ตำบลเขายายเที่ยง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ตำบลบ้านธาตุ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ (PC 023, PC 025, PC 033, PC 202, LP 187) คุณค่าทางอาหาร ส่วนยอดอ่อน ใบและก้านใบ ระยะเริ่มมีดอก มีค่า
โปรตีน 23.94 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย 21.01 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2.65 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 2.65 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วนADF 38.60 เปอร์เซ็นต์ NDF 47.67 เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน 15.11เปอร์เซ็นต์
         การใช้ประโยชน์   เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ ของโค-กระบือ ยาพื้นบ้านล้านนา ใช้ราก ฝนน้ำกินครั้งละ 1 ถ้วยตะไล แก้อาเจียน ชาวเขาเผ่าแม้วและมูเซอ ใช้รากต้มน้ำดื่ม ขับปัสสาวะ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะ (วงศ์สถิตย์ และคณะ, 2539)




ฮ่อม



                   
    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Baphicacanthus cusia  Brem.
   วงศ์ :  Acanthaceae
   ชื่อสามัญ : -
   ชื่ออื่น : คราม ครามหลอย (แม่ฮ่องสอน)  ฮ่อม (เหนือ) ฮ่อมเมือง
   (น่าน)
         ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 50-80
เซนติเมตร ลำต้น เป็นข้อปล้องคล้ายขาไก่ แตกกิ่งก้านตามข้อ ลำต้นกลม ใบ เดี่ยวเรียงตรงข้าม หัวใบเรียวท้ายใบแหลมขอบใบหยัก ใบด้านบนสีเขียวมัน ใบแก่หรืออ่อนเมื่อถูกกดหรือทุบทิ้งไว้กลายเป็นสีดำ ดอก เป็นช่อออกตามซอกใบและกิ่ง รูปทรงคล้ายระฆัง ดอกสีม่วง เมล็ด อ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล แตกง่าย ประโยชน์ : ยาพื้นบ้านล้านนาใช้ ใบ ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ ยาพื้นบ้านใช้รากและใบต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ ปวดศีรษะเนื่องจากหวัด เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ตาอักเสบ ทั้งต้น สับเป็นท่อน แช่กับน้ำผสมปูนขาวประมาณ 10 วัน เพื่อทำสีย้อมผ้า แพทย์จีนทดลองให้คนไข้โรคเอสด์ที่เป็นงูสวัด ดื่มน้ำต้มใบแห้งผสมกับพืชอื่นอีก 3 ชนิดคือ Coptis chinensis, Arnebia euchroma และ Paeonia moutan พบว่าแผลหายภายใน 2 สัปดาห์







 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น