ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
ชำมะนาดเล็ก ชำมะนาดเล็ก
ชำมะนาดเล็ก
 
ชำมะนาดเล็ก
ชื่ออื่นๆ: ฟูมฟูม อุมฟูม (เลย), ฟูมฟูม อุ่มฟูม (ตะวันออกเฉียงเหนือ), หญ้าช้างน้อย หญ้าช้างย้อย หางเม่นเครือ (ภาคเหนือ), ชำมะนาดเล็ก (ภาคกลาง), ชำมะนาดป่า, ชำมานาดป่า
ชื่อสามัญ: Bread flower
ชื่อวิทยาศาสตร์: Vallaris solanacea (Roth) Kuntze
ชื่อพ้องอื่นๆ
1. Peltanthera solanacea Roth.
2. Vallaris heynei Spreng.
3. Vallaris solanacea (Roth) K. Schum.
4. Vallaris assamensis Griff.
5. Vallaris dichotoma (Roxb.) Wall. ex G.Don.
6. Echites dichotomus Roxb.
วงศ์: APOCYNACEAE
ถิ่นกำเนิด: ประเทศไทย อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน เนปาล ภูฐาน บังกลาเทศ กัมพูชา จีน หมู่เกาะในทะเลแถบอันดามัน
ลักษณะทั่วไป: เป็นพันธุ์ไม้รอเลื้อยขนาดเล็ก การเจริญเติบโตค่อนข้างช้า มียางในทุกสวนของต้น
ฤดูการออกดอกติดผล: ตลอดปี (การออกดอก ดอกจะออกเมื่อพบกับสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งสลับกับ
สภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง การควบคุมการให้น้ำสามารถควบคุมการออกดอกของพันธุ์ไม้ชนิดนี้)
การขยายพันธุ์: ปักชำและเพาะเมล็ด
ข้อดีของพันธุ์ไม้: ปลูกได้ดีกับดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดีในระดับหนึ่ง
ข้อแนะนำ: เป็นพันธุ์ไม้รอเลื้อย แต่สามารถปลูกให้เป็นพุ่มขนาดเล็กกองกับพื้นได้
ข้อมูลอื่นๆ: เป็นพันธุ์ที่ต้องการแสงแดดเต็มวันจึงจะสามารถออกดอกได้ดี
เอกสารอ้างอิง:
1. http://www.tropicos.org/Name/1805833?tab=synonyms
2. https://en.wikipedia.org/wiki/Vallaris
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท (087-166-5251)
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม