หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
     
หน่วยที่ 2 ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์  
บทที่ 6 น้ำขึ้น-น้ำลง,น้ำเกิด-น้ำตาย  
     
            น้ำขึ้น-น้ำลง  tide เกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ อิทธิพลของดวงอาทิตย์มีน้อยกว่าดวงจันทร์ประมาณครึ่งหนึ่ง เนื่องจากดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากกว่าดวงอาทิตย์  ฉะนั้นการเกิดปรากฏการณ์ของน้ำขึ้น น้ำลง จึงมีความสัมพันธ์กับ ข้างขึ้นข้างแรม  
 
 
  น้ำขึ้น เกิดใน 2 ส่วนของโลกคือ ส่วนที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ หรือ ดวงจันทร์ และส่วนที่อยู่ห่างจากซีกโลกด้านตรงข้าม และเกิดน้ำขึ้นน้ำลงสูงสุด หรือน้ำเกิด Spring tide เมื่อโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อยู่ในแนวเดียวกันหรือ ทุก ๆ 2 สัปดาห์ โดยประมาณ ตรงตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ และ วันแรม 14 ค่ำ และระดับน้ำขึ้นน้ำลงจะเปลี่ยนแปลงน้อย  กรณีน้ำตาย Neap tide กรณีน้ำตาย เป็นปรากฏการณ์ที่น้ำลดลงต่ำสุด เมื่อดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ อยู่ในแนวตั้งฉาก ตรงกับ วันขึ้น 8 ค่ำ และ แรม 8 ค่ำ โดยประมาณ  
     
  การเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลก่อให้เกิดกระแสน้ำขึ้น - น้ำลง tidal current ซึ่งอาจมีความเร็ว 7-8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การเกิดน้ำขึ้นแต่ละครั้งจะไม่ห่างกัน 12 ชั่วโมงพอดี เพราะต้องพิจารณา การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ด้วย เนื่องจากขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง และดวงจันทร์ก็โคจรรอบโลก แต่อัตราการโคจรของดวงจันทร์ ช้ากว่าที่โลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้เราเห็นดวงจันทร์ ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก ช้าลงประมาณวันละ 50 นาที tidal day  จึงยาวนานกว่า solar day ประมาณ 50 นาที  
     
  ดังนัน ผลจากการเคลื่อนที สัมพัทธ์ ระหว่าง โลกและดวงจัทร์ เราจึงมองเห็นดวงจันทร์ โคจรรอบโลก ครบ 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง 50 นาที วัฏจักรการเกิดน้ำขึ้น-น้ำลง จึงเป็นไปตามการโคจรกับการหมุนของโลก รอบดวงอาทิตย์และการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก ซึ่งดวงจันทร์โครจรรอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา ประมาณ 24 ชั่วโมง 50 นาที the tidal day  
          โดยน้ำขึ้นแต่ละครั้งจะใช้เวลาห่างกัน 12 ชั่วโมง 25 นาที  half a tidal lunar day
เช่น วันนี้น้ำขึ้นสูงสุดวลา 12:00 น.  น้ำจะขึ้นสูงสุดครั้งต่อไปเวลา 12 : 25 น.
 
     
  เวลาน้ำขึ้นกระแสน้ำที่ไหลท่วมชายฝั่งต่ำหรือท่วมลำน้ำสายเล็ก ๆ นั้นเรียกว่า น้ำท่วมฝั่ง flood tides และช่วงกระแสน้ำลดต่ำลง จนบริเวณที่ถูกน้ำท่วมโผล่ขึ้นมาอีกเรียกกระแสน้ำนั้นว่า น้ำหนีฝั่ง ebb tide เราเรียกบริเวณที่ราบต่ำที่น้ำทะเลท่วมถึง ซึ่งอาจเป็นดินทรายหรือดินโคลนก็ได้ ถ้าเป็นดินทราย เรียก หาดทราย beach เป็นดินโคลนว่า หาดโคลน tidal flat หรือ mud flat หาดโคลนที่ประกอบด้วยดินโคลนมักมีพืชที่ทนต่อน้ำเค็มขึ้นปกคลุมอยู่เรียกที่ว่า ป่าชายเลน หรือ ป่าเลนน้ำเค็ม เป็นที่ลุ่มดินเค็ม salt marsh หาดโคลนบางแห่ง อาจมีสภาวะเหมาะสมจนเป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของสัตว์น้ำ หรือ ต้นกำเนิดของสัตว์ทะเลก็ได้ อาทิ ปลาตีน หอยหลอด ปูทะเล แมงดาทะเล ฯลฯ  
     
     
     
 

 

 
 

 

 
     
     
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th